คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สละ เทศรำพรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงต้องมีการได้ไปซึ่งทรัพย์สิน การบริการจอดรถไม่ใช่ทรัพย์สิน
โจทก์ขับรถยนต์ของโจทก์ลงจากอาคารจอดรถของจำเลยแล้วแสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งทำหน้าที่เก็บค่าบริการจอดรถ โจทก์จึงไม่เสียค่าจอดรถแก่จำเลย โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อห้ามมิให้พนักงานนำรถขึ้นไปจอดบนอาคารจอดรถ และโจทก์ทราบอยู่แล้วว่าวันเกิดเหตุมีการนำรถขึ้นไปจอดโดยไม่มีสิทธิและไม่ได้รับการยกเว้นและโจทก์ควรจะแจ้งความจริงดังกล่าวให้ น. ทราบขณะยื่นบัตรจอดรถนั้นมิใช่กรณีที่ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ตอนแรก กรณีจะต้องได้ความว่าผู้กระทำผิดได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง โจทก์แสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. เพื่อจอดรถโดยไม่ต้องเสียค่าจอดรถเท่านั้น โจทก์ได้รับผลเพียงการบริการจอดรถจากจำเลยโจทก์หาได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากจำเลยไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกง และมิได้เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงบัตรจอดรถโดยมิได้แจ้งข้อเท็จจริง ไม่ถึงขั้นฉ้อโกง แม้จำเลยจะเสียหาย
โจทก์ (ลูกจ้าง) ขับรถยนต์ของโจทก์ลงจากอาคารจอดรถของจำเลย (นายจ้าง) แล้วแสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งทำหน้าที่เก็บค่าบริการจอดรถ โจทก์จึงไม่เสียค่าจอดรถแก่จำเลย โจทก์ทราบดีว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อห้ามมิให้พนักงานนำรถขึ้นไปจอดบนอาคารจอดรถ และโจทก์ทราบอยู่แล้วว่าวันเกิดเหตุมีการนำรถขึ้นไปจอดโดยไม่มีสิทธิและไม่ได้รับการยกเว้น และโจทก์ควรจะแจ้งความจริงดังกล่าวให้ น. ทราบขณะยื่นบัตรจอดรถนั้น เป็นกรณีที่โจทก์แสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. เพื่อจอดรถโดยไม่ต้องเสียค่าจอดรถเท่านั้น โจทก์ได้รับผลเพียงการบริการจอดรถจากจำเลย โจทก์หาได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากจำเลยไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงและมิได้เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะกรรมการแพทย์ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง และไม่ตัดสิทธิผู้ประกันตน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
มติของคณะกรรมการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม ที่ให้โรงพยาบาล ม. จ่ายค่าอุปกรณ์ในการบำบัดโรคตามอัตราที่กำหนดให้แก่โจทก์นั้นเป็นเพียงการตอบข้อหารือตามที่โรงพยาบาล ม. หารือไป มิใช่คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย แม้จำเลยจะส่งมติดังกล่าวไปให้โรงพยาบาล ม. ก็ไม่มีผลบังคับให้โรงพยาบาล ม. ต้องปฏิบัติตาม อีกทั้งไม่มีผลตัดสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาเต็มจำนวน หากโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกได้ ดังนี้มติของคณะกรรมการแพทย์จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะกรรมการการแพทย์เป็นเพียงการตอบข้อหารือ ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง จึงไม่ตัดสิทธิผู้ประกันตนในการเรียกร้องค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
มติของคณะกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคมเป็นเพียงการตอบข้อหารือในเรื่องการจ่ายค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ตามที่โรงพยาบาล ม. หารือไป มิใช่คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย แม้จำเลยจะส่งมติดังกล่าวไปให้โรงพยาบาลม. อันเป็นสถานพยาบาลที่โจทก์เลือกเพื่อเข้ารับการรักษาตามสิทธิก็ไม่มีผลบังคับให้โรงพยาบาล ม. ต้องปฏิบัติตาม ทั้งไม่มีผลตัดสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาจนเต็มจำนวนหากโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกได้ มติของคณะกรรมการการแพทย์ดังกล่าวจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7200/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: ค่าจ้างระหว่างพักงาน vs. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ๆ เนื่องจากการเลิกจ้าง โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ และให้จ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานให้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงเป็นคำฟ้องที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และโจทก์อาจฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานมาในคดีเดิมได้ เพราะจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ก่อนแล้วจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์แต่โจทก์ไม่ฟ้อง เมื่อคดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่มีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีเดิม จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องฟ้องกันอีก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31แต่ในส่วนค่าเสียหายของโจทก์จากการไม่ได้ค่าจ้างนับแต่วันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างตลอดมาถึงวันที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง แล้วรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาศาลแรงงาน และในวันเดียวกันจำเลยมีคำสั่งให้เลิกจ้างโจทก์อีกนั้นถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาจ้างไม่ยอมให้โจทก์ทำงานโดยตรง และโจทก์เพิ่งเกิดสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ตั้งแต่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาในคดีก่อนที่ให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์ แล้วให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน แต่จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกับที่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามคำพิพากษาดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่อาจฟ้องขอรวมมาในคดีเดิมได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกมาเป็นค่าจ้างในส่วนนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิม จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า เมื่อจำเลยมีคำสั่งที่ให้ไล่โจทก์ออกจากงานต้องถือว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ไปในตัวตั้งแต่วันที่มีคำสั่งไล่ออกมิใช่วันที่จำเลยมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาของศาล คำสั่งพักงานโจทก์เป็นคำสั่งให้พักงานเพื่อรอผลการสอบสวนของจำเลย เมื่อจำเลยสอบสวนเสร็จและมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงาน ต้องถือว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ไปในตัวตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออก และผู้มีอำนาจสั่งพักงานลูกจ้างตามระเบียบของจำเลย แต่กรณีของโจทก์ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าวเนื่องจากศาลเป็นผู้มีคำสั่งนั้นล้วนเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไปแล้วว่าเป็นฟ้องซ้ำ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7200/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: คำสั่งพักงาน-เลิกจ้าง-รับกลับเข้าทำงาน & ค่าจ้างช่วงพักงาน
คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ๆ เนื่องจากการเลิกจ้างโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ และให้จ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานให้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงเป็นคำฟ้องที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และโจทก์อาจฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานมาในคดีเดิมได้เพราะจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ก่อนแล้วจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์แต่โจทก์ไม่ฟ้อง เมื่อคดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่มีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีเดิม จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่ในส่วนค่าเสียหายของโจทก์จากการไม่ได้ค่าจ้างนับแต่วันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างตลอดมาถึงวันที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง แล้วรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาศาลแรงงานและในวันเดียวกันจำเลยมีคำสั่งให้เลิกจ้างโจทก์อีกนั้น ถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาจ้างไม่ยอมให้โจทก์ทำงานโดยตรง และโจทก์เพิ่งเกิดสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ตั้งแต่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาในคดีก่อนที่ให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์ แล้วให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน แต่จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกับที่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งโจทก์ไม่อาจฟ้องขอรวมมาในคดีเดิมได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกมาเป็นค่าจ้างในส่วนนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิม จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า เมื่อจำเลยมีคำสั่งที่ให้ไล่โจทก์ออกจากงานต้องถือว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ไปในตัวตั้งแต่วันที่มีคำสั่งไล่ออกมิใช่วันที่จำเลยมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาของศาล คำสั่งพักงานโจทก์เป็นคำสั่งให้พักงานเพื่อรอการผลการสอบสวนของจำเลยเมื่อจำเลยสอบสวนเสร็จและมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงาน ต้องถือว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ไปในตัวตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออก และผู้มีอำนาจสั่งพักงานลูกจ้างตามระเบียบของจำเลย แต่กรณีของโจทก์ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าวเนื่องจากศาลเป็นผู้มีคำสั่งนั้นล้วนเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไปแล้วว่าเป็นฟ้องซ้ำ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049-7057/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกคดีแรงงานโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง การยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาต้องภายใน 7 วัน
ศาลแรงงานมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธี ปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 อันเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยยอมรับในคำร้องว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ในหนังสือจดทะเบียนของจำเลยจึงเป็นที่ตั้งสำนักงานอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68,1111 แม้จำเลย จะมีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 33 ก็เป็นกรณีจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่งการส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยการปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 ประกอบ มาตรา 79 ต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มาและศาลแรงงานได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของ โจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด แต่จำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049-7057/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องยื่นภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งขาดนัด การส่งหมายเรียกโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เท่านั้น
ศาลแรงงานมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วได้กำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยยอมรับในคำร้องว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ในหนังสือจดทะเบียนของจำเลย จึงเป็นที่ตั้งสำนักงานอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 68, 1111 แม้จำเลยจะมีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 33 ก็เป็นกรณีจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง การส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยการปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 แล้วเมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 การที่จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7048/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ข้อพิพาทความเสียหายของลูกจ้างกับนายจ้างและการวินิจฉัยอำนาจศาล
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยปัญหาว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือไม่ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด ต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7043-7047/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การกระทำผิดระเบียบ และการเปลี่ยนแปลงเวลาจ่ายค่าจ้าง
ผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นกรรมการลูกจ้าง เหตุคดีนี้เกิดในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานกว่า 300 คน ได้นัดหมายกันไม่ยอมรับค่าจ้างในช่วงพักเที่ยงและพร้อมใจกันผละงานไปพบ จ. ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของผู้ร้องเพื่อขอให้จ่ายค่าจ้างในเวลา 15 นาฬิกา เป็นการวางแผนตระเตรียมกันมาก่อน โดยมีผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของสหภาพแรงงานเป็นผู้นำการเคลื่อนไหว เมื่อ จ. ปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตาม ข้อเรียกร้องทุกข้อแล้ว ผู้คัดค้านทั้งห้ากับพวกไม่พอใจโดยผู้คัดค้านที่ 1 ได้กล่าวสบประมาทการบริหารงานของผู้ร้องและหมิ่นประมาท จ. จากนั้นผู้คัดค้านทั้งห้ากับพวกได้รวมตัวไม่ยอมกลับเข้าทำงานและเรียกร้องให้พนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วมให้หยุดงานด้วยโดยมีการข่มขู่ ด่าว่าและจดชื่อพนักงานที่ยอมรับค่าจ้างในช่วงพักเที่ยงและไม่เข้าร่วมในการหยุดงานในวันเกิดเหตุ การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง อันเป็นกรณีร้ายแรงด้วย แม้ผู้คัดค้านทั้งห้าจะเป็นกรรมการลูกจ้างและอยู่ ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับอยู่ก็ตาม ผู้ร้องย่อมชอบที่จะขออนุญาตศาลแรงงานเพื่อเลิกจ้าง ผู้คัดค้านทั้งห้าได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
เดิมผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างระหว่างเวลา 15 - 17 นาฬิกา เมื่อผู้ร้องปิดงานและต่อมาเมื่อผู้ร้องเปิดงานอีกครั้ง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งแรกผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานอื่นต่างรับค่าจ้างไปจากผู้ร้อง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่สอง ผู้ร้องยังคงกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา การกระทำดังกล่าวของผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งห้ากระทำการตามคำร้องของผู้ร้องจึงมีเหตุอันควรปรานี ยังไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งห้า แต่การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงาน ของผู้ร้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรลดอัตราค่าจ้างร้อยละ 10 ของอัตราค่าจ้างผู้คัดค้านทั้งห้ารวม 6 เดือน
of 221