พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่โอนไปให้บุคคลอื่นโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องให้บังคับชำระหนี้ได้
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้โดยชัดแจ้งว่า โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนาอำพรางไม่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงสภาพแห่งข้อหาว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้และบรรยายฟ้องถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ ประกอบกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นชื่อจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 และมาตรา 234
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้: การชำระหนี้แทนและการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน - การประเมินความเสียเปรียบ
แม้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าได้เชิดจำเลยแสดงออกเป็นตัวแทนโจทก์ทั้งสองในการทำสัญญาซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ สัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง ซึ่งจำเลยให้การยอมรับ และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยได้ให้การต่อสู้ด้วยว่าการที่จำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ สัญญากู้เงินและสัญญาจำนองดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ เมื่อชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์คืนให้แก่โจทก์ทั้งสอง ซึ่งในคำฟ้องและทางนำสืบโจทก์ทั้งสองก็ยอมรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ผ่อนชำระหนี้เงินกู้ แต่โจทก์ทั้งสองผ่อนชำระหนี้เพียง 55 งวด แล้วผิดนัดชำระหนี้ เป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระและทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการผ่อนชำระหนี้เดือนละ 50,000 บาท ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จนกว่าจะชำระครบถ้วน อันเป็นกรณีที่ฟังได้ว่าในการจัดทำกิจการอันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนได้ออกเงินทดรองหรือออกเงินค่าใช้จ่ายไปหรือตัวแทนต้องรับภาระเป็นหนี้ขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุควรนับว่าเป็นการจำเป็น ตัวแทนจะเรียกเอาเงินชดใช้จากตัวการและเรียกให้ตัวการชำระหนี้แทนตนก็ได้ หรือถ้ายังไม่ถึงเวลากำหนดชำระหนี้ จะให้ตัวการให้ประกันอันสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ส่วนโจทก์ทั้งสองในฐานตัวการชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์อันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 และโจทก์ทั้งสองต้องคืนเงินที่จำเลยชำระให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้รวมทั้งดอกเบี้ยและต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยแทนจำเลย แต่โจทก์ทั้งสองกลับฟ้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงินมัดจำ ค่าจ้างตกแต่งอาคาร และเงินที่ผ่อนชำระแก่ธนาคารผู้ให้กู้ ซึ่งมิใช่เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนที่ตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น กรณีไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความมาปรับเข้ากับบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 ได้ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นพิพาทโดยนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 406 ฐานลาภมิควรได้มาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความจึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาท อันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา..." การอันจะเป็นลาภมิควรได้ ต้องเป็นกรณีที่ได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลผู้ชำระหนี้เสียเปรียบ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไว้แทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์คืนแก่โจทก์ทั้งสองก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสองผ่อนชำระเงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยแก่ธนาคาร ท. ผู้ให้กู้ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระเงินให้แก่ธนาคาร ท. และทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจำเลยต้องผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร ท. ซึ่งเป็นการชำระเงินและรับภาระหนี้แทนโจทก์ทั้งสอง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ การที่ศาลชั้นต้นนำ ป.พ.พ. มาตรา 406 มาปรับใช้กับข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา..." การอันจะเป็นลาภมิควรได้ ต้องเป็นกรณีที่ได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลผู้ชำระหนี้เสียเปรียบ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไว้แทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์คืนแก่โจทก์ทั้งสองก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสองผ่อนชำระเงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยแก่ธนาคาร ท. ผู้ให้กู้ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระเงินให้แก่ธนาคาร ท. และทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจำเลยต้องผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร ท. ซึ่งเป็นการชำระเงินและรับภาระหนี้แทนโจทก์ทั้งสอง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ การที่ศาลชั้นต้นนำ ป.พ.พ. มาตรา 406 มาปรับใช้กับข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิดไม่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ ฟ้องคืนทรัพย์ได้แม้ไม่มีหลักฐาน
การตั้งตัวแทนเชิดเพื่อทำกิจการอันใด ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือตัวการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15640/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการรับผิดต่อการผิดสัญญาตัวแทน แม้จะรู้เห็นการรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยโดยตรงจากลูกค้า
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่จำเลยรับไว้แทนโจทก์แล้วค้างชำระไม่ส่งมอบคืนภายในกำหนด อันเป็นกรณีตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย กรณีไม่มีเหตุจะนำพฤติการณ์ที่จำเลยรู้หรือไม่รู้เรื่องที่ ธ. ตัวแทนของจำเลยรับกรมธรรม์ประกันภัยไปจากโจทก์มาพิจารณาประกอบในการกำหนดจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11252/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือกรรมสิทธิ์แทนกันในที่ดิน กรณีตัวการ ตัวแทน และการบังคับจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว
โจทก์เป็นคนสัญชาติเบลเยี่ยมเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้รู้จักกับ ธ. พี่สาวของจำเลยและได้อยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจาก น. เงินที่ซื้อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ธ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทและจำเลยทำสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท เป็นการทำแทนโจทก์ ต่อมาที่ดินพิพาทออกโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ ถือว่าเป็นการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์เป็นตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
การจะให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญา และจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมสัญญานั้น แต่คดีนี้จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง แต่อย่างไรก็ดี ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับให้จำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
การจะให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญา และจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมสัญญานั้น แต่คดีนี้จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง แต่อย่างไรก็ดี ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับให้จำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5691/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกและการถือครองกรรมสิทธิ์ร่วม ศาลพิจารณาการรับโอนและสิทธิในทรัพย์มรดก
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า คดีขาดอายุความเนื่องจากจำเลยทั้งสองได้รับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี ได้ทำประโยชน์ในที่ดินโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ซึ่งคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องฟ้องคดีมรดก และโจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องตั้งแต่เมื่อใดนับแต่วันใดถึงวันฟ้อง คดีจึงขาดอายุความไปแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้ายจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ 1 ในปัญหานี้
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ตกทอดแก่ทายาท คือ ท. ภริยาและบุตรทั้งเจ็ดโดย ท. ไปขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาทแทนทายาท ดังนี้ เมื่อ ท. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 และทายาทคนอื่นด้วย เพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่า ท. ผู้โอน ท. เป็นภริยาของ ย. เจ้ามรดก มีสิทธิได้ส่วนแบ่งในการรับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (1) โจทก์ที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในแปดส่วน และชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 ลงในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ตกทอดแก่ทายาท คือ ท. ภริยาและบุตรทั้งเจ็ดโดย ท. ไปขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาทแทนทายาท ดังนี้ เมื่อ ท. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 และทายาทคนอื่นด้วย เพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่า ท. ผู้โอน ท. เป็นภริยาของ ย. เจ้ามรดก มีสิทธิได้ส่วนแบ่งในการรับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (1) โจทก์ที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในแปดส่วน และชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 ลงในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากเช็คคืนประกันตัว – เช็คระบุชื่อผู้รับเงินไม่ใช่หนี้ที่จำเลยต้องส่งมอบให้แก่ตัวการ
เช็คที่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายให้แก่จำเลยในฐานะนายประกันเป็นเช็คระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงิน จำเลยย่อมอยู่ในฐานะผู้ทรงในฐานเป็นผู้รับเงินที่พึ่งจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คจึงมิใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง เมื่อหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน หากจำเลยไม่ชำระก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งขอให้บังคับธนาคารตามเช็คซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คที่ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่โจทก์ก็ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจประกันตัวและเช็คคืนเงินประกัน สิทธิในการเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานตัวแทนและลูกหนี้
โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยนำเงิน 70,000 บาท ของโจทก์ไปประกันตัว ก. ต่อศาลชั้นต้นแทนโจทก์ เมื่อคดีถึงที่สุดศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 70,000 บาท ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่จำเลยในฐานะนายประกัน จำเลยมอบเช็คให้โจทก์แต่ไม่ยอมมาเบิกเงินตามเช็คจากธนาคารคืนโจทก์ แต่จำเลยอยู่ในฐานะผู้ทรงที่พึงจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คมิใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง เมื่อหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน หากจำเลยไม่ชำระ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตามมาตรา 214 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งจะขอให้บังคับธนาคารตามเช็คซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คที่ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่โจทก์ก็ไม่ได้
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยมาเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้องอันเป็นเพียงวิธีการบังคับชำระหนี้เป็นตัวเงิน แต่เมื่อมีหนี้เงินดังกล่าวซึ่งจำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยมาเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้องอันเป็นเพียงวิธีการบังคับชำระหนี้เป็นตัวเงิน แต่เมื่อมีหนี้เงินดังกล่าวซึ่งจำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิโจทก์บังคับจำเลยถอนเงินจากเช็คชำระหนี้ แม้เป็นเงินประกันตัวคดีอาญา
โจทก์มอบหมายให้ ส. นำเงินของโจทก์ไปประกันตัว ก. ต่อศาลชั้นต้น จำเลยรับเงินจาก ส. ไปดำเนินการ เมื่อคดีถึงที่สุดศาลชั้นต้นสั่งคืนเงินประกันโดยสั่งจ่ายเช็คธนาคาร อ. ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงิน จำเลยย่อมอยู่ในฐานะผู้ทรงในฐานเป็นผู้รับเงินที่พึงจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คจึงไม่ใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง หากจำเลยไม่ชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลย รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งจะขอให้บังคับธนาคารซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คดังกล่าวแก่โจทก์ไม่ได้
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้อง ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้อง ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับจำนอง - สัญญาตัวแทน - หลักฐานการมอบอำนาจ - พยานบุคคล - ความสัมพันธ์ตัวการตัวแทน
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดิน ต่อมาโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ เป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้การตั้งตัวแทนจะไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เห็นถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้รับจำนองแทนโจทก์ก็หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินไม่ ไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เห็นถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้รับจำนองแทนโจทก์ก็หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินไม่ ไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)