คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 123

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจร้องทุกข์: หลักเกณฑ์การมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทน และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจ
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่อง ให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า(กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์เจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่าไม่ใช่คำร้องทุกข์โดยตนเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่าให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินและการงดรอการดำเนินคดี ความผิดฐานบุกรุกยังคงอยู่แม้จะมีการตกลงไม่ดำเนินคดี
นาแปลงที่จำเลยบุกรุก โจทก์ร่วมได้โอนไปให้บุตรและบุตรไปแจ้ง ส.ค.1 แล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของที่นาดังกล่าว ดังนั้นการร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
วันที่ 16 มี.ค.99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย(โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน ๆ ห้ามจำเลย ๆ ว่า"เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า "ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค.99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและนายอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำงานอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค.99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค.99 กับในวันที่ 3 พ.ค.99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทย์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค.99)เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พ.ค.99) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือ ในวันที่ 3 พ.ค.99 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น ( 16 มี.ค.99 ) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่.
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2501 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: การร้องทุกข์ การงดรอการดำเนินคดี และการนำสืบพฤติการณ์ใหม่เพื่อพิสูจน์การผิดสัญญา
นาแปลงที่จำเลยบุกรุก โจทก์ร่วมได้โอนไปให้บุตรและบุตรไปแจ้ง ส.ค.1 แล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของที่นาดังกล่าว ดังนั้นการร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
วันที่ 16 มี.ค. 99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย (โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านผู้ใหญ่บ้านห้ามจำเลยจำเลยว่า "เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า" ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค. 99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค. 99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค. 99 กับในวันที่ 3 พ.ค. 99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทก์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค. 99) เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พฤษภาคม 2499) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธิ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือในวันที่ 3 พฤษภาคม 2499 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น(16 มีนาคม 2499) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่2/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066-1068/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้ไม่ทันในชั้นศาล และการร้องทุกข์ของผู้เช่าเรือที่ได้รับความเสียหาย
ข้อ ก.ม.ที่คู่ความยกขึ้นอ้างอิงนั้นจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่ศาลชั้นต้น มิฉะนั้นศาลหารับเป็นฎีกาในข้อนั้นไม่
ผู้เช่าเรือยนต์มาทำการหาผลประโยชน์ เมื่อเรือนั้นถูกชนก็ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมีอำนาจร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานได้ตามมาตรา 123,124 และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 120,121 และผู้เช่าในฐานะผู้เสียหายก็ยังมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 28(2) อีกด้วย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าของเรือยนต์ได้ร่วมกับผู้ถือท้ายควบคุมเรือแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานกล่าวหาว่าผู้ถือท้ายเรืออีกลำหนึ่งชนเอาจนต่างฝ่ายได้ร่วมกันทำบันทึกการเสียหายกับเจ้าพนักงานเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเจ้าของเรือนั้นได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายอาญามาตรา 80 แล้ว จึงหาขาดอายุความไม่ ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ไม่ถูกต้องเพราะไม่ลงลายมือชื่อนั้นไม่มีประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันมาจึงตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066-1068/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น และการร้องทุกข์ในคดีอาญาเกี่ยวกับเรือ
ข้อกฎหมายที่คู่ความยกขึ้นอ้างอิงนั้นจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่ศาลชั้นต้น มิฉะนั้นศาลหารับเป็นฎีกาในข้อนั้นไม่
ผู้เช่าเรือยนต์มาทำการหาผลประโยชน์ เมื่อเรือนั้นถูกชนก็ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมีอำนาจร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานได้ตามมาตรา 123124 และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 120,121และผู้เช่าในฐานะผู้เสียหายก็ยังมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการตามมาตรา 28(2) อีกด้วย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าของเรือยนต์ได้ร่วมกับผู้ถือท้ายควบคุมเรือแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานกล่าวหาว่าผู้ถือท้ายเรืออีกลำหนึ่งชนเอาจนต่างฝ่ายได้ร่วมกันทำบันทึกการเสียหายกับเจ้าพนักงานเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเจ้าของเรือนั้นได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายอาญา มาตรา 80 แล้ว จึงหาขาดอายุความไม่ ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ไม่ถูกต้องเพราะไม่ลงลายมือชื่อนั้นไม่มีประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันมาจึงตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกง: ผู้ว่าฯ คนใหม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนผู้เสียหายเดิม
ผู้ว่าราชการจังหวัดถูกฉ้อโกงหลงเชื่อสั่งจ่ายเงินซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ไป เมื่อย้ายผู้ว่าราชการคนเก่าไปแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่โดยตำแหน่งย่อมเป็นผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์ให้เอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้
การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีนั้นถือได้ว่าเป็นการร้องทุกข์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาโดยไม่ระบุการร้องทุกข์ และการเพิ่มเติมฟ้องภายหลัง ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานและเจตนาของจำเลย
โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานเอาคดีขึ้นว่ากล่าว แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนความผิดของจำเลยคดีมีมูลไว้ชั้นหนึ่งแล้วนั้น ถือว่าเป็นฟ้องที่ชอบแล้ว
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 5 ปากเมื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ในฟ้องให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้นตามรูปเรื่องแห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ในข้อที่มิได้กล่าวไว้นั้นศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาข่มขืน การเพิ่มเติมฟ้อง และการที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก่อนการร้องทุกข์
โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานเอาคดีขึ้นว่ากล่าว แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนความผิดของจำเลยคดีมีมูลไว้ชั้นหนึ่งแล้วนั้น ถือว่าเป็นฟ้องที่ชอบแล้ว
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 5 ปาก เพื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ในฟ้องให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้น ตามรูปเรื่องแห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ในข้อที่มิได้กล่าวไว้นั้นศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103-104/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายค่าป่วยการที่ไม่เป็นความผิดฐานทุจริต และการขาดอำนาจร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกง
เทศมนตรีไม่ได้ไปทำงาน แต่ได้ลงลายมือชื่อในบัญชีรายวันมาทำงานว่า ได้มาทำงานในวันนั้น ผู้มีหน้าที่ตั้งฎีกาเบิกเงินหลงเชื่อ จึงเบิกเงินค่าป่วยการประจำวัน และเงินเพิ่มพิเศษมามอบให้เทศมนตรีรับไปดังนี้ การกระทำของเทศมนตรีดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 133
ความผิดฐานฉ้อโกงเงินของเทศบาล นั้น สัตว์แพทย์ประจำเทศบาลไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ตามกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103-104/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายค่าป่วยการที่ไม่เป็นความผิดฐานเกี่ยวข้องหากำไรส่วนตัว และการไม่มีอำนาจร้องทุกข์
เทศมนตรีไม่ได้ไปทำงาน แต่ได้ลงลายมือชื่อในบัญชีรายวันมาทำงานว่า ได้มาทำงานในวันนั้นผู้มีหน้าที่ตั้งฎีกาเบิกเงินหลงเชื่อ จึงเบิกเงินค่าป่วยการประจำวันและเงินเพิ่มพิเศษมามอบให้เทศมนตรีรับไป ดังนี้การกระทำของเทศมนตรีดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 133
ความผิดฐานฉ้อโกงเงินของเทศบาลนั้นสัตว์แพทย์ประจำเทศบาลไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ตามกฎหมายได้
of 14