คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาล: การขยายเวลาอุทธรณ์และการไม่รับอุทธรณ์ - ผลของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง 2 ประการ คือ สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ในกรณีสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223,229 ซึ่งมาตรา 235 บัญญัติบังคับให้ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 คดีนี้จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองประการ และโต้แย้งคำสั่งทั้งสองประการรวมกันมาโดยทำเป็นอุทธรณ์ ไม่ได้แยกทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ขึ้นต่างหาก ดังนี้ ในกรณีจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้น แต่จำเลยไม่ได้ชำระเงินค่าส่งภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ก็ต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า จำเลยไม่ติดใจให้ศาลมีคำสั่งเมื่ออุทธรณ์คำสั่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยตกไป ดังนั้น ในส่วนที่เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีที่จำเลยจะขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะพ้นกำหนดเสียแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลกระทบต่อการรับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง 2 ประการ คือ สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ในกรณีสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223,229ซึ่งมาตรา 235 บัญญัติบังคับให้ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 คดีนี้จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองประการ และโต้แย้งคำสั่งทั้งสองประการรวมกันมาโดยทำเป็นอุทธรณ์ ไม่ได้แยกทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ขึ้นต่างหาก ดังนี้ ในกรณีจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้น แต่จำเลยไม่ได้ชำระเงินค่าส่งภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าจำเลยไม่ติดใจให้ศาลมีคำสั่งเมื่ออุทธรณ์คำสั่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยตกไป ดังนั้น ในส่วนที่เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่เป็นสาระ แก่คดีที่จำเลยจะขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะพ้นกำหนดเสียแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรัฐมนตรีในการเวนคืนและการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทน
เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว... พ.ศ.2533 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว... พ.ศ.2533 และมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นอำนาจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะถูกเวนคืน และถูกเวนคืน โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม จึงได้อุทธรณ์ต่อจำเลยขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ขาด เท่ากับเป็นการฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 นั่นเองแม้ว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งเพิ่มเงินค่าทดแทนให้ดจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นเครื่องแสดงเจตนาแทนจำเลยก็ตาม ศาลชอบที่จะบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.เวนคืน และการกำหนดราคาค่าทดแทนที่เหมาะสม
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว พ.ศ. 2533 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีการัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวพ.ศ. 2533 และมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 อันเป็นอำนาจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะถูก เวนคืนและถูกเวนคืน โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนแล้วแต่โจทก์เห็นว่าเงินทดแทนดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมจึงได้อุทธรณ์ต่อจำเลยขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ขาดเท่ากับเป็นการฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 นั่นเอง แม้ว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งเพิ่มเงินค่าทดแทนให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นเครื่องแสดงเจตนาแทนจำเลยก็ตาม ศาลชอบที่จะบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์ค่าทดแทนตามกฎหมายที่เปลี่ยนแปลง และผลกระทบจากความล่าช้าในการจ่ายเงิน
เมื่อการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษสายพระประแดง -บางแค - ตลิ่งชัน - บางบัวทอง ตอนพระประแดง - บางแค -ตลิ่งชัน พ.ศ.2533 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2528 ซึ่งแม่บทของกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงในขณะนั้น คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 และต่อมาคือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ในขณะที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ฝ่ายจำเลยจึงกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดให้แก่โจทก์ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง ซึ่งยังอยู่ในอายุของพ.ร.ฎ.ดังกล่าว ขั้นตอนการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ในชั้นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ปฏิบัติไปโดยมีกฎหมายรับรองภายในอายุของ พ.ร.ฎ.ก่อน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่...แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือแขวงบางไผ่ เขตภาษีเจริญ...กรุงเทพมหานคร...พ.ศ.2533 มีผลใช้บังคับทั้ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ไม่ได้บัญญัติให้ใช้หลักเกณฑ์ในมาตรา 5บังคับแก่การกำหนดราคาเบื้องต้นหรือการวางเงินค่าทดแทนที่ได้ดำเนินการไปแล้วด้วย และฝ่ายจำเลยก็มิได้ดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยอาศัยพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าว การอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงเป็นการอุทธรณ์ว่าการดำเนินการในทางปกครองของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ โดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางพิเศษ... พ.ศ.2523 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 นั้นไม่ชอบ กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่...แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ แขวงบางไผ่ เขตภาษีเจริญ...กรุงเทพมหานคร...พ.ศ.2533 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ จึงต้องถือว่าคดีนี้เป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจึงต้องกำหนดตามแม่บทของกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และเมื่อปรากฏว่า ขณะที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับ การดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนตามพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวง... พ.ศ.2523 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะฝ่ายจำเลยยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนที่ดิน ดังนั้น การดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งต่อมาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้วตามข้อ 1 ของกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตามมาตรา 21 (2) หรือ (3) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์เป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 ทั้งมาตรา และข้อ 5 บัญญัติว่าบทบัญญัติที่แก้ไขดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศฉบับดังกล่าวใช้บังคับด้วย ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ศาลต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) ประกอบกัน
ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงินค่าทดแทนไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลางภายหลังจากวัน พ.ร.ฎ.มีผลใช้บังคับเกือบ 10 ปี ทั้งไม่ปรากฏว่าได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์หรือไม่อย่างไร ขณะที่โจทก์ทราบการวางค่าทดแทนที่ดินและไปขอรับเงินค่าทดแทนดังกล่าวก็เป็นเวลากว่า 10 ปี นับแต่วันที่พ.ร.ฎ.มีผลใช้บังคับแล้ว การที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ภายในเวลาอันควร ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ พ.ร.ฎ.มีผลใช้บังคับ ซึ่งทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอางินค่าทดแทนที่ดินไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ดังนั้น การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 (1) ถึง (5)อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ขัดต่อหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องกำหนดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย คือหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เว้นแต่วันที่เป็นฐานที่ตั้งสำหรับราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนจากวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.มาเป็นปี 2530 อันเป็นปีที่ฝ่ายจำเลยได้เจรจาเรื่องค่าทดแทนที่ดินกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงราคาตลาด, สภาพที่ดิน, และระยะเวลาที่ล่าช้าในการชดเชย
เมื่อการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากอธิบดีกรมทางหลวง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษสายพระประแดง-บางแคตลิ่งชัน-บางบัวทอง ตอนพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน พ.ศ. 2533ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2528ซึ่งแม่บทของกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงในขณะนั้น คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 และต่อมาคือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ในขณะที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะฝ่ายจำเลยจึงกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดให้แก่โจทก์ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลางซึ่งยังอยู่ในอายุของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ขั้นตอนการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ในชั้นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ปฏิบัติไปโดยมีกฎหมายรับรองภายในอายุของพระราชกฤษฎีกาก่อนพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือแขวงบางไผ่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533มีผลใช้บังคับทั้งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ไม่ได้บัญญัติให้ใช้หลักเกณฑ์ในมาตรา 5 บังคับแก่การกำหนดราคาเบื้องต้นหรือการวางเงินค่าทดแทนที่ได้ดำเนินการไปแล้วด้วย และฝ่ายจำเลยก็มิได้ดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยอาศัยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าว การอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงเป็นการอุทธรณ์ว่าการดำเนินการในทางปกครองของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางพิเศษ พ.ศ. 2523 และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 นั้นไม่ชอบ กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ แขวงบางไผ่ เขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 มาใช้บังคับแก่คดีนี้จึงต้องถือว่าคดีนี้เป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจึงต้องกำหนดตามแม่บทของกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และเมื่อ ปรากฎว่า ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติว่าด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง พ.ศ. 2523 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะฝ่ายจำเลยยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนที่ดินดังนั้น การดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งต่อมา ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อย แห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ตามข้อ 1 ของกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตาม มาตรา 21(2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์เป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 ทั้งมาตรา และข้อ 5 บัญญัติว่าบทบัญญัติ ที่แก้ไขดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศฉบับดังกล่าวใช้บังคับด้วย ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดิน ให้แก่โจทก์นั้น ศาลต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) ประกอบกัน ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงินค่าทดแทนไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลางภายหลังจากวันพระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับเกือบ 10 ปี ทั้งไม่ปรากฏว่าได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์หรือไม่อย่างไร ขณะที่โจทก์ทราบการวางค่าทดแทนที่ดินและไปขอรับเงินค่าทดแทนดังกล่าวก็เป็นเวลากว่า 10 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแล้ว การที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ภายในเวลาอันควรปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับอยู่ ในขณะที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ ซึ่งทำให้โจทก์ ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21(1) ถึง (5) อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ขัดต่อหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องกำหนดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน และสังคม หลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วยคือหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เว้นแต่วันที่เป็นฐานที่ตั้งสำหรับราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกามาเป็นปี 2530 อันเป็นปีที่ฝ่ายจำเลยได้เจรจาเรื่องค่าทดแทนที่ดินกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดรายการโทรทัศน์ไม่ใช่สัญญาเช่าทรัพย์ แต่เป็นสัญญาให้บริการ ผู้รับเหมามีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนตามสัญญา
แม้โจทก์และจำเลยร่วมจะเรียกชื่อสัญญาพิพาทว่าเป็นสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสินค้า แต่รายละเอียดของสัญญาแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินใดให้แก่จำเลยร่วมเพื่อให้จำเลยร่วมได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินใดเลยการจัดรายการและโฆษณาสินค้าของจำเลยร่วมตามที่ตกลงกับโจทก์ ตามสัญญาแม้จำเลยร่วมจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินแก่โจทก์เพื่อ การนั้น แต่ฝ่ายโจทก์ยังเป็นผู้ดำเนินการหรือบริการให้ ทั้งสิ้น สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาเช่าทรัพย์หากแต่เป็นสัญญาที่ตกลงให้บริการการออกอากาศกระจายเสียงและแพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานดังกล่าวให้จำเลยร่วมเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์เรียกเอาค่าตอบแทนการจัดรายการและโฆษณาสินค้าตามที่ตกลงไว้กับจำเลยร่วมจึงไม่ใช่เป็นการเรียกเอาค่าเช่าสังหาริมทรัพย์อันจะอยู่ภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ไม่ใช่สัญญาเช่า แต่เป็นสัญญาให้บริการ
แม้โจทก์และจำเลยร่วมจะเรียกชื่อสัญญาพิพาทว่าเป็นสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสินค้า แต่รายละเอียดของสัญญาแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินใดให้แก่จำเลยร่วมเพื่อให้จำเลยร่วมได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินใดเลย การจัดรายการและโฆษณาสินค้าของจำเลยร่วมตามที่ตกลงกับโจทก์ตามสัญญาแม้จำเลยร่วมจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินแก่โจทก์เพื่อการนั้น แต่ฝ่ายโจทก์ยังเป็นผู้ดำเนินการหรือบริการให้ทั้งสิ้น สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาเช่าทรัพย์หากแต่เป็นสัญญาที่ตกลงให้บริการการออกอากาศกระจายเสียงและแพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานดังกล่าวให้จำเลยร่วมเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์เรียกเอาค่าตอบแทนการจัดรายการและโฆษณาสินค้าตามที่ตกลงไว้กับจำเลยร่วม จึงไม่ใช่เป็นการเรียกเอาค่าเช่าสังหาริมทรัพย์อันจะอยู่ภายในกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมคู่สมรส ถือเป็นการสัตยาบันหนี้ร่วมค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้อันเกิดจากสัญญากู้เงินต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมไว้โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้ จำเลยที่ 2 คู่สมรสของจำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) ซึ่งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมภริยาในหนี้ค้ำประกัน: การสัตยาบันและหนี้ร่วม
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้อันเกิดจากสัญญากู้เงินต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมไว้โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 คู่สมรสของจำเลยที่ 3ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) ซึ่งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์
of 57