พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ พ.ร.บ.เงินทดแทนหลังยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแจ้งผลอุทธรณ์
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1กรกฎาคม 2537 เป็นต้นไป
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2538 ป.บุตรโจทก์ที่ 1 และเป็นบิดาโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 3 ให้ยกเลิกข้อ 2 (6) และข้อ 3 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ซึ่งเกี่ยวกับเงินทดแทน
การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าลักษณะงานที่จำเลยจ้าง ป.ทำในคดีนี้เป็นงานเกษตรกรรมที่มิได้จ้าง ป.ให้ทำงานตลอดปีและไม่มีงานอื่นรวมอยู่ด้วยกรณีจึงมิได้อยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสาม เมื่อเป็นการนำกฎหมายในส่วนที่ถูกยกเลิกไปแล้วมาบังคับ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานดังกล่าวย่อมไม่ชอบ ข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เมื่อปัญหาว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ เรื่องเงินทดแทน เพราะจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเป็นที่สุดตามอุทธรณ์โจทก์ทั้งสามหรือไม่นั้น เป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนแล้วหรือไม่เสียก่อนเมื่อศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสาม จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31,56 วรรคสอง
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2538 ป.บุตรโจทก์ที่ 1 และเป็นบิดาโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 3 ให้ยกเลิกข้อ 2 (6) และข้อ 3 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ซึ่งเกี่ยวกับเงินทดแทน
การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าลักษณะงานที่จำเลยจ้าง ป.ทำในคดีนี้เป็นงานเกษตรกรรมที่มิได้จ้าง ป.ให้ทำงานตลอดปีและไม่มีงานอื่นรวมอยู่ด้วยกรณีจึงมิได้อยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสาม เมื่อเป็นการนำกฎหมายในส่วนที่ถูกยกเลิกไปแล้วมาบังคับ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานดังกล่าวย่อมไม่ชอบ ข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เมื่อปัญหาว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ เรื่องเงินทดแทน เพราะจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเป็นที่สุดตามอุทธรณ์โจทก์ทั้งสามหรือไม่นั้น เป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนแล้วหรือไม่เสียก่อนเมื่อศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสาม จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31,56 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ไม่ใช่เงินปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 แต่มีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่นายจ้างต้องชำระให้แก่กองทุนเงินทดแทน หาใช่เงินปีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทำงานในเรือระหว่างประเทศ แต่เริ่มต้น/สิ้นสุดงานในกรุงเทพฯ ถือทำงานในประเทศไทย ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
บริษัทโจทก์มีลูกจ้าง 70 คน ประจำสำนักงานไม่ถึง 20 คนนอกนั้น ประจำอยู่ในเรือบรรทุกสินค้า 3 ลำ รับจ้างบรรทุกสินค้าระหว่างท่าเรือในกรุงเทพมหานครและในจังหวัดสมุทรปราการกับต่างประเทศ เรือสินค้าของโจทก์จะกลับมาประเทศไทยอย่างเร็วประมาณ 1 เดือน อย่างช้าประมาณ 4 เดือนครั้งหนึ่ง และจะอยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 7 วัน ดังนี้ แม้ว่างานและเวลาส่วนใหญ่ลูกจ้างโจทก์จะทำงานในต่างประเทศ แต่การบรรทุกสินค้าเพื่อไปส่งต่างประเทศก็ดี บรรทุกสินค้าจากต่างประเทศกลับมายังท่าเรือในเขตกรุงเทพมหานครก็ดี การเริ่มต้นงานและสิ้นสุดงานแต่ละเที่ยวเกิดในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น ถือได้ว่าลูกจ้างโจทก์ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ความมุ่งหมายที่กฎหมายตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นมานั้นมิใช่เพื่อ หาประโยชน์แต่เพื่อคุ้มครองลูกจ้างโดยทั่วไป มิใช่เฉพาะลูกจ้างของโจทก์เท่านั้น เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนโดยมิต้องเสี่ยงกับฐานะการเงิน ของนายจ้าง กองทุนเงินทดแทนอาจต้องจ่ายเงินทดแทนจำนวนมากกว่าเงินสมทบทุนที่เรียกเก็บจากนายจ้างก็ได้ดังนั้น เมื่อกฎหมายกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่ากองทุนเงินทดแทนจะไม่มีโอกาสจ่ายค่าทดแทน ให้แก่ลูกจ้างโจทก์ในปีดังกล่าวก็ตาม
ความมุ่งหมายที่กฎหมายตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นมานั้นมิใช่เพื่อ หาประโยชน์แต่เพื่อคุ้มครองลูกจ้างโดยทั่วไป มิใช่เฉพาะลูกจ้างของโจทก์เท่านั้น เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนโดยมิต้องเสี่ยงกับฐานะการเงิน ของนายจ้าง กองทุนเงินทดแทนอาจต้องจ่ายเงินทดแทนจำนวนมากกว่าเงินสมทบทุนที่เรียกเก็บจากนายจ้างก็ได้ดังนั้น เมื่อกฎหมายกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่ากองทุนเงินทดแทนจะไม่มีโอกาสจ่ายค่าทดแทน ให้แก่ลูกจ้างโจทก์ในปีดังกล่าวก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน ศาลต้องวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในคำฟ้องเท่านั้น
สำนักงานกองทุนเงินทดแทนขึ้นอยู่ในกรมแรงงาน การปฏิบัติงานของสำนักงานนี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งมีอธิบดีกรมแรงงานเป็นประธานต้องรับผิดในการกระทำของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนนั้นด้วย โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องกรมแรงงานได้ ไม่ต้องฟ้องกรรมการทุกคน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน และให้กรมแรงงานจำเลยจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนอ้างว่าโจทก์เดินไปเข้าห้องส้วมตามกระดานที่นายจายพาดไว้ไม่เรียบร้อย โจทก์หกล้มเป็นอัมพาต แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว มาทำงานล่วงเวลาหลายวันทำให้เกิดความเคร่งเครียด โรคความดันโลหิตสูงทวีความรุนแรงขึ้น ในที่สุดล้มป่วยลงขณะทำงานให้นายจ้างและเป็นอัมพาต ดังนี้ จะวินิจฉัยว่าโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานมิได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 52 ไม่เข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน และให้กรมแรงงานจำเลยจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนอ้างว่าโจทก์เดินไปเข้าห้องส้วมตามกระดานที่นายจายพาดไว้ไม่เรียบร้อย โจทก์หกล้มเป็นอัมพาต แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว มาทำงานล่วงเวลาหลายวันทำให้เกิดความเคร่งเครียด โรคความดันโลหิตสูงทวีความรุนแรงขึ้น ในที่สุดล้มป่วยลงขณะทำงานให้นายจ้างและเป็นอัมพาต ดังนี้ จะวินิจฉัยว่าโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานมิได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 52 ไม่เข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้