พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4868/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฎีกาต้องดำเนินการก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดแล้วถือเป็นสิทธิขาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 และคดีต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาตามเงื่อนไข ในมาตรา 221 จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการใช้สิทธิ ดังกล่าวให้ถูกต้องภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแต่ปรากฎว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2541 ซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยย่อมทราบ วันครบกำหนดหนึ่งเดือนที่ต้องยื่นฎีกาหรือหากมีพฤติการณ์พิเศษ ที่จำเลยจะต้องขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไป จำเลย ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเสียก่อน ครบกำหนดดังกล่าวได้แต่จำเลยหาได้ปฏิบัติเสีย ให้ถูกต้องไม่ ทั้งการรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาว่า จะสั่งรับหรือไม่รับฎีกาของจำเลยก็มิใช่เป็นเหตุสุดวิสัย คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ต้อง ด้วยบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลายื่นฎีกาจึงไม่ชอบจำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหานี้แม้จะไม่มี คู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายยาเสพติด: ครอบครองสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองที่บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายโดยเด็ดขาด โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนอย่างใดบ้าง เมื่อจำเลยรับว่ามีเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 65.9 กรัมไว้ในครอบครอง จึงต้องถือว่าและฟังได้ว่าจำเลยมีไว้ ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า เจ้าพนักงานตำรวจจะค้นพบเฮโรอีนของกลางได้ที่ใดและจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะจำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายยาเสพติด: ครอบครองสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสองที่บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้าส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายโดยเด็ดขาด โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนอย่างใดบ้างเมื่อจำเลยรับว่ามีเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 65.9 กรัม ไว้ในครอบครอง จึงต้องถือว่าและฟังได้ว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะค้นพบเฮโรอีนของกลางได้ที่ใดและจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะจำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การซื้อขายก่อนมี พ.ร.ฎ. ทำให้ไม่เกิดสิทธิค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 38400 และ 38401โดยทราบมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่จะถูกทางราชการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบทางด่วนขั้นที่ 2 สายบางโคล่ - แจ้งวัฒนะ เมื่อปรากฏว่าการตกลงซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้ถูกเวนคืน และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกันตามธรรมดาด้วยความสมัครใจทั้งของผู้ขายและผู้ซื้อ โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกันก่อนที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในบริเวณเดียวกันจะมีผลใช้บังคับ และโจทก์ทราบดีมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ตามฟ้องอยู่ในเขตถูกเวนคืน การที่ทางราชการได้ที่ดินของโจทก์มาย่อมเป็นการได้มาโดยตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อมิใช่จำเลยได้มาจากการเวนคืนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 5 โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้ เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้ เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การตกลงซื้อขายก่อนมีพระราชกฤษฎีกา ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 38400 และ 38401 โดยทราบมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่จะถูกทางราชการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบทางด่วนขั้นที่ 2 สายบางโคล่-แจ้งวัฒนะ เมื่อปรากฏว่าการตกลงซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้ถูกเวนคืนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกันตามธรรมดาด้วยความสมัครใจทั้งของผู้ขายและผู้ซื้อ โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกันก่อนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในบริเวณเดียวกันจะมีผลใช้บังคับ และโจทก์ทราบดีมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ตามฟ้องอยู่ในเขตถูกเวนคืน การที่ทางราชการได้ที่ดินของโจทก์มาย่อมเป็นการได้มาโดยตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อมิใช่จำเลยได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การตกลงซื้อขายก่อนมีผลบังคับพระราชกฤษฎีกา ทำให้ไม่มีสิทธิรับค่าทดแทน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 38400 และ 38401 โดยทราบมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่จะถูกทางราชการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบทางด่วนขั้นที่ 2 สายบางโคล่-แจ้งวัฒนะ เมื่อปรากฏว่าการตกลงซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้ถูกเวนคืนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกันตามธรรมดาด้วยความสมัครใจทั้งของผู้ขายและผู้ซื้อ โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกันก่อนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในบริเวณเดียวกันจะมีผลใช้บังคับ และโจทก์ทราบดีมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ตามฟ้องอยู่ในเขตถูกเวนคืน การที่ทางราชการได้ที่ดินของโจทก์มาย่อมเป็นการได้มาโดยตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อมิใช่จำเลยได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับสภาพหนี้เป็นโมฆะ เมื่อไม่มีมูลหนี้เดิม แม้มีการจัดซื้อทรัพย์สิน แต่โจทก์ไม่เสียหาย
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลย รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญารับสภาพหนี้จำนวนเงิน662,935 บาท อันมีมูลหนี้เดิมมาจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการฝึกอาชีพและเครื่องใช้สำนักงาน จัดซื้อและจัดสร้างอาคารและสนามเด็กเล่นจากร้านค้าต่าง ๆ โดยไม่มีอำนาจและขัดต่อระเบียบของทางราชการ เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521เป็นเหตุให้โจทก์ถูกฟ้องและโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแก่ร้านค้าเหล่านั้นเป็นเงิน 662,935 บาท ทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้าที่จำเลยจัดซื้อจัดสร้างขึ้นนั้นมีมูลค่าก่อนฟ้องคิดเป็นเงิน715,452.80 บาท มากกว่าค่าเสียหายของโจทก์เป็นเงินจำนวนถึง 52,517.80 บาท โจทก์ย่อมไม่ได้รับความเสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลย ทำสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ จึงเป็นการรับสภาพหนี้ โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่มีผลบังคับแก่กันจำเลยจึงไม่ต้อง รับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้โดยไม่มีมูลหนี้อันเกิดจากการจัดซื้อที่เกินมูลค่าความเสียหาย
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญารับสภาพหนี้จำนวนเงิน 662,935 บาท อันมีมูลหนี้เดิมมาจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆในการฝึกอาชีพและเครื่องใช้สำนักงาน จัดซื้อและจัดสร้างอาคารและสนามเด็กเล่นจากร้านค้าต่าง ๆ โดยไม่มีอำนาจและขัดต่อระเบียบของทางราชการ เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 เป็นเหตุให้โจทก์ถูกฟ้องและโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแก่ร้านค้าเหล่านั้นเป็นเงิน 662,935 บาท ทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้าที่จำเลยจัดซื้อจัดสร้างขึ้นนั้นมีมูลค่าก่อนฟ้องคิดเป็นเงิน 715,452.80 บาท มากกว่าค่าเสียหายของโจทก์เป็นเงินจำนวนถึง 52,517.80 บาท โจทก์ย่อมไม่ได้รับความเสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยทำสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ จึงเป็นการรับสภาพหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่มีผลบังคับแก่กันจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ: กรรมสิทธิ์เดิมสิ้นสุด แต่มีข้อจำกัดการใช้ประโยชน์
การสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ว่าจะเป็นการแสดงเจตนายกให้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม
ช.เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณ-ประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันไปแล้ว แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ช.เจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์และราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2)ศาลจึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้ เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ ศาลจึงห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
ช.เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณ-ประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันไปแล้ว แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ช.เจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์และราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2)ศาลจึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้ เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ ศาลจึงห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ แม้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และจำกัดสิทธิการโอน/ใช้ประโยชน์
การสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ว่า จะเป็นการแสดงเจตนายกให้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม ช. เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันไปแล้วแม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ช. เจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์และราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)ศาลจึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ ศาลจึงห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น