พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6945/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องระบุเหตุผลเลิกจ้างชัดเจน หากมิได้ระบุเหตุผลตั้งแต่แรก จะไม่อาจยกเหตุภายหลังได้
จำเลยระบุพฤติกรรมของโจทก์และเหตุผลในการเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไว้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีที่ร้ายแรงเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่าการกระทำของโจทก์เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายซึ่งระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นอ้างในคำให้การและอุทธรณ์ได้ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อนและโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ต้องทำงานในเวลาปกติ แล้วนำงานเหมาที่จำเลยให้พนักงานรับไปทำในเวลาทำงานปกติเป็นแต่เพียงการละทิ้งหน้าที่ในเวลาไม่นานนัก แม้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานปกติไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนแต่ก็เป็นไปเพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์จากงานเหมาของตนเอง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) แม้โจทก์จะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างยังสามารถตักเตือนเป็นหนังสือได้ การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีร้ายแรง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์นั้นชอบแล้ว
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อนและโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ต้องทำงานในเวลาปกติ แล้วนำงานเหมาที่จำเลยให้พนักงานรับไปทำในเวลาทำงานปกติเป็นแต่เพียงการละทิ้งหน้าที่ในเวลาไม่นานนัก แม้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานปกติไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนแต่ก็เป็นไปเพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์จากงานเหมาของตนเอง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) แม้โจทก์จะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างยังสามารถตักเตือนเป็นหนังสือได้ การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีร้ายแรง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งทรัพย์โดยไม่เจตนาชิงทรัพย์ และความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษ
เหตุที่จำเลยทำร้ายทุบบริเวณท้ายทอยและหลังของผู้เสียหายที่ 2 ในตอนแรก มีสาเหตุจากการที่ผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปปลุกจำเลยขณะหลับอยู่บนรถโดยสารมินิบัสของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งขณะนั้นจำเลยมีการเมาสุรา เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ถามจำเลยว่าจะลงจากรถหรือไม่ จำเลยตอบว่าลง และเดินไปที่ประตูด้านหลังของรถยนต์มินิบัสแต่กลับย้อนมาทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีก ผู้เสียหายที่ 2 พยายามใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารต่อสู้กับจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยแย่งเอากระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารแล้วลงจากรถวิ่งหนีไปเป็นเพราะจำเลยเมาสุราและไม่ประสงค์จะต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกับผู้เสียหายที่ 2 ใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารทำร้ายจำเลยด้วย การที่จำเลยแย่งเอากระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารจากผู้เสียหายที่ 2 ไป ก็เพราะไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายที่ 2 ใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารติดตามมาทำร้ายจำเลยอีก หากจำเลยประสงค์จะชิงทรัพย์จำเลยอาจหยิบเอาเฉพาะเงินจากกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสาร ทิ้งกระบอกตั๋วไว้แล้วหลบหนีไปก็อาจกระทำได้ การที่จำเลยยังคงมีกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารติดตัวอยู่ ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้ผู้ใดนำกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารมาทำร้ายจำเลยอีก การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการพาเอาทรัพย์ไปจากผู้เสียหายที่ 2 แต่ไม่ได้เกิดโดยเจตนาทุจริต จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 ที่โจทก์ขอให้ศาลลงโทษจำเลย มีอัตราโทษขั้นต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพและจำเลยไม่สืบพยานก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ได้ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 และเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215
การทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 นั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยและบาดแผลของผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกัน ผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยใช้กำปั้นและมือทุบตีบริเวณท้ายทอยและด้านหลังหลายครั้ง ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยแต่ไม่ปรากฏบาดแผล ทั้งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายบริเวณใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 จำนวน 2 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นอันตรายแก่กายและจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 295 แต่เป็นเพียงความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ในตัว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 ที่โจทก์ขอให้ศาลลงโทษจำเลย มีอัตราโทษขั้นต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพและจำเลยไม่สืบพยานก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ได้ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 และเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215
การทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 นั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยและบาดแผลของผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกัน ผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยใช้กำปั้นและมือทุบตีบริเวณท้ายทอยและด้านหลังหลายครั้ง ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยแต่ไม่ปรากฏบาดแผล ทั้งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายบริเวณใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 จำนวน 2 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นอันตรายแก่กายและจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 295 แต่เป็นเพียงความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ในตัว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นและการแบ่งผลกำไร: การกระทำเพื่อเรียกร้องสิทธิ ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งโจทก์ส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก. เป็นเอกสารราชการ นอกจากนี้ ส. กรรมการโจทก์ได้ลงชื่อรับรองว่าเป็นรายการที่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง เอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์จำนวน 5,000 หุ้น เมื่อโจทก์ไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งถือหุ้นจำนวน 5,000 หุ้น รองจาก ส. กรรมการโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการแบ่งผลกำไรจากการทำธุรกิจร่วมกันกับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์กันโดยจำเลยที่ 1 เห็นว่า โจทก์ไม่แบ่งผลประโยชน์ให้ จึงถอดเครื่องอุปกรณ์ของเครื่องจักรในโรงงานและเอาสีต่าง ๆ ไปเก็บไว้เพื่อต่อรองให้โจทก์จ่ายผลประโยชน์ในส่วนที่ตนพึงจะได้รับเครื่องอุปกรณ์ชิ้นส่วนดังกล่าวเมื่อนำมาติดตั้งใหม่ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้ดีตามปกติ การกระทำของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่ามิได้ประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ไปเป็นของตนหรือของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์นำสิ่งของดังกล่าวไปฝากไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 3 ก็ไม่มีความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7077/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของหุ้นส่วน ความผิดฐานยักยอกเกิดขึ้นเมื่อนำเงินของหุ้นส่วนไปใช้โดยไม่มีสิทธิและมีเจตนาทุจริต
จำเลยนำเงินที่โจทก์ร่วมและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในฐานะหุ้นส่วนไปโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับเงินค่าหุ้นและเงินส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนร่วมกัน เมื่อโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นหุ้นส่วนกัน เงินที่จำเลยนำไปดังกล่าวจึงเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกันจนกว่าจะมีการเลิกการเป็นหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชี ดังนั้น แม้จำเลยจะมีความประสงค์จะเลิกเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ร่วม แต่เมื่อยังไม่มีการตกลงเลิกหุ้น ทั้งยังไม่มีการชำระบัญชีว่าเงินส่วนนี้จะเป็นของโจทก์ร่วมและจำเลยจำนวนเท่าใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะนำเงินที่เป็นของหุ้นส่วนไปใช้เป็นประโยชน์แก่ส่วนตัว เมื่อจำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปแล้วก็หลบหนีไม่ยอมกลับไปทำงานอีกจนเกือบหนึ่งปีจึงถูกจับกุม ย่อมแสดงได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองเงินที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวนั้นไปเป็นของตนเองโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66-67/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดหน่วงชำระราคาซื้อขายเนื่องจากทรัพย์สินชำรุด ผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วงได้หากผู้ขายไม่ซ่อมแซม
บ้านที่จำเลยซื้อจากโจทก์ชำรุดบกพร่อง และโจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมให้เรียบร้อย เมื่อเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ซื้อขาย ผู้ขายต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 ส่วนจำเลยผู้ซื้อชอบที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ผู้ขายจะหาประกันที่สมควรให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 488 ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องโดยสุจริตไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านระหว่างบริษัทกับจำเลย และจำเลยสามารถไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทดังกล่าวได้นั้น เห็นว่าโจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทดังกล่าวและเป็นผู้กระทำแทนบริษัทตลอดมา ทั้งในขณะทำบันทึกการโอนสิทธิเรียกร้อง โจทก์ได้รับรองว่าจะซ่อมแซมความเสียหายทั้งหมดด้วยตนเอง แม้เช็คทั้งห้าฉบับจำเลยจะสั่งจ่ายชำระหนี้ตามบันทึกการโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ก็เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากการวางเงินดาวน์ค่าที่ดินและบ้านตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้าน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบ้านที่ชำรุดบกพร่องโจทก์ไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อย จำเลยชอบที่จะยึดหน่วงไม่ชำระราคาที่ดินและบ้านโดยไม่นำเงินเข้าบัญชีชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บรองเท้าแตะที่ตกหล่นหลังวิวาท ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เหตุไม่มีเจตนาทุจริต
รองเท้าแตะของโจทก์ร่วมตกอยู่ที่บริเวณประตูบ้านของจำเลยก็เพราะโจทก์ร่วมทำหลุดไว้ เนื่องจากเหตุวิวาทชกต่อยกันระหว่างจำเลยกับ ส. จำเลยจึงถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานแล้วเก็บรองเท้าแตะของโจทก์ร่วมและนำไปมอบให้พนักงานสอบสวนแสดงว่าจำเลยมิได้เอารองเท้าแตะของโจทก์ร่วมไปเป็นของตนหรือผู้อื่นในลักษณะที่เป็นการประทุษร้ายต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะไม่มีสิทธิเก็บเอารองเท้าแตะของโจทก์ร่วมไว้ก็ตาม ก็มิใช่เหตุที่จะถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้ผู้เสียหายให้การสอดคล้อง เชื่อได้จำเลยกระทำผิดฐานกระทำอนาจาร บุกรุกเคหสถาน และชิงทรัพย์
จำเลยเปลือยกายถือมีดเข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งนอนอยู่บนเตียงในห้องนอนในเวลากลางคืน ผู้เสียหายที่ 1 รู้สึกตัวลืมตาขึ้นมาแล้วร้องสุดเสียงจำเลยจึงชกปากและเอามือซ้ายยัดเข้าไปในปากผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างนั้นผู้เสียหายที่ 1 ถูกมีดของจำเลยบาดที่ข้อมือซ้าย ถือว่าจำเลยกระทำการอันไม่สมควรทางเพศแก่ผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายและได้ใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว จึงเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 และเป็นการบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควรในเวลากลางคืน โดยมีอาวุธและใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(1)(2) และ (3) ประกอบมาตรา 364 ซึ่งเป็นกรรมเดียวกัน หลังจากนั้นเมื่อผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งเป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 เข้ามาที่ห้องนอนก็ถูกจำเลยทำร้าย และจำเลยหยิบเอากระเป๋าที่มีปืนของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาของผู้เสียหายที่ 1 ที่ผู้เสียหายที่ 3 นำมาและตกอยู่ที่พื้นไปด้วย โดยก่อนที่จะหลบหนีจำเลยวิ่งชนผู้เสียหายที่ 3 แล้วใช้มีดฟันจนผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการลักอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 ไปโดยทุจริต โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อสะดวกในการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม และเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม อีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และกระทำให้เกิดการรบกวนการสื่อสาร ความผิดแยกกระทง
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคม 6 เครื่อง มาทำให้เกิดคลื่นความถี่วิทยุและลักลอบใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบมือถือของบุคคลอื่นรวม 6 หมายเลข แล้วนำออกให้ประชาชนเช่าใช้บริการนาทีละ 3 บาท เป็นการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของคลื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้จำเลย
ความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดฐานทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมเป็นความผิด เพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม ซึ่งแม้จำเลยจะมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยได้รับหรือไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม หากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมก็เป็นความผิดฐานนี้แล้วความผิดทั้งสองฐานนี้จึงมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันจำเลยจึงมีความผิด 2 กรรมต่างกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
ความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดฐานทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมเป็นความผิด เพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม ซึ่งแม้จำเลยจะมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยได้รับหรือไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม หากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมก็เป็นความผิดฐานนี้แล้วความผิดทั้งสองฐานนี้จึงมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันจำเลยจึงมีความผิด 2 กรรมต่างกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ vs. ยักยอก: การครอบครองทรัพย์และเจตนาของผู้กระทำผิดมีผลต่อความผิดฐานอาญา
การที่มีผู้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปเก็บไว้ที่ท้ายกระโปรงรถยนต์ของผู้เสียหายคันที่ให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายขายของผู้เสียหายนำไปใช้ในการทำงานโดยจำเลยไม่ทราบมาก่อน ผู้เสียหายไม่ได้สละการครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใดเครื่องคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหายและจำเลยควรรู้ว่าผู้เสียหายจะต้องติดตามเอาเครื่องคอมพิวเตอร์คืน การที่จำเลยยอมให้ ณ. นำเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการที่จำเลยเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หาใช่เป็นความผิดฐานยักยอกไม่
ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11) ซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวแม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไป
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุระหว่างวันที่ 3 ถึง 15 สิงหาคม 2538 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิดหลังวันที่ 19 สิงหาคม 2538 แต่จำเลยนำสืบข้อเท็จจริงตรงตามที่โจทก์นำสืบ แสดงว่าจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ อีกทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11) ซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวแม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไป
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุระหว่างวันที่ 3 ถึง 15 สิงหาคม 2538 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิดหลังวันที่ 19 สิงหาคม 2538 แต่จำเลยนำสืบข้อเท็จจริงตรงตามที่โจทก์นำสืบ แสดงว่าจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ อีกทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3245/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตตั้งแต่แรกเป็นสำคัญ: ลักทรัพย์ vs ฉ้อโกง และการพิจารณาลดโทษจากค่าชดใช้
จำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกมีเจตนาทุจริตที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปตั้งแต่เบื้องต้น ส่วนการหลอกลวงว่าจะรับซื้อที่ดินจำนวนมากก็ดี หรือการหลอกลวงว่าจะพาไปซื้อรถยนต์ราคาถูกก็ดี ล้วนเป็นการสร้างกลอุบายเพื่อให้บรรลุผลเอาเงินสดของผู้เสียหายไปโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่