คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 123 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7420/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประท้วงหยุดงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้อง ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่และผิดสัญญาจ้าง
ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้างการที่นายจ้างยังไม่ได้ประกาศจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้าง ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้สิทธิแก่ลูกจ้างในการที่จะประท้วงด้วยการหยุดงาน การประท้วงหยุดงานของลูกจ้างจึงเป็นการผิดสัญญาจ้าง ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างวางเงื่อนไขป้องกันทรัพย์สินและรักษาวินัยลูกจ้าง แม้หลังมีข้อตกลงสภาพการจ้าง
การที่ผู้ร้องวางเงื่อนไขให้ลูกจ้างทุกคนต้องลงชื่อในใบรายงานตัวก่อนเข้าทำงานเป็นการกระทำภายหลังที่ลูกจ้างของผู้ร้องกลุ่มหนึ่งร่วมกันทำลายทรัพย์สินของผู้ร้องเสียหายเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่ข้อเรียกร้องก็ได้เจรจาตกลงยุติไปแล้ว แม้ลูกจ้างส่วนใหญ่รวมทั้งผู้ร้องคัดค้านจะไม่อยู่ในข่ายต้องสงสัย แต่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างก็มีสิทธิที่จะหามาตรการป้องกันทรัพย์ของตนเองได้ และย่อมมีสิทธิที่จะหาวิธีการหรือวางมาตรการให้ลูกจ้างทำงานด้วยความขยันขันแข็งและอยู่ในระเบียบวินัยโดยเคร่งครัดในขอบข่ายของกฎหมายอันเป็นอำนาจบริหารทั่วไปของนายจ้าง เมื่อใบรายงานตัวไม่มีข้อความตอนใดเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นการเพิ่มภาระแก่ลูกจ้างหรือเป็นการลงโทษลูกจ้างเป็นเพียงวิธีการที่ผู้ร้องนำมาใช้เพื่อเตือนสติลูกจ้างและเน้นให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในกฎระเบียบวินัยอันเป็นหน้าที่ของลูกจ้างอยู่แล้ว ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายหรือขัดขวางลูกจ้างรวมทั้งผู้คัดค้านทั้งสองที่จะเข้าทำงานได้ตามปกติไม่ผู้ร้องจึงมีอำนาจทำได้ เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรผู้ร้องจึงเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการสหภาพแรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวันลา ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
ระเบียบข้อบังคับและสภาพการจ้างว่าด้วยวันลาและหลักเกณฑ์การลาได้กำหนดไว้ว่าการลาหยุดงานทุกครั้งต้องยื่นใบลาและแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาและได้รับอนุมัติเสียก่อน เว้นแต่กรณีป่วยกะทันหันหรือมีเหตุฉุกเฉิน การลากิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาถือว่าขาดงาน เมื่อไม่ปรากฏว่าการที่ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานไปร่วมประชุมจัดงานวันแรงงานแห่งชาตินั้นเป็นกรณีมีความจำเป็นโดยฉุกเฉินหรือเร่งด่วนแต่อย่างใดทั้งลูกจ้างทราบล่วงหน้ามาก่อนแล้วย่อมมีโอกาสที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และระเบียบของนายจ้างได้การที่ลูกจ้างขาดงานไป 4 วันโดยมิได้ยื่นใบลาตามระเบียบและไม่แจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการสหภาพแรงงานที่ขาดงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ระเบียบข้อบังคับและสภาพการจ้างว่าด้วยวันลาและหลักเกณฑ์การลาได้กำหนดไว้ว่าการลาหยุดงานทุกครั้งต้องยื่นใบลาและแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาและได้รับอนุมัติเสียก่อนเว้นแต่กรณีป่วยกะทันหันหรือมีเหตุฉุกเฉิน การลากิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาถือว่าขาดงาน เมื่อไม่ปรากฏว่าการที่ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานไปร่วมประชุมจัดงานวันแรงงานแห่งชาตินั้นเป็นกรณีมีความจำเป็นโดยฉุกเฉินหรือเร่งด่วนแต่อย่างใดทั้งลูกจ้างทราบล่วงหน้ามาก่อนแล้วย่อมมีโอกาสที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และระเบียบของนายจ้างได้การที่ลูกจ้างขาดงานไป 4 วัน โดยมิได้ยื่นใบลาตามระเบียบและไม่แจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน ทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101-3102/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการทุจริตหน้าที่: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
วันเกิดเหตุ ก. ซึ่งเป็นพนักงานขายของได้ไปที่บริษัทนายจ้าง แล้วได้ปั๊มบัตรลงเวลาทำงาน นำรถยนต์บรรทุกน้ำอัดลมออกไปเพื่อทำการขาย และได้ให้พนักงานขายสำรองไปด้วย ระหว่างทาง ก. ลงจากรถไป โดยให้พนักงานขายสำรองทำการขายแทน ครั้นตอนเย็น ก. กลับไปที่บริษัทนายจ้างอีกเพื่อปั๊มบัตรเลิกงาน ดังนี้ การกระทำของ ก. เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ทำงาน เป็นการละทิ้งหน้าที่ซึ่งมีบัญญัติไว้ต่างหากแล้วในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123(4)มิใช่อาศัยอำนาจหน้าที่ที่เป็นพนักงานขายแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันจะถือได้ว่าทุจริตต่อหน้าที่
ตามมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เห็นได้ว่า เมื่อได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้วจะไม่สั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายอีกก็ได้เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว.และปรากฏว่าลูกจ้างมิได้นำสืบว่าได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง ทั้งมีส่วนผิดอยู่ด้วย ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจไม่ให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างได้