พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9308/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางน้ำชลประทานประเภท 2 เป็นทางสาธารณะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องทางผ่านในที่ดินจำเลย
คลองเปรมประชากรเป็นคลองประเภท2ตามพระราชบัญญัติ การชลประทานหลวงพ.ศ.2485มาตรา5ซึ่งประชาชนสามารถขับเรือหางยาวที่ไม่ใช่เรือโดยสารในคลองได้และในปัจจุบันเรือหางยาวก็สามารถแล่นในคลองดังกล่าวได้เพราะสภาพคลองมีน้ำเต็มคลองเปรมประชากรจึงเป็นทางน้ำที่ราษฎรทั่วไปมีสิทธิใช้สัญจรไปมาได้และเป็นทางสาธารณะตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349,1350แม้พระราชบัญญัติ การชลประทานหลวงพ.ศ.2485มาตรา15จะบัญญัติให้อธิบดีกรมชลประทานมีอำนาจปิดขุดลอกห้ามจำกัดหรือกำหนดเงื่อนไขในการนำเรือแพผ่านทางน้ำชลประทานก็ตามแต่อำนาจดังกล่าวก็เป็นการกำหนดไว้เพื่อให้อธิบดีกรมชลประทานจัดการดูแลรักษาทางน้ำชลประทานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเพื่อประโยชน์ของการชลประทานเท่านั้นหาทำให้ทางน้ำที่ราษฎรใช้ในการคมนาคมกลายสภาพเป็นทางน้ำที่ไม่ใช่ทางสาธารณะไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์มีทางออกไปสู่คลองเปรมประชากรซึ่งเป็นทางสาธารณะได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9306/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเรียกรับเงินจากทหารกองเกินเพื่อช่วยเหลือหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานเขตภายใต้บังคับบัญชาของหัวหน้าเขตเมื่อหัวหน้าเขตเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลย โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.รับราชการทหารพ.ศ.2497 มาตรา 28 จัตวา (2) หัวหน้าเขตย่อมมีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งจำเลยให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการตรวจเลือกทหารกองเกินภายในท้องที่เขตส่งเข้าเป็นทหารกองประจำการได้ และถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.ที่จะต้องปฎิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 นอกเหนือจากการปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเสมียนสัสดีเขต ซึ่งเป็นหน้าที่ตามปกติอีกหน้าที่หนึ่งดังนั้น การที่จำเลยเรียกและรับเงินจากบรรดาทหารกองเกินผู้ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ เป็นการตอบแทนในการที่จำเลยรับจะทำการช่วยเหลือมิให้บรรดาทหารกองเกินเหล่านั้นต้องเข้ารับการตรวจเลือกและไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ จำเลยย่อมมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตาม ป.อ.มาตรา 149
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9306/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเรียกรับเงินจากทหารกองเกินเพื่อช่วยเหลือให้หลีกเลี่ยงการตรวจเลือกเข้ากองประจำการ
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานเขตภายใต้บังคับบัญชาของหัวหน้าเขตซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยนัยแห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 28 จัตวา(2)หัวหน้าเขตย่อมมีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 1ให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการตรวจเลือกทหารกองเกินภายในเขตท้องที่และถือว่าจำเลยที่ 1เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเสมียนสัสดี เมื่อจำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจากบรรดาทหารกองเกินผู้ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการเป็นการตอบแทนที่ช่วยเหลือมิให้ต้องเข้ารับการตรวจเลือกและไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน และการคิดดอกเบี้ยเมื่อคืนเงินภาษีเกิน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา33เป็นบทบัญญัติถึงวิธีการที่โจทก์จะขอลดภาษีต่อกรุงเทพมหานครจำเลยที่1ไว้มิใช่บทบัญญัติถึงขั้นตอนในการที่ศาลจะมีอำนาจพิจารณาค่ารายปีที่พิพาทดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าค่าเช่าที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำมากำหนดเป็นค่ารายปีนั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆศาลก็มีอำนาจกำหนดค่ารายปีให้เท่าจำนวนที่สมควรจะให้เช่าได้การที่ศาลภาษีอากรกลางเห็นว่ามีเหตุสมควรลดค่ารายปีและคืนภาษีที่โจทก์ชำระเกินมาให้โจทก์นั้นเป็นการพิพากษาลดค่าภาษีให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา39วรรคสองตามที่ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณา การที่ศาลภาษีอากรกลางให้จำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่9พฤศจิกายน2536ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่พนักงานของจำเลยที่1ประเมินไปชำระนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา39วรรคสองเพราะเมื่อศาลให้ลดค่าภาษีต้องคืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายใน3เดือนหากไม่คืนในกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงจะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยปัญหานี้แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน และการคิดดอกเบี้ยคืนภาษีที่ชำระเกิน
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 33เป็นบทบัญญัติถึงวิธีการที่โจทก์จะขอลดภาษีต่อกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ไว้มิใช่บทบัญญัติถึงขั้นตอนในการที่ศาลจะมีอำนาจพิจารณาค่ารายปีที่พิพาท ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ค่าเช่าที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำมากำหนดเป็นค่ารายปีนั้น มิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่ารายปีให้เท่าจำนวนที่สมควรจะให้เช่าได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางเห็นว่ามีเหตุสมควรลดค่ารายปีและคืนภาษีที่โจทก์ชำระเกินมาให้โจทก์นั้น เป็นการพิพากษาลดค่าภาษีให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 39 วรรคสอง ตามที่ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณา
การที่ศาลภาษีอากรกลางให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินไปชำระนั้น เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 วรรคสอง เพราะเมื่อศาลให้ลดค่าภาษีต้องคืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายใน 3 เดือน หากไม่คืนในกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงจะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย ปัญหานี้แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ให้ถูกต้อง
การที่ศาลภาษีอากรกลางให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินไปชำระนั้น เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 วรรคสอง เพราะเมื่อศาลให้ลดค่าภาษีต้องคืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายใน 3 เดือน หากไม่คืนในกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงจะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย ปัญหานี้แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องแจ้งให้ทราบ และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาเลิก
ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต ให้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่ในกรณีที่มีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยยินยอมให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ จำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้และให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติในการคิดดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ แต่ข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อน เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละเท่าใดแล้วจึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี ตามข้อสัญญาเดิม โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยการประกาศหนังสือพิมพ์ระบุว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่พร้อมดอกเบี้ยให้นำมาชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2535ซึ่งโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 16ตุลาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่นำเงินมาชำระตามกำหนดที่โจทก์ทวงถาม สัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2535 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7277/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกเงินค่าหนี้: การยอมรับหนี้บางส่วน และประเด็นการไม่ฟ้องซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งหมด 150,000 บาทตามบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารท้ายฟ้อง อ้างว่าจำเลยผิดนัดไม่ได้ชำระเงินตามที่ตกลงผ่อนชำระเลย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยผ่อนชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกบางส่วนแล้ว ถือว่าจำเลยไม่ได้ผิดนัด แต่คดีนี้โจทก์ยอมรับว่าได้รับเงินจากจำเลยบางส่วนแล้วเป็นเงิน 38,000 บาท ตามที่จำเลยให้การไว้ในคดีเดิมพ้นกำหนดเวลา 60 เดือน แล้ว จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ที่เหลืออีก 112,000 บาทจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยยังไม่ผิดนัด กลับต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารท้ายฟ้องเพราะเหตุอื่น จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีเดิม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำละเมิด ไม่กระทบความรับผิดของผู้รับประกันภัย
แม้โจทก์ผู้ได้รับความเสียหายจากการที่คนขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ชนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บและรถยนต์ของโจทก์เสียหายกับจำเลยที่ 1 จะได้ทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องค่าสินไหมทดแทนต่อกันอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อโจทก์เปลี่ยนแปลงไปเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็หาทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ก่อนแล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยต้องเปลี่ยนแปลงหรือต้องระงับไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7127/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและข้อเท็จจริงจากพยานนอกคำให้การ: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากได้มาโดยไม่ชอบ
แม้ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถึงจะมิได้เป็นข้อยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ก็ตาม แต่ข้อกฎหมายนั้นจะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจาก ข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกคำให้การเป็นการได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดการชี้สองสถานและงดสืบพยานศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อ้างว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ ดังนั้น การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลซึ่งถือได้ว่าไม่ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 234 กำหนดไว้ กรณีหาจำต้องให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวก่อนไม่ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงชอบแล้ว