พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำอนาจารและสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงนายจ้าง
ลูกจ้างเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของโรงแรมซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความเชื่อถือไว้วางใจจากคนเดินทางหรือแขกผู้มาพักหรือใช้บริการว่าเป็นที่ซึ่งให้ความปลอดภัย สะดวกสบาย และสงบ การที่ลูกจ้างเรียกพนักงานทำความสะอาดที่บริษัทอื่นส่งมาทำความสะอาดโรงแรมของนายจ้างให้ขึ้นไปพบ เอามือโอบไหล่ กับพูดขอหอมแก้ม เป็นความผิดฐานกระทำอนาจาร เมื่อพนักงานทำความสะอาดดังกล่าวเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ผู้อื่นฟัง ก็เห็นได้ว่านายจ้างได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงแล้วเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเตือนการทำงานสายและการเลิกจ้างที่เป็นธรรม รวมถึงการหักเงินทดรองจ่าย
ข้อความในเอกสารที่เป็นปัญหา นอกจากจะมีคำรับของลูกจ้างว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว ลูกจ้างยังให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีก หากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ ลูกจ้างและคณะกรรมการสอบสวนไม่ลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตอนหลังที่แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการสอบสวนได้ตักเตือนไม่ให้ลูกจ้างกระทำซ้ำอีก ซึ่งหากกระทำซ้ำอีก ก็จะได้รับโทษถึงกับให้ออก อันมีลักษณะเป็นหนังสือเตือนอยู่ในตัวด้วย และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อลูกจ้าง ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนนายจ้างได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างโดยชอบ เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง เมื่อนายจ้างมีเหตุเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองจ่ายดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองจ่ายดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานวินิจฉัยพยานหลักฐานนอกสำนวนและขัดแย้งกับข้อตกลงเดิม ถือเป็นการไม่ชอบ
การลากิจตามเอกสารหมาย ร.16 ของผู้คัดค้านนั้น ผู้ร้องมิได้บรรยายหรือกล่าวไว้ในคำร้องว่าผู้คัดค้านได้ขาดงานโดยฝ่าฝืนระเบียบการลาซึ่งผู้ร้องไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ การที่ศาลแรงงานนำมาฟังเป็นโทษแก่ผู้คัดค้านจึงเป็นการไม่ชอบ ส่วนเอกสารหมาย ร.21 เป็นการลากิจ ซึ่งผู้คัดค้านได้ยื่นใบลาล่วงหน้าจึงไม่ผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง แต่เป็นการลาเกินกำหนด 4 วัน เป็นกรณีไม่ได้รับค่าจ้างตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งผู้ร้องก็ไม่ได้อนุมัติการลา แต่ผู้ร้องได้หมายเหตุไว้ว่า ในกรณีนี้ผู้จัดการบุคคลได้เรียกมาว่ากล่าวตักเตือนให้นำไปปรับปรุง ผู้คัดค้านรับปากว่าขอเป็นครั้งสุดท้ายในครั้งนี้ ซึ่งหากมีอีกจะยอมถือเป็นขาดงานและลงชื่อผู้จัดการไว้ ตามข้อความดังกล่าวผู้ร้องไม่ติดใจเอาโทษแก่ผู้คัดค้านและไม่ถือว่าเป็นความผิดแล้ว ผู้ร้องจะนำการลากิจครั้งนี้มากล่าวโทษผู้คัดค้านอีกหาได้ไม่ ผู้คัดค้านจึงมิได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน
ที่ศาลแรงงานรับฟังเอกสารหมาย ร.16 ที่ผู้ร้องอ้าง เป็นการฟังพยานนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้องและรับฟังเอกสารหมาย ร.21 ซึ่งผู้คัดค้านไม่ผิดเป็นว่าผู้คัดค้านมีความผิด เป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานเป็นอย่างอื่นนอกสำนวนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ที่ศาลแรงงานรับฟังเอกสารหมาย ร.16 ที่ผู้ร้องอ้าง เป็นการฟังพยานนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้องและรับฟังเอกสารหมาย ร.21 ซึ่งผู้คัดค้านไม่ผิดเป็นว่าผู้คัดค้านมีความผิด เป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานเป็นอย่างอื่นนอกสำนวนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การพิจารณาเหตุผลเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างและพฤติการณ์ก่อนเกิดเหตุ
ตามคำสั่งเลิกจ้าง นายจ้างระบุในคำสั่งเลิกจ้างว่า ลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรงและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างเท่านั้น เท่ากับนายจ้างประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างทั้งสองประการดังกล่าวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อนายจ้างถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ การที่นายจ้างยกเหตุว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นต่อสู้ ศาลย่อมไม่รับวินิจฉัย นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามกำหนดเวลาซึ่งถือว่าเป็นการผิดสัญญาและไม่ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ย่อมทำให้ลูกจ้างผิดหวังเกิดความรู้สึกไม่พอใจนายจ้าง และมายืนออกันอยู่ที่หน้าโรงงาน เมื่อเห็นนายจ้างขับรถผ่านมาลูกจ้างได้กล่าวถ้อยคำว่า "อีหัวล้าน" ต่อนายจ้างซึ่งกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงความไม่พอใจต่อนายจ้างอันมีผลสืบเนื่องมาจากการที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ นอกจากถ้อยคำดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างก็มิได้กล่าววาจาหรือแสดงกริยาอย่างอื่นใดประกอบอีก เพียงถ้อยคำซึ่งกล่าวด้วยอารมณ์ผิดหวังดังเช่นกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง และถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงถ้อยคำที่ไม่สุภาพไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นนายจ้างซึ่งหน้า จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักเงินประกันของนายจ้างเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ และการจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับเงินประกันความว่า "หากมีความเสียหายเกิดขึ้นอันอยู่ในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของพนักงาน ไม่ว่าจะโดยเจตนา ไม่เจตนา ประมาทเลินเล่อ อันเป็นความผิดจากการกระทำของพนักงาน โรงพยาบาลมีสิทธิหักค่าเสียหายออกจากเงินประกันได้ทันทีตามความเป็นจริง และพนักงานต้องไม่กระทำความผิดสถานร้ายแรงตามกฎหมาย และถูกเลิกจ้างตามความผิดนั้นโรงพยาบาลจะคืนเงินประกันให้" การที่โจทก์ขาดงานอันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเวลาติดต่อกันถึงห้าวัน ย่อมเป็นการเสียหายแก่จำเลยอยู่ในตัว และถือได้ว่าเป็นการร้ายแรง เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุนี้ จึงเข้าเกณฑ์ตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งจำเลยมีสิทธิหักเงินประกันได้
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างแม้ไม่มีงานมอบหมาย ศาลตัดสินเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ตามสถานที่ที่จำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงาน เดิมโจทก์ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงแรมในกรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัดนครปฐม แต่โจทก์ไม่ไป ขอทำงานในกรุงเทพมหานคร เพราะภริยาโจทก์ป่วยเป็นคนพิการเดินไม่ได้ แม้หลังจากที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุรา จังหวัดนครปฐม ตามคำสั่งของจำเลยและโจทก์ไม่มีหน้าที่ใดที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่บริษัทจำเลยโจทก์ก็ยังมีหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ต้องทำงานให้แก่จำเลย คือต้องมาที่บริษัทจำเลยเพื่อรับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ให้แก่จำเลย ซึ่งหากไม่มา จำเลยก็ไม่อาจมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยได้ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่มาที่บริษัทจำเลยเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่และการวินิจฉัยคดี: จำเป็นต้องพิสูจน์เหตุผลของการขาดงาน
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ เมื่อศาลสอบโจทก์ โจทก์เพียงแต่แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยมิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อจำเลย ไม่ได้แถลงรับว่าการที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร คดีจึงยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ คำแถลงรับของโจทก์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาไปรับราชการทหารมิใช่ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการลา
การที่ลูกจ้างขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุที่ทำให้ลูกจ้างนั้นไม่ได้มาทำงานว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ เพียงใด ไม่ใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มาทำงานโดยฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเรื่องการลาแล้ว จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรเสมอไป
โจทก์ละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกันเนื่องจากไปรับราชการทหารตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกันเนื่องจากไปรับราชการทหารตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกสหภาพแรงงานร่วมนัดหยุดงานภายหลังโดยชอบ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เมื่อสหภาพแรงงานนัดหยุดงานโดยชอบแล้ว การที่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่มิได้ร่วมหยุดงานในตอนแรกออกมาร่วมนัดหยุดงานในภายหลัง ย่อมเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบ และไม่จำต้องแจ้งความประสงค์ขอนัดหยุดงานตามนัยแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 34 วรรคท้ายอีก
กรณีดังกล่าวนั้นการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งสมทบนัดหยุดงานในภายหลังโดยอ้างเหตุว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงาน จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 121
กรณีดังกล่าวนั้นการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งสมทบนัดหยุดงานในภายหลังโดยอ้างเหตุว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงาน จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782-4784/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จเพื่อกลับเข้าทำงานหลังปิดงานสหภาพ และการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากขาดงาน
การที่โจทก์ได้แจ้งต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างขอกลับเข้าทำงานตามปกติในระหว่างที่จำเลยปิดงานเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโดยรับรองว่าตนไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และจำเลยตกลงรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมเช่นเดียวกับสมาชิกสหภาพแรงงานที่ไม่ได้ถูกปิดงาน ครั้นโจทก์เข้าทำงานตามปกติแล้วได้ขาดงานติดต่อกันเกินกว่าสามวันโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้จำเลยทราบ ดังนี้ เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 (4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จะอ้าง ว่าความจริงโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน แต่แจ้งเท็จเพื่อ ต้องการทำงานและได้ค่าจ้าง จึงมีสิทธิไม่เข้าทำงานในระหว่างปิดงานไม่ได้