คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สละ เทศรำพรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9036-9262/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลิกจ้างไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงจ่ายโบนัส แม้มีการระงับกิจการแต่ต้องจ่ายโบนัสตามข้อตกลง
จำเลยอุทธรณ์ว่า การเลิกจ้างพนักงานของจำเลย เป็นการเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดเพราะจำเลยได้รับคำสั่งจากกระทรวงการคลังให้ระงับการดำเนินกิจการเป็นการถาวร เมื่อจำเลยถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการแล้วก็ไม่มีเหตุจำต้องจ้างพนักงานทั้งหมด หากจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตเหตุใดเมื่อเลิกจ้างพนักงานแล้วจึงไม่จ้างพนักงานให้กลับเข้ามาทำงานทั้งหมด แต่จำเลยเลือกจ้างเพียงบางตำแหน่งเพื่อให้เข้ามาจัดการส่งมอบงานให้แก่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำตามคำสั่งของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน จึงเป็นการเลิกจ้างโดยสุจริต คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองร้อยยี่สิบเจ็ด ก่อนถึงวันจ่ายค่าจ้างและเงินโบนัสเพียง 1 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัส ในวันเดียวกันนั้นเองหลังจากเลิกจ้างแล้วจำเลยยังว่าจ้างพนักงานรวมทั้งโจทก์บางคนกลับเข้าทำงานอีก พฤติการณ์และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยใช้สิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองร้อยยี่สิบเจ็ดโดยไม่สุจริต อุทธรณ์จำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดเป็นนโยบายเอาไว้ว่าจะจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงานภายในสิ้นปีของทุก ๆ ปีเพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงาน ทั้งนี้พนักงานจะต้องมีสภาพเป็นพนักงานอยู่จนถึงวันจ่ายเงินโบนัส โดยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยฉบับนี้มิได้มีเงื่อนไขระบุว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานต่อเมื่อจำเลยดำเนินกิจการมีกำไร ดังนี้ การจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวจึงหมายถึงจำเลยตกลงจ่ายเงินแก่พนักงานเพื่อเป็นรางวัลหรือความดีความชอบที่พนักงานนั้น ๆ อยู่ทำงานกับจำเลยจนถึงวันจ่ายเงินโบนัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8875/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานในคดี: สิทธิในการรับคืนเอกสารของโจทก์เมื่อศาลรับไว้พิจารณา และการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในคดีอื่น
เอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.7 เป็นเอกสารที่โจทก์อ้างและนำส่งต่อศาลแรงงานเพื่อเป็นพยานหลักฐานในคดี จึงต้องสันนิษฐานว่าเอกสารดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ หากโจทก์ขอรับเอกสารดังกล่าวคืนศาลแรงงานก็ชอบที่จะสั่งอนุญาตคืนให้แก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งไม่อนุญาตให้คืนเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.7 แก่โจทก์ ส่วนข้อที่จำเลยโต้แย้งว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เอกสารดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเป็นคดีต่างหากต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8875/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานในคดี: สิทธิในการขอคืนเอกสารของโจทก์และการโต้แย้งกรรมสิทธิ์
เอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.7 เป็นเอกสารที่โจทก์อ้างและนำส่งต่อศาลแรงงานเพื่อเป็นพยานหลักฐานในคดี จึงต้องสันนิษฐานว่าเอกสารดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ หากโจทก์ขอรับเอกสารดังกล่าวคืน ศาลแรงงานก็ชอบที่จะสั่งอนุญาตคืนให้แก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งไม่อนุญาตให้คืนเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.7 แก่โจทก์ ส่วนข้อที่จำเลยโต้แย้งว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เอกสารดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเป็นคดีต่างหากต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8249/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดจ่ายค่าจ้างและการเลิกจ้าง: ผลต่อการจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ป.พ.พ. มาตรา 582
จำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งหมดและลูกจ้างอื่นก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดในวันที่ 30 มิถุนายน 2541โดยการปิดประกาศให้พนักงานทุกคนทราบที่โรงงานของจำเลย และให้โจทก์ทั้งหมดลงชื่อรับทราบการบอกเลิกจ้างโจทก์แต่ละคนระหว่างวันที่ 1 ถึง 9 กรกฎาคม 2541เช่นนี้ การเลิกจ้างย่อมมีผลตาม ป.พ.พ.มาตรา 582 เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างคราวถัดไป คือ วันที่ 30 สิงหาคม 2541 ก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน จึงต้องถือว่าวันดังกล่าวเป็นกำหนดจ่ายสินจ้างตามกฎหมาย ไม่อาจถือหรืออนุมานว่าวันครบกำหนดจ่ายเงินเดือนหรือกำหนดจ่ายสินจ้างเป็นวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เมื่อปรากฏว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม 2541 แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 อีก 30 วัน คือตั้งแต่วันที่1 ถึง 30 สิงหาคม 2541 ก่อนวันสิ้นเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 1 วัน แก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินของโจทก์แต่ละคนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8249/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย และการตีความวันสุดท้ายของการทำงาน เพื่อคำนวณค่าชดเชย
จำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งหมดและลูกจ้างอื่นก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดในวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยการปิดประกาศให้พนักงานทุกคนทราบที่โรงงานของจำเลย และให้โจทก์ทั้งหมดลงชื่อรับทราบการบอกเลิกจ้างโจทก์แต่ละคนระหว่างวันที่ 1 ถึง 9 กรกฎาคม 2541 เช่นนี้การเลิกจ้างย่อมมีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างคราวถัดไป คือ วันที่ 30 สิงหาคม 2541 ก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน จึงต้องถือว่าวันดังกล่าวเป็นกำหนดจ่ายสินจ้างตามกฎหมาย ไม่อาจถือหรืออนุมานว่าวันครบกำหนดจ่ายเงินเดือนหรือกำหนดจ่ายสินจ้างเป็นวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เมื่อปรากฏว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม 2541 แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 อีก 30 วัน คือตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 30 สิงหาคม 2541 ก่อนวันสิ้นเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 1 วัน แก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8136-8139/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้แรงงาน: สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องบังคับค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 686 บัญญัติให้เจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่เวลาที่ลูกหนี้ผิดนัด เมื่อบริษัทนายจ้างผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามมาตรา 686 ได้ แม้มาตรา 688 และมาตรา 689 จะให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้ให้โจทก์ทั้งสี่ไปเรียกร้องให้ลูกหนี้ชั้นต้นชำระหนี้ก่อนที่จะเรียกร้องเอาจากผู้ค้ำประกัน ก็มิได้หมายความว่า ถ้าโจทก์ทั้งสี่ไม่ฟ้องเรียกร้องเอาจากบริษัทนายจ้างลูกหนี้แล้ว โจทก์ทั้งสี่จะไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเอาจากจำเลย ประกอบกับหากจำเลยประสงค์จะให้บริษัทนายจ้างลูกหนี้ชั้นต้นรับผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ชอบที่จะขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบริษัทนายจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ จำเลยจึงหามีสิทธิยกมาตรา 688 และมาตรา 689 ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ได้ไม่
การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย บริษัทนายจ้างได้ตกลงแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นงวด จำนวน 10 งวด งวดละเท่า ๆ กัน แต่บริษัทนายจ้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสี่เพียงงวดแรกงวดเดียว จนถึงวันฟ้องก็ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสี่อีก แม้โจทก์ทั้งสี่จะฟ้องคดีนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้งวดสุดท้าย ก็ถือได้ว่าบริษัทนายจ้างผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว โจทก์ทั้งสี่ย่อมถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ได้ ผู้ค้ำประกันจะยกมาตรา 687 ขึ้นต่อสู้เพื่อโต้แย้งว่าตนไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7646/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าจ้างค้างจ่ายรายวันจากอัตราจ้างรายเดือน โดยอ้างอิงอัตรา 30 วันต่อเดือน ตามกฎหมาย
โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2539 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 จึงขาดไป โจทก์ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนซึ่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดให้นับเป็นอย่างอื่น จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/6 วรรคท้าย ให้ถือว่า เดือนหนึ่งมี 30 วัน
โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 37,500 บาท หารด้วย 30 เป็นค่าจ้างวันละ 1,250 บาท แต่เนื่องจาก ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ 56,250 บาท ซึ่งเท่ากับให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2539 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างเพิ่มอีก 2 วัน คิดเป็นเงิน 2,500 บาท แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ แต่คำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2540 มาด้วยแล้ว จึงเห็นสมควรให้จำเลยจ่ายค่าจ้างส่วนนี้ให้โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่ในคดีแรงงานและการทุเลาการบังคับคดี: ศาลต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงาน และเปิดโอกาสคัดค้าน
การขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อศาลแรงงานว่ามิได้จงใจขาดนัด แต่เป็นเพราะจำเลยไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่คิดว่าโจทก์จะฟ้องจำเลย เนื่องจากก่อนมีการเลิกจ้างได้มีการตกลงเป็นที่เข้าใจกันแล้วถือได้ว่าจำเลยได้อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่ได้มาศาลแล้วเมื่อคำร้องของจำเลยได้ยื่นต่อศาลแรงงานภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบคำบังคับ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 แล้ว ศาลแรงงานต้องรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้ดำเนินการไต่สวนต่อไป
คำร้องขอของจำเลยที่นำที่ดินมาวางเป็นประกันการทุเลาการบังคับคดีและให้ถอนการอายัดเงิน เป็นคำร้องที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บัญญัติไว้ว่าให้ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(2) บัญญัติห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น โดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้รับที่ดิน หลักประกันของจำเลยและให้ถอนการอายัดเงินตามคำร้องขอของจำเลย โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์โต้แย้งคัดค้านเสียก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมาย ดังกล่าวประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานเกี่ยวกับการพิจารณาใหม่และการวางหลักประกันต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะและให้โอกาสคู่ความคัดค้าน
การขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงต้องบังคับไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อศาลแรงงานว่ามิได้จงใจขาดนัด แต่เป็นเพราะจำเลยไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่คิดว่าโจทก์จะฟ้องจำเลย เนื่องจากก่อนมีการเลิกจ้างได้มีการตกลงเป็นที่เข้าใจกันแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่ได้มาศาลแล้ว เมื่อคำร้องของจำเลยได้ยื่นต่อศาลแรงงานกลางภายในกำหนด เจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบคำบังคับ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 แล้ว ศาลแรงงานต้องรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้ดำเนินการ ไต่สวนต่อไป
คำร้องขอของจำเลยที่นำที่ดินมาวางเป็นประกันการทุเลาการบังคับคดีและให้ถอนการอายัดเงิน เป็นคำร้องที่ ป.วิ.พ. มิได้บัญญัติไว้ว่าให้ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) บัญญัติห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น โดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้รับที่ดินหลักประกันของจำเลยและ ให้ถอนการอายัดเงินตามคำร้องขอของจำเลย โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์โต้แย้งคัดค้านเสียก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมาย ดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นโดยการปลอมลายมือชื่อเป็นโมฆะ แม้คดีอาญายกฟ้อง ศาลแพ่งยังสามารถพิจารณาจากหลักฐานอื่นได้
คดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมการโอนหุ้นของบริษัทย.โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนเป็นโมฆะ เพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้โอนหุ้นในหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัด โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม สิทธิฟ้องคดีในคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด ทั้งคู่ความในคดีส่วนอาญากับคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งมิได้เป็นคู่ความรายเดียวกัน เพราะจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีส่วนอาญา และประเด็นแห่งคดีในคดีส่วนอาญามีประเด็นว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครหรือไม่ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัดโดยปลอมลายมือชื่อโจทก์โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการพิพากษาคดีนี้จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46ที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
of 221