พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7043-7047/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การกระทำผิดระเบียบ และการเปลี่ยนแปลงเวลาจ่ายค่าจ้าง
ผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นกรรมการลูกจ้าง เหตุคดีนี้เกิดในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานกว่า 300 คน ได้นัดหมายกันไม่ยอมรับค่าจ้างในช่วงพักเที่ยงและพร้อมใจกันผละงานไปพบ จ. ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของผู้ร้องเพื่อขอให้จ่ายค่าจ้างในเวลา 15 นาฬิกา เป็นการวางแผนตระเตรียมกันมาก่อน โดยมีผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของสหภาพแรงงานเป็นผู้นำการเคลื่อนไหว เมื่อ จ. ปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตาม ข้อเรียกร้องทุกข้อแล้ว ผู้คัดค้านทั้งห้ากับพวกไม่พอใจโดยผู้คัดค้านที่ 1 ได้กล่าวสบประมาทการบริหารงานของผู้ร้องและหมิ่นประมาท จ. จากนั้นผู้คัดค้านทั้งห้ากับพวกได้รวมตัวไม่ยอมกลับเข้าทำงานและเรียกร้องให้พนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วมให้หยุดงานด้วยโดยมีการข่มขู่ ด่าว่าและจดชื่อพนักงานที่ยอมรับค่าจ้างในช่วงพักเที่ยงและไม่เข้าร่วมในการหยุดงานในวันเกิดเหตุ การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง อันเป็นกรณีร้ายแรงด้วย แม้ผู้คัดค้านทั้งห้าจะเป็นกรรมการลูกจ้างและอยู่ ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับอยู่ก็ตาม ผู้ร้องย่อมชอบที่จะขออนุญาตศาลแรงงานเพื่อเลิกจ้าง ผู้คัดค้านทั้งห้าได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
เดิมผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างระหว่างเวลา 15 - 17 นาฬิกา เมื่อผู้ร้องปิดงานและต่อมาเมื่อผู้ร้องเปิดงานอีกครั้ง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งแรกผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานอื่นต่างรับค่าจ้างไปจากผู้ร้อง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่สอง ผู้ร้องยังคงกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา การกระทำดังกล่าวของผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งห้ากระทำการตามคำร้องของผู้ร้องจึงมีเหตุอันควรปรานี ยังไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งห้า แต่การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงาน ของผู้ร้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรลดอัตราค่าจ้างร้อยละ 10 ของอัตราค่าจ้างผู้คัดค้านทั้งห้ารวม 6 เดือน
เดิมผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างระหว่างเวลา 15 - 17 นาฬิกา เมื่อผู้ร้องปิดงานและต่อมาเมื่อผู้ร้องเปิดงานอีกครั้ง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งแรกผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานอื่นต่างรับค่าจ้างไปจากผู้ร้อง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่สอง ผู้ร้องยังคงกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา การกระทำดังกล่าวของผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งห้ากระทำการตามคำร้องของผู้ร้องจึงมีเหตุอันควรปรานี ยังไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งห้า แต่การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงาน ของผู้ร้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรลดอัตราค่าจ้างร้อยละ 10 ของอัตราค่าจ้างผู้คัดค้านทั้งห้ารวม 6 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง: การใช้รถยนต์ของนายจ้างเพื่อส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ห้ามพนักงานขับรถของจำเลยนำรถยนต์ของจำเลยไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว มิใช่เป็นเพียงมาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายของจำเลยเท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่รถยนต์อันเป็นทรัพย์สินของจำเลยไว้ล่วงหน้าอีกด้วย การที่โจทก์นำรถยนต์ของจำเลยไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวเป็นระยะเวลานานถึง 6 วัน โดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ ทั้ง ๆ ที่โจทก์คาดหมายได้ว่าหากโจทก์ขออนุญาตนำรถยนต์ของจำเลยไปใช้ธุระส่วนตัวในกรณีนี้จำเลยก็จะไม่อนุญาต การกระทำของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการจงใจอย่างแจ้งชัดที่จะฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหรือแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นบุคคลที่ไม่ใส่ใจต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยแม้สาเหตุที่โจทก์นำรถยนต์ของจำเลยไปใช้จะสืบเนื่องมาจากมารดาของโจทก์ป่วยหนักและถึงแก่กรรมก็ตาม ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ทราบว่า มารดาของโจทก์ป่วยหนักและโจทก์ต้องการไปเยี่ยมมารดามาก่อนอยู่แล้ว โจทก์ย่อมมีระยะเวลาเตรียมตัวจัดหาพาหนะในการเดินทางได้ล่วงหน้า มิใช่เหตุจำเป็นกะทันหัน หรือเหตุสุดวิสัยที่โจทก์จะต้องนำรถยนต์ของจำเลยไปใช้โดยพลการ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 119(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้างโดยจงใจและร้ายแรง แม้มีเหตุส่วนตัวก็ไม่อาจอ้างได้
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ห้ามพนักงานขับรถของจำเลยนำรถยนต์ของจำเลยไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว มิใช่เป็นเพียงมาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายของจำเลยเท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่รถยนต์อันเป็นทรัพย์สินของจำเลยไว้ล่วงหน้าอีกด้วย การที่โจทก์นำรถยนต์ของจำเลยไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวเป็นระยะเวลานานถึง 6 วัน โดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ ทั้ง ๆ ที่โจทก์คาดหมายได้ว่าหากโจทก์ขออนุญาตนำรถยนต์ของจำเลยไปใช้ธุระส่วนตัวในกรณีนี้จำเลยก็จะไม่อนุญาต การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการจงใจอย่างแจ้งชัดที่จะฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหรือแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นบุคคลที่ไม่ใส่ใจต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยแม้สาเหตุที่โจทก์นำรถยนต์ของจำเลยไปใช้จะสืบเนื่องมาจากมารดาของโจทก์ป่วยหนักและถึงแก่กรรมก็ตาม ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ทราบว่า มารดาของโจทก์ป่วยหนักและโจทก์ต้องการไปเยี่ยมมารดามาก่อนอยู่แล้ว โจทก์ย่อมมีระยะเวลาเตรียมตัวจัดหาพาหนะในการเดินทางได้ล่วงหน้ามิใช่เหตุจำเป็นกะทันหัน หรือเหตุสุดวิสัยที่โจทก์จะต้องนำรถยนต์ของจำเลยไปใช้โดยพลการ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างใช้เวลาทำงานว่าความให้เพื่อนร่วมงาน ก่อให้เกิดความแตกความสามัคคี ถือเป็นความผิดวินัย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ต้องทำงานให้แก่จำเลยในวันและเวลาทำงานเพื่อตอบแทนค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน แต่โจทก์ กลับเอาเวลาที่ต้องทำงานให้แก่จำเลยไปว่าความให้แก่ จ. ซึ่งฟ้อง ผู้บังคับบัญชาในข้อหาหมิ่นประมาทอันสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ จำเลย เป็นการสนับสนุนให้พนักงานของจำเลยฟ้องร้องกันเอง ก่อให้เกิด การแตกความสามัคคีระหว่างพนักงานอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลย การกระทำของโจทก์ดังกล่าว นอกจากจะเสียเวลาปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ ซึ่งจะต้องทำงานให้แก่จำเลยแล้ว ยังทำให้ผู้บังคับบัญชาและพนักงาน หลายคนของจำเลยต้องมาเสียเวลาเกี่ยวกับเรื่องนี้ การกระทำของโจทก์ จึงเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายข้อบังคับ คำสั่งและระเบียบ แบบแผนให้เกิดผลดีแก่จำเลยตามข้อบังคับของจำเลยด้วย เมื่อโจทก์ กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิลงโทษ โจทก์ได้ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างใช้เวลาทำงานว่าความให้เพื่อนร่วมงาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับองค์กรและละเลยหน้าที่
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ต้องทำงานให้แก่จำเลยในวันและเวลาทำงานเพื่อตอบแทนค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน แต่โจทก์กลับเอาเวลาที่ต้องทำงานให้แก่จำเลยไปว่าความให้แก่ จ.ซึ่งฟ้องผู้บังคับบัญชาในข้อหาหมิ่นประมาทอันสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่จำเลย เป็นการสนับสนุนให้พนักงานของจำเลยฟ้องร้องกันเอง ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างพนักงานอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลย การกระทำของโจทก์ดังกล่าว นอกจากจะเสียเวลาปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ซึ่งจะต้องทำงานให้แก่จำเลยแล้ว ยังทำให้ผู้บังคับบัญชาและพนักงานหลายคนของจำเลยต้องมาเสียเวลาเกี่ยวกับเรื่องนี้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ข้อบังคับ คำสั่งและระเบียบแบบแผนให้เกิดผลดีแก่จำเลยตามข้อบังคับของจำเลยด้วย เมื่อโจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิลงโทษโจทก์ได้ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลยึดตามเหตุที่แจ้งเท่านั้น
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีอ้างเหตุเลิกจ้างโจทก์ไว้หลายประการก็ตามหากเหตุเลิกจ้างประการใดไม่ปรากฏในหนังสือเลิกจ้าง ย่อมแสดงว่าในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นจำเลยคงติดใจเลิกจ้างโจทก์เฉพาะสาเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่ได้ติดใจที่จะนำสาเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้มาเป็นเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์อีก ที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยเหตุเลิกจ้างอื่นตามที่จำเลยให้การไว้ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างลูกจ้างรายวัน: สิทธิเมื่อไม่ได้ทำงาน แม้สัญญายังไม่สิ้นสุด
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงานแม้ว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่สิ้นสุด แต่โจทก์ก็มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรายวันมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่ทำงาน แม้สัญญาจ้างยังไม่สิ้นสุด หากไม่ได้ทำงาน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน แม้ว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่สิ้นสุด แต่โจทก์ ก็มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่องหลังเกษียณอายุ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้จำเลยจะมีระเบียบให้ลูกจ้างของจำเลยเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ แต่จำเลยกับโจทก์ได้ตกลงกันทำสัญญาจ้างกันใหม่ ให้โจทก์ทำงานต่อเนื่องกันไปอีก 5 ฉบับ โดยมิได้ให้โจทก์ออกจากงานและยังจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ทุกเดือน อีกทั้งยังขึ้นเงินเดือนให้แก่โจทก์เหมือนลูกจ้างของจำเลยที่ยังไม่เกษียณอายุ ดังนั้น ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ครบเกษียณอายุ แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงานต่อไปและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จึงไม่มีการกระทำใดของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่ไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้เพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือ เหตุใด ๆ ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันดังกล่าวอันเป็นวันครบเกษียณอายุของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ดอกเบี้ย และเงินเพิ่มแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535-6775/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ประชุมใหญ่สหภาพแรงงานชอบด้วยกฎหมาย แม้มติไม่มีรายละเอียดข้อเรียกร้อง ยื่นข้อเรียกร้องภายในระยะเวลาสมควร
มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้ยื่นข้อเรียกร้อง แม้จะไม่มีรายละเอียด ต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อเรียกร้องนั้น ก็ยังเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติบังคับให้มติที่ประชุมใหญ่จะต้องมีรายละเอียดเช่นว่านั้น คำกล่าวของประธานในที่ประชุมสหภาพที่กล่าวในทำนองว่าสหภาพจำเป็นที่จะต้องยื่นข้อเรียกร้องก่อนสิ้นปีนั้นเป็นเพียงคำกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลของประธานต่อที่ประชุมใหญ่เท่านั้นหาได้หมายความว่าให้ที่ประชุมลงมติว่าจะให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในกำหนดสิ้นปีด้วย เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้ยื่นข้อเรียกร้อง และสหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยภายในระยะเวลาสมควรแล้ว แม้จะล่วงเลยวันสิ้นปีก็ตาม ก็ถือเป็นการยื่นข้อเรียกร้องโดยมติของที่ประชุมใหญ่