คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สละ เทศรำพรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,208 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968-5050/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นวิสัยของการชำระหนี้จากเหตุสุดวิสัยทางการเงินของลูกหนี้ และผลกระทบต่อสัญญาซื้อขายหุ้น
ในวันที่โจทก์ทั้งแปดสิบสามถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างนั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะนำหุ้นในส่วนที่เหลือของโจทก์ทั้งแปดสิบสามออกขายให้แก่บุคคลอื่นตามเงื่อนไขในบันทึกเสนอขายหุ้นแล้ว เนื่องจากถูกกระทรวงการคลังมีคำสั่งห้ามมิให้ทำธุรกรรมทางการเงินหรือค้าหลักทรัพย์อีกต่อไป ถือได้ว่าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภาระหรือมีหนี้ที่จะต้องนำหุ้นออกขายให้แก่บุคคลอื่นดังกล่าวกลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ผิดข้อตกลงหรือยกเลิกเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ระบุในบันทึกการเสนอขายหุ้นโดยพลการ จำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระค่าหุ้น ค่าเสียหายและดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน หากได้รับสำเนาคำพิพากษาหลังกำหนด ศาลต้องพิจารณาขยายเวลาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
หากเป็นความจริงตามคำร้องของจำเลยที่ว่า จำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ กรณีถือได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
ศาลแรงงานไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวกรณีถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ศาลแรงงานจึงชอบจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกาการที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยเข้าใจเรื่องระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงานผิดพลาด หากขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: เหตุสุดวิสัย-ได้รับสำเนาคำพิพากษาล่าช้า ศาลต้องพิจารณาขยายเวลาให้เพื่อความเป็นธรรม
หากเป็นความจริงตามคำร้องของจำเลยที่ว่า จำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ กรณีถือได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
ศาลแรงงานไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวกรณีถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ศาลแรงงานจึงชอบจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยเข้าใจเรื่องระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงานผิดพลาด หากขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันการทำงานระงับสิ้นเมื่อมีสัญญาประนีประนอมยอมความใหม่ ศาลพิพากษาเกินฟ้อง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องและนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 5ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าสินค้าไม่ส่งมอบให้โจทก์อันเป็นความเสียหายจากการทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงานและอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 5 ในส่วนนี้จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิด ความรับผิดของจำเลยที่ 1ที่เกิดจากการทำงาน และความรับผิดของจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงาน จึงระงับสิ้นไป ทั้งฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่าโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับหลังคือหนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันระงับสิ้นเมื่อสัญญาหลักเปลี่ยนแปลง และการพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีแรงงาน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าสินค้าไม่ส่งมอบให้โจทก์อันเป็นความเสียหายจากการทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน และอธิบดีผู้พิพากษาแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 5 ในส่วนนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานแล้วก็ตาม แต่เมื่อต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดดังกล่าว ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่เกิดจากการทำงานและความผิดของจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงาน จึงระงับสิ้นไป ทั้งฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่าโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับหลัง คือหนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่ขอให้บังคับตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565-4576/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะรัฐวิสาหกิจของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร และสิทธิประโยชน์ของพนักงานเมื่อเกษียณอายุ
สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของตามคำนิยามของคำว่า รัฐวิสาหกิจ ในมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534กรณีไม่อาจนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน2515 หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541มาใช้บังคับได้แต่ต้องนำพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับเทียบเคียง ซึ่งมีผลให้โจทก์ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดของรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565-4576/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่? และมีผลต่อสิทธิการได้รับค่าชดเชยของลูกจ้างอย่างไร
โจทก์อุทธรณ์ว่า สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครมิได้เป็นหน่วยธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของตามคำนิยามคำว่า รัฐวิสาหกิจ ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยอ้างว่าพนักงานของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครทุกคนเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม แสดงว่าสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ มิฉะนั้นแล้วพนักงานของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครทุกคนคงไม่ต้องเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม และหากสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นรัฐวิสาหกิจตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางแล้ว ผลกำไรที่ได้จากการประกอบธุรกิจจะต้องนำส่งเพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร แต่กรณีของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ปรากฏว่าไม่ได้ใช้เงินงบประมาณจากกรุงเทพมหานคร เงินเดือนของพนักงานก็ใช้เงินจากการประกอบกิจการของสถานธนานุบาลเอง การประกอบกิจการพาณิชย์ดังกล่าวมีผลกำไรก็ไม่ต้องนำส่งผลกำไรเพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ในปัญหานี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานธุรกิจที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการพาณิชย์ ถือเป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
แม้สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครจะมิใช่ราชการส่วนท้องถิ่น แต่เป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของตามคำนิยามของคำว่า รัฐวิสาหกิจ ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 กรณีไม่อาจนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ แต่ต้องนำ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับเทียบเคียงแก่กรณีของโจทก์ ซึ่งมีผลให้โจทก์ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดของรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามฟ้อง ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครมิใช่ราชการส่วนท้องถิ่น ไม่เข้าข้อยกเว้นที่มิให้นำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับ เมื่อโจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามฟ้อง โดยนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องเกิดขึ้นขณะเลิกจ้าง การกระทำหลังเลิกจ้างมิอาจเป็นเหตุเลิกจ้างได้ และลูกจ้างทดลองงานก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ
++ เรื่อง คดีแรงงาน
++ คดีแดงที่ 4530-4534/2543
++
การกระทำความผิดของลูกจ้างที่จะทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น จะต้องเป็นการกระทำความผิดที่นายจ้างถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างซึ่งจะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2541แต่การกระทำของโจทก์ทั้งหกที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงนั้นเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกแล้วการกระทำดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างย้อนหลังเพื่อเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกในวันที่ 24 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างได้ แม้จะให้การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2541 ก็ตาม
จำเลยก็ไม่ได้ออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกใหม่อีกครั้งโดยยกเอาการกระทำภายหลังดังกล่าวของโจทก์ทั้งหกเป็นเหตุเลิกจ้าง ฉะนั้นไม่ว่าการกระทำภายหลังของโจทก์ทั้งหกดังกล่าวจะเป็นความผิดตามที่จำเลยอุทธรณ์หรือไม่ ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างได้กำหนดไว้ในข้อ 2ว่า "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โดยไม่ได้กำหนดว่าลูกจ้างทดลองงานไม่ให้ถือว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายแห่งประกาศข้อดังกล่าว โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ตั้งแต่เป็นลูกจ้างทดลองงานแล้ว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 กันยายน 2539 ข้อ 7 ที่กำหนดว่า ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในส่วนที่จ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามประกาศดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4415-4419/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติอายุ เกิน 60 ปี ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคแรก เป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้าง ส่วนการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9(2)เป็นบทกฎหมายที่กำหนดคุณสมบัติไว้โดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้าง โจทก์มีอายุเกินหกสิบปีขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9(2) และต้องถูกบังคับให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 11(3) โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุที่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายดังกล่าวมิใช่ถูกจำเลยเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จำเลยจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
ข้อตกลงใดที่ทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิหรือได้รับสิทธิน้อยกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจของจำเลยเนื่องจากเกษียณอายุแล้ว โจทก์ร้องขอทำงานเป็นพนักงานของจำเลยต่อไป โดยทำข้อตกลงกับกรรมการผู้จัดการของจำเลยว่าโจทก์จะทำงานต่อไปพลางก่อนเพื่อรอผลการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลย สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยจะเกิดขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน ถือเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 183 วรรคแรกเมื่อคณะกรรมการบริหารของจำเลยไม่อนุมัติให้จ้างโจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไป สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เกิดขึ้นเนื่องจากเงื่อนไขบังคับก่อนตามนิติกรรมไม่สำเร็จโจทก์จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยอีกต่อไปและไม่มีสิทธิตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534
ข้อตกลงที่จะไม่รับค่าจ้างสำหรับช่วงเวลาที่รอการอนุมัติของคณะกรรมการบริหารของจำเลยทำขึ้นก่อนที่โจทก์จะมีสิทธิตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534ไม่ถือเป็นการตัดสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4415-4419/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากอายุเกินเกณฑ์ และผลของสัญญาจ้างแรงงานที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน
โจทก์มีอายุเกินหกสิบปี ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9(2) ต้องถูกบังคับให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 11(3) โจทก์จึงถูกเลิกจ้างเพราะเหตุขาดคุณสมบัติตามกฎหมายดังกล่าว มิใช่ถูกเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จำเลยจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
ข้อตกลงที่ทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิหรือได้รับสิทธิน้อยกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน อันเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ต่อเมื่อผู้ที่ทำข้อตกลงนั้นเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน โจทก์เกษียณอายุแล้วแต่ขอทำงานเป็นพนักงานของจำเลยต่อ โดยทำข้อตกลงกับจำเลยว่าโจทก์จะทำงานต่อไปพลางก่อนเพื่อรอ ผลการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลย สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยจะเกิดขึ้นหรือไม่จึงไม่แน่นอนถือเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 183 วรรคแรก เมื่อคณะกรรมการบริหารของจำเลยไม่อนุมัติ สัญญาจ้างแรงงานจึงไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยต่อไป ข้อตกลงที่จะไม่รับค่าจ้างช่วงเวลารอการอนุมัติทำขึ้นก่อนโจทก์จะมีสิทธิตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ไม่ถือเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย มีผลบังคับได้ไม่เป็นโมฆะ ศาลแรงงานกลางยกคำขอของโจทก์ที่ให้บังคับจำเลยจ่าย ค่าจ้างชอบแล้ว
of 221