คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515 ข้อ 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ไม่ใช่เงินปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่ นายจ้าง ต้อง ชำระให้แก่กองทุนเงินทดแทน หาใช่เงินปีตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายใด กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด: การคำนวณอัตราค่าจ้างและการจ่ายค่าล่วงเวลาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโจทก์เป็นพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถรับส่งพนักงานฝ่ายบริหารไปกลับระหว่างที่พักกับที่ทำงานไม่เกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมงานของโจทก์จึงเป็นงานอื่นจำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติของโจทก์ได้สัปดาห์ละ54ชั่วโมงหรือวันละ9ชั่วโมงโจทก์ทำงานตั้งแต่เวลา6.00นาฬิกาเลิกงาน18.00นาฬิกาเป็นเวลา12ชั่วโมงหักเป็นเวลาพัก1ชั่วโมงและเวลาทำงานปกติ9ชั่วโมงจำเลยจึงให้โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติไปวันละ2ชั่วโมงฉะนั้นค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานในวันทำงานตลอด24ชั่วโมงระยะเวลา12ชั่วโมงแรกซึ่งมีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติอยู่2ชั่วโมงนั้นจำเลยรวมเอาค่าล่วงเวลาไว้ในค่าจ้างปกติด้วยกล่าวคือเมื่อจำเลยจ่ายค่าจ้างปกติให้โจทก์แล้วจึงได้จ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับ2ชั่วโมงดังกล่าวแก่โจทก์ส่วนระยะเวลา12ชั่วโมงหลังเมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นสองเท่าของค่าจ้างปกติเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงหนึ่งเท่าครึ่งจึงเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด12ชั่วโมงจึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่2ชั่วโมงด้วยจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่าและจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ2ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดสำหรับพนักงานขับรถ: การคำนวณอัตราการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโจทก์เป็นพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถรับส่งพนักงานฝ่ายบริหารไปกลับระหว่างที่พักกับที่ทำงาน ไม่เกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม งานของโจทก์จึงเป็นงานอื่นจำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติของโจทก์ได้สัปดาห์ละ 54 ชั่วโมงหรือวันละ 9 ชั่วโมงโจทก์ทำงานตั้งแต่เวลา 6.00 นาฬิกา เลิกงาน18.00 นาฬิกาเป็นเวลา 12 ชั่วโมงหักเป็นเวลาพัก 1 ชั่วโมง และเวลาทำงานปกติ 9 ชั่วโมงจำเลยจึงให้โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติไปวันละ 2 ชั่วโมงฉะนั้นค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานในวันทำงานตลอด 24 ชั่วโมงระยะเวลา12ชั่วโมงแรกซึ่งมีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติอยู่ 2 ชั่วโมงนั้น จำเลยรวมเอาค่าล่วงเวลาไว้ในค่าจ้างปกติด้วย กล่าวคือ เมื่อจำเลยจ่ายค่าจ้างปกติให้โจทก์แล้ว จึงได้จ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับ 2ชั่วโมงดังกล่าวแก่โจทก์ ส่วนระยะเวลา 12 ชั่วโมงหลังเมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นสองเท่าของค่าจ้างปกติเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงหนึ่งเท่าครึ่งจึงเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน
จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด 12 ชั่วโมง จึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่ 2 ชั่วโมงด้วย จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ 2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่า และจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้ เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ 2 ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทำงานในเรือนอกประเทศ แต่เริ่มต้น/สิ้นสุดงานในไทย ถือทำงานในเขตกรุงเทพฯ นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
บริษัทโจทก์มีลูกจ้าง 70 คน ประจำสำนักงานไม่ถึง 20คนนอกนั้น ประจำอยู่ในเรือบรรทุกสินค้า3 ลำรับจ้างบรรทุกสินค้าระหว่างท่าเรือ ในกรุงเทพมหานครและในจังหวัดสมุทรปราการกับต่างประเทศ เรือสินค้า ของโจทก์จะกลับมาประเทศไทยอย่างเร็วประมาณ1 เดือนอย่างช้า ประมาณ4เดือนครั้งหนึ่งและจะอยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 7 วันดังนี้แม้ว่างานและเวลาส่วนใหญ่ลูกจ้างโจทก์จะทำงานในต่างประเทศ แต่การบรรทุกสินค้าเพื่อไปส่งต่างประเทศก็ดีบรรทุกสินค้าจากต่างประเทศ กลับมายังท่าเรือในเขตกรุงเทพมหานครก็ดี การเริ่มต้นงานและสิ้นสุดงาน แต่ละเที่ยวเกิดในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้นถือได้ว่าลูกจ้างโจทก์ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ความมุ่งหมายที่กฎหมายตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นมานั้นมิใช่เพื่อ หาประโยชน์แต่เพื่อคุ้มครองลูกจ้างโดยทั่วไปมิใช่เฉพาะลูกจ้างของโจทก์ เท่านั้นเพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนโดยมิต้องเสี่ยงกับฐานะการเงิน ของนายจ้างกองทุนเงินทดแทนอาจต้องจ่ายเงินทดแทนจำนวนมากกว่า เงินสมทบทุนที่เรียกเก็บจากนายจ้างก็ได้ดังนั้น เมื่อกฎหมายกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่ากองทุนเงินทดแทนจะไม่มีโอกาสจ่ายค่าทดแทน ให้แก่ลูกจ้างโจทก์ในปีดังกล่าวก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพ-โบนัส: การคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน - ค่าจ้าง vs. เงินรางวัล
เมื่อนายจ้างมีนโยบายและระเบียบที่จะเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น การที่นายจ้างจ่ายเงินค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นจึงแสดงว่าเป็นการเพิ่มค่าจ้างให้สูงขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังได้ความว่า ภายหลังต่อมานายจ้างก็รวมเงินค่าครองชีพเข้าเป็นค่าจ้างปกติ แสดงให้เห็นว่านายจ้างประสงค์ให้เงินค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง แต่ที่ได้แยกจ่ายออกจากค่าจ้างปกติก็โดยหวังว่าจะทำให้ไม่ต้องนำมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินอื่นเท่านั้น ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ตามระเบียบของบริษัทนายจ้างบริษัทจะไม่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสในปีใดก็ได้ มิได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกปี ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
เพียงแต่จำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมแรงงานจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการคืนเงินสมทบที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนซึ่งมีฐานะเป็นกองสังกัดกรมจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเกินมาแก่โจทก์ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรมแรงงานต่อการกระทำของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน และข้อจำกัดการวินิจฉัยนอกคำฟ้องในคดีแรงงาน
สำนักงานกองทุนเงินทดแทนขึ้นอยู่ในกรมแรงงาน การปฏิบัติงานของสำนักงานนี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งมีอธิบดีกรมแรงงานเป็นประธาน เมื่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนปฏิบัติงานเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ กรมแรงงานต้องรับผิด ในการกระทำของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนนั้นด้วยโจทก์จึงชอบ ที่จะฟ้องกรมแรงงานได้ ไม่ต้องฟ้องกรรมการทุกคน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนและให้กรมแรงงานจำเลยจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนอ้างว่าโจทก์เดินไปเข้าห้องส้วมตามกระดานที่นายจ้างพาดไว้ไม่เรียบร้อย โจทก์หกล้ม เป็นอัมพาต แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูง อยู่แล้ว มาทำงานล่วงเวลาหลายวันทำให้เกิดความเคร่งเครียดโรคความดันโลหิตสูงทวีความรุนแรงขึ้น ในที่สุดล้มป่วยลงขณะ ทำงานให้นายจ้างและเป็นอัมพาตดังนี้ จะวินิจฉัยว่าโจทก์ ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานมิได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 52 ไม่เข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อ ความเป็นธรรมจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้