พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: ผู้ร้องทุกข์ต้องมีอำนาจในฐานะผู้เสียหายหรือได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย
ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ยานยนต์ฯ จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของห้างฯผู้เสียหายไปแล้วไม่ได้ส่งเงินค่างวดและได้นำรถจักรยานยนต์ไปขายให้บุคคลอื่น ส.จึงมาร้อยทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหายักยอก ข้อความในคำร้องทุกข์ไม่ได้ระบุว่า ส.เกี่ยวข้องกับห้างฯ ผู้เสียหายอย่างไรและไม่ได้ระบุว่า ส.ได้ร้องทุกข์ในนามของห้างฯ ผู้เสียหายทั้งไม่ปรากฎรอยตราของผู้เสียหายในช่องผู้ร้องทุกข์แต่อย่างใด จึงไม่อาจแปลเจตนาได้ว่า ส.ร้องทุกข์ในนามของผู้เสียหาย แม้ตามข้อเท็จจริง ส.จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้เสียหายก็ไม่อาจแปลเจตนาว่ากระทำแทนผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้ได้ เมื่อห้างฯ ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์เป็นกรรมเดียวกัน โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากมีการสอบสวนทั้งสองข้อหา
เมื่อข้อเท็จจริงในคดีปรากฏว่า ข้อหาความผิดฐานบุกรุกกับข้อหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน การที่ได้ร้องทุกข์ในข้อหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์แล้วก็เท่ากับได้ร้องทุกข์ในข้อหาความผิดฐานบุกรุกด้วย เมื่อมีการสอบสวนในความผิดทั้งสองข้อหานี้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องทั้งสองข้อหา และศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานบุกรุกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวเนื่องกัน บุกรุก-ทำให้เสียทรัพย์: โจทก์มีอำนาจฟ้องได้ ศาลลงโทษได้
เมื่อข้อเท็จจริงในคดีปรากฏว่า ข้อหาความผิดฐานบุกรุกกับข้อหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องกัน และเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน การที่ได้ร้องทุกข์ในข้อหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์แล้วก็เท่ากับได้ร้องทุกข์ในข้อหาความผิดฐานบุกรุกด้วย เมื่อมีการสอบสวนในความผิดทั้งสองข้อหานี้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องทั้งสองข้อหา และศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานบุกรุกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: คำร้องทุกข์ไม่ครอบคลุมจำเลยอื่น แม้มีส่วนร่วมกระทำผิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าถูก ส.หลอกลวงเอาเงินไป โจทก์ร่วมได้ติดตามสืบหาตัว ส.ตลอดมาแต่ไม่พบ จึงไม่มาพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้ติดตามตัวส. มาเจรจากัน หากการเจรจาไม่เป็นที่ตกลงกันจะได้มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป ต่อมาโจทก์ร่วมไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพิ่มเติมว่าในการหลอกลวงนี้มีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยา ส.ได้ร่วมทำการหลอกลวงด้วย โจทก์ร่วมได้ติดตาม ส.กับจำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่ยังไม่พบ โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุดเป็นการกล่าวหาเฉพาะ ส. กับจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่ร่วมกระทำผิด ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วย ทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของ ส.จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงไม่เป็นการกล่าวหาที่โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษไม่เป็นคำร้องทุกข์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7),127
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการกล่าวหาในความผิดอาญา และอำนาจการสอบสวน/ฟ้องคดี
ปรากฏตามสมุดรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า นาย ส.ร่วมกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาเงินโจทก์ร่วมไป ทำให้โจทก์ร่วมเสียหาย จึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์ และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุด เป็นการกล่าวหาเฉพาะนาย ส.กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วย ทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของนาย ส.จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นที่ยังไม่ทราบชื่อร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่เป็นการกล่าวหาที่โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษ ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา2 (7), 123 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: คำร้องทุกข์ต้องระบุตัวผู้กระทำผิดชัดเจน พนักงานสอบสวนและอัยการจึงมีอำนาจสอบสวนและฟ้องได้
ปรากฏตามสมุดรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า นายส.ร่วมกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาเงินโจทก์ร่วมไป ทำให้โจทก์ร่วมเสียหาย จึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุดเป็นการกล่าวหาเฉพาะนายส. กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของนายส. จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นที่ยังไม่ทราบชื่อร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่เป็นการกล่าวหาที่ โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7),123 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง แม้ไม่ได้เข้าเวร ย่อมมีอำนาจสอบสวน
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็น พนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลา แม้ไม่ได้เข้าเวร การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงาน-สอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป.ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะพนักงานสอบสวน: การมีอำนาจสอบสวนไม่ขึ้นอยู่กับ 'การเข้าเวร' แต่ขึ้นอยู่กับ 'ตำแหน่ง'
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ย่อมมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นยังดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ใดจะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการที่ผู้นั้นสังกัดอยู่ ไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวนในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้นแม้ในขณะที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วม ร้อยตำรวจเอก ป. ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป.มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมการสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญาจากการถอนคำร้องทุกข์ของผู้ถือหุ้น/กรรมการในฐานะผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้แทนบริษัทโจทก์ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ป. ผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีอาญาหรือแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้เมื่อ ป. ได้แจ้งความร้องทุกข์แล้วต่อมาได้ถอนคำร้องทุกข์ไม่ว่าป. จะดำเนินการในฐานะกระทำการแทนโจทก์หรือในฐานะผู้ถือหุ้นก็ตาม สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)