คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 123 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาป่วยเท็จของลูกจ้างรายเดือน แม้มีเจตนาแต่ไม่สร้างความเสียหายร้ายแรง ไม่ถือเป็นเหตุเลิกจ้าง
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ประเภทค่าจ้างรายเดือนแม้ขาดงานครึ่งวันผู้คัดค้านก็ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างจากผู้ร้องตราบเท่าที่ยังมีสัญญาจ้างกันอยู่ทั้งไม่ปรากฏมูลความผิดอาญาแต่อย่างใด การลาป่วยเท็จไม่ถือว่าเจตนาทุจริตเพื่อรับค่าจ้าง ผู้คัดค้านลาป่วยเท็จเพียงครึ่งวัน ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องรับความเสียหายเป็นพิเศษ ยังไม่พอฟังได้ว่าผู้คัดค้านกระทำทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดทางอาญา หรือจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายหรือฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง อันเป็นกรณีร้ายแรงแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101-3102/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการทุจริตหน้าที่: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
วันเกิดเหตุ ก. ซึ่งเป็นพนักงานขายของได้ไปที่บริษัทนายจ้าง แล้วได้ปั๊มบัตรลงเวลาทำงาน นำรถยนต์บรรทุกน้ำอัดลมออกไปเพื่อทำการขาย และได้ให้พนักงานขายสำรองไปด้วย ระหว่างทาง ก. ลงจากรถไป โดยให้พนักงานขายสำรองทำการขายแทน ครั้นตอนเย็น ก. กลับไปที่บริษัทนายจ้างอีกเพื่อปั๊มบัตรเลิกงาน ดังนี้ การกระทำของ ก. เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ทำงาน เป็นการละทิ้งหน้าที่ซึ่งมีบัญญัติไว้ต่างหากแล้วในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123(4)มิใช่อาศัยอำนาจหน้าที่ที่เป็นพนักงานขายแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันจะถือได้ว่าทุจริตต่อหน้าที่
ตามมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เห็นได้ว่า เมื่อได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้วจะไม่สั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายอีกก็ได้เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว.และปรากฏว่าลูกจ้างมิได้นำสืบว่าได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง ทั้งมีส่วนผิดอยู่ด้วย ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจไม่ให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างได้