คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สละ เทศรำพรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านและการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499
ขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มีคำสั่งย้ายชื่อโจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 อันเป็นทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียนบ้านดังกล่าวไปอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลางซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 ได้ เป็นช่วงเวลาที่พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 ใช้บังคับอยู่ ยังไม่ถึงวันที่พระราช-บัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ การที่จะพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499เป็นเกณฑ์
โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 96/1 มาตั้งแต่ปี 2527 แสดงว่าโจทก์ได้ออกจากบ้านเลขที่ 96/2 อันเป็นบ้านที่โจทก์มีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนหลังนั้น นับถึงวันที่จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 เพื่อให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยที่ 1 เป็นเวลาประมาณ 7 ปี ถือว่าโจทก์ได้ย้ายที่อยู่จากบ้านซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนไปอยู่ที่อื่นแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งการย้ายที่อยู่ของโจทก์ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันย้ายออก เมื่อขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 กำลังมีข้อพิพาทอยู่กับโจทก์เกี่ยวด้วยเรื่องที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่โจทก์ให้ออกจากบ้านเลขที่ 96/1 อันเป็นบ้านอีกหลังหนึ่งของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่แจ้งย้ายชื่อของโจทก์จากทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 ไปอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 96/1 ย่อมไม่เป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งมีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 ของจำเลยที่ 1 ไปไว้ในทะเบียนบ้านกลางหรือทะเบียนคนบ้านกลางตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้สั่งการไปตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยประวิงการชำระหนี้ ทำให้โจทก์ยึดทรัพย์ได้ แม้ศาลยกคำร้อง การที่จำเลยต้องรับผิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์
การที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินส่วนแบ่งจากเงินที่มีการประมูลขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยตามคำพิพากษาแล้วจำเลยไม่ยอมชำระราคาค่าซื้อรวมทั้งค่าธรรมเนียมการขายหลังจากจำเลยประมูลราคาซื้อได้แล้วโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนการชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต่อศาลชั้นต้นถือได้ว่าจำเลยเจตนาที่จะประวิงการบังคับคดีโดยไม่สุจริตเพื่อที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับการชำระเงินส่วนแบ่งตามสิทธิของโจทก์ดังนั้นการที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดที่ดินแปลงอื่นของจำเลยรวม4แปลงเพื่อบังคับคดีเอาเงินมาชำระส่วนแบ่งของโจทก์บ่องบอกเจตนาของโจทก์ได้ว่าโจทก์กระทำไปโดยสุจริตแม้ต่อมาศาลฎีกาจะพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินทั้งสี่แปลงของจำเลยก็ตามแต่การนำยึดที่ดินทั้งสี่แปลงของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่ามิได้เกิดเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์แต่อย่างใดจำเลยย่อมมีส่วนผิดที่ก่อให้โจทก์นำยึดที่ดินจำนวน4แปลงของจำเลยอันเนื่องมาจากการที่จำเลยประวิงการบังคับคดีจำเลยจึงควรเป็นฝ่ายต้องรับผิดเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดียึดแล้วไม่มีการขายแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคหนึ่งประกอบมาตรา166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเมื่อจำเลยรับสารภาพแล้วอ้างข้อเท็จจริงใหม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่2ให้การรับสารภาพตามฟ้องและชั้นอุทธรณ์ก็อุทธรณ์เพียงขอให้รอการลงโทษการที่จำเลยที่2ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยที่2ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297แต่เป็นเพียงความผิดตามมาตรา295เท่านั้นจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วทั้งยังเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอคืนภาษีอากร: ประเมินราคาผิด การประเมินใหม่ไม่กระทบอายุความ
ในวันนำเข้าสินค้าโจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่สำแดงไว้แต่เนื่องจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่พอใจราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าโจทก์จึงได้วางหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันค่าภาษีอากรที่อาจจะต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยยืนยันการประเมินเพิ่มภายหลังทั้งนี้เพื่อโจทก์จะได้นำสินค้าพิพาทออกจากอารักขาของจำเลยตามที่พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112กำหนดไว้ต่อมาเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ยืนยันประเมินให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรเพิ่มโจทก์ได้นำเงินไปชำระและรับหลักประกันหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารที่วางไว้คืนยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มในชั้นนำเข้าสินค้าพิพาทเพราะการกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการดำเนินการตามที่พระราชบัญญัติ ศุลกากรฯมาตรา112ทวิวรรคหนึ่งกำหนดวิธีการไว้การกระทำดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนจะนำของออกไปจากอารักขาของกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา40กำหนดไว้อันจะถือว่าโจทก์ได้เสียเงินอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินกำหนด2ปีนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา10วรรคห้าหากแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินเงินอากรเพิ่มเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของซึ่งเป็นไปตามมาตรา112ทวิวรรคหนึ่งและวรรคสองแห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากรฯซึ่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯดังกล่าวก็มิได้บัญญัติเกี่ยวกับอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้กำหนดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้จัดการมรดก: แม้มีข้อจำกัดด้านสุขภาพ แต่สามารถจัดการมรดกได้ หากไม่มีทายาทอื่นสนใจ
แม้ผู้ร้องจะมีอายุมากหูฟังไม่ค่อยได้ยินต้องถามด้วยเสียงดังจึงได้ยินก็ตามแต่ผู้ร้องก็สามารถตอบคำถามทนายความจนศาลชั้นต้นสามารถบันทึกถ้อยคำของผู้ร้องได้ข้อความครบถ้วนตามความต้องการทรัพย์มรดกของผู้ตายก็มีเพียงที่ดินและบ้านบนที่ดินดังกล่าวไม่ยุ่งยากต่อการจัดการผู้ร้องย่อมสามารถติดต่อสื่อความหมายให้เจ้าพนักงานทราบความประสงค์ของตนได้อีกทั้งทายาทที่จะสามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อจัดการมรดกของผู้ตายนอกจากผู้ร้องแล้วก็มีเพียงบุตรของผู้ตายอีก2คนแต่ทายาททั้งสองดังกล่าวไม่ได้สนใจใยดีกับการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายการจะปล่อยให้มรดกของผู้ตายทิ้งไว้โดยไม่มีผู้จัดการอาจเกิดความเสียหายจึงสมควรตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4180/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายและการใช้ดุลพินิจในการลงโทษคดีอาวุธปืน
ขณะผู้เสียหายทั้งแปดยืนรอขึ้นรถโดยสารประจำทาง อ. กับจำเลยที่1และที่2มาพบผู้เสียหายที่1 อ. ซึ่งรู้จักกับผู้เสียหายที่1ได้เข้าถามหาเพื่อนคนหนึ่งแล้วไม่พอใจคำตอบของผู้เสียหายที่1จึงเกิดการโต้เถียงและเข้าต่อยใบหน้าของผู้เสียหายที่1แต่ไม่ถูกขณะนั้นจำเลยที่1ก็ยืนอยู่พวกของผู้เสียหายคนหนึ่งถือมีดดาบยาวประมาณครึ่งเมตรชูขึ้นเหนือศีรษะวิ่งตรงเข้าจะช่วยผู้เสียหายที่1จำเลยที่1และที่2จึงชักอาวุธปืนลูกซองสั้นและยิงลงไปที่พื้นดินคนละนัดก็เพื่อยับยั้งไม่ให้เพื่อนของผู้เสียหายที่1ใช้มีดฟัน อ. หรือจำเลยทั้งสองเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแม้กระสุนปืนที่จำเลยที่1ยิงไปจะกระทบพื้นดินและแผ่กระจายถูกผู้เสียหายทั้งแปดจนได้รับอันตรายแก่กายจำเลยที่1ก็ไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าหรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น จำเลยที่1ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรกแม้จำเลยที่1จะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยที่1หนักเกินไปย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยที่1ให้เหมาะสมแก่ความผิดได้โดยให้รอการลงโทษแต่ให้ลงโทษปรับและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติด้วย กรณีที่ศาลล่างปรับบทมาตราผิดศาลสูงย่อมมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดหยิบยกขึ้นว่ากล่าวก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาจะซื้อขายหลังคู่สัญญาเสียชีวิต และสิทธิของผู้จัดการมรดกในการเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้ทนายความทำหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทและตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างพ.กับจำเลยระบุว่าคู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในวันที่19สิงหาคม2535เมื่อถึงกำหนดนัดพ. ไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดนัดคำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดดังนั้นที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่จึงเป็นการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ผิดจากข้อเท็จจริงในสำนวน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแม้จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาก็ตามแต่เมื่อจำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่างพ. กับจำเลยกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่19สิงหาคม2535พ. ถึงแก่ความตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ดังนั้นสิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวย่อมเป็นกองมรดกของพ. ผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกการที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้พ.ไปดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหลังจากพ. ถึงแก่ความตายแล้วจึงย่อมไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แม้โจทก์จะไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยแต่โจทก์ก็ดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยในฐานะคู่สัญญากับพ. ปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาจะซื้อขายหลังผู้จะซื้อเสียชีวิต: สิทธิเรียกร้องของกองมรดกต่อคู่สัญญา
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้ทนายความทำหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาท และตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่าง พ.กับจำเลยระบุว่า คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 เมื่อถึงกำหนดนัด พ.ไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดนัด คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ จึงเป็นการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ผิดจากข้อเท็จจริงในสำนวน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การ แม้จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็น ตามป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสี่ ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่าง พ.กับจำเลย กำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 พ.ถึงแก่ความตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น สิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวย่อมเป็นกองมรดกของ พ.ผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600 การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดก การที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้ พ.ไปดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหลังจาก พ.ถึงแก่ความตายแล้ว จึงย่อมไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
แม้โจทก์จะไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย แต่โจทก์ก็ดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยในฐานะคู่สัญญากับ พ.ปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายก่อนคู่สัญญาสิ้นชีพ: สิทธิยังคงผูกพันทายาท/ผู้จัดการมรดก หากจำเลยผิดนัด
จำเลยให้การว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของพ.ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างพ. กับจำเลยระบุวันที่คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเมื่อถึงกำหนดนัดพ. ไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดนัดคำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดดังนั้นที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่จึงเป็นการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ผิดจากข้อเท็จจริงในสำนวน ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาต่อกันหรือไม่แม้ประเด็นดังกล่าวจะตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การก็ตามแต่จำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่ดังนี้ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่างพ.กับจำเลยต่อมาพ. ตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ดังนั้นสิทธิในการโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาย่อมเป็นกองมรดกของพ. ผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกการที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้พ. ทราบหลังจากที่พ. ถึงแก่ความตายแล้วจึงไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาที่จำเลยได้ยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ซึ่งเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสุจริตในการครอบครองที่ดินและการพิพากษาคดีอาญาที่ผูกพันคดีแพ่ง
โจทก์จำเลยโต้เถียงสิทธิครอบครองที่ดินกันอยู่ การที่จำเลยเข้าไปไถปรับที่ดินก็ด้วยเชื่อโดยสุจริตว่ามีสิทธิโดยชอบ ที่จะเข้าไปทำได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกและทำให้ เสียทรัพย์ซึ่งคันนาและต้นหว้าที่อยู่ในที่ดินพิพาทที่จำเลย ทำให้เสียหาย คดีอาญาฟังไม่ได้ว่า จำเลยทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 แม้คดีส่วนแพ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40ก็ตาม และศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์แต่เมื่อการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อกฎหมายจึงต้องฟังว่าจำเลยมิได้ทำละเมิดแก่โจทก์
of 221