คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต และความรับผิดของกรรมการบริษัท
การที่จำเลยทั้งสองนำเรือมาดัดแปลงใช้เหล็กปิดปากระวางเพื่อให้ รถยนต์บรรทุกแล่นลงไปขนส่งสินค้ากับได้ใช้ลวดผูกโยงตรึงให้อยู่กับที่ และใช้เรือลำเลียงเดินทะเลมีขนาด1,075.40 ตันกรอส เทียบขนถ่ายสินค้า เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้สิ่งลอยน้ำเป็นสถานที่สำหรับให้บริการแก่ เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไปอันเป็นการประกอบกิจการ ท่าเรือแล้ว หาได้ใช้ในสภาพที่เป็นเรือลำเลียงไม่การกระทำของจำเลย ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค อันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 จำเลยทั้งสองฎีกาว่าทำการขนถ่ายสินค้า 2 ครั้งด้วยความจำเป็น ไม่มีเจตนาใช้เป็นท่าเรือกับฎีกาว่าเรือสมิหลา2 ไม่ใช่เรือเดินทะเลเป็นฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456มาตรา 47 นั้นปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 47 และศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกบทกฎหมายดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสอง แต่อย่างใดฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การประกอบกิจการท่าเรือ แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้มุ่งหาประโยชน์ จากกิจการดังกล่าวก็ต้องได้รับอนุญาตเพราะกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัย หรือผาสุกของประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกระทำกิจการต่างๆ แทนลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำความผิด เกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรงย่อมถือว่าจำเลยที่ 2ร่วมกระทำ ความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามกฎหมาย
การที่จำเลยทั้งสองนำเรือมาดัดแปลงใช้เหล็กปิดปากระวางเพื่อให้ รถยนต์บรรทุกแล่นลงไปขนส่งสินค้า กับได้ใช้ลวดผูกโยงตรึงให้อยู่กับที่และใช้เรือลำเลียงเดินทะเลมีขนาด 1,075.40 ตันกรอส เทียบขนถ่ายสินค้าเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการใช้สิ่งลอยน้ำเป็นสถานที่สำหรับให้บริการแก่เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป อันเป็นการประกอบกิจการท่าเรือแล้ว หาได้ใช้ในสภาพที่เป็นเรือลำเลียงไม่การกระทำของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าทำการขนถ่ายสินค้า 2 ครั้งด้วยความจำเป็น ไม่มีเจตนาใช้เป็นท่าเรือ กับฎีกาว่าเรือสมิหลา 2 ไม่ใช่เรือเดินทะเลเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 มาตรา 47 นั้นปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 47 และศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกบทกฎหมายดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การประกอบกิจการท่าเรือ แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้มุ่งหาประโยชน์จากกิจการดังกล่าว ก็ต้องได้รับอนุญาตเพราะกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัย หรือผาสุกของประชาชน
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทนลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้ การกระทำความผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ ผู้จำนำต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามมูลค่าหุ้น หากขายได้เงินน้อยกว่าก็ต้องชดใช้ส่วนต่าง
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ จำเลยที่ 1, ที่ 4, ที่ 5, ที่ 6 และที่ 7 ได้จำนำหุ้นซึ่งจำเลยแต่ละคนเป็นผู้ถือเพื่อเป็นการประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 สัญญาจำนำระบุว่าผู้จำนำยอมรับผิดต่อผู้รับจำนำในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และถ้าขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมชดใช้เงินที่ยังขาดอีกจนครบนั้น ต้องแปลว่าจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เต็มมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนนำมาจำนำ หากภายหลังขายได้เงินสุทธิน้อยกว่ามูลค่าหุ้นแล้ว ผู้จำนำยอมรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้น
ปัญหาว่าการขายทอดตลาดหุ้นที่จำนำและโอนหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการขายทอดตลาดเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าพ.ศ.2474 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำนั้น จำเลยมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย