พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ติดแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ และการฟ้องซ้ำประเด็นที่ตัดสินแล้วในคดีอาญา
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ สหกรณ์พ.ศ.2511 มาตรา 9
แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118
กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้
เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับในคดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148
แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118
กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้
เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับในคดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ปิดแสตมป์ ไม่เป็นหลักฐานทางแพ่ง, รื้อฟ้องคดีซ้ำต้องห้าม
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 17กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่ สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาดโจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 118 กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิด ตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ยกฟ้องโจทก์เสียได้ เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับ ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน แก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อน มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับใน คดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจมิชอบเรียกเก็บเงินจากผู้ขับรถ แม้ไม่มีความผิด เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148/149
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจให้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ไปเรียกเก็บเงินจากบรรดาคนขับรถยนต์บรรทุกที่แล่นผ่านไปมาไม่เลือกว่าคนขับรถนั้นจะได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1เข้าไปพูดกับคนขับรถว่า "ตามธรรมเนียม" คนขับรถนั้นแม้มิได้กระทำความผิดก็ต้องจำใจจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ด้วยความเกรงกลัวต่ออำนาจในการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจเพื่อให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148 แล้วและหากรถยนต์บรรทุกคันใดมีการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ถ้าจำเลยที่ 1เรียกเอาเงินจากคนขับรถได้แล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็จะไม่ทำการจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นการร่วมกันเรียกและรับเงินจากคนขับรถยนต์บรรทุกสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการในตำแหน่งคือไม่จับกุมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 149 แต่คืนเกิดเหตุมีการเรียกเก็บเงินหลายครั้งหลายหน จากบรรดาคนขับรถหลาย ๆ คนดังนี้ เมื่อโจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อเดียวกันโดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือผิดทั้งป.อ.มาตรา 148 และ 149 จึงต้องบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ ซึ่งแต่ละบทมาตรามีโทษเท่ากัน และเมื่อผิดตามบทเฉพาะเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบเรียกรับเงินจากผู้ขับรถบรรทุกเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจให้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ไปเรียกเก็บเงินจากบรรดาคนขับรถยนต์บรรทุกที่แล่นผ่านไปมาไม่เลือกว่าคนขับรถนั้นจะได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1เข้าไปพูดกับคนขับรถว่า "ตามธรรมเนียม" คนขับรถนั้นแม้มิได้ กระทำความผิดก็ต้องจำใจจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ด้วยความ เกรงกลัวต่ออำนาจในการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจเพื่อให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 แล้วและหากรถยนต์บรรทุกคันใดมีการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมายถ้าจำเลยที่ 1 เรียกเอาเงินจากคนขับรถได้แล้ว จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ก็จะไม่ทำการจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นการร่วมกันเรียกและรับเงินจากคนขับรถยนต์บรรทุกสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการในตำแหน่งคือไม่จับกุมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 แต่คืนเกิดเหตุมีการเรียกเก็บเงินหลายครั้งหลายหนจากบรรดาคนขับรถหลาย ๆ คนดังนี้ เมื่อโจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อเดียวกันโดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือผิดทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148และ 149 จึงต้องบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ ซึ่งแต่ละบทมาตรามีโทษเท่ากัน และเมื่อผิดตามบทเฉพาะเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157อันเป็นบททั่วไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการเพิ่มค่าทดแทนและดอกเบี้ย
แม้จำเลยซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะมิใช่เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนก็ตาม แต่จำเลยก็มีฐานะเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งมีอำนาจตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และเป็นผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ ของโจทก์ที่ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินการที่จำเลยมิได้ วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รับคำอุทธรณ์ก็ดี หรือหากวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นที่พอใจของโจทก์ก็ดี ย่อมถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ที่ดินของโจทก์มีทางเข้าออกสู่ถนนใหญ่ได้สะดวกพอสมควร และบริเวณใกล้เคียงที่ดินโจทก์ใช้เป็นที่ทำสวน ทำนา และใช้อยู่อาศัยด้วย มิใช่ที่ดินที่ร้างมิได้ทำประโยชน์แต่อย่างใดซึ่งอยู่ห่างจากที่ดินของ จ. 1 กิโลเมตรเศษเมื่อเทียบกับราคาที่ดินที่ จ. ได้รับเงินค่าทดแทนตารางวาละ 21,000 บาท กับเงินค่าทดแทนที่กำหนดให้โจทก์ ตารางวาละ 9,500 บาท จะเห็นได้ว่าแตกต่างกันมากกว่าหนึ่งเท่าตัว จึงสมควรเพิ่มเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์มากกว่าที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้แต่ที่ดินของโจทก์และบริเวณที่ดินข้างเคียงยังไม่มีสภาพเป็นชุมชน สภาพของถนนที่เข้าสู่ที่ดินของโจทก์เป็นถนนดินลูกรังทั้งยังอยู่ในซอยที่แยกจากซอยสุคนธสวัสดิ์ซึ่งอยู่ห่างจากซอยสุคนธสวัสดิ์ ประมาณ 1 กิโลเมตร และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าที่ดินของ จ. มีสภาพ ทำเล และที่ตั้งใกล้เคียงกับที่ดินของโจทก์หรือไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้น กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 18,000 บาทจึงสูงเกินไป ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 14,000 บาท การที่โจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยมีคำสั่งให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นทำนองขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้แก่โจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้โจทก์ได้ไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอของโจทก์แต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทน ในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราคงที่นั้นไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคสาม แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเจ้ามรดก: การรู้ถึงความตายต้องชัดเจนและมีหลักฐานยืนยัน
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม ที่ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น การรู้หรือควรได้รู้ดังกล่าว ต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน
แม้จะได้ความว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานให้ทราบว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจ ได้ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการเป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้องผู้ประกันให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับจำนวน 500,000 บาท กองคดีแพ่ง กรมอัยการรับดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของผู้ประกัน ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานว่าผู้ประกันได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตรให้โจทก์รับทราบในวันเดียวกัน ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของผู้ประกันแล้วนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของผู้ประกันเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้จะได้ความว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานให้ทราบว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจ ได้ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการเป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้องผู้ประกันให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับจำนวน 500,000 บาท กองคดีแพ่ง กรมอัยการรับดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของผู้ประกัน ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานว่าผู้ประกันได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตรให้โจทก์รับทราบในวันเดียวกัน ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของผู้ประกันแล้วนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของผู้ประกันเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ต้องมีหลักฐานยืนยันการตายที่แน่นอน
ตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ได้ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้นต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน แม้จะได้ความจากพันตำรวจโทพ.พยานโจทก์ตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงาน ให้ทราบว่า ส.ถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจได้ ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการ เป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้อง ส. ให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับกองคดีแพ่งกรมอัยการ รับดำเนินการให้เมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียง ข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของ ส. ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่า ส.ถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานพันตำรวจโทพ.ว่าส.ได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตร พันตำรวจโทพ. รับทราบในวันเดียวกันย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของส.แล้วนับแต่นั้นโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของส.เจ้ามรดกฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส.เป็นผู้ประกันตัวว. ผู้ต้องหาแล้วผิดสัญญาประกันต้องใช้เงินจำนวน 500,000 บาท จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทผู้รับ ทรัพย์ตามพินัยกรรมของส.จึงต้องรับผิดต่อโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดเพื่อเสพเองไม่เป็นความผิดฐานผลิต หากไม่มีลักษณะร้ายแรง การแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายต้องพิจารณาข้อเท็จจริง
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4คำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุด้วยนั้นต้องหมายถึงการกระทำอันมีลักษณะที่เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อสังคมในทำนองเดียวกับการเพาะ ปลูก ทำผสม ปรุง แปรสภาพเปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการใช้หรือเสพของตนเอง ย่อมมีเป็นธรรมดาของบุคคลที่ต้องการใช้เสพ ไม่มีลักษณะร้ายแรงดังเช่นที่กล่าวมา จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า "ผลิต" ฉะนั้นการแบ่งบรรจุกรณีใดจะอยู่ในความหมายของคำว่า "ผลิต"ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป หาใช่ว่าเมื่อมีการแบ่งบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 แล้วต้องถือว่าเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เสมอไปไม่ เฮโรอีนของกลางที่ยึดได้จากจำเลยมีน้ำหนักเพียง 0.26 กรัมกรณีถือได้ว่าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย การแบ่งบรรจุในหลอดกาแฟจำนวน 11 หลอด จะถือว่าเป็นจำนวนเกินสมควรยังไม่ถนัดทั้งจำเลยให้การในชั้นสอบสวนและชั้นศาลตลอดมาว่าจำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อเสพ แม้โจทก์จะนำสืบว่าเจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่า จำเลยลักลอบขายยาเสพติดและลักลอบมั่วสุมเสพยาเสพติด จึงได้มีการออกหมายค้นที่อยู่อาศัยของจำเลยก็ตาม แต่เป็นเพียงคำเบิกความลอย ๆมิได้นำพยานแวดล้อมอื่นใดมาสืบประกอบว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ กรณียังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ทั้งยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยแบ่งบรรจุยาเสพติดดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ให้แก่ประชาชน จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตน้ำหนัก 0.26 กรัมนับว่ามีปริมาณไม่มาก และจำเลยให้การรับสารภาพว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพตลอดมาจนถึงชั้นศาลประกอบกับจำเลยถูกต้องขังในระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณา ตลอดมาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ในฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำเลยบังอาจเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการทำนาโดยไม่ได้รับอนุญาติ เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โจทก์ห้ามจำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยว และใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท จำเลยได้รับหนังสือ บอกกล่าวแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า โจทก์ได้กล่าวถึงสภาพ แห่งข้อหาว่า จำเลยทำละเมิดเข้าไปใช้ประโยชน์โดยทำนาในที่ดินของโจทก์ และบรรยายถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือโจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยวและใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามฟ้องโจทก์จึงได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวให้ละเอียดไปถึงว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในส่วนใดของโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้อง และส่วนใดเป็นกรรมสิทธิ์ของพจำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เมื่อใด เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา และในคดีแพ่งโจทก์หาจำต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดกรณีพิพาทในฟ้องดังเช่นการบรรยายฟ้องในคดีอาญาแต่อย่างใดไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่ระบุแนวเขต ครอบคลุมประโยชน์ใช้สอยทุกส่วนของที่ดิน แม้มีสิ่งปลูกสร้างหรือพื้นที่ไม่ได้ใช้เป็นทางเดินโดยตรง
บันทึกข้อตกลงภารจำยอมเรื่องทางเดินมิได้ระบุแนวเขตเส้นทางภารจำยอมไว้ ภารจำยอมดังกล่าวย่อมครอบคลุมถึงประโยชน์ในการใช้ภารจำยอมในทุกส่วนของที่ดิน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองยังคงใช้ที่ดินภารจำยอมส่วนที่โรย กรวด หิน ส่วนที่ดินภารจำยอมในส่วนที่มีหญ้าและต้นไม้ขึ้นปกคลุมแม้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เป็น ทางเดินตามปกติแต่ที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับที่ดิน ที่โรย กรวด หิน ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองใช้ประโยชน์ ในที่ดินดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองและพนักงานประมาณ 300 คน ตลอดจนใช้ยานพาหนะเข้าออกเส้นทางภารจำยอม ดังกล่าวเป็นเวลาข้านานจนถึงปัจจุบันโดยไม่ได้ ละทิ้งจะถือว่าจำเลยทั้งสองสละสิทธิมิได้ ที่ดินพิพาท ยังคงเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินจำเลยทั้งสองและยัง ไม่หมดประโยชน์แต่อย่างใด