คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สละ เทศรำพรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นโดยการปลอมลายมือชื่อเป็นโมฆะ แม้คดีอาญายกฟ้อง ศาลแพ่งยังสามารถพิจารณาจากหลักฐานอื่นได้
คดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมการโอนหุ้นของบริษัทย.โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนเป็นโมฆะ เพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้โอนหุ้นในหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัด โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม สิทธิฟ้องคดีในคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด ทั้งคู่ความในคดีส่วนอาญากับคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งมิได้เป็นคู่ความรายเดียวกัน เพราะจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีส่วนอาญา และประเด็นแห่งคดีในคดีส่วนอาญามีประเด็นว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครหรือไม่ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัดโดยปลอมลายมือชื่อโจทก์โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการพิพากษาคดีนี้จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46ที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: การชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในคดีพิพาทเรื่องทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นเงิน 1,117,525.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 816,020 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 416 บาทจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ไม่เกิน 780,000 บาท ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีหรือตามที่ศาลอุทธรณ์จะเห็นสมควร ดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คัดค้านจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ เป็นการพิพาทกันในเรื่องทรัพย์สิน จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ จำเลยที่ 2 จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 150 วรรคสอง
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระให้ครบถ้วนตามจำนวนทุนทรัพย์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ จำเลยจึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อมา แต่เนื่องจากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์มาชำระสิ้นสุดแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์: คดีพิพาททรัพย์สิน การกำหนดระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นเงิน1,117,525.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 816,020 บาทและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 416 บาท จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ไม่เกิน 780,000 บาท ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีหรือตามที่ศาลอุทธรณ์จะเห็นสมควร ดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คัดค้านจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เป็นการพิพาทกันในเรื่องทรัพย์สิน จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ จำเลยที่ 2 จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคสอง
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระให้ครบถ้วนตามจำนวนทุนทรัพย์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดมิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ จำเลยจึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อมาแต่เนื่องจากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์มาชำระสิ้นสุดแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาล: จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์มาชำระนั้น แม้จะพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วก็ตาม แต่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว จำเลยยังโต้แย้งโดยการอุทธรณ์อยู่ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้โดยไม่จำต้องรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่งก่อน เมื่อยังไม่มีข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเป็นที่สุดประการใด ศาลชั้นต้นก็ยังไม่อาจจะมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเรื่องค่าขึ้นศาล จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำสั่งไม่รับอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์มาชำระ แต่จำเลยไม่ชำระภายในกำหนดแม้ต่อมาจะพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว จำเลยยังโต้แย้งอยู่โดยการอุทธรณ์ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้โดยไม่จำต้องรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่งก่อน ดังนี้ เมื่อยังไม่มีข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเป็นที่สุดประการใด ศาลชั้นต้นก็ยังไม่อาจจะมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นที่ใดมีอำนาจพิจารณาคดี
จำเลยตกลงซื้อปลาจากแพปลาของโจทก์ในจังหวัดสงขลา เพื่อให้ส่งปลาไปให้จำเลยที่จังหวัดภูเก็ต สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นที่จังหวัดสงขลา ส่วนจังหวัดภูเก็ตเป็นสถานที่ส่งและรับมอบสินค้า เมื่อจำเลยผิดสัญญา มูลความแห่งคดีจึงเกิดขึ้นเนื่องจากสัญญาซื้อขายดังกล่าว ศาลจังหวัดสงขลาจึงเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลย่อมมีอำนาจรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นขอชำระภาษีล่าช้าและสิทธิในการหักค่าใช้จ่าย: หลักเกณฑ์และขอบเขต
ปัญหาว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรตามประกาศ กระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 แล้วทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่จำเลยที่ 1หรือไม่นั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเพื่อเพิ่มเติมปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นประเด็นในศาลภาษีอากรกลางแม้ศาลภาษีอากรกลางได้ยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์ไปแล้วก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2539กระทรวงการคลังได้มีประกาศ เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากรเพื่อให้โอกาสผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนได้ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรให้ถูกต้องตามแบบชำระภาษีอากรที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และโจทก์ได้ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าวแล้ว คดีจึงมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าวทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในคดีนี้ต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะเป็นปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยมาก่อนก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการ ชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 2 นั้น ผู้ยื่นขอ ชำระภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังจะได้รับผลประโยชน์โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มเฉพาะภาษีอากรส่วนที่ชำระหรือนำส่งนั้นเท่านั้นแต่ในกรณีของโจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงเรียกเก็บเงินเพิ่มสำหรับการประเมินภาษีในปี 2528(ครึ่งปี) และปี 2529(ครึ่งปี) และสำหรับปี 2529 คงเรียกเก็บเบี้ยปรับร้อยละ50 ส่วนเงินเพิ่มเป็นไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินเรียกเก็บ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์จึงเป็นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากภาษีอากรที่โจทก์ยังคงยื่นเสียไว้ไม่ครบถ้วนจากการที่โจทก์ยื่นขอชำระภาษีไว้ดังกล่าวแล้วหาใช่เบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีอากรส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวไม่ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(5) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 70) พ.ศ. 2520 มาตรา 4 การประกอบกิจการของโจทก์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70แต่ถ้าโจทก์แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นมีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)เงินได้พึงประเมินของโจทก์เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมาย เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายแล้วจึงเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48 ดังนั้น การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้ต้องเริ่มมาจากเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อน แล้วจึงนำค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายมาหักออก มิใช่คำนวณมาจากกำไรสุทธิ สำหรับค่าใช้จ่ายนั้นเมื่อโจทก์ไม่นำค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้มาหัก แต่จะหักตามความจำเป็นและสมควร โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ การที่โจทก์นำสืบอ้างว่าโจทก์มีกำไรจากการประกอบกิจการร้อยละ 10 นั้น ไม่เพียงพอจะถือว่ากำไรร้อยละ 10 ของโจทก์นั้นเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำมาคำนวณเสียภาษี เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นว่ารายได้ทั้งหมดของโจทก์จะต้องมีรายจ่ายที่จะหักได้ตามกฎหมาย เป็นอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด โจทก์ต้องการให้หักค่าใช้จ่ายอีกเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาหักค่าใช้จ่ายให้เท่าที่ตรวจพบจึงเป็นการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระภาษี ผลกระทบต่อเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม และการหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ปัญหาว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 แล้วทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 หรือไม่นั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเพื่อเพิ่มเติมปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นประเด็นในศาลภาษี-อากรกลาง แม้ศาลภาษีอากรกลางได้ยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์ไปแล้วก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2539 กระทรวงการคลังได้มีประกาศเรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรเพื่อให้โอกาสผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนได้ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรให้ถูกต้องตามแบบชำระภาษีอากรที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และโจทก์ได้ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าวแล้ว คดีจึงมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าว ทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในคดีนี้ต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะเป็นปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยมาก่อนก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534ข้อ 2 นั้น ผู้ยื่นขอชำระภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังจะได้รับผลประโยชน์โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มเฉพาะภาษีอากรส่วนที่ชำระหรือนำส่งนั้นเท่านั้นแต่ในกรณีของโจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงเรียกเก็บเงินเพิ่มสำหรับการประเมินภาษีในปี 2528 (ครึ่งปี) และปี 2529 (ครึ่งปี) และสำหรับปี 2529คงเรียกเก็บเบี้ยปรับร้อยละ 50 ส่วนเงินเพิ่มเป็นไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินเรียกเก็บ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์จึงเป็นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากภาษีอากรที่โจทก์ยังคงยื่นเสียไว้ไม่ครบถ้วนจากการที่โจทก์ยื่นขอชำระภาษีไว้ดังกล่าวแล้วหาใช่เบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีอากรส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวไม่
ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (5)ประกอบด้วย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 70) พ.ศ.2520 มาตรา 4 การประกอบกิจการของโจทก์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 แต่ถ้าโจทก์แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นมีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ และตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) เงินได้พึงประเมินของโจทก์เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมาย เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายแล้วจึงเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 48 ดังนั้น การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้ต้องเริ่มมาจากเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อน แล้วจึงนำค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายมาหักออก มิใช่คำนวณมาจากกำไรสุทธิ สำหรับค่าใช้จ่ายนั้นเมื่อโจทก์ไม่นำค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้มาหัก แต่จะหักตามความจำเป็นและสมควร โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ การที่โจทก์นำสืบอ้างว่าโจทก์มีกำไรจากการประกอบกิจการร้อยละ 10 นั้นไม่เพียงพอจะถือว่ากำไรร้อยละ 10 ของโจทก์นั้นเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำมาคำนวณเสียภาษี เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นว่ารายได้ทั้งหมดของโจทก์จะต้องมีรายจ่ายที่จะหักได้ตามกฎหมายเป็นอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด โจทก์ต้องการให้หักค่าใช้จ่ายอีกเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาหักค่าใช้จ่ายให้เท่าที่ตรวจพบจึงเป็นการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มภาษี vs. การลดเบี้ยปรับ: ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี
การเสียเงินเพิ่มเนื่องจากผู้เสียภาษีไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้แน่นอน โดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บแต่อย่างใด และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้
ส่วนปัญหาการงดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเอกสารรายงานผู้สอบบัญชี งบดุลของโจทก์รายละเอียดสินค้าคงเหลือ หมายเหตุประกอบงบดุล และรายการแสดงรายได้รายจ่ายและโจทก์ได้จัดส่งบัญชีและเอกสารพร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ อีกทั้งมอบให้ ส.และ ท.ไปให้การต่อเจ้าพนักงานประเมิน 3 ครั้ง และรับทราบผลของการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นนี้ พอฟังได้ว่าโจทก์มิได้มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีแต่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานด้วยดีพอสมควร เพราะมิฉะนั้นแล้วเจ้าพนักงานประเมินคงจะไม่สามารถประเมินรายได้ของโจทก์ได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้มาหรือรับเอกสารของเจ้าพนักงานทุกครั้ง ก็อาจเป็นกรณีมีความจำเป็นหรือไม่ทราบก็อาจเป็นได้ จึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การลดเบี้ยปรับ และความร่วมมือในการตรวจสอบของโจทก์
การเสียเงินเพิ่มเนื่องจากผู้เสียภาษีไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บแต่อย่างใด และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้ ส่วนปัญหาการงดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเอกสารรายงานผู้สอบบัญชีงบดุลของโจทก์รายละเอียดสินค้าคงเหลือ หมายเหตุประกอบงบดุลและรายการแสดงรายได้รายจ่ายและโจทก์ได้จัดส่งบัญชีและเอกสารพร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ อีกทั้งมอบให้ ส.และท.ไปให้การต่อเจ้าพนักงานประเมิน 3 ครั้ง และรับทราบผลของการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นนี้ พอฟังได้ว่าโจทก์มิได้มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีแต่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานด้วยดีพอสมควร เพราะมิฉะนั้นแล้วเจ้าพนักงานประเมินคงจะไม่สามารถประเมินรายได้ของโจทก์ได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้มาหรือรับเอกสารของเจ้าพนักงานทุกครั้ง ก็อาจเป็นกรณีมีความจำเป็นหรือไม่ทราบก็อาจเป็นได้ จึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่ง
of 221