พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์และการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ไม่ได้รับมอบหมายอำนาจ
การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้(อ้างฎีกาที่ 755/2502) และกฎหมายก็ไม่ได้บังคับให้ร้องทุกข์ได้เฉพาะต่อพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจเสมอไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับคำร้องทุกข์: เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจำกัดเฉพาะพนักงานสอบสวนและฝ่ายปกครอง
เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ได้ตามมาตรา 2(17) นั้น ได้แก่พนักงานสอบสวนกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา 123,124 เท่านั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่พนักงานสอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา 2(16)และ 2(17)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับคำร้องทุกข์: รัฐมนตรีฯ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตาม ป.วิ.อาญา
เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ได้ตามมาตรา 2 (17) นั้น ได้แก่พนักงานสอบสวนกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม มาตรา 123, 124 เท่านั้น รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่พนักงานสอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม มาตรา 2 (16) และ 2 (17)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: การแจ้งความถือเป็นการร้องทุกข์ คดีไม่ขาดอายุความหากฟ้องภายใน 5 ปี
การแจ้งให้ตำรวจจับผู้ต้องหาถือว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ได้ร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวต่อพนักงานสอบสวนภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเกินกว่า 3 เดือนแต่ยังไม่พ้นอายุความฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายลักษณะอาญาคดีของโจทก์หาขาดอายุความไม่
โจทก์ได้ร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวต่อพนักงานสอบสวนภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเกินกว่า 3 เดือนแต่ยังไม่พ้นอายุความฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายลักษณะอาญาคดีของโจทก์หาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์ต่อตำรวจถือเป็นการเริ่มนับอายุความ แม้ฟ้องเกิน 3 เดือน แต่ยังไม่ขาดอายุความ 5 ปี
การให้ตำรวจจับผู้ต้องหาถือว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ได้ร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวต่อพนักงานสอบสวน ภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเกินกว่า 3 เดือน แต่ยังไม่พ้นอายุความฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายลักษณะอาญา คดีของโจทก์หาขาดอายุความไม่
โจทก์ได้ร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวต่อพนักงานสอบสวน ภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเกินกว่า 3 เดือน แต่ยังไม่พ้นอายุความฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายลักษณะอาญา คดีของโจทก์หาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ และการลงโทษเกินพยานหลักฐานในคดีอาญา
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์มอบคดีแล้ว แต่จำเลยก็มิได้ยกข้อต่อสู้ว่า ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์มอบคดีโดยชอบด้วยกฎหมายให้เป็นประเด็นขึ้นมา โจทก์จึงไม่มีข้อที่จะต้องนำสืบในข้อนี้ว่า ผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์และเจ้าพนักงานได้บันทึกรับแจ้งความไว้ว่าอย่างไร จำเลยเพิ่งมายกเป็นข้อต่อสู้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์หาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ และการลงโทษเกินพยานหลักฐาน คดีอาญา
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์มอบคดีแล้ว แต่จำเลยก็มิได้ยกข้อต่อสู้ว่าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์มอบคดีโดยชอบด้วยกฎหมายให้เป็นประเด็นขึ้นมา โจทก์จึงไม่มีข้อที่จะต้องนำสืบในข้อนี้ว่าผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์และเจ้าพนักงานได้บันทึกรับแจ้งความไว้ว่าอย่างไร จำเลยเพิ่งมายกเป็นข้อต่อสู้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์หาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการร้องทุกข์ ความผิดเช็ค และอายุความ การเบิกความต่อศาลไม่ทำให้การร้องทุกข์เป็นโมฆะ
ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เรื่องจำเลยออกเช็คไม่มีเงินต่อพนักงานตำรวจสถานีตำรวจบางซื่อตามเอกสารคำร้องทุกข์ว่า ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีจนถึงที่สุด แม้ผู้เสียหายจะเบิกความต่อศาลว่าไม่มีเจตนาจะให้เอาโทษจำเลย ขอให้ได้เงินคืนเท่านั้น และว่าเมื่อวันไปแจ้งความที่สถานีตำรวจก็ได้บอกตำรวจด้วยว่า ต้องการเงินคืนเท่านั้น ไม่อยากให้เอาโทษตำรวจจึงยังไม่ได้สอบสวน เมื่อเห็นว่า จำเลยไม่คืนเงินจึงบอกให้ตำรวจจับจำเลย และได้เริ่มสอบสวนต่อไปเช่นนี้ ก็ยังถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ตามกฎหมายแล้ว คำเบิกความของผู้เสียหายดังกล่าวข้างต้นนั้น หาแสดงว่าผู้เสียหายไม่เจตนาเอาโทษแก่จำเลยโดยแท้จริงไม่ เป็นแต่ผู้เสียหายอยากได้เงินคืนมากกว่าเมื่อไม่ได้เงินคืนจากจำเลย ก็ได้บอกให้ตำรวจจับจำเลยดำเนินการสอบสวนต่อไปเป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่าผู้เสียหายต้องการเอาโทษจำเลยตามคำร้องทุกข์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการร้องทุกข์: แม้ต้องการเงินคืน แต่การบอกให้ดำเนินคดีก็ถือเป็นการร้องทุกข์เพื่อเอาโทษได้
ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เรื่องจำเลยออกเช็คไม่มีเงินต่อพนักงานตำรวจสถานีบางซื่อตามเอกสารคำร้องทุกข์ว่า ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีจนถึงที่สุด แม้ผู้เสียหายจะเบิกความต่อศาลว่าไม่มีเจตนาจะให้เอาโทษจำเลย ขอให้ได้เงินคืนเท่านั้น และว่าเมื่อวันไปแจ้งความที่สถานีตำรวจก็ได้บอกตำรวจด้วยว่า ต้องการเงินคืนเท่านั้น ไม่อยากให้เอาโทษ ตำรวจจึงยังไม่ได้สอบสวน เมื่อเห็นว่า จำเลยไม่คืนเงินจึงบอกให้ตำรวจจับจำเลย และได้เริ่มสอบสวนต่อไป เช่นนี้ ก็ยังถือได้ว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ตามกฎหมายแล้ว คำเบิกความของผู้เสียหายดังกล่าวข้างต้นนั้น หาแสดงว่าผู้เสียหายไม่เจตนาเอาโทษแก่จำเลยโดยแท้จริงไม่ เป็นแต่ผู้เสียหายอยากได้เงินคืนมากกว่า เมื่อไม่ได้เงินคืนจากจำเลย ก็ได้บอกให้ตำรวจจับจำเลยดำเนินการสอบสวนต่อไป เป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่า ผู้เสียหายต้องการเอาโทษจำเลยตามคำร้องทุกข์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจในการร้องทุกข์อาญา: หลักเกณฑ์และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจที่ใช้ได้
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่องให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5 มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า (กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์ เจ้าหน้าที่ของธนาคาร เป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่า ไม่ใช่คำร้องทุกข์ โดยตนเองตามป.วิ.อ. มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่า ให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5 มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า (กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์ เจ้าหน้าที่ของธนาคาร เป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่า ไม่ใช่คำร้องทุกข์ โดยตนเองตามป.วิ.อ. มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่า ให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)