พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการนำเช็คไปแลกเงินสดและการรับสภาพหนี้
จำเลยมีเจตนาก่อหนี้ด้วยวิธีนำเช็คไปแลกเงินสด อันเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งที่ใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระเงินแต่เพียงบางส่วนจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ให้จนครบ หนี้อันเกิดจากนำเช็คไปแลกเงินสดกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ปรากฏว่าจำเลยชำระหนี้เป็นบางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2534 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2536 ภายในอายุความสิบปีสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยฎีกาว่า การนำเช็คไปแลกเงินสดไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรง ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือกฎหมายลักษณะกู้ยืม เมื่อการนำเช็คไปแลกเงินสดมีจำนวนเงินเกินกว่า 50 บาท มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยไว้เป็นสำคัญ โจทก์จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่นั้น จำเลยให้การว่า โจทก์บรรยายฟ้องเป็นเรื่องการนำเช็คไปแลกเงินสด ไม่ใช่เรื่องการกู้ยืมหรือผิดสัญญาซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า การนำเช็คไปแลกเงินสดไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรง ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือกฎหมายลักษณะกู้ยืม เมื่อการนำเช็คไปแลกเงินสดมีจำนวนเงินเกินกว่า 50 บาท มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยไว้เป็นสำคัญ โจทก์จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่นั้น จำเลยให้การว่า โจทก์บรรยายฟ้องเป็นเรื่องการนำเช็คไปแลกเงินสด ไม่ใช่เรื่องการกู้ยืมหรือผิดสัญญาซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกเทศสัญญาเช็ค – อายุความสิบปี – การรับสภาพหนี้ – ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้รับรอง
จำเลยมีเจตนาก่อหนี้ด้วยวิธีนำเช็คไปแลกเงินสดอันเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งที่ใช้บังคับได้เมื่อโจทก์ได้รับชำระเงินแต่เพียงบางส่วนจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ให้จนครบหนี้อันเกิดจากการนำเช็คไปแลกเงินสดตามกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ปรากฏว่าจำเลยชำระหนี้เป็นบางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่30มิถุนายน2534อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่30เมษายน2536ภายในอายุความสิบปีสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ที่จำเลยฎีกาว่าการนำเช็คไปแลกเงินสดไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือออกกฎหมายลักษณะกู้ยืมเมื่อการนำเช็คไปแลกเงินสดมีจำนวนเงินเกินกว่า50บาทมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยไว้เป็นสำคัญโจทก์จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่นั้นจำเลยให้การว่าโจทก์บรรยายฟ้องเป็นเรื่องการนำเช็คไปแลกเงินสดไม่ใช่เรื่องการกู้ยืมหรือผิดสัญญาซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญดังนั้นฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9912/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเกิน การใช้บังคับมาตรา 63 โดยอนุโลม และอายุความในการขอคืน
โจทก์มีรายได้จากการประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 144(พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ ข้อ 2(7) กำหนดให้เป็นเงินได้ที่จะต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายที่ผู้จ่ายเงินจะต้องปฎิบัติตามข้อ6ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.4/2528ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากร ตามมาตรา 3 เตรส ตามมาตรา 3 เตรส ให้นำมาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54มาตรา 55 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 และมาตรา 63 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กล่าวถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นผู้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายกับสิทธิของผู้มีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายบทมาตราต่าง ๆ ที่มาตรา 3 เตรสให้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมนี้เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา แต่ที่มาตรา 3 เตรสให้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลม ก็เนื่องมาจากในกรณีที่ผู้ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย อันเนื่องมาจากคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา 3 เตรสนี้ไม่ได้บัญญัติถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้หักภาษีและสิทธิของผู้หักภาษีไว้ณ ที่จ่ายดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ จึงจำเป็นต้องใช้กฎหมายดังกล่าวที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ว่าด้วยการเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดามาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 3 เตรส อยู่ในลักษณะ 1 ว่าด้วยข้อความเบื้องต้นซึ่งนำไปใช้ได้ทั้งแก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ดังนั้น ผู้ถูกหักภาษีไว้ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรสนี้ แม้จะเป็นนิติบุคคลเช่นกรณีโจทก์ก็ต้องนำมาตรา 63 ดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลมโดยไม่จำเป็นต้องไปพิจารณาถึงหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการเก็บภาษีว่าจะแตกต่างกันหรือไม่ ตามมาตรา 63 แม้จะเป็นบทบัญญัติถึงสิทธิบุคคลธรรมดาที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเกินกว่าที่ควรเสียก็ตาม เมื่อมาตรา 3 เตรส ให้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีที่ผู้ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเป็นนิติบุคคลเช่นโจทก์ โจทก์ก็จะต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีจำนวนที่เกินนั้นภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งถือได้ว่ากฎหมายบัญญัติเรื่องระยะเวลาขอคืนภาษีในกรณีนี้ไว้เป็นอย่างอื่นแล้วต้องใช้ระยะเวลาตามมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากรนี้มิใช่ระยะเวลาทั่วไป10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้ในปี 2534 จะมีพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 มาตรา 4 บัญญัติมาตรา 27 ตรี เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ก็หามีบทบัญญัติยกเลิกการนำมาตรา 63 มาใช้บังคับโดยอนุโลมที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 เตรสไม่ ดังนั้น กรณีของโจทก์ที่ถูกหักภาษี ไว้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา 3 เตรสจึงมีบทบัญญัติเรื่องการขอคืนภาษีอากรไว้เป็นอย่างอื่นแล้วตามมาตรา 63 เข้าข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ตรีจึงไม่อาจนำระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 27 ตรีไปใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9746/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การยกเลิกและการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุละเมิด
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นระหว่างคู่กรณีมีผลให้ระงับสิทธิเรียกร้องของคู่กรณีเดิมและก่อให้เกิดสิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่หลังจากทำแล้วคู่กรณีย่อมจะแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นหรือยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ได้ตามสมัครใจเมื่อต่อมาคู่กรณีได้แสดงเจตนายกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว จึงไม่จำต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9654/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องคดีล้มละลายกับฟ้องเรียกค่าเช็คไม่เป็นฟ้องซ้อน เพราะมีวัตถุประสงค์และวิธีการต่างกัน
ฟ้องเรื่องเดิมเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายเพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่มีอยู่ทั้งหมดแบ่งปันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยทุกคนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และการที่ศาลจะต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายนั้นก็ต่อเมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า50,000บาทและหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือหนี้ในอนาคตก็ตามอีกทั้งกระบวนพิจารณาต่างๆที่ก่อนศาลจะพิพากษาคดีและภายหลังที่พิพากษาคดีไปแล้วมีการกำหนดวิธีการแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อย่างมากซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช2483ที่กำหนดไว้หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการฟ้องคดีล้มละลายเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์สินของจำเลยโดยเจ้าพนักงานของรัฐที่เรียกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์ของบรรดาเจ้าหนี้ทั่วๆไปของจำเลยและเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยเสียใหม่โดยมิได้เป็นการฟ้องหรือเรียกร้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามมูลหนี้ที่ฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงอันเป็นเรื่องของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อันเป็นการฟ้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คพิพาททั้ง2ฉบับด้วยจำนวนเงิน550,000บาทพร้อมอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องให้แก่โจทก์คนเดียวเท่านั้นโดยต้องวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเห็นว่าการฟ้องคดีนี้เป็นคนละเรื่องกับการฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าวดังนั้นฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมิได้เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9654/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายกับฟ้องชำระหนี้ตามเช็ค: ไม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องเรื่องเดิมเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายเพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่มีอยู่ทั้งหมดแบ่งปันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยทุกคนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และการที่ศาลจะต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายนั้นก็ต่อเมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือหนี้ในอนาคตก็ตาม อีกทั้งกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่ก่อนศาลจะพิพากษาคดีและภายหลังที่พิพากษาคดีไปแล้ว มีการกำหนดวิธีการแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.อย่างมาก ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ที่กำหนดไว้หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการฟ้องคดีล้มละลายเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์สินของจำเลยโดยเจ้าพนักงานของรัฐที่เรียกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์ของบรรดาเจ้าหนี้ทั่ว ๆ ไปของจำเลย และเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยเสียใหม่ โดยมิได้เป็นการฟ้องหรือเรียกร้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามมูลหนี้ที่ฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงอันเป็นเรื่องของบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อันเป็นการฟ้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับด้วยจำนวนเงิน 550,000 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องให้แก่โจทก์คนเดียวเท่านั้น โดยต้องวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. จึงเห็นว่าการฟ้องคดีนี้เป็นคนละเรื่องกับการฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าว ดังนั้นฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมิได้เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการให้ที่ดินตามบันทึกข้อตกลงมีผลผูกพัน แม้ไม่มีวันเดือนปี และลายมือชื่อผู้ให้ที่ดิน
ช. ได้จดทะเบียนให้โจทก์ซึ่งเป็นหลานและจำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่19ไร่26ตารางวาแต่ได้ทำบันทึกแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียง4ไร่ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญกว้างประมาณ10วาโดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไปโดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นเส้นตรงขึ้นไปโดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับให้ไว้โดยชอบแม้ช. จะไม่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้เป็นผู้ให้ในบันทึกเช่นที่พิมพ์ไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินด้วยก็ตามแต่ช. ก็ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนั้นหรือแม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ทำบันทึกไว้ในบันทึกแต่ก็ทำในวันเดียวกับที่ช. จดทะเบียนการให้ทั้งก็ระบุถึงวันเดือนปีที่จดทะเบียนการให้ลงในบันทึกด้วยแล้วทั้งสองประการนี้จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้การรับฟังบันทึกดังกล่าวเสียไปบันทึกดังกล่าวก็หาใช่คำมั่นจะให้ของช. แต่อย่างใดไม่แม้จะเป็นการทำขึ้นภายหลังที่มีการจดทะเบียนการให้แต่ก็เป็นเพียงเอกสารอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนาของการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์จำเลยนั้นช.แบ่งส่วนให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง4ไร่ตามที่ระบุในบันทึกเท่านั้นที่ดินส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นของจำเลยซึ่งโจทก์จำเลยก็ลงลายมือชื่อรับรู้แล้วย่อมรับฟังประกอบการจดทะเบียนได้โจทก์คงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเพียง4ไร่ด้านหน้าติดคอลงภาษีเจริญกว้างประมาณ10วาโดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไปโจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามส่วนดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน: บันทึกแบ่งที่ดินหลังจดทะเบียนใช้ได้ ยึดเจตนาการแบ่งตามที่ตกลง
ช.ได้จดทะเบียนให้โจทก์ซึ่งเป็นหลานและจำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 19 ไร่ 26 ตารางวา แต่ได้ทำบันทึกแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียง 4 ไร่ ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญ กว้างประมาณ10 วา โดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไป โดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับให้ไว้โดยชอบ แม้ ช.จะไม่ได้พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือไว้เป็นผู้ให้ในบันทึกเช่นที่พิมพ์ไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินด้วยก็ตาม แต่ ช.ก็ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนั้น หรือแม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ทำบันทึกไว้ในบันทึก แต่ก็ทำในวันเดียวกับที่ ช.จดทะเบียนการให้ ทั้งก็ระบุถึงวันเดือนปีที่จดทะเบียนการให้ลงในบันทึกด้วยแล้ว ทั้งสองประการนี้จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้การรับฟังบันทึกดังกล่าวเสียไป บันทึกดังกล่าวก็หาใช่คำมั่นจะให้ของ ช.แต่อย่างใดไม่ แม้จะเป็นการทำขึ้นภายหลังที่มีการจดทะเบียนการให้ แต่ก็เป็นเพียงเอกสารอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนาของการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์จำเลยนั้น ช.แบ่งส่วนให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง 4 ไร่ตามที่ระบุในบันทึกเท่านั้น ที่ดินส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นของจำเลยซึ่งโจทก์จำเลยก็ลงลายมือชื่อรับรู้แล้ว ย่อมรับฟังประกอบการจดทะเบียนได้โจทก์คงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเพียง 4 ไร่ ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญกว้างประมาณ 10 วา โดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามส่วนดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9308/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางน้ำชลประทานเป็นทางสาธารณะ แม้มีอำนาจจำกัดการใช้ แต่ไม่ได้ทำให้ทางน้ำนั้นกลายเป็นส่วนตัว
คลองชลประทานซึ่งเป็นทางน้ำที่ราษฎรทั่วไปมีสิทธิใช้สัญจรไปมาได้เป็นทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 แม้พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 15 จะบัญญัติให้อธิบดีกรมชลประทานมีอำนาจ (1) ปิด ฯลฯ (2) ขุดลอก ฯลฯ(3) ห้ามจำกัดหรือกำหนดเงื่อนไขในการนำเรือ แพ ผ่านทางน้ำชลประทาน (1) หรือ (2) ได้แต่ก็เป็นการกำหนดไว้เพื่อให้อธิบดีกรมชลประทาน จัดการดูแลรักษาทางน้ำชลประทานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเพื่อประโยชน์ของการชลประทานเท่านั้นหาทำให้ทางน้ำ ที่ราษฎรใช้ในการคมนาคมกลายสภาพเป็นทางน้ำที่ไม่ใช่ทาง สาธารณะไม่ ที่ดินของโจทก์ทั้งสามจึงมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดิน ของจำเลยทั้งสองซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9308/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางน้ำสาธารณะ คลองเปรมประชากร และสิทธิเรียกร้องทางเดิน
คลองเปรมประชากรเป็นคลองประเภท 2 ตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 5 ซึ่งประชาชนสามารถขับเรือหางยาวที่ไม่ใช่เรือโดยสารในคลองได้ และในปัจจุบันเรือหางยาวก็สามารถแล่นในคลองดังกล่าวได้ เพราะสภาพคลองมีน้ำเต็ม คลองเปรมประชากรจึงเป็นทางน้ำที่ราษฎรทั่วไปมีสิทธิใช้สัญจรไปมาได้ และเป็นทางสาธารณะตามความหมายแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 แม้ พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 15จะบัญญัติให้อธิบดีกรมชลประทานมีอำนาจ ปิด ขุดลอก ห้าม จำกัด หรือกำหนดเงื่อนไขในการนำเรือ แพ ผ่านทางน้ำชลประทานก็ตาม แต่อำนาจดังกล่าวก็เป็นการกำหนดไว้เพื่อให้อธิบดีกรมชลประทานจัดการดูแลรักษาทางน้ำชลประทานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเพื่อประโยชน์ของการชลประทานเท่านั้น หาทำให้ทางน้ำที่ราษฎรใช้ในการคมนาคมกลายสภาพเป็นทางน้ำที่ไม่ใช่ทางสาธารณะไม่
เมื่อที่ดินของโจทก์มีทางออกไปสู่คลองเปรมประชากรซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะ
เมื่อที่ดินของโจทก์มีทางออกไปสู่คลองเปรมประชากรซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะ