คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สละ เทศรำพรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5286-5363/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ คณะรัฐมนตรีปรับลดโบนัสรัฐวิสาหกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ขัดต่อข้อตกลงสภาพการจ้าง
ธนาคารออมสิน จำเลย เป็นกิจการของรัฐ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4 และโจทก์ทั้งหมดมีสถานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วย โจทก์ทั้งหมดและจำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน แม้จำเลยใช้หลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลานาน ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 จะมีบทเฉพาะการในมาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ยังคงใช้บังคับต่อไป ก็มิได้หมายความว่าห้ามไม่ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ไม่อาจดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติถึงวิธีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้โดยให้นายจ้างหรือลูกจ้างสามารถเรียกร้องให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ เพราะกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในกิจการของเอกชนเท่านั้น ไม่ได้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจด้วย ทั้ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ก็มิได้มีบทบัญญัติในลักษณะเช่นนั้น ประกอบกับรัฐวิสาหกิจเป็นกิจการของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เมื่อประเทศชาติตกอยู่ในสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ การปรับลดเงินโบนัสของรัฐวิสาหกิจจะช่วยให้รัฐวิสาหกิจนำเงินที่ประหยัดได้ไปเพิ่มวงเงินเพื่อใช้ในการลงทุน ซึ่งจะทำให้วงเงินลงทุนที่เบิกจ่ายได้จริงมีจำนวนสูงขึ้นและรัฐวิสาหกิจยังไม่ได้จ่ายเงินโบนัสประจำปี 2541 ให้แก่พนักงาน คณะรัฐมนตรีย่อมมีมติให้ปรับลดเงินโบนัสของพนักงานรัฐวิสาหกิจประจำปี 2541 ลงได้ไม่เป็นการลงมติย้อนหลัง และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้ปรับลดเงินโบนัสกรรมการและพนักงานฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ลงทุกแห่ง ทุกคน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลใด มติคณะรัฐมนตรีจึงมีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201-5202/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานละทิ้งหน้าที่จนเกิดเหตุร้ายแรง ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องว่าด้วยการสิ้นสุดสภาพการจ้างในเรื่องการเลิกจ้าง กำหนดให้ผู้ร้องเลิกจ้างพนักงานที่ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบวินัยการทำงานกรณีร้ายแรงได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และบทที่ 8 ว่าด้วยวินัยในการทำงานและการดำเนินการทางวินัย ข้อ 8.2.1 ในเรื่องลักษณะความผิดวินัยว่าด้วยการปฏิบัติงานข้อ 3 กำหนดว่า การละทิ้งหน้าที่เป็นการผิดวินัยในการปฏิบัติงาน เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองมีหน้าที่ดูแลเตาอบโฮโมจิไนซ์ซึ่งใช้อบแท่งอะลูมิเนียม ต้องคอยกดปุ่มนำแท่งอะลูมิเนียมที่อบได้ขนาดตามกำหนดเวลาแล้วออกจากเตาอบ เมื่อมีเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้นและรู้อยู่แล้วว่า หากเปิดเตาอบทิ้งไว้ในขณะที่มีอะลูมิเนียมอยู่ในเตาอบ โดยไม่มีคนคอยดูแลนำอะลูมิเนียมที่อบได้ขนาดแล้วออกจากเตาอบ อะลูมิเนียมอาจจะละลายและอาจเกิดไฟไหม้ได้ การที่ผู้คัดค้านทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปอยู่ที่โรงอาหาร โดยไม่ปิดวาล์วหรือที่ปิดเปิดแก๊สของเตาอบ จนเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้บริเวณเตาอบทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลผูกพัน แม้มีข้อบังคับใหม่ขัดแย้ง หากลูกจ้างไม่ยินยอม
ประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีผลผูกพันให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่นายจ้างประกาศใช้เป็นต้นไป แม้ต่อมานายจ้างจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขึ้นใหม่โดยมีบทเฉพาะกาลขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมและมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องการให้เงินบำเหน็จให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาลของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิดโดยมีหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษแก่ลูกจ้างที่ได้ปฏิบัติงานให้นายจ้างด้วยดีตลอดมาโดยไม่มีความผิดอันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง วัตถุประสงค์และหลักการของการจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จจึงแตกต่างกัน เมื่อประกาศการให้เงินบำเหน็จมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า เงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในกรณีที่ค่าชดเชยมีจำนวนมากกว่าเงินบำเหน็จจึงไม่อาจถือได้ว่าเงินค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากจำเลยตามประกาศการให้เงินบำเหน็จแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลเหนือข้อบังคับใหม่ หากลูกจ้างไม่ยินยอมแก้ไข และเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการพิเศษที่ต่างจากค่าชดเชย
ประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่เจ้าหน้าที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่จำเลยประกาศใช้เป็นต้นไป แม้ต่อมาในปี 2540 จำเลยจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยมีบทเฉพาะกาลว่าพนักงานที่ครบเกษียณอายุแล้วจะได้รับเงินที่จำเลยจ่ายสมทบให้พร้อมผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากคำนวณแล้วยอดเงินที่จะได้รับเมื่อรวมกับค่าชดเชยแล้วได้น้อยกว่าเงินบำเหน็จที่ได้กำหนดไว้ในประกาศเดิม จำเลยจะจ่ายเพิ่มให้ในส่วนที่ขาดอยู่เพื่อให้ได้รับเท่ากับอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับเดิมข้อบังคับดังกล่าวจึงขัดแย้งกับประกาศฉบับเดิม และมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมให้จำเลยแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องการให้เงินบำเหน็จ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิด ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษ อันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง จึงมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เมื่อประกาศมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่าเงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชย จึงไม่อาจถือเอาได้ว่าเงินค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้วนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5199/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์มรดกบังคับคดี: ทายาทมีกรรมสิทธิ์แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 บัญญัติว่า "ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะรวบรวมเงินเพื่อให้พอชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธียึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ คือ
(1) โดยวิธียึดและขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ"
หมายความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดาของจำเลยได้ถึงแก่กรรมลงโดยไม่ปรากฏว่ามีการทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายอันเป็นกองมรดกย่อมตกทอดแก่ทางทายาทโดยธรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600 ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแม้จะยังไม่มีชื่อจำเลยเป็นของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนที่ดินก็ตาม โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาทางหน้าศาล ถือเป็นการแจ้งให้ทราบแล้ว แม้โจทก์มิได้ติดตามตรวจสอบ
ศาลแรงงานกลางนัดฟังคำพิพากษาและได้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบที่หน้าศาลโดยให้มีผลทันทีแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 25,26 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ไปฟังคำพิพากษาในวันนัดและศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยจดแจ้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาตามกฎหมายแล้ว จึงต้องถือว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้วในวันนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 140 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จะอ้างว่ายังไม่ทราบคำพิพากษาไม่ได้
โจทก์ไม่ติดตามตรวจสอบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ เมื่อใด เพราะเข้าใจว่าช่วงนั้นศาลแรงงานกลางมีงานเกี่ยวกับการพิพากษาคดีจำนวนมาก ก็ถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เองไม่ใช่ความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาและการรับทราบคำพิพากษาในคดีแรงงาน การไม่ติดตามคดีถือเป็นความบกพร่องของผู้ฟ้อง
ศาลแรงงานกลางนัดฟังคำพิพากษาและได้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบที่หน้าศาลโดยให้มีผลทันทีแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 25, 26 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ไปฟังคำพิพากษาในวันนัดและศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยจดแจ้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาตามกฎหมายแล้ว จึงต้องถือว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้วในวันนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จะอ้างว่ายังไม่ทราบคำพิพากษาไม่ได้
โจทก์ไม่ติดตามตรวจสอบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ เมื่อใด เพราะเข้าใจว่าช่วงนั้นศาลแรงงานกลางมีงานเกี่ยวกับการพิพากษาคดีจำนวนมาก ก็ถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่ความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลการเลิกจ้างเป็นสาระสำคัญ แม้มีการอ้างตกลงเลิกสัญญา
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรก โดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามเดิม แม้จำเลยอ้างมีการตกลงเลิกสัญญา แต่เป็นเหตุสนับสนุนข้ออ้างเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรกโดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968-5050/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยทางการเงิน กรณีจำกัดสิทธิขายหุ้น
โจทก์ทั้งแปดสิบสามตกลงจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของจำเลยที่ 1โดยมีข้อจำกัดสิทธิเกี่ยวกับการจำหน่ายหุ้นและยอมให้จำเลยที่ 1 นำหุ้นที่ยังไม่มีสิทธิจำหน่ายออกขายแก่บุคคลอื่น หากโจทก์ทั้งแปดสิบสามต้องพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ก่อนครบกำหนดสามปีนับแต่วันปิดการจองซื้อ ซึ่งโจทก์ดังกล่าวจะได้รับเงินค่าหุ้นคืนเท่ากับราคาจองซื้อพร้อมดอกเบี้ยภายใน 1 เดือน นับแต่พ้นสภาพการเป็นพนักงาน เงื่อนไขดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 มีภาระหรือมีหน้าที่ที่จะต้องนำหุ้นดังกล่าวออกขายแก่บุคคลอื่นด้วย เมื่อกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินหรือค้าหลักทรัพย์ได้ตามปกติ ถือได้ว่าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 กลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้อันเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคสอง จำเลยที่ 1จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ผิดข้อตกลงหรือยกเลิกเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ระบุในบันทึกการเสนอขายหุ้นโดยพลการจำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระเงินค่าหุ้น ค่าเสียหายและดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังกล่าว
of 221