คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างหลังละทิ้งหน้าที่เนื่องจากถูกดูหมิ่น การกระทำของผู้จัดการฝ่ายขายไม่ผูกพันบริษัท
การที่ศ.ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทจำเลยดูหมิ่นว่าโจทก์ได้เสียมีสัมพันธ์กับชายอื่นซึ่งมีภริยาแล้ว ทำให้โจทก์อับอายไม่มาทำงานเกินสามวันทำงานติดต่อกันจนเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น ศ.จะมีฐานะเป็นนายจ้างหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญที่จำเป็นต้องวินิจฉัยและการพูดเช่นนั้นก็มิใช่เรื่องกีดกันมิให้ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกินเจ็ดวันทำงาน จึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311-2313/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างประสบปัญหาขาดทุน จำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ขาดทุนและเลิกจ้างลูกจ้างที่ประจำอยู่หน่วยงานนั้น การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของนายจ้างเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร มิใช่การกลั่นแกล้ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชยค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตหน้าที่ แม้สมาคมเป็นนิติบุคคลอื่น แต่เชื่อมโยงกับสหกรณ์จำเลย
แม้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์การเกษตรจะได้จดทะเบียนเป็นสมาคมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากสหกรณ์การเกษตรจำเลยก็ตามแต่สมาคมนี้นับได้ว่าอยู่ในเครือเดียวกับจำเลยโดยมีกำเนิดสืบเนื่องมาจากวัตถุประสงค์ของกิจการจำเลยผู้สมัครเป็นสมาชิกสมาคมล้วนเป็นสมาชิกของจำเลย เนื่องด้วยสมาคมไม่มีเจ้าหน้าที่ของตนเองจำเลยจึงมอบหมายให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยดำเนินการรับสมัครสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมและยังมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคม ถือได้ว่าจำเลยมอบให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเพื่อกระทำการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยักยอกเงินค่ารับสมัคร สมาชิกสมาคมจึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ที่จำเลยมอบหมายแก่โจทก์จำเลยจึงเลิกจ้างหรือไล่โจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และการหักกลบลบหนี้เงินกู้ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 หมวด 5 ค่าชดเชย มิได้ห้ามการหักกลบลบหนี้ไว้ ดังนั้น นายจ้างย่อมมีสิทธิหักค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เพื่อชำระหนี้เงินกู้ที่ลูกจ้างยืมไปจากนายจ้างได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะลูกจ้างกระทำผิดระเบียบของนายจ้าง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากนายจ้าง
เมื่อการกระทำของลูกจ้างมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ร้ายแรง นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
คำให้การแก้ฟ้องแย้งโจทก์ต่อสู้แต่เพียงว่า จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้มิได้ปฏิเสธหนี้เงินกู้แต่ประการใด ดังนี้ จำเลยจะส่งสำเนากู้ยืมให้โจทก์หรือไม่ก็ฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยตามสัญญากู้ที่จำเลยฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: คำสั่งเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร พฤติการณ์หลังการบอกเลิกสำคัญ
การไล่ลูกจ้างออกจากงานอันถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานนั้นไม่จำต้องมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างพูดกับลูกจ้างว่า 'มึงทำหมา ๆ อย่างนี้กูไล่มึงออก' ประกอบกับหลังจากพูดไล่ลูกจ้างออกจากงานแล้ว นายจ้างยังไปแจ้งความที่สถานีตำรวจกล่าวหาลูกจ้างว่าไม่ยอมออกไปจากห้องพักคนงานและลูกจ้างได้หยุดงานทั้งยังทวงถามให้นายจ้างคิดค่าชดเชยและค่าจ้างให้ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่านายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว
กิจการและลักษณะงานของนายจ้างมิใช่กิจการต้องเสี่ยงภยันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย การทำงานต้องทำติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืน ประตูหน้าต่าง ไฟฟ้าและน้ำต้องเปิดใช้ตลอดเวลา การที่ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างไม่ปิดประตูหน้าต่าง ไฟฟ้าและน้ำในโรงงานเพียงชั่วระยะเวลาเดียวจึงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงในอันที่นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318-1319/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯหมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามที่ระบุไว้ ไม่มีข้อความยกเว้นไว้เป็นกรณีพิเศษมิให้ถือว่า การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุครบเกษียณอายุตามกฎหมายมิใช่เป็นการเลิกจ้าง และพนักงานจะครบเกษียณอายุเมื่อมีอายุเท่าใดอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกฎหมายและระเบียบของนายจ้าง จึงหาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนไม่
การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของนายจ้างหาได้จำกัดแต่เฉพาะจ่ายแก่พนักงานที่เลิกจ้างเท่านั้นไม่ พนักงานที่ลาออกโดยไม่มีความผิดใด ๆ และทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หรือพนักงานที่ถึงแก่กรรมโดยการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โดยมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานตลอดมาจนออกจากงานลาออก หรือถึงแก่กรรม อันเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯเมื่อไม่จ่ายย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 33,900 บาทแต่ลูกจ้างฟ้องขอค่าชดเชยมา 33,600 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง 33,900 บาท ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
of 3