คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4270/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน: โจทก์ต้องพร้อมชำระหนี้ก่อนจึงจะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ได้
++ เรื่อง สัญญาต่างตอบแทน
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 176 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4270/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การปฏิบัติตามสัญญาพร้อมกัน และสิทธิในการฟ้องบังคับชำระหนี้
สัญญาแบ่งทรัพย์สินและรับสภาพหนี้ มีการกำหนดหน้าที่ให้คู่สัญญาปฏิบัติพร้อมกันไป ไม่ได้มีการระบุเงื่อนไขว่าโจทก์จะโอนทรัพย์สินให้จำเลยหรือช่วยจำเลยชำระหนี้ต่อเมื่อจำเลยโอนทรัพย์สินที่ไม่ติดจำนองให้แก่โจทก์ 1 ใน 2 ส่วน ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2528 แต่อย่างใด โจทก์จึงต้องปฏิบัติการชำระหนี้ของตนหรืออยู่ในฐานะพร้อมที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ของตนเสียก่อนจึงจะบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 เมื่อโจทก์ไม่อยู่ในฐานะพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้จำเลย 1 ใน 2 ส่วนโดยปลอดจำนองตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าโจทก์จะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อจำเลยเสียก่อนได้ โจทก์จะยกข้อตกลงเฉพาะข้อหนึ่งข้อใดมาบังคับเอาแก่จำเลยเพื่อเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ใช้รายงานคุมประพฤติ + สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหาย
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติที่จำเลยมิได้คัดค้านว่ารายงานนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร แม้โจทก์ร่วมเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ลงโทษหนักขึ้นโดยไม่ได้กล่าวถึงรายงานดังกล่าวในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกรายงานดังกล่าวซึ่งเข้าสู่สำนวนอย่างถูกต้องแล้วมาประกอบการใช้ดุลพินิจพิพากษาคดีลงโทษจำเลยได้
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและได้เข้าเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 278 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน10 ปี เมื่อมิใช่เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ ดังนี้ หากโจทก์ร่วมยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ ไม่มีบทกฎหมายให้สิทธิอุทธรณ์เฉพาะพนักงานอัยการโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ใช้รายงานคุมประพฤติ & สิทธิอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในคดีอาญา
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติที่จำเลยมิได้คัดค้านว่ารายงานนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไรแม้โจทก์ร่วมเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ลงโทษหนักขึ้นโดยไม่ได้กล่าวถึง รายงานดังกล่าวในอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยก รายงานดังกล่าวซึ่งเข้าสู่สำนวนอย่างถูกต้องแล้วมาประกอบ การใช้ดุลพินิจพิพากษาคดีลงโทษจำเลยได้ โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและได้เข้าเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี เมื่อมิใช่เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษา ของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ดังนี้ หากโจทก์ร่วมยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมย่อม มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ไม่มีบทกฎหมายให้สิทธิอุทธรณ์ เฉพาะพนักงานอัยการโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในชื่อการค้าและเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองชื่อที่ใช้ก่อนและป้องกันการใช้ในธุรกิจที่คล้ายคลึง
โจทก์ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้าและใช้เครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2524 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะดำเนินธุรกิจให้เช่าห้องพักในรูปแบบเกสต์เฮาส์โดยใช้ชื่อว่า "Comfort Inn" และใช้ชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ว่า "Comfort Inn Co,. LTD." ถึง 5 ปี และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ (รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยด้านล่างวงกลมมีข้อความ "Comfort Inn Co,. LTD.") เพื่อใช้กับบริการให้เช่าห้องพักและโรงแรมถึง 11 ปี เมื่อโจทก์ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" เป็นชื่อกิจการโรงแรมของโจทก์ เป็นเครื่องหมายบริการสำหรับธุรกิจโรงแรมของโจทก์ และเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องเขียน เช่น กระดาษ แผ่นการ์ด ซองจดหมาย และสิ่งพิมพ์โฆษณากิจการโรงแรมของโจทก์มาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะใช้คำว่า "Comfort Inn" เป็นชื่อกิจการเกสต์เฮาส์ให้เช่าห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกิจการที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการโรงแรมของโจทก์ ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องเขียน กระดาษ ซองจดหมาย และสิ่งพิมพ์โฆษณาต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยที่ 1 และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำว่า "Comfort Inn" มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการ (รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยด้านล่างวงกลมมีข้อความ "Comfort Inn Co,. LTD.") หลายปี โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าและที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม
โจทก์ได้ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาก่อน เมื่อจำเลยทั้งสามได้ทราบถึงกิจการโรงแรมของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" แล้วนำคำดังกล่าวมาใช้กับกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยทั้งสาม การที่จำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn " เป็นชื่อธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพัก และใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Comfort Inn Co., LTD." กับใช้ชื่อทางการค้าที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" กับสินค้ากระดาษ ซองจดหมาย ใบสั่งซักรีดเสื้อผ้า กระดาษห่อสบู่ ใบสั่งจองห้องพัก ใบเสร็จรับเงิน และแผ่นพับโฆษณาธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพักของจำเลยทั้งสาม และใช้คำว่า "COMFORT INN โรงแรมคอมฟอร์ต อินน์" พิมพ์ไว้ที่ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่แก้วน้ำในห้องพัก ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าเดียวกันกับชื่อทางการค้าของโจทก์และใช้กับกิจการโรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ากิจการบริการของจำเลยทั้งสามเป็นกิจการบริการของโจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากลูกค้าโรงแรมของโจทก์ในประเทศไทยซึ่งสับสนหลงผิดไปใช้บริการของจำเลยทั้งสามได้ เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 18 แห่ง ป.พ.พ.
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" สำหรับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยดีกว่าจำเลยทั้งสาม ห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในการประกอบธุรกิจโรงแรมของจำเลยทั้งสามในประเทศไทย และห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกกระดาษ การ์ด สิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์โฆษณา ภาพพิมพ์ รูปภาพ และรูปถ่ายเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม และห้ามจำเลยทั้งสามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมสิ้นสุดลงได้เมื่อเจ้าของที่ดินโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบังคับคดี
แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตผู้ร้องก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภารจำยอมหาได้ไม่ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภารจำยอมตาม แนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วจึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์ แล้วนั้น ภารจำยอมจะสิ้นไปก็แต่ เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภารจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 หรือ มาตรา 1394 ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ทั้งไม่ปรากฎว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตฎีกาและการส่งคำร้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค พิจารณาหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา
การยื่นขอให้รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาหรือ อนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 จะต้องยื่นภายในกำหนดอายุฎีกา ในชั้นฎีกา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังเช่นในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งและกรณีเกี่ยวกับบุคคลผู้มีอำนาจรับรองหรืออนุญาตให้ฎีกานี้มาตรา 248 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า มีบุคคลใดบ้าง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจ อนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงคืออธิบดีผู้พิพากษาภาค มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ คำว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 หมายถึงผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ด้วย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ. 2532 มาตรา 8 ในกรณีผู้ฎีกาขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาครับรองหรือ อนุญาตให้ฎีกาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของ จำเลยแล้ว ในชั้นฎีกาไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในเรื่องนี้กรณีจึงต้องนำมาตรา 230 วรรคสาม มาใช้บังคับโดย อนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 กล่าวคือ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึง อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคภายใน 7 วัน เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค เพื่อมีคำสั่ง ยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งก็คือการไม่อนุญาต หรืออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั่นเอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาวันที่ 13 พฤษภาคม 2541แต่จำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 และยื่นคำร้องขอให้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคอนุญาตให้ฎีกาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541 ต้องถือว่าเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป เสียก่อนมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งประการใดในคำร้อง ของ จำเลยทั้งสองและมิได้ ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนคดีนี้ไปยังอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาคพิจารณาและมีคำสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตฎีกาข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้นไม่รับฎีกา และหน้าที่ของศาลในการส่งคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
ในชั้นฎีกาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และบุคคลผู้มีอำนาจรับรองหรืออนุญาต ให้ฎีกานี้มาตราดังกล่าวก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วว่ามีบุคคลใดบ้าง จึงไม่จำต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงมาใช้บังคับโดยอนุโลม คำว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งหมายถึงผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ. 2532 มาตรา 8 ซึ่งการยื่นขอให้รับรองหรืออนุญาตตามมาตรานี้จะต้องยื่นภายใน กำหนดอายุฎีกา แต่การที่จำเลยทั้งสองขอให้อธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองหรืออนุญาตให้ฎีกาหลังจากที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองแล้ว ซึ่งในชั้นฎีกา ไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในเรื่องนี้เหมือนเช่นในชั้นอุทธรณ์ ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 230 วรรคสามจึงต้องนำมาตรา 230 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 247 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ภายใน 7 วัน เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้อง เช่นว่านั้นก็ต้องส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่ง ของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาในข้อเท็จจริง: กำหนดเวลาและอำนาจศาล
การยื่นขอให้รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาหรืออนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 จะต้องยื่นภายในกำหนดอายุฎีกา
ในชั้นฎีกา ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังเช่นในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และกรณีเกี่ยวกับบุคคลผู้มีอำนาจรับรองหรืออนุญาตให้ฎีกานี้มาตรา 248 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่ามีบุคคลใดบ้าง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงคืออธิบดีผู้พิพากษาภาคมาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
คำว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามป.วิ.พ.มาตรา 248 หมายถึง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคด้วย ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ. 2532 มาตรา 8
ในกรณีผู้ฎีกาขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาครับรองหรืออนุญาตให้ฎีกาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ในชั้นฎีกาไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในเรื่องนี้ กรณีจึงต้องนำมาตรา 230 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 กล่าวคือ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคภายใน 7 วัน เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งก็คือการไม่อนุญาตหรืออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั่นเอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 แต่จำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2541และยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคอนุญาตให้ฎีกาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม2541 ต้องถือว่าเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป มีคำสั่งเสียก่อนมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งประการใดในคำร้องของจำเลยทั้งสองและมิได้ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนคดีนี้ไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคพิจารณาและมีคำสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมสิ้นสุดเมื่อภารยทรัพย์สลาย หรือไม่ได้ใช้ 10 ปี แม้ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตก็ไม่สามารถอ้างเป็นเหตุให้ภารจำยอมสิ้นสุดได้
ภารจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1379 หรือมาตรา 1399ดังนั้น แม้ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยทั้งเจ็ดโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริต ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภารจำยอมหาได้ไม่ แม้ภารจำยอมตามแนวที่กำหนดไว้เดิมแปรสภาพไปตั้งแต่ ก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยจะต้องไปดำเนินการขอให้ย้ายภารจำยอม หรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 หรือมาตรา 1394 ไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดี ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างใด จึงไม่อาจขอให้ยกเลิก การบังคับคดีได้
of 57