คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 95

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติสมาชิก/กรรมการสหภาพแรงงาน: ลูกจ้างนายจ้างเดียวกัน
คุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการหรืออนุกรรมการของสหภาพแรงงานซึ่งดำเนินการขอจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 100, 101(1) คือการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานนั้น ๆ เพราะสหภาพแรงงานต้องมีวัตุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน นอกจากนี้สหภาพแรงงานยังมีอำนาจหน้าที่ในการเรียกร้อง เจรจาทำความตกลงกับนายจ้างแทนสมาชิกเพื่อประโยชน์ของสมาชิกอีกด้วย โจทก์ที่ 2 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างไปแล้ว จึงขาดคุณสมบัติในข้อที่เป็นสาระสำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติสมาชิก/กรรมการสหภาพแรงงาน: ต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างเดียวกัน
คุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการหรืออนุกรรมการของสหภาพแรงงานซึ่งดำเนินการขอจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 100,101(1) คือการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานนั้น ๆ เพราะสหภาพแรงงานต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน นอกจากนี้สหภาพแรงงานยังมีอำนาจหน้าที่ในการเรียกร้องเจรจาทำความตกลงกับนายจ้างแทนสมาชิกเพื่อประโยชน์ของสมาชิกอีกด้วย โจทก์ที่ 2 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างไปแล้วจึงขาดคุณสมบัติในข้อที่เป็นสาระสำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตำแหน่งหัวหน้ากับสมาชิกสหภาพแรงงาน: การเพิกถอนตำแหน่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้กล่าวหาเป็นลูกจ้างตำแหน่งระดับหัวหน้าซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ผู้กล่าวหาจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นได้จัดตั้งขึ้นหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 95 วรรคสอง การที่ผู้กล่าวหาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างอื่น ย่อมทำให้การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้นไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงาน-สัมพันธ์ พ.ศ.2518 ดังกล่าว แต่ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีอำนาจเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างนั้นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างอื่น และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์ที่จะกระทำการเช่นว่านั้นได้ โจทก์จึงเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของผู้กล่าวหาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนตำแหน่งหัวหน้างานเนื่องจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน: อำนาจโจทก์และข้อจำกัดทางกฎหมาย
ผู้กล่าวหาทั้งสี่เป็นลูกจ้างตำแหน่งระดับหัวหน้ามีอำนาจในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ผู้กล่าวหาทั้งสี่จึงเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไม่ได้เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 95 วรรคสอง แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีอำนาจเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของลูกจ้างในกรณีเช่นนี้ และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์จึงเพิกถอนตำแหน่งของผู้กล่าวหาทั้งสี่โดยอาศัยเหตุที่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สมัครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนตำแหน่งหัวหน้างานของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน: อำนาจของนายจ้างและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ผู้กล่าวหาเป็นลูกจ้างตำแหน่งระดับหัวหน้าซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ผู้กล่าวหาจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นได้จัดตั้งขึ้นหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 95 วรรคสองการที่ผู้กล่าวหาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างอื่น ย่อมทำให้การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้นไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ดังกล่าวแต่ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีอำนาจเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างนั้นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างอื่น และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์ที่จะกระทำการเช่นว่านั้นได้โจทก์จึงเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของผู้กล่าวหาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกภาพสหภาพแรงงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจสิ้นสุดลงตามกฎหมายใหม่
โจทก์เป็นพนักงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจฟ้องขอให้บังคับ จำเลยรับจดทะเบียนให้โจทก์เป็นกรรมการของสหภาพแรงงานรวมพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในมาตรา 4(4) เป็นว่าพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95วรรคสอง เป็นว่า ห้ามมิให้พนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน กับได้มีพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 55วรรคแรก บัญญัติว่า บรรดาสหภาพแรงงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่อาจเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ คดีของโจทก์ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสมาชิกภาพสหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องคงอยู่ขณะยื่นฟ้อง หากขาดคุณสมบัติแล้ว ไม่มีอำนาจฟ้อง
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เอง ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า สมาชิกจำเลยจะต้อง มีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างประจำของบริษัท เนชั่นแนลไทย จำกัด หรือลูกจ้างประจำของบริษัทซึ่ง ทำกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องได้ถูก นายจ้าง เลิกจ้างแล้ว ในขณะยื่นฟ้องโจทก์จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่ามติของคณะกรรมการจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากสมาชิกจำเลยเป็นโมฆะ อันมีผลทำให้โจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสมาชิกภาพสหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องคงอยู่ขณะยื่นฟ้อง
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า สมาชิกจำเลยจะต้อง มีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างประจำของบริษัท เนชั่นแนลไทย จำกัด หรือลูกจ้างประจำของบริษัทซึ่งทำกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องได้ถูกนายจ้างเลิกจ้างแล้ว ในขณะยื่นฟ้องโจทก์จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่ามติของคณะกรรมการจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากสมาชิกจำเลยเป็นโมฆะ อันมีผลทำให้โจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิกรรมการสหภาพแรงงาน: การปฏิเสธจดทะเบียนและคุณสมบัติผู้บังคับบัญชา
โจทก์ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการสหภาพแรงงานแต่จำเลยที่2อธิบดีกรมแรงงานปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนแสดงว่าโจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงานแม้สหภาพแรงงานนั้นจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนและจำเลยที่2ปฏิเสธไปยังสหภาพแรงงานก็ตามย่อมมีผลโดยตรงต่อโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการสหภาพแรงงานทำให้ไม่ได้สิทธิและประโยชน์อันจะพึงได้รับจากการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานโจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา91ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนมาฟ้องศาลนั้นเป็นเรื่องของร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงานและกรณีตามมาตรา94ซึ่งเป็นเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดยให้นำมาตรา91มาใช้บังคับโดยอนุโลมก็เป็นเรื่องของข้อบังคับเช่นเดียวกันส่วนการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามวาระหรือตามข้อบังคับเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยบุคคลไม่ใช่ข้อบังคับจะนำบทบัญญัติมาตรา91และ94มาใช้ไม่ได้กรณีนี้ไม่มีบทมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางโดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่2ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน ระเบียบปฏิบัติงานว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยกำหนดโทษผิดวินัยมีเพียง6สถานคือไล่ออกปลดออกให้ออกลดขั้นเงินเดือนตัดเงินเดือนและภาคทัณฑ์ดังนี้การว่ากล่าวตักเตือนจึงไม่เป็นโทษทางวินัยส่วนทัณฑ์บนเป็นถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำถึงผู้บังคับบัญชามิใช่เป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวเอาแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต่างกับการภาคทัณฑ์จึงไม่ใช่โทษทางวินัยการที่โจทก์มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนหรือมีอำนาจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำทัณฑ์บนแม้จะมีผลนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบของลูกจ้างก็หาใช่เป็นอำนาจในการลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา95วรรคสองไม่เพราะอำนาจลงโทษตามมาตรานี้จะต้องเป็นอำนาจโดยตรงมิใช่ถือเอาแต่ผลหรือถือเอาแต่เพียงมีอำนาจรายงานหรือเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าวและไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา101(1). (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1677-1678/2526และ2471/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิกรรมการสหภาพแรงงาน: การโต้แย้งสิทธิ, ขั้นตอนการจดทะเบียน, และอำนาจในการลงโทษ
โจทก์ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แต่จำเลยที่ 2 อธิบดีกรมแรงงานปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนแสดงว่าโจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แม้สหภาพแรงงานนั้นจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนและจำเลยที่ 2 ปฏิเสธไปยังสหภาพแรงงานก็ตาม ย่อมมีผลโดยตรงต่อโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ทำให้ไม่ได้สิทธิและประโยชน์อันจะพึงได้รับจากการเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 91 ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนมาฟ้องศาลนั้น เป็นเรื่องของร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงาน และกรณีตามมาตรา 94 ซึ่งเป็นเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดยให้นำมาตรา 91มาใช้บังคับโดยอนุโลม ก็เป็นเรื่องของข้อบังคับเช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามวาระหรือตามข้อบังคับ เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยบุคคลไม่ใช่ข้อบังคับจะนำบทบัญญัติมาตรา 91 และ 94 มาใช้ไม่ได้ กรณีนี้ไม่มีบทมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางโดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน
ระเบียบปฏิบัติงานว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยกำหนดโทษผิดวินัยมีเพียง 6 สถานคือ ไล่ออก ปลดออก ให้ออก ลดขั้นเงินเดือนตัดเงินเดือน และภาคทัณฑ์ ดังนี้การว่ากล่าวตักเตือนจึงไม่เป็นโทษทางวินัย ส่วนทัณฑ์บนเป็นถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำถึงผู้บังคับบัญชา มิใช่เป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวเอาแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ต่างกับการภาคทัณฑ์ จึงไม่ใช่โทษทางวินัย การที่โจทก์มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนหรือมีอำนาจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำทัณฑ์บน แม้จะมีผลนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบของลูกจ้างก็หาใช่เป็นอำนาจในการลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 95 วรรคสองไม่ เพราะอำนาจลงโทษตามมาตรานี้จะต้องเป็นอำนาจโดยตรง มิใช่ถือเอาแต่ผลหรือถือเอาแต่เพียงมีอำนาจรายงานหรือเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไป ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าว และไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา 101 (1)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677 - 1678/2526 และ 2471/2527)
of 2