คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 1 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์: การกระทำเพื่อช่วยเหลือจับกุมคนร้ายไม่มีเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิด
ก่อนเกิดเหตุ ตัววงจรไฟฟ้าของบริษัทผู้เสียหายได้หายไปโดยไม่ทราบตัวคนร้าย จำเลยกับพวกเป็นผู้ที่ช่วยเหลือผู้เสียหายในการสืบหาตัวคนร้ายและร่วมมือในการวางแผนจับกุมคนร้ายได้ นอกจากนี้ผู้เสียหายยังโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยและผู้เสียหายออกหนังสือรับรองการผ่านงานระบุว่าจำเลยเป็นลูกจ้างที่ดีที่ทำงานหนักเสมอมาจนถึงเวลาที่ได้ลาออกจากบริษัทด้วยเหตุผลส่วนตัว ดังนี้หากจำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำผิดแล้ว ผู้เสียหายย่อมจะไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้างที่เหลืออยู่และคงจะไม่ออกหนังสือรับรองการผ่านงานให้แก่จำเลย แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำในลักษณะที่ร่วมกับคนร้ายเพื่อลักทรัพย์ แต่จำเลยมิได้มีเจตนาร้ายหรือประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับจำเลยโดยไม่มีเหตุผล จำเลยกระทำไปเพื่อช่วยเหลือในการวางแผนจับกุมคนร้ายที่ลักทรัพย์ของผู้เสียหายและจำเลยไม่ได้รับประโยชน์ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางภาระจำยอม-เจตนาบุกรุก: การรื้อรั้วตามคำพิพากษาศาลแพ่ง ไม่ถือเป็นการบุกรุกหากเชื่อสุจริต
ศาลพิพากษาให้ที่ดินของโจทก์เป็นทางภาระจำยอมของที่ดินจำเลยที่ 1 โดยให้รื้อรั้วที่ปิดกั้นทางเข้าออกหลังตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 ออก และให้โจทก์ไปจดทะเบียนภารจำยอม คำพิพากษาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางเข้าออกสู่สาธารณะได้ แม้โจทก์จะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาและขอทุเลาการบังคับคดีก็ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ตามคำพิพากษาแต่ประการใด จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเข้าไปในที่ดินของโจทก์ได้
การที่ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาจนมีการจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นเหตุผลให้จำเลยทั้งสองเชื่อโดยสุจริตว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางภารจำยอมเข้าออกสู่ที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ และมีเหตุผลให้เข้าใจไปได้ว่า การที่โจทก์ยังคงขัดขืนเพิกเฉยไม่ยอมรื้อรั้วเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล การที่จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าไปในที่ดินของโจทก์เพื่อรื้อรั้วออกจึงเป็นการเข้าไปโดยเชื่อว่าตนเองมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางเข้าออกตามคำพิพากษา หาใช่เป็นการเข้าไปโดยลุแก่อำนาจโดยมีเจตนารบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยปกติสุขไม่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาบุกรุกที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจสั่งงดจ่ายเงินเดือนย่อมไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่ง ผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็น ความผิดตามมาตรานี้ อำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนของข้าราชการตำรวจเป็นอำนาจหน้าที่ของ กรมตำรวจหรือผู้ที่กรมตำรวจมอบหมายโดยตรง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับ มอบหมายให้มีหน้าที่สั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจ แม้จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาในการที่โจทก์ขาดราชการเกินกว่า 15 วัน และเสนอความเห็นให้มีคำสั่งให้ โจทก์ออกจากราชการ และการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่การเงินจ่ายเงินเดือนให้ โจทก์ก็เพราะเหตุที่เชื่อว่าโจทก์ละทิ้งราชการหรือหนีราชการ ประกอบกับในทางปฏิบัติ กองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้จ่ายเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนให้แก่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ขอเบิกรับเงินไป หากมีเงินส่งคืนก็จะบันทึก เหตุผลในการส่งคืนไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน, การใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต, และการตีความ 'ทุจริต' ตามประกาศกระทรวงแรงงาน
โจทก์แพ้คดีและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานจำเลยตามคำพิพากษาศาลแรงงานในคดีนี้แล้ว แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง อันจะมีผลให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลแรงงานเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้าง ทุจริตต่อหน้าที่ ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมาย คำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) กรณีจึงต้องใช้ความหมาย คำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่วโกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาทละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส. ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่ว โกง หรือไม่ซื่อตรง จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความเสียหายต่อทรัพย์สินโดยมีเจตนาประสงค์ต่ออำนาจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยแก้ฎีกาและปฏิเสธว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้ คำแก้ฎีกาจึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัย
การที่จำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์กระบะบรรทุกคนนั่งมาประมาณ20 คน ออกจากวัด ถ. มาจอดรอที่หน้าป้ายเชิญชวนของวัด ร. จำเลยที่ 1 นั่งรถยนต์กระบะอีกคันหนึ่งตามหลังมาแล้วขับรถอ้อมมาจอดฝั่งตรงข้าม จำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 จึงได้ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัด ร.และกระทืบจนหลอดไฟแตก แล้วยกป้ายดังกล่าวขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ขึ้นรถขับกลับไปเข้าวัด ถ. แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรกต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์ และสาเหตุที่จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกทำลายแผ่นป้ายดังกล่าวก็เนื่องมาจากความไม่พอใจวัด ร.ที่โฆษณาชักชวนให้ชาวบ้านไปเที่ยวงานที่วัด ร. การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าวกระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้นในวาระเดียวกันเกี่ยวพันกันโดยไม่ขาดตอน จึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง ที่จะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวไปเป็นของจำเลยทั้งสอง หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย จึงมิใช่เกิดจากเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายป้ายโฆษณาของวัดคู่แข่งด้วยความไม่พอใจ ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ แต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่
การที่จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์กระบะบรรทุกคนนั่งมาประมาณ 20 คนออกจากวัดถ้ำสิงโตทองมาจอดรอที่หน้าป้ายเชิญชวนของวัดรางม่วงแล้วจำเลยที่ 1นั่งรถยนต์กระบะอีกคันหนึ่งตามหลังมาโดยขับรถอ้อมมาจอดฝั่งตรงข้าม เมื่อจำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ก็ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัดรางม่วงและกระทืบจนหลอดไฟแตกแล้วยกป้ายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ขับรถเข้าไปวัดถ้ำสิงโตทองนั้น แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรกต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากความไม่พอใจวัดรางม่วงที่โฆษณาชักชวนให้ชาวบ้านไปเที่ยวงานที่วัดรางม่วงเนื่องจากไฟฟ้าวัดถ้ำสิงโตทองดับถึง 2 ครั้ง การเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าวกระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้นในวาระเดียวเกี่ยวพันกันโดยไม่ขาดตอนจึงมิใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริงจำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาจะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวเป็นของตน หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย มิใช่เกิดจากเจตนาทุจริตไม่ผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำลายทรัพย์สินเพื่อแสดงอำนาจบาตรใหญ่ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยแก้ฎีกาและปฏิเสธว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้ คำแก้ฎีกาจึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัย
การที่จำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์กระบะบรรทุกคนนั่งมาประมาณ 20 คน ออกจากวัด ถ. มาจอดรถที่หน้าป้ายเชิญชวนของวัด ร. จำเลยที่ 1 นั่งรถยนต์กระบะอีกคันหนึ่งตามหลังมาแล้วขับรถอ้อมมาจอดฝั่งตรงข้าม จำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 จึงได้ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัด ร. และกระทีบจนหลอดไฟแตก แล้วยกป้ายดังกล่าวขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ขึ้นรถขับกลับไปเข้าวัด ถ. แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรกต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์ และสาเหตุที่จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกทำลายแผ่นป้ายดังกล่าวก็เนื่องมาจากความไม่พอใจวัด ร. ที่โฆษณาชักชวนให้ชาวบ้านไปเที่ยวงานที่วัด ร. การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าวกระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้นในวาระเดียวกันเกี่ยวพันกันโดยไม่ขาดตอน จึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง ที่จะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวไปเป็นของจำเลยทั้งสอง หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย จึงมิใช่เกิดจากเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของจำเลยไม่เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ เนื่องจากขาดเจตนาทุจริต และเป็นการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินที่พิพาท
ผู้เสียหายฟ้องจำเลยทั้งสองขอแบ่งนามรดก และข้าวเปลือกเหนียวที่เก็บเกี่ยวได้จากนาพิพาท ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ผู้เสียหายและจำเลยทั้งสองได้ไปตกลงกันที่สถานีตำรวจว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไม่เอาข้าวเปลือกเหนียวที่ได้จากการทำนาพิพาทไปขาย แต่ยอมให้แต่ละฝ่ายเอาไปสีรับประทานได้ ผู้เสียหายทำผิดข้อตกลงดังกล่าว โดยผู้เสียหายเอาข้าวเปลือกเหนียวจำนวน50 ถุงปุ๋ย ไปให้ น. เพื่อเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ผู้เสียหายยืมจาก น. มา จำเลยทั้งสองจึงปิดยุ้งข้าวพิพาทการกระทำของจำเลยทั้งสองก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์พิพาท ซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีนั่นเอง ดังนั้น แม้จะปรากฏว่า จำเลยทั้งสองจะได้กวาดข้าวเปลือกเหนียวไปกองรวมไว้ ในยุ้งข้าวด้วยก็ตามพฤติการณ์การกระทำของจำเลยทั้งสอง ก็ขาดเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการขุดทรายจากที่ดินผู้อื่นเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ส.ตกลงให้จำเลยเป็นนายหน้าขายที่ดินของส.และที่ดินของโจทก์ร่วมโดยสัญญานายหน้ามีข้อตกลงว่า จำเลย จะต้องนำดินลูกรังมาถมในที่ดินดังกล่าวให้สูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้ขายได้ราคาสูงขึ้น การที่จำเลย สั่งให้ ค. ขุดทรายแก้วในที่ดินของโจทก์ร่วมโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของตน และทำสัญญาขุดทรายกับ ค. โดยระบุว่าจำเลยได้รับมอบอำนาจมาจาก ว. และ ป. มิได้ระบุว่ารับมอบอำนาจมาจากโจทก์ร่วม เมื่อ ว. มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าว คงมีเพียง ป. เท่านั้นที่มีชื่อเป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาปกปิด ข้อเท็จจริงไม่ให้ ค. ทราบว่าที่ดินเป็นของโจทก์ร่วมปรากฏว่าจำเลยขายทรายแก้วที่ขุดได้ให้แก่ ค. ในราคาถึง87,000 บาท โดยมิได้นำเงินนั้นมอบแก่โจทก์ร่วม นับว่าเป็นการ กระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองแล้ว การกระทำของจำเลยมีเจตนาทุจริต มิใช่การกระทำตามสัญญาโดยอาศัยสิทธิอันชอบธรรม เพื่อ ผลประโยชน์ของคู่สัญญาอันเป็นเรื่องทางแพ่ง แต่เป็น ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเช่าและสิทธิครอบครอง: การยึดคืนทรัพย์สินหลังผิดสัญญา
โจทก์เป็นผู้เช่าตึกแถวที่เกิดเหตุจากเจ้าของเดิมเมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ออกไปจากตึกแถวและไม่ชำระค่าเช่า แก่เจ้าของเดิม บุตรสาวโจทก์ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชำระ ค่าเช่าที่ค้างชำระนั้น และจะชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนต่อ ๆ ไป ถ้าผิดข้อตกลงยอมให้เจ้าของเดิมเข้าครอบครองตึกแถว ที่เกิดเหตุได้ ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์คัดค้านโต้แย้งข้อตกลงนี้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์โดยมิพักต้องคำนึงว่ามี หนังสือมอบอำนาจจากโจทก์ให้บุตรสาวโจทก์ทำบันทึกข้อตกลงนั้น หรือไม่ และข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชนจึงใช้บังคับได้ ต่อมาบุตรสาวโจทก์และโจทก์ ผิดข้อตกลง จำเลยทั้งสองยังให้โอกาสแก่ฝ่ายโจทก์ ขอเวลาขนย้ายทรัพย์สินโดยไม่ติดใจเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างชำระแต่อย่างใด แต่โจทก์และครอบครัวก็มิได้ขนย้ายออกไป การที่ จำเลยทั้งสองเปิดกุญแจตึกแถวที่เกิดเหตุ หลังจากนั้นจึงใช้ กุญแจของจำเลยปิดตึกแถวที่เกิดเหตุไว้ย่อมเป็นอำนาจของ จำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้และถือว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้สิทธิ เข้ายึดถือครอบครองตึกแถวที่เกิดเหตุแล้วโดยชอบตามที่ได้ ตกลงกันไว้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงหาเป็นความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์หรือฐานบุกรุกไม่
of 13