พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวจากหุ้นส่วนและการไม่มีอำนาจฟ้องคดีเลิกห้าง
เมื่อโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนเพราะได้ตกลงถอนตัวจากการเป็นหุ้นส่วนในห้างพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและขอชำระบัญชีในห้างพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่ความตาย และการใช้ใบรับเงินเป็นหลักฐาน
โจทก์กับพวกได้นำเงินมาลงหุ้นกับจำเลยและ ว.ตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เมื่อหุ้นส่วนตายห้างหุ้นส่วนย่อมเลิกกัน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้
ใบเสร็จรับเงินค่าหุ้นโจทก์ได้ส่งภาพถ่ายมาพร้อมกับคำฟ้องจำเลยให้การรับว่าเป็นใบรับเงินที่ออกให้โจทก์และผู้ขอลงทุนได้ระบุเป็นการล่วงหน้าว่ารับเงินเป็นค่าลงหุ้นแต่ความจริงเป็นการรับเงินกู้ยืม เมื่อโจทก์ส่งต้นฉบับในชั้นพิจารณา จำเลยก็เบิกความว่าเป็นใบรับเงินที่จำเลยทำขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอีก แม้ใบรับเงินที่โจทก์อ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ว่าเป็นใบรับเงินที่ออกให้โจทก์ตามที่จำเลยให้การและเบิกความรับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา84(1)
ใบเสร็จรับเงินค่าหุ้นโจทก์ได้ส่งภาพถ่ายมาพร้อมกับคำฟ้องจำเลยให้การรับว่าเป็นใบรับเงินที่ออกให้โจทก์และผู้ขอลงทุนได้ระบุเป็นการล่วงหน้าว่ารับเงินเป็นค่าลงหุ้นแต่ความจริงเป็นการรับเงินกู้ยืม เมื่อโจทก์ส่งต้นฉบับในชั้นพิจารณา จำเลยก็เบิกความว่าเป็นใบรับเงินที่จำเลยทำขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอีก แม้ใบรับเงินที่โจทก์อ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ว่าเป็นใบรับเงินที่ออกให้โจทก์ตามที่จำเลยให้การและเบิกความรับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา84(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญและการรับฟังใบรับเงินค่าหุ้นแม้ไม่มีอากรแสตมป์
โจทก์กับพวกได้นำเงินมาลงหุ้นกับจำเลยและ ว. ตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เมื่อหุ้นส่วนตายห้างหุ้นส่วนย่อมเลิกกัน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้
ใบเสร็จรับเงินค่าหุ้นโจทก์ได้ส่งภาพถ่ายมาพร้อมกับคำฟ้อง จำเลยให้การรับว่าเป็นใบรับเงินที่ออกให้โจทก์และผู้ขอลงทุน ได้ระบุเป็นการล่วงหน้าว่ารับเงินเป็นค่าลงหุ้น แต่ความจริงเป็นการรับเงินกู้ยืม เมื่อโจทก์ส่งต้นฉบับในชั้นพิจารณา จำเลยก็เบิกความว่าเป็นใบรับเงินที่จำเลยทำขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอีก แม้ใบรับเงินที่โจทก์อ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ว่าเป็นใบรับเงินที่ออกให้โจทก์ตามที่จำเลยให้การและเบิกความรับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา84 (1)
ใบเสร็จรับเงินค่าหุ้นโจทก์ได้ส่งภาพถ่ายมาพร้อมกับคำฟ้อง จำเลยให้การรับว่าเป็นใบรับเงินที่ออกให้โจทก์และผู้ขอลงทุน ได้ระบุเป็นการล่วงหน้าว่ารับเงินเป็นค่าลงหุ้น แต่ความจริงเป็นการรับเงินกู้ยืม เมื่อโจทก์ส่งต้นฉบับในชั้นพิจารณา จำเลยก็เบิกความว่าเป็นใบรับเงินที่จำเลยทำขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอีก แม้ใบรับเงินที่โจทก์อ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ว่าเป็นใบรับเงินที่ออกให้โจทก์ตามที่จำเลยให้การและเบิกความรับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา84 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหุ้นส่วนในการตรวจสอบบัญชีและการแสดงบัญชีรับจ่ายของห้างหุ้นส่วน
สามีจำเลยกับโจทก์ร่วมกันเข้าหุ้นตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาสามีจำเลยตายโจทก์จำเลยตกลงให้กิจการของห้างดำเนินต่อไป โดยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากสามีจำเลยเป็นจำเลย ทรัพย์สินของสามีจำเลยซึ่งมีอยู่ในห้างย่อมเป็นมรดกตกได้แก่จำเลย เมื่อจำเลยตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์แทนที่สามีจำเลยก็เท่ากับจำเลยได้ลงหุ้นแล้ว
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรับจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรับจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหุ้นส่วนในการตรวจบัญชีและการแสดงบัญชีของหุ้นส่วนผู้จัดการ
สามีจำเลยกับโจทก์ร่วมกันเข้าหุ้นตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาสามีจำเลยตายโจทก์จำเลยตกลงให้กิจการของห้างดำเนินต่อไป โดยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากสามีจำเลยเป็นจำเลย ทรัพย์สินของสามีจำเลยซึ่งมีอยู่ในห้างย่อมเป็นมรดกได้แก่จำเลย เมื่อจำเลยตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์แทนที่สามีจำเลยก็เท่ากับจำเลยได้ลงหุ้นแล้ว
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆ ของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรายจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆ ของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรายจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540-1541/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้: การหักค่าใช้จ่ายต้นทุนที่ดิน, อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน, และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ตั้งขึ้นเพื่อการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก และได้ขายที่ดินสวนหมากของห้างฯ ไปเพื่อการค้าหากำไร รายได้จากการขายที่ดินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) และภาษีการค้าตาม มาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ.ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดก และต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ.เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข. และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯ เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าตามประมวลรัชฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นสวนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไร วันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมือง ซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาท เป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้า หรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัชฎากร มาตรา 16 นั้น ไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่งข้าราชการ คือ อาจเป็นสรรพากรจังหวัดโท หรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรี คนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ.ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดก และต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ.เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข. และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯ เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าตามประมวลรัชฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นสวนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไร วันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมือง ซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาท เป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้า หรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัชฎากร มาตรา 16 นั้น ไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่งข้าราชการ คือ อาจเป็นสรรพากรจังหวัดโท หรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรี คนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540-1541/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากที่ดินสวนหมาก การตีราคาทุน การหลีกเลี่ยงภาษี และอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ตั้งขึ้นเพื่อการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมากและได้ขายที่ดินสวนหมากของห้างฯไปเพื่อการค้าหากำไร รายได้จากการขายที่ดินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) และภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ. ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดกและต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข.และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯเท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นส่วนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไรคือวันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมืองซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาทเป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้าหรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 16 นั้นไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่ง ข้าราชการคืออาจเป็นสรรพากรจังหวัดโทหรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรีคนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียวจึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ. ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดกและต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข.และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯเท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นส่วนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไรคือวันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมืองซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาทเป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้าหรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 16 นั้นไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่ง ข้าราชการคืออาจเป็นสรรพากรจังหวัดโทหรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรีคนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียวจึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนและการเลิกห้างหุ้นส่วน ความยินยอมในการโอนหุ้น และการพิพากษาไม่เกินคำขอ
เมื่อหุ้นส่วนบางคนตาย ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ได้รับโอนหุ้นและยินยอมให้ผู้ถือหุ้นใหม่รับโอนหุ้นสืบต่อ ๆ กันมาโดยความยินยอมจนถึงโจทก์จำเลย ดังนี้ หุ้นส่วนนั้นยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้เลิกจากกัน
โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้ว หุ้นส่วนได้สร้างโรงมหรสพขึ้นบนที่พิพาท และได้ประกอบกิจการมหรสพติดต่อตลอดมาจนบัดนี้ และในคำขอท้ายฟ้องเขียนว่า ที่พิพาทดังกล่าวในฟ้องเป็นของหุ้นส่วน มิใช่ของจำเลยผู้เดียว ดังนี้คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงโรงมหรสพดังกล่าวในฟ้องด้วย ที่ศาลพิพากษารวมถึงโรงมหรสพด้วยจึงไม่ใช่พิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้ว หุ้นส่วนได้สร้างโรงมหรสพขึ้นบนที่พิพาท และได้ประกอบกิจการมหรสพติดต่อตลอดมาจนบัดนี้ และในคำขอท้ายฟ้องเขียนว่า ที่พิพาทดังกล่าวในฟ้องเป็นของหุ้นส่วน มิใช่ของจำเลยผู้เดียว ดังนี้คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงโรงมหรสพดังกล่าวในฟ้องด้วย ที่ศาลพิพากษารวมถึงโรงมหรสพด้วยจึงไม่ใช่พิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นส่วนและผลกระทบต่อความเป็นหุ้นส่วน รวมถึงขอบเขตคำขอในฟ้อง
เมื่อหุ้นส่วนบางคนตายผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ได้รับโอนหุ้นและยินยอมให้ผู้ถือหุ้นใหม่รับโอนหุ้นสืบต่อๆ กันมาโดยความยินยอมจนถึงโจทก์จำเลยดังนี้ หุ้นส่วนนั้นยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้เลิกจากกัน
โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้วหุ้นส่วนได้สร้างโรงมหรสพขึ้นบนที่พิพาทและได้ประกอบกิจการมหรสพติดต่อตลอดมาจนบัดนี้ และในคำขอท้ายฟ้องเขียนว่า ที่พิพาทดังกล่าวในฟ้องเป็นของหุ้นส่วน มิใช่ของจำเลยผู้เดียว ดังนี้คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงโรงมหรสพดังกล่าวในฟ้องด้วยที่ศาลพิพากษารวมถึงโรงมหรสพด้วยจึงไม่ใช่พิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้วหุ้นส่วนได้สร้างโรงมหรสพขึ้นบนที่พิพาทและได้ประกอบกิจการมหรสพติดต่อตลอดมาจนบัดนี้ และในคำขอท้ายฟ้องเขียนว่า ที่พิพาทดังกล่าวในฟ้องเป็นของหุ้นส่วน มิใช่ของจำเลยผู้เดียว ดังนี้คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงโรงมหรสพดังกล่าวในฟ้องด้วยที่ศาลพิพากษารวมถึงโรงมหรสพด้วยจึงไม่ใช่พิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนเมื่อหุ้นส่วนเสียชีวิต และสิทธิในการชำระบัญชี
การเป็นหุ้นส่วนกันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นๆ เอง ห้างหุ้นส่วนย่อมเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายผู้รับมรดกก็ดีหรือผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ตายจะยืนยันถือสิทธิ์โดยลำพังเข้าไปเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตายต่อไปนั้นไม่ได้ และนัยที่ตรงข้ามผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นจะฟ้องขอให้บังคับให้ผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกเช่นว่านั้นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตายต่อไปก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกจะต้องเข้ามาแทนที่ของหุ้นส่วนผู้ตายเพื่อการชำระบัญชีหลักกฎหมายในเรื่องการที่ต้องเข้ามาแทนที่เพื่อการชำระบัญชีเป็นคนละเรื่องกับการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตาย
โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตายจำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกและผู้จัดการมรดกของผู้ตายปฏิเสธไม่ยอมคิดบัญชี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีจัดการชำระบัญชีของหุ้นส่วนตามกฎหมายลอยๆ เช่นนี้เป็นการเพียงพอแล้วคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา172 และการที่ศาลแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีก็ไม่ใช่เป็นเรื่องเกินคำขอแต่ประการใด
โจทก์ฟ้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกจะต้องเข้ามาแทนที่ของหุ้นส่วนผู้ตายเพื่อการชำระบัญชีหลักกฎหมายในเรื่องการที่ต้องเข้ามาแทนที่เพื่อการชำระบัญชีเป็นคนละเรื่องกับการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตาย
โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตายจำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกและผู้จัดการมรดกของผู้ตายปฏิเสธไม่ยอมคิดบัญชี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีจัดการชำระบัญชีของหุ้นส่วนตามกฎหมายลอยๆ เช่นนี้เป็นการเพียงพอแล้วคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา172 และการที่ศาลแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีก็ไม่ใช่เป็นเรื่องเกินคำขอแต่ประการใด