คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 123

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์ต้องมีเจตนาให้ดำเนินคดีกับจำเลย หากไม่มีอำนาจฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ย่อมเป็นโมฆะ
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ร่วมมีข้อความว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ ร. จัดการแจ้งความเรื่องเช็คคืน โดยไม่ได้ระบุให้มีอำนาจแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย จึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายมีเจตนาที่จะให้จำเลยต้องรับโทษ ทั้งเหตุที่แจ้งความร้องทุกข์ก็เพราะไม่ต้องการให้เช็คขาดอายุความ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7)
เมื่อความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดีความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่มีคำร้องทุกข์ ย่อมห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ ต้องถือว่าไม่ได้มีการสอบสวนโดยชอบพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน: การกระทำหลายกรรม, การแจ้งความ, และพฤติการณ์ที่บ่งชี้เจตนา
พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์ แม้เดิมจะเคยเข้าไปอันเป็นการถือวิสาสะทำให้ไม่เป็นความผิด แต่เมื่อโจทก์กับสามีไล่ให้ออกจากบ้าน จำเลยไม่ยอมออกลากตัวออกไปยังกลับเข้ามาอีก จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน ส่วนในวันรุ่งขึ้น (วันที่ 10 มิถุนายน 2537) จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์อีก โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์หรือสามีโจทก์อนุญาต จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364 อีกกระทงหนึ่ง
ตามเอกสารการร้องทุกข์ได้ระบุข้อความว่า "และต่อมาในวันรุ่งขึ้น เวลาประมาณ 7.00 นาฬิกา จำเลยได้มาที่บ้านอีกครั้ง พร้อมกับได้พูดยืนยันตามที่ได้พูดเมื่อคืนเป็นความจริง"จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งความร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในวันที่ 10 มิถุนายน 2537 แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุถึงมาตราความผิดแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3737/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังคงมีผลแม้ผู้มอบอำนาจพ้นตำแหน่ง และผู้รับมอบอำนาจแจ้งความหลังพ้นกำหนด
ขณะ ร. ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ ร. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ พ. เป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์ หรือถอนคำร้องทุกข์ใด ๆ ต่อพนักงานสอบสวนในกรณีที่มีการกระทำความผิดอาญาต่อทรัพย์สินของการเคหะแห่งชาติ รวมทั้งกระทำการใด ๆ เพื่อให้กิจการดังกล่าวสำเร็จ และในตอนท้ายของหนังสือมอบอำนาจยังระบุว่าการเคหะแห่งชาติยอมรับผิดตามที่ พ. ได้กระทำไปภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบทุกประการ การมอบอำนาจของ ร. จึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไปในนามของการเคหะแห่งชาติโจทก์ร่วม แม้ พ. ไปร้องทุกข์คดีนี้เมื่อ ร. พ้นตำแหน่งไปแล้ว หนังสือมอบอำนาจก็ยังมีผลใช้บังคับอยู่ พ. จึงมีอำนาจร้องทุกข์แทนโจทก์ร่วมให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ & การยอมความ: สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้มีการตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้เสียหายระบุให้จ. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อพนักงานสอบสวนในเหตุความผิดทั้งหลายซึ่งได้มีผู้กระทำขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายย่อมเป็นการมอบอำนาจโดยชัดแจ้งให้ จ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่งเมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความ ทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจดำเนินคดีอาญา & การตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ถือเป็นการยอมความ
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้เสียหายระบุให้ จ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อพนักงานสอบสวนในเหตุความผิดทั้งหลายซึ่งได้มีผู้กระทำขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายย่อมเป็นการมอบอำนาจโดยชัดแจ้งให้ จ.ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว
บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่ง เมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์กล่าวโทษยักยอกทรัพย์: เพียงพอด้วยการแจ้งความด้วยวาจา แม้ไม่มีตราบริษัท
บันทึกคำร้องทุกข์ของโจทก์ระบุว่า ศ. (จำเลย) ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ยักยอกเงินของผู้แจ้งไป เท่าที่ตรวจพบขณะนี้เป็นจำนวนเงิน 230,000บาท ทำให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย จึงมาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้กับพนักงาน-สอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหาจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และลงชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ แม้มิได้ระบุว่ากระทำในนามโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏรอยตราเครื่องหมายโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในช่องผู้ร้องทุกข์ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์โดย ส.กรรมการผู้จัดการได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนด้วยวาจา มิได้ยื่นคำร้องทุกข์เป็นหนังสือ โดยพนักงาน-สอบสวนได้จัดทำคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษตามแบบฟอร์มของกรมตำรวจไว้และพนักงานสอบสวนจดบันทึกในคำร้องทุกข์ไม่ครบถ้วนตามที่ ส.แจ้งไว้ แล้วให้ส.ลงชื่อไว้โดยไม่ได้ประทับตราบริษัทโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกบันทึกคำร้องทุกข์ซึ่งพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นหลักฐานมาตำหนิและวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำของ ส.เป็นส่วนตัว ทั้งที่ก่อนหน้านี้ศาลอุทธรณ์ได้เคยวินิจฉัยปัญหานี้ไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า การร้องทุกข์ของโจทก์เป็นไปโดยชอบและพิพากษาให้คดีมีมูลจึงเป็นการไม่ชอบ
การที่ ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้พบพนักงาน-สอบสวนแล้วแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของโจทก์ ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้นเป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่า โจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว vs. แทนบริษัท, ผลต่อการฟ้อง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามสามยอดตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมายเลข 9 ท้ายฟ้อง ซึ่งมีข้อความสำคัญว่า ส.ผู้แจ้งได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งว่าผู้แจ้งประกอบอาชีพค้าขาย ฯลฯ และมาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 โดยกล่าวหาว่า ...ฯลฯ...เป็นเหตุให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย ผู้แจ้งจึงได้มาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 เมื่อข้อความในบันทึกคำร้องทุกข์ดังกล่าวระบุชัดเจนว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ส. โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยดังนี้ต้องถือว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ร้องทุกข์ในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เสียหายในนามตนเอง เมื่อคำร้องทุกข์ของ ส.ไม่ได้ระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการนิติบุคคลโจทก์ได้มาร้องทุกข์แทนโจทก์ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า ส.ได้กระทำแทนโจทก์และเมื่อคดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยมิได้ร้องทุกข์ไว้โดยชอบภายในกำหนดเวลา 3 เดือน ตาม ป.อ.มาตรา 96ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การร้องทุกข์ไม่ชัดเจนถึงความเสียหายของโจทก์ ทำให้ฟ้องขาดอายุความ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามสามยอดตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมายเลข 9 ท้ายฟ้อง ซึ่งมีข้อความสำคัญว่าส. ผู้แจ้งได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งว่าผู้แจ้งประกอบอาชีพค้าขาย ฯลฯ และมาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 โดยกล่าวหาว่า ฯลฯ เป็นเหตุให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย ผู้แจ้งจึงได้มาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 เมื่อข้อความในบันทึกคำร้องทุกข์ดังกล่าวระบุชัดเจนว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ส. โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยดังนี้ต้องถือว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ร้องทุกข์ในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เสียหายในนามตนเองเมื่อคำร้องทุกข์ของ ส. ไม่ได้ระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการนิติบุคคลโจทก์ได้มาร้องทุกข์แทนโจทก์ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า ส.ได้กระทำแทนโจทก์และเมื่อคดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้โจทก์ผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยมิได้ร้องทุกข์ไว้โดยชอบภายในกำหนดเวลา 3 เดือน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตยาแผนโบราณต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาหรือมีใบอนุญาต หากผลิตเพื่อขายให้บุคคลทั่วไป แม้มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ในการผลิตยาแผนโบราณตาม พระราชบัญญัติยานั้นนอกจากผู้ผลิตจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 46 วรรคหนึ่งแล้ว ยังต้องปรากฏว่ายาแผนโบราณที่จะผลิตนั้นต้องเป็นยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้วตามมาตรา 72(4) หรือผู้ผลิตได้นำตำรับยานั้นมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้วตามมาตรา 79 จึงจะผลิตยานั้นได้ หากเป็นการปรุงยาตามตำราที่รัฐมนตรีประกาศตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 76(1) โดยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ และเป็นการทำเพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตนตามมาตรา 47(2) แล้ว จึงจะสามารถผลิตยานั้นได้โดยไม่ต้องรับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยจำเลยที่ 1ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ผลิตยาแผนโบราณตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรมส่วนจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเวชกรรม และเภสัชกรรม การที่จำเลยทั้งสองได้ดำเนินการผลิตยาแผนโบราณเป็นยาเม็ดลูกกลอนของกลาง จำนวน 2 ถุง ซึ่งมีผู้อื่นมาว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองผลิต และยาของกลางมีส่วนผสมของมหาหิงคุ์ซึ่งถือว่าเป็นยาแผนโบราณ โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและไม่นำตำรับยาไปขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งจำเลยมิได้ผลิตเพื่อรักษาคนไข้ของตนเอง การที่จำเลยทั้งสองมิได้ผลิตยาของกลางเพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตน แม้จำเลยทั้งสอง จะได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ กรณีก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510มาตรา 47(2) และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและไม่นำตำรับยาไปขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงไม่ได้ใบรับอนุญาตจากผู้อนุญาตให้ผลิตยาแผนโบราณได้ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาฯมาตรา 72(4),79,122,123 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม แม้ขณะ ป.ลงชื่อในคำร้องทุกข์ ขณะนั้นรายละเอียดต่าง ๆยังไม่ได้กรอกข้อความลงไป และ ป.ไม่ทราบว่าจะแจ้งความให้ดำเนินคดีจำเลยในความผิดฐานใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่า ป.เป็นผู้ได้ตรวจค้นพบยาของกลางและได้บันทึกการยึดยาไว้ เมื่อผลการตรวจพิสูจน์พบว่าของกลางเป็นเนื้อที่เยื่อของพืชและมหาหิงคุ์ซึ่งเป็นยาแผนโบราณ ผู้บังคับบัญชาจึงมอบหมายให้ ป.ไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี ดังนั้น เมื่อป.ได้รับมอบหมายให้ไปร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และการจะสอบสวนจำเลยในความผิดฐานใดนั้นย่อมเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการต่อไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสอบสวน ดังนั้นการสอบสวนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตยาแผนโบราณต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือผลิตเพื่อรักษาคนไข้ของตนเองเท่านั้น
ในการผลิตยาแผนโบราณตาม พ.ร.บ.ยานั้น นอกจากผู้ผลิตจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 46 วรรคหนึ่งแล้ว ยังต้องปรากฏว่ายาแผนโบราณที่จะผลิตนั้นต้องเป็นยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้วตามมาตรา 72 (4) หรือผู้ผลิตได้นำตำรับยานั้นมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้วตามมาตรา 79 จึงจะผลิตยานั้นได้ หากเป็นการปรุงยาตามตำราที่รัฐมนตรีประกาศตาม พ.ร.บ.ยาพ.ศ.2510 มาตรา 76 (1) โดยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ และเป็นการทำเพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตนตามมาตรา 47 (2) แล้ว จึงจะสามารถผลิตยานั้นได้โดยไม่ต้องรับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 46วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ผลิตยาแผนโบราณตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม ส่วนจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเวชกรรมและเภสัชกรรม การที่จำเลยทั้งสองได้ดำเนินการผลิตยาแผนโบราณเป็นยาเม็ดลูกกลอนของกลาง จำนวน 2 ถุง ซึ่งมีผู้อื่นมาว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองผลิต และยาของกลางมีส่วนผสมของมหาหิงคุ์ซึ่งถือว่าเป็นยาแผนโบราณ โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและไม่นำตำรับยาไปขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งจำเลยมิได้ผลิตเพื่อรักษาคนไข้ของตนเอง การที่จำเลยทั้งสองมิได้ผลิตยาของกลางเพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตน แม้จำเลยทั้งสองจะได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ กรณีก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ยาพ.ศ.2510 มาตรา 47 (2) และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและไม่นำตำรับยาไปขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงไม่ได้ใบรับอนุญาตจากผู้อนุญาตให้ผลิตยาแผนโบราณได้ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาฯ มาตรา 72 (4), 79, 122,123 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม
แม้ขณะ ป.ลงชื่อในคำร้องทุกข์ ขณะนั้นรายละเอียดต่าง ๆยังไม่ได้กรอกข้อความลงไป และ ป.ไม่ทราบว่าจะแจ้งความให้ดำเนินคดีจำเลยในความผิดฐานใดก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า ป.เป็นผู้ได้ตรวจค้นพบยาของกลางและได้บันทึกการยึดยาไว้ เมื่อผลการตรวจพิสูจน์พบว่าของกลางเป็นเนื้อเยื่อของพืชและมหาหิงคุ์ซึ่งเป็นยาแผนโบราณ ผู้บังคับบัญชาจึงมอบหมายให้ ป.ไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี ดังนั้น เมื่อ ป.ได้รับมอบหมายให้ไปร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และการจะสอบสวนจำเลยในความผิดฐานใดนั้นย่อมเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการต่อไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสอบสวน ดังนั้นการสอบสวนจึงชอบแล้ว
of 14