คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 42

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาที่ไม่เป็นธรรมและสัญญาจ้างที่ไม่ชัดเจน
ค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ และประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวยังได้กำหนดให้ลูกจ้างประเภทไหนทำงานในระยะเวลาเท่าใดใน 1 สัปดาห์ หากทำเกินจากกำหนดระยะเวลา จะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราที่กฎหมายกำหนดตามข้อ 3, 11, 29,34 และ 42 ซึ่งกำหนดโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างในเวลาทำงานปกติ การที่จะรวมค่าจ้างและค่าทำงานล่วงเวลาย่อมเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเพราะไม่ทราบว่าอัตราค่าจ้างปกติที่จะนำไปคำนวณค่าล่วงเวลานั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หรือต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำย่อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ เมื่อสัญญาว่าจ้างทำงานมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่า จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาจริง ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นมีผลเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานนอกเวลาทำงานปกติโดยไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ย่อมขัดต่อประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902-1909/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา: การอยู่เวรเพื่อรอซ่อมเครื่องจักร ไม่ถือเป็นการทำงานปกติ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
จำเลยให้โจทก์มาอยู่เวร ณ สถานที่ประกอบกิจการของจำเลยหากเครื่องจักรของจำเลยเสียซึ่งต้องทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้ต่อไป จำเลยก็จะมีคำสั่งหรือใบแจ้งงานให้โจทก์ซ่อมแซมและโจทก์ต้องลงเวลาการทำงานในบัตรลงเวลา ถ้าเครื่องจักรไม่เสียโจทก์ก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ได้รับเบี้ยเลี้ยงในอัตราคนละ 40 บาท ดังนี้การที่โจทก์มาอยู่เวรดังกล่าว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานตามปกติของโจทก์ที่ได้รับมอบหมายให้ทำในกิจการของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดแล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง, ค่าครองชีพเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลา, และดอกเบี้ยจากเงินที่ค้างจ่าย
กรณีที่สหภาพแรงงานและนายจ้างต่างแจ้งข้อเรียกร้องฝ่ายละหลายข้อ ซึ่งต้องแบ่งข้อเรียกร้องเจรจากันเป็นคราว ๆ ไป แม้ในการเจรจาคราวแรกจะตกลงกันได้และทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ในการเจรจาข้อเรียกร้องข้ออื่น ๆ ต่อมา สหภาพแรงงานก็มีอำนาจที่จะตกลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกได้ ดังนั้น เมื่อข้อตกลงในการเจรจาคราวแรกกำหนดเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จไว้ประการหนึ่ง แล้วต่อมาทำความตกลงเพิ่มเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จอีกประการหนึ่ง อันเป็นเงื่อนไขซึ่งจะตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะกระทำผิดในอนาคต ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของลูกจ้างทั่วไปที่ได้รับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกอยู่ก่อนแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังนี้จึงมีผลใช้บังคับ
เมื่อค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาฯ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น การที่สหภาพแรงงานตกลงกับนายจ้างว่าไม่ให้นำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงนี้จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง
ลูกจ้างฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากเงินบำเหน็จ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดจากนายจ้างก่อนวันฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใดจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด: งานเฝ้าระวังความปลอดภัยนอกเหนือจากงานปกติ ไม่เข้าข่ายต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
'การทำงาน' ตามคำนิยามของค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หมายถึงการทำงานตามปกติที่นายจ้างมอบหมายให้ลูกจ้างทำในกิจการของนายจ้าง เมื่อนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีคำสั่งให้ลูกจ้างอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ อันเป็นหน้าที่พิเศษนอกเหนือจากกิจการตามปกติของนายจ้าง ลูกจ้างที่ต้องอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยจึงไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าล่วงเวลา: การทำงานนอกเวลาปกติและในวันหยุด จำเป็นต้องพิจารณาเวลาทำงานปกติและช่วงพัก
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งกำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงานคือ 8.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา การทำงานนอกเวลาดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ โจทก์ได้รับคำสั่งให้ทำงานในวันหยุดตั้งแต่ 13.00 นาฬิกา ถึง 6.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น โดยมีช่วงหยุดพักระหว่าง 17.00 นาฬิกา ถึง 18.00 นาฬิกา และ 24.00 นาฬิกา ถึง 1.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น เช่นนี้ รวมระยะเวลาที่โจทก์ทำงานล่วงเวลาคือ 11 ชั่วโมง ซึ่งจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ในอัตราสามเท่าของค่าจ้างในวันทำงานสำหรับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย แม้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า และเงินสงเคราะห์ไม่ใช่ค่าชดเชย
การจ้างลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าว่าจะต้องออกจากงานเมื่อมีอายุครบ 60 ปีนั้น ไม่ถือเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน
การพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง
เงินทุนสงเคราะห์ เงินบำนาญ ที่มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยไม่ถือเป็นค่าชดเชย
นายจ้างประกาศให้ลูกจ้างทราบว่า การจ่ายเงินสงเคราะห์นั้น จ่ายเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด และจ่ายโดยมีเจตนาจ่ายตามค่าชดเชย โดยนายจ้างออกประกาศฝ่ายเดียวภายหลังที่โจทก์ออกจากงานแล้วเช่นนี้ ไม่ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
of 2