พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรส: ที่ดินรับมรดกเป็นสินสมรส สามีมีอำนาจจำหน่ายได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยา ผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี 2513 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466,1462 วรรคสอง เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับ ผ.ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ.จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468,1473 วรรคหนึ่ง เดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วบรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ในปี 2519 พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของ ผ.ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา และการแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การที่ ง. จัดการสินสมรสโดยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ง. ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(เดิม)เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ตั้งแต่พ.ศ. 2465 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ปรากฎว่าโจทก์กับ ง. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ ง. ถึงแก่ความตาย สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วน เป็นของ ง. สองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งสินสมรสมากกว่าส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินบริคณห์ของสามี และอายุความการบังคับตามสิทธิเรียกร้องหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
สามีมีอำนาจจัดการและจำหน่ายที่ดินอันเป็นสินบริคณห์ส่วนของภริยาได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468,1473(เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก่อนถึงกำหนดนั้น เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตาม มาตรา 1754 วรรคสาม
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก่อนถึงกำหนดนั้น เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตาม มาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินสมรส: สิทธิของผู้จัดการสินสมรส และผลของการไม่ต่อสู้คดี
ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจะถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยแจ้งชัด ก็ไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์
ในขณะที่จำเลยที่ 1 นำที่พิพาทไปขายฝากแก่โจทก์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา1468 และ 1473 ยังคงใช้บังคับอยู่ จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเป็นผู้จัดการที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ และมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวนั้นได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยา
ในขณะที่จำเลยที่ 1 นำที่พิพาทไปขายฝากแก่โจทก์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา1468 และ 1473 ยังคงใช้บังคับอยู่ จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเป็นผู้จัดการที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ และมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวนั้นได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยา