คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ม. 4 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเข้าครอบครองยึดถือ จึงจะสมบูรณ์
การโอนสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)นั้น อาจทำได้โดยสมบูรณ์ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ ซึ่งเป็นการทำตามแบบของกฎหมายประการหนึ่ง กับกระทำการโอนโดยข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377,1378 ซึ่งไม่ต้องมีแบบอีกประการหนึ่ง แม้โจทก์จะมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่พิพาท และผู้ขายทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนโอนกับมอบหลักฐานเกี่ยวกับภาษีบำรุงท้องที่ทุกฉบับให้โจทก์ไว้ก็ตามเมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และยังมิได้เข้าครอบครองยึดถือที่พิพาท โจทก์จึงยังไม่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่พิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย มิฉะนั้นสิทธิยังไม่สมบูรณ์
การโอนสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) นั้น อาจทำได้โดยสมบูรณ์ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ ซึ่งเป็นการทำตามแบบของกฎหมายประการหนึ่ง กับกระทำการโอนโดยข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377, 1378 ซึ่งไม่ต้องมีแบบอีกประการหนึ่ง แม้โจทก์จะมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่พิพาท และผู้ขายทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนโอนกับมอบหลักฐานเกี่ยวกับภาษีบำรุงท้องที่ทุกฉบับให้โจทก์ไว้ก็ตามเมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และยังมิได้เข้าครอบครองยึดถือที่พิพาท โจทก์จึงยังไม่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่พิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้โดยยังมิได้จดทะเบียน: สิทธิในมรดก
การที่เจ้าของที่ดินได้มายื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อทางอำเภอยกที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลย ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าเจ้าของที่ดินประสงค์จะยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาใช่เป็นกรณีเจตนาสละการครอบครองไม่ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 มาตรา 4ทวิ เมื่อการให้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เนื่องจากเจ้าของที่ดินถึงแก่กรรมเสียก่อนนิติกรรมการให้ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินดังกล่าวจึงยังเป็นมรดกของเจ้าของที่ดินอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งได้