พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนายจ้างในการสั่งตรวจร่างกายลูกจ้างที่ลาป่วย และการเลิกจ้างเมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์และได้รับอนุญาตให้ลาจนครบกำหนด และมาทำงานแล้ว ก็ตาม หากจำเลยสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่หรือใช้สิทธิลาป่วยไม่สุจริต ก็ชอบที่จะสั่งให้โจทก์ไปตรวจกับ แพทย์อื่นซึ่งจำเลยจัดให้เพื่อตรวจสอบว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ หากการตรวจปรากฏว่าโจทก์ป่วยจริงและใช้สิทธิ ลาป่วยโดยสุจริตก็จะเป็นผลดีแก่โจทก์ คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานที่มีเหตุผลชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โจทก์ต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกรณีไม่ร้ายแรง จำเลยได้มีหนังสือตักเตือนโจทก์ และยืนยันคำสั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามโจทก์ก็ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จำเลยจึงลงโทษให้พักงานโจทก์ 11 วัน และยืนยันให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอีก เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีสิทธิออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย จึงเป็นคำสั่งที่ ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และเป็นการปฏบัติถูกต้องตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วและคำสั่งดังกล่าวถือได้ว่าไม่ใช้คำสั่งเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อจำเลยปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนในการลงโทษตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างกรณีพักงานให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่เข้าด้วยกรณีตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความผิด และเพราะฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย โดยที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนแล้ว ซึ่งมีผลไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้รับทราบหนังสือเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และข้อ 45 จำเลยจึง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
เมื่อจำเลยปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนในการลงโทษตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างกรณีพักงานให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่เข้าด้วยกรณีตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความผิด และเพราะฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย โดยที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนแล้ว ซึ่งมีผลไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้รับทราบหนังสือเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และข้อ 45 จำเลยจึง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุทะเลาะวิวาท ศาลยืนค่าชดเชยและค่าวันหยุดพักผ่อน
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์ทะเลาะวิวาทกับนายโชคชัย นุ้ยทองคำ หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นการกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยกับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า แม้โจทก์จะเป็นผู้เริ่มต้นก่อเหตุทะเลาะวิวาทขึ้นโดยกล่าววาจาหยาบคายและต่อว่านายโชคชัย เป็นเหตุให้นายโชคชัยบันดาลโทสะเข้าชกต่อยโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพียงกรณีที่โจทก์ถูกนายโชคชัยทำร้ายร่างกายแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยโจทก์มิได้ทำร้ายตอบโต้ และโจทก์มีตำแหน่งหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยเท่าเทียมกับนายโชคชัย ทั้งห้องเกิดเหตุก็เป็นห้องสำนักงานรักษาความปลอดภัยอันเป็นที่ทำงานเฉพาะส่วนของพนักงานรักษาความปลอดภัย บุคคลภายนอกไม่สามารถที่จะเข้าไปหรือเห็นเหตุการณ์หรือได้ยินเสียงทะเลาะวิวาทได้
++ จึงถือไม่ได้ว่า การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)
++ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์ทะเลาะวิวาทกับนายโชคชัย นุ้ยทองคำ หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นการกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยกับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า แม้โจทก์จะเป็นผู้เริ่มต้นก่อเหตุทะเลาะวิวาทขึ้นโดยกล่าววาจาหยาบคายและต่อว่านายโชคชัย เป็นเหตุให้นายโชคชัยบันดาลโทสะเข้าชกต่อยโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพียงกรณีที่โจทก์ถูกนายโชคชัยทำร้ายร่างกายแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยโจทก์มิได้ทำร้ายตอบโต้ และโจทก์มีตำแหน่งหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยเท่าเทียมกับนายโชคชัย ทั้งห้องเกิดเหตุก็เป็นห้องสำนักงานรักษาความปลอดภัยอันเป็นที่ทำงานเฉพาะส่วนของพนักงานรักษาความปลอดภัย บุคคลภายนอกไม่สามารถที่จะเข้าไปหรือเห็นเหตุการณ์หรือได้ยินเสียงทะเลาะวิวาทได้
++ จึงถือไม่ได้ว่า การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)
++ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลางาน: คำสั่งห้ามเฉพาะพื้นที่โรงแรมชอบด้วยกฎหมาย
ประกาศคำสั่งของจำเลยที่ห้ามมิให้โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง แม้จะมีข้อความห้ามพนักงานของโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลาทำงานตามปกติก็ตาม แต่ประกาศดังกล่าวได้ระบุถึงเขตพื้นที่ไว้โดยเฉพาะคือบริเวณโรงแรมของจำเลยเท่านั้น จึงเป็นอำนาจของจำเลยที่จะออกประกาศคำสั่งเช่นนั้นได้ เพราะมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนประกาศคำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งคนสวน และโจทก์ใช้เวลานอกเวลาทำงานไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเสียหายอันมีสาเหตุมาจากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างดังกล่าว แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างจะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลย ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์ของจำเลยเสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งกรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แก่โจทก์
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งคนสวน และโจทก์ใช้เวลานอกเวลาทำงานไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเสียหายอันมีสาเหตุมาจากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างดังกล่าว แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างจะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลย ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์ของจำเลยเสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งกรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากการขัดคำสั่ง แม้มีเหตุแต่ไม่ร้ายแรงเพียงพอ
แม้การที่โจทก์ร่างคำสั่งไม่ให้ อ.ผ่านการทดลองงานให้รองประธานกรรมการของจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในสายงานลงนามอันเป็นผลให้ อ.พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลย โดยไม่ได้ปรึกษาจำเลยที่ 2 ก่อนจะเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน แต่โจทก์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในสายงานจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในกรณีร้ายแรง และการฝ่าฝืนคำสั่งเช่นนี้จำเลยที่ 1อาจลงโทษโจทก์ได้ แต่เมื่อยังไม่ถึงขนาดที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควรจะเลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ประกอบธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง ถือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและการลงโทษทางวินัยระบุไว้ว่า "แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานหรือเวลาปฏิบัติงานของบริษัท" ถือว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ดังนี้ การที่โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ ส.โดยได้รับผลตอบแทนอันเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์เช่นเดียวกับที่จำเลยประกอบอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ ซึ่งตามหนังสือสัญญาจ้างที่หนังสือพิมพ์ส.ทำไว้กับโจทก์นั้น โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: รายงานเท็จไม่ร้ายแรงพอที่จะเลิกจ้างโดยต้องจ่ายค่าชดเชย
การทำรายงานเท็จของโจทก์เกี่ยวกับการไปติดต่อประสานงานและเร่งรัดเก็บเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพียงทำให้จำเลยไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ถูกต้องแท้จริง รวมทั้งยังไม่ได้รับเงินค่างวดค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทันที และจำเลยอาจได้รับชำระล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น แต่การกระทำของโจทก์ก็มิได้ทำให้หนี้ค่างวดดังกล่าวต้องระงับไปเพราะเหตุดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายอื่นใดจากการทำรายงานเท็จดังกล่าวอีก ทั้งการกระทำความผิดครั้งก่อน ๆ ของโจทก์ซึ่งไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำมาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของโจทก์ครั้งนี้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มเบียร์ขณะปฏิบัติหน้าที่ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่นำพนักงานของจำเลยที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างทำงานส่งโรงพยาบาล ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของบุคคล การดื่มเบียร์ซึ่งเป็นสิ่งมึนเมาย่อมทำให้การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและอาจก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้อื่นได้ ทั้งจำเลยก็ได้กำหนดไว้ในมาตรการทางวินัย อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าเป็นกรณีร้ายแรงด้วย ดังนี้ การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยได้ร่วมดื่มเบียร์กับพนักงานอื่น ๆในบริเวณโรงงานขณะปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบธนาคารอย่างร้ายแรง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่า ลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลย จึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคารของจำเลย การที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่บริษัท ด.ในวงเงิน 162 ล้านบาท ก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ ส.รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ก่อน จะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัท ด.อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหายนี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับเงินอื่นตามฟ้อง และกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุอันสมควร กรณีลูกจ้างกระทำผิดซ้ำหลังได้รับคำตักเตือนแล้ว
คำตักเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47 (4) ไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่าจะต้องมีรูปแบบและข้อความเป็นอย่างไร แต่หนังสือตักเตือนนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ แต่ตามใบเตือนของจำเลยคงระบุแต่เพียงว่าโจทก์กระทำผิดมาทำงานสายเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกและหากกระทำผิดอีกต้องถูกลงโทษไว้ ใบเตือนของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45, 47 (4) เพราะเหตุที่โจทก์กระทำผิดซ้ำแต่การที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้งและหลังจากโจทก์ก็ยังคงมาสายอยู่เป็นประจำอีก ทั้งยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเรื่องอื่น ๆ เช่นนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโจทก์จึงไม่สิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้ และไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 ในวันพิจารณาโจทก์ได้แถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำงานกับจำเลยโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำและจำเลยได้มีหนังสือเตือนตามเอกสารท้ายคำให้การจริงอันเป็นการยอมรับว่าใบเตือนดังกล่าวได้ออกโดยจำเลยซึ่งศาลแรงงานก็ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นหนังสือ ส.จึงบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์จริง ฉะนั้นที่โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่า ใบเตือนดังกล่าวออกโดยผู้มีอำนาจหรือไม่ไม่ปรากฏจึงเป็นการออกใบเตือนโดยไม่ชอบนั้น ย่อมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: กำหนดเวลาหนังสือเตือนและการลงโทษทางวินัย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47 (4) ที่ระบุกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ซึ่งหนังสือเตือนนั้นต้องมีผลบังคับไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับทราบหนังสือเตือนนั้น เป็นกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเอาไว้ว่ามิให้บังคับกันเกินไปกว่า 1 ปี เท่านั้น หาได้บังคับเป็นการตายตัวว่าจะต้องบังคับกันเป็นเวลา 1 ปี โดยเด็ดขาดไม่ นายจ้างและลูกจ้างจึงตกลงกันวางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กำหนดระยะเวลาของการเตือนเป็นหนังสือให้มีผลบังคับต่ำกว่าหรือน้อยกว่า 1 ปี ก็ได้ ไม่เป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) จึงย่อมใช้บังคับได้การที่จำเลยออกหนังสือเตือนโจทก์เรื่องการขาดงานเมื่อเดือนกรกฎาคม 2539 แล้วโจทก์ขาดงานเมื่อวันที่ 6 และ 7 พฤษภาคม 2540 อีก แต่เมื่อหนังสือเตือนของจำเลยฉบับเดือนกรกฎาคม 2539 สิ้นผลบังคับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่โจทก์จำเลยตกลงกันตามข้อกำหนดในคู่มือสภาพการจ้างไปแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
ตามคู่มือสภาพการจ้างของจำเลยมีขั้นตอนที่จะเลือกลงโทษพนักงานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จำเลยมีบันทึกการลงโทษโจทก์ระบุให้สั่งพักการทำงานโจทก์เป็นเวลา 5 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างวันที่ 24 ถึง28 กุมภาพันธ์ 2540 เท่านั้น หาได้มีข้อความใดระบุว่าให้ลงโทษโดยการเตือนเป็นหนังสือด้วย แม้ข้อความในตอนท้ายของบันทึกดังกล่าว แม้จะมีข้อความในลักษณะห้ามมิให้โจทก์ฝ่าฝืนและกระทำผิดอีก จึงไม่มีผลเป็นการตักเตือนเป็นหนังสือ ดังนี้เมื่อการลงโทษโจทก์เป็นการลงโทษพักงาน 5 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างแล้ว จะถือว่าจำเลยได้ลงโทษโจทก์โดยการตักเตือนเป็นหนังสือรวมอยู่ด้วยอีกไม่ได้
ตามคู่มือสภาพการจ้างของจำเลยมีขั้นตอนที่จะเลือกลงโทษพนักงานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จำเลยมีบันทึกการลงโทษโจทก์ระบุให้สั่งพักการทำงานโจทก์เป็นเวลา 5 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างวันที่ 24 ถึง28 กุมภาพันธ์ 2540 เท่านั้น หาได้มีข้อความใดระบุว่าให้ลงโทษโดยการเตือนเป็นหนังสือด้วย แม้ข้อความในตอนท้ายของบันทึกดังกล่าว แม้จะมีข้อความในลักษณะห้ามมิให้โจทก์ฝ่าฝืนและกระทำผิดอีก จึงไม่มีผลเป็นการตักเตือนเป็นหนังสือ ดังนี้เมื่อการลงโทษโจทก์เป็นการลงโทษพักงาน 5 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างแล้ว จะถือว่าจำเลยได้ลงโทษโจทก์โดยการตักเตือนเป็นหนังสือรวมอยู่ด้วยอีกไม่ได้