คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติด - พยานหลักฐานไม่ชัดเจน - ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
โจทก์ไม่มีพยานที่เห็นว่าจำเลยเป็นผู้นำเฮโรอีนของกลางไปซุกซ่อนไว้ใต้ต้นปาล์ม เฮโรอีนของกลางที่ยึดได้อยู่ห่างบ้านจำเลยถึง 15 เมตร และซุกซ่อนอยู่ในถุงพลาสติกครอบด้วยกะลามะพร้าวใต้ต้นปาล์มติดแนวเขตที่ดินจำเลยซึ่งปกติย่อมยากที่เจ้าพนักงานตำรวจจะตรวจค้นพบได้นอกจากเจ้าพนักงานตำรวจจะทราบล่วงหน้าถึงสถานที่ซุกซ่อนเฮโรอีนของกลาง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเช่นว่านั้นทำให้เป็นที่สงสัย และหากเฮโรอีนของกลางเป็นของจำเลยก็น่าจะซุกซ่อนในที่ที่ปลอดภัยกว่านี้ไม่น่าจะซุกซ่อนใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินของผู้อื่นโดยไม่มีรั้วกั้นเขตแดนและเป็นที่โล่งแจ้งซึ่งความปลอดภัยมีน้อยอีกทั้งสถานที่พบเฮโรอีนของกลางอยู่ห่างจากบ้านจำเลยโดยมี สวนกาแฟคั่นใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นและไม่มีรั้วกั้นโอกาสที่ผู้อื่นจะนำมาซุกซ่อนย่อมเป็นไปได้ไม่ยาก ทั้งในการตรวจค้นจำเลยก็นำตำรวจค้นโดยมิได้ขัดขืนแต่ประการใดและจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมาว่าเฮโรอีนของกลางมิใช่ของจำเลย ประกอบกับใบบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุแผนที่แสดงสถานที่ เกิดเหตุและภาพถ่ายประกอบคดีไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลย หลบหนีหรือแสดงจุดที่จับกุมจำเลยได้ พยานหลักฐานโจทก์จึงยัง เป็นที่สงสัยตามสมควรว่าเฮโรอีนของกลางจำเลยเป็นผู้ที่มี ไว้ในครอบครองหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็น ผลดีแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือ & ขั้นตอนการดำเนินการตาม พ.ร.บ.เวนคืน
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำวินิจฉัยให้เพิ่มเงินค่าทดแทนตามจำนวนที่โจทก์ขอค่าทดแทนเพิ่มในอุทธรณ์ของโจทก์ ค่าทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้จึงเป็นค่าทดแทนที่ต้องถือว่าโจทก์พอใจแล้วไม่มีเหตุที่โจทก์จะโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องศาลเรียกค่าทดแทนเพิ่ม การกำหนดเงินค่าทดแทนจะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตามหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ มิใช่เพียงข้อหนึ่งข้อใด เมื่อโจทก์และจำเลยไม่อาจแสดงให้ศาลเห็นได้ ว่าที่ดินโจทก์ที่จะต้องเวนคืนมีราคาตามธรรมดาที่ซื้อขายกัน ในท้องตลาดเป็นราคาเท่าใด ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้ตาม ความเหมาะสมโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกัน กับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ไม่ได้กำหนด เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์คงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพียงว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับ ที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนต่ำเกินไป ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิอุทธรณ์, คำวินิจฉัยรัฐมนตรี, และการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนเพิ่มเติม
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ดิน ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนเพิ่มสำหรับที่ดินพิพาทจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้ตารางวาละ 35,000 บาท เป็นตารางวาละ 63,000 บาท เมื่อรัฐมนตรีฯ ได้มีคำวินิจฉัยให้เพิ่มเงินค่าทดแทนให้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอเพิ่มแล้ว เงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีฯกำหนดให้โจทก์จึงเป็นเงินค่าทดแทนที่ต้องถือว่าโจทก์พอใจแล้ว ไม่มีเหตุที่โจทก์จะโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีฯต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่งอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องศาลเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทอีก
เงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯเพียงว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนต่ำไป จึงไม่อาจถือได้ว่าอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงต่อรัฐมนตรีฯ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ศาลมีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องของค่าทดแทน และกำหนดเพิ่มได้หากไม่เป็นธรรม
จำเลยฎีกาเพียงว่า ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของจำเลยเป็นไปโดยถูกต้องเป็นธรรมตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่เป็นธรรมจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนและดอกเบี้ยเพียงใดนั้นไม่ถูกต้อง จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าหากการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวไม่ถูกต้องจะทำให้ผลของคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไปเป็นคุณแก่จำเลยอย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คดีนี้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ถูกต้องเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลชอบที่จะตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และจำเลยซึ่งเป็นองค์กรทางฝ่ายปกครองได้ แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าราคาที่ดินของโจทก์มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องก็หาได้หมายความว่าศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง หากพิจารณาได้ความว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรม ศาลก็ชอบที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้แก่โจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 และ 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของประกาศ คสช. ฉบับที่ 44 ต่อการเวนคืนที่ยังไม่เสร็จเด็ดขาด และสิทธิอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา25 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว การที่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
กรณีของโจทก์ขณะอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 เป็นกรณียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ และยังไม่ปรากฏว่าได้มีการพิจารณาแก้ไขราคาเบื้องต้นให้แก่โจทก์ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ก็ตาม แต่เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ดังกล่าวไม่มีบทบังคับว่าการเวนคืนที่ยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น จะต้องมีการพิจารณาแก้ไขราคาอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ทุกกรณี และมาตรา 10 ทวิแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ให้เป็นดุลพินิจของรัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีที่มีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้และให้ถือว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ได้สั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ และไม่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 ให้แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่จึงเป็นกรณีที่ไม่มีราคาเบื้องต้นที่แก้ไขใหม่ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อีก
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ข้อ 1 ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิม ซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตามมาตรา 21 (2) หรือ (3) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 ทั้งมาตรา และข้อ 5 ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยนั้น หมายความว่า ในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น การเวนคืนยังไม่เสร็จเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการตามมาตรา 9รัฐมนตรี หรือศาล ก็ให้ผู้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนในแต่ละขั้นตอนดังกล่าวกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่แก้ไขใหม่นี้เท่านั้น หาทำให้เงินค่าทดแทนตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กลายเป็นการพิจารณาแก้ไขราคาเบื้องต้นไม่ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ไม่มีผลทำให้กำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืน: ผลกระทบของประกาศ คสช. ฉบับที่ 44 ต่อระยะเวลาการใช้สิทธิ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวการที่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง กรณีของโจทก์ขณะอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 เป็นกรณียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับและยังไม่ปรากฏว่าได้มีการพิจารณาแก้ไขราคาเบื้องต้นให้แก่ โจทก์ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ก็ตาม แต่เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังกล่าวไม่มีบทบังคับว่าการเวนคืนที่ยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น จะต้องมีการพิจารณาแก้ไขราคาอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ทุกกรณี และมาตรา 10 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้เป็นดุลพินิจของรัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีที่มีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้และให้ถือว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ได้สั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ และไม่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 ให้แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่จึงเป็นกรณีที่ไม่มีราคาเบื้องต้นที่แก้ไขใหม่ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อีก ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ข้อ 1 ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตามมาตรา 21(2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 ทั้งมาตรา และข้อ 5 ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยนั้น หมายความว่า ในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น การเวนคืนยังไม่เสร็จเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการตามมาตรา 9 รัฐมนตรี หรือศาลก็ให้ผู้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนในแต่ละขั้นตอนดังกล่าวกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่แก้ไขใหม่นี้เท่านั้น หาทำให้เงินค่าทดแทนตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกลายเป็นการพิจารณาแก้ไขราคาเบื้องต้นไม่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ไม่มีผลทำให้กำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: แนวเขตที่ยึดถือครอบครองเป็นหลัก แม้มี น.ส.3 ก. ก็ไม่ผูกพัน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ความเป็นเจ้าของต้องพิจารณาจากแนวเขตที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายยึดถือครอบครองน.ส.3 ก. ของจำเลยเป็นเพียงคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดินส่วนที่มิได้ยึดถือครอบครอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดิน น.ส.3 ก. ด้านทิศตะวันออกที่อยู่นอกเขตการยึดถือครอบครองของฝ่ายจำเลย และเมื่อโจทก์และจำเลยต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของตน ดังนี้ ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ในส่วนที่จำเลยมิได้ยึดถือครอบครองจึงเป็นที่ดินของโจทก์ จำเลยคงเป็นเจ้าของที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยยึดถือครอบครองในกรอบเส้นสีดำประในแผนที่พิพาท ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ที่พิพาทในกรอบเส้นสีแดงดำในแผนที่พิพาท เว้นแต่ที่ดินในกรอบเส้นสีดำประและให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ของจำเลยด้านทิศตะวันออกเฉพาะส่วนที่โจทก์ครอบครองที่ดิน กับห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท: พิจารณาจากแนวเขตครอบครองจริง น.ส.3 ก. ไม่ใช่หลักฐานเด็ดขาด
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ความเป็นเจ้าของต้องพิจารณาจากแนวเขตที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายยึดถือครอบครอง น.ส.3 ก.ของจำเลยเป็นเพียงคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดินส่วนที่มิได้ยึดถือครอบครอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดิน น.ส.3 ก.ด้านทิศตะวันออกที่อยู่นอกเขตการยึดถือครอบครองของฝ่ายจำเลย และเมื่อโจทก์และจำเลยต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของตน ดังนี้ ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ในส่วนที่จำเลยมิได้ยึดถือครอบครองจึงเป็นที่ดินของโจทก์ จำเลยคงเป็นเจ้าของที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยยึดถือครอบครองในกรอบเส้นสีดำประในแผนที่พิพาท ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ที่พิพาทในกรอบเส้นสีแดงดำในแผนที่พิพาท เว้นแต่ที่ดินในกรอบเส้นสีดำประ และให้เพิกถอน น.ส.3 ก.ของจำเลยด้านทิศตะวันออกเฉพาะส่วนที่โจทก์ครอบครองที่ดิน กับห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่ไม่ชัดเจน ขาดหลักฐานสนับสนุน และอาศัยข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ ศาลยกคำร้อง
การพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น มาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้นคำร้องคัดค้าน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองด้วย ตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ข้อ 20 บัญญัติไว้ว่า เมื่อการนับคะแนนสิ้นสุดลงแล้วให้คณะกรรมการ ตรวจคะแนนเก็บบัตรเลือกตั้งที่ใช้นับคะแนนแล้วรายการแสดงผล ของการนับคะแนนหนึ่งฉบับประกาศผลของการนับคะแนนหนึ่งฉบับ และแบบกรอกคะแนนที่ใช้กรอกคะแนนแล้วบรรจุในหีบบัตรเลือกตั้ง แล้วปิดหีบบัตรเลือกตั้งใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้ และให้เอากระดาษปิดทับช่องใส่บัตรเลือกตั้ง โดยมีลายมือชื่อ คณะกรรมการตรวจคะแนนกำกับไว้บนกระดาษนั้นด้วย และข้อ 21 บัญญัติว่า ให้ประธานกรรมการตรวจคะแนนอ่านประกาศผลของการ นับคะแนนแก่ประชาชนซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น แล้วปิดประกาศนั้นไว้ ณ ที่เลือกตั้งหนึ่งฉบับ แสดงให้เห็นว่า ณ ที่เลือกตั้งทั้ง 93 หน่วย แต่ละหน่วยย่อมจะต้องปิดประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ส. 5) ณ ที่เลือกตั้งว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดสังกัด พรรคใดได้คะแนนเท่าใดปรากฏชัดแจ้ง ณ ที่เลือกตั้งนั้นแล้ว แต่ตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองกลับร้อง คัดค้านการเลือกตั้งโดยอาศัยคะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 และ ผู้ร้องที่ 2 ตามเอกสารซึ่งเป็น แบบรายงานการนับคะแนนไม่ เป็นทางการเป็นมูลเหตุในการคัดค้านการเลือกตั้ง ย่อมเป็นที่ เห็นได้ว่าผลรวมคะแนนตามแบบรายงานการนับคะแนนไม่เป็นทางการดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าผลของการรวมคะแนนนั้นอาจมี ข้อผิดพลาดได้ ส่วนการที่ต้องรายงานไม่เป็นทางการก่อนก็ เพียงการอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสาร รวดเร็วเท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้ร้องทั้งสองร้องคัดค้าน การเลือกตั้งโดยอาศัยแบบรายงานการนับคะแนนไม่เป็นทางการ จึงไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานทางราชการได้มาเป็นมูลเหตุของการ คัดค้านโดยไม่ปรากฏว่ารายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ส.4) และประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ส.5) อันเป็นคะแนนที่เป็น ทางการและปิดประกาศ ณ ที่เลือกตั้งว่าคะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องที่ 2 มีอยู่อย่างไร ถูกต้องตรงกับจำนวนคะแนน ตามเอกสารหรือไม่ ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองอ้างอิงคะแนนที่ ไม่แน่นอนและไม่ชัดแจ้งมาเป็นมูลเหตุแห่งการคัดค้านการ เลือกตั้ง และที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวมาในคำร้องคัดค้าน การเลือกตั้งว่าผู้คัดค้านที่ 1 และนายอำเภอจตุรพักตรพิมาน กับพวกร่วมกันไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และขัดขวางมิให้การเป็นไป ตามกฎหมายด้วยการทำลายครั่งทับรูกุญแจเปิดหีบบัตรเลือกตั้ง 14 หีบ เพื่อแก้ไขและเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงรายงานแสดงผลของ การนับคะแนนที่บรรจุในหีบบัตรเลือกตั้งจำนวน 14 หีบ ดังกล่าว นั้น ผู้ร้องทั้งสองก็ควรที่จะได้กล่าวโดยละเอียดว่าเดิม ผลของการนับคะแนน (ส.ส.5) ที่บรรจุในหีบบัตรเลือกตั้ง แต่ละหีบคะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องที่ 2 มีจำนวน เท่าใด เมื่อมีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแล้วเป็นผลให้จำนวน คะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องที่ 2 เพิ่มขึ้นคนละ เท่าใดอันเป็นสาระสำคัญที่จะทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 เข้าใจ ข้อหาได้ดี แต่ก็มิได้กล่าวไว้ คำร้องของผู้ร้องทั้งสอง จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนที่ไม่เชื่อมโยงกับพยานหลักฐานอื่น ไม่พอฟังลงโทษจำเลยได้
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานหรือพยานแวดล้อมกรณีมาเบิกความให้เห็นว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายคงมีแต่ ก. ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้นำตัวจำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยไปพบพยานที่บ้านแจ้งความประสงค์จะเข้ามอบตัว พยานจึงนำตัวจำเลยไปมอบให้จ่าสิบตำรวจตรี ส.ซึ่งจ่าสิบตำรวจตรีส. เบิกความว่าเมื่อ ก. นำตัวจำเลยไปมอบให้นั้น จำเลยรับว่าเป็นผู้ใช้ปืนยิงผู้ตายจริง เพราะสำนึกผิดและเกรงว่าญาติผู้ตายจะทำร้ายจึงขอเข้ามอบตัว เจ้าพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยให้การรับสารภาพ นำชี้ที่เกิดเหตุและให้ถ่ายรูปประกอบคำรับสารภาพดังนี้ พยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวคงมีแต่คำรับของจำเลยในชั้นสอบสวน คำให้การชั้นสอบสวนซึ่งระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาและรับว่าเป็นผู้ใช้อาวุธปืนลูกซองยาวยิงผู้ตายถึงแก่ความตายกับบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุภาพถ่ายประกอบคำรับสารภาพ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนเท่านั้น ทั้งโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนของกลางที่ใช้ยิงผู้ตายมาเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงผู้ตาย อันจะทำให้ลักษณะบาดแผลของศพผู้ตายสอดคล้องกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย พยานที่โจทก์นำสืบมาจึงขาดวัตถุพยานที่ใช้ในการกระทำความผิดคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณาที่จะนำมาฟังลงโทษจำเลยได้นั้น โจทก์จะต้องมีพยานประกอบมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงทั้งพยานประกอบต้องมิใช่คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวนหรือพยานที่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนแม้โจทก์จะมี ก. ผู้ใหญ่บ้านซึ่งนำตัวจำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนมาเบิกความ แต่คำเบิกความของพยานดังกล่าวไม่สอดคล้องกับคำให้การในชั้นสอบสวน ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนนั่นเอง เมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นมาสืบประกอบคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงไม่พอฟังลงโทษจำเลย
of 57