คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน: ผลผูกพันและความเสียหายจากการผิดสัญญา
แม้ใบสั่งจองบ้านและที่ดินฉบับพิพาทมีข้อความว่า โจทก์กับจำเลยจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันนับตั้งแต่วันสั่งจองเป็นต้นไปและโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าวกันก็ตาม แต่ใบสั่งจองฉบับดังกล่าวได้ระบุราคาขายบ้านและที่ดินดังกล่าวไว้และระบุว่าในวันสั่งจองโจทก์ได้วางเงินจำนวน 100,000 บาท กับระบุถึงค่าโอนกรรมสิทธิ์ไว้ว่าผู้ซื้อและผู้ขายออกฝ่ายละครึ่ง แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยและโจทก์ว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่กันต่อไป ใบสั่งจองบ้านและที่ดินจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย และเงินที่โจทก์วางในวันสั่งจองจำนวน100,000 บาท เป็นเงินมัดจำอันเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาดังกล่าวได้ทำกันขึ้นแล้วทั้งเงินมัดจำนี้ยังเป็นประกันการที่จำเลยและโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินนั้นด้วย ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 377 และ 456 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ.การจองบ้านและที่ดินจึงมิใช่นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่ยังไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจนกว่าจะได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษร
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองบ้านและที่ดินและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ได้ เพราะถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้เพื่อขายทอดตลาด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าวตามราคาซื้อขายขณะนั้นซึ่งหากโจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินใกล้เคียงกับบ้านและที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเนื้อที่ที่ใกล้เคียงกันโจทก์ต้องซื้อบ้านและที่ดินใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม ดังนี้ การผิดสัญญาของจำเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และต้องรับผิดในเงินค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์รวมทั้งค่าธรรมเนียมถอนการยึดเป็นความเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดสัญญาไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: สัญญาผูกพันแม้ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายจริง ความเสียหายจากการผิดสัญญา
แม้ใบสั่งจองบ้านและที่ดินฉบับพิพาทมีข้อความว่า โจทก์กับจำเลยจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันนับตั้งแต่วันสั่งจองเป็นต้นไป และโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าวกันก็ตาม แต่ใบสั่งจองฉบับดังกล่าวได้ระบุราคาขายบ้านและที่ดินดังกล่าวไว้และระบุว่าในวันสั่งจองโจทก์ได้วางเงินจำนวน 100,000 บาทกับระบุถึงค่าโอนกรรมสิทธิ์ไว้ว่าผู้ซื้อและผู้ขายออกฝ่าย ละครึ่ง แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยและโจทก์ว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่กันต่อไป ใบสั่งจองบ้านและที่ดินจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย และเงินที่โจทก์วางในวันสั่งจองจำนวน100,000 บาท เป็นเงินมัดจำอันเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาดังกล่าวได้ทำกันขึ้นแล้วทั้งเงินมัดจำนี้ยังเป็นประกันการที่จำเลยและโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินนั้นด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377และ 456 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การจองบ้านและที่ดินจึงมิใช่นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่ยังไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจนกว่าจะได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองบ้านและที่ดินและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ได้ เพราะถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้เพื่อขายทอดตลาด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าวตามราคาซื้อขายขณะนั้น ซึ่งหากโจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินใกล้เคียงกับบ้านและที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเนื้อที่ที่ใกล้เคียงกันโจทก์ต้องซื้อบ้านและที่ดินใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม ดังนี้ การ ผิดสัญญาของจำเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และต้องรับผิดในเงินค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์รวมทั้งค่าธรรมเนียมถอนการยึดเป็นความเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดสัญญาไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์ในเคหสถาน: ความร้ายแรงของโทษและผลกระทบต่อความปลอดภัยสังคม
จำเลยกับ พ. กระทำผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืนลักษณะของความผิดเป็นเรื่องที่ร้ายแรง และกระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสุจริตชนเป็นอย่างยิ่ง เคหสถานเป็นสถานที่อันพึงได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองให้บุคคลได้อยู่อาศัยโดยปลอดภัยและโดยปกติสุขทั้งจำเลยมีอายุถึง 34 ปี ผ่านการใช้ชีวิตมาพอสมควร รู้ผิด รู้ชอบได้ดีแล้ว แม้จำเลยจะมิได้เข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายแต่พวกของจำเลยก็เข้าไป กรณีจึงเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำและแม้จำเลยจะมิเคยกระทำความผิดมาก่อนและผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ แต่ลักษณะของความผิดเป็นเรื่องร้ายแรง และกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของสังคม จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วางแผนฆ่าโดยไม่มีสาเหตุโกรธเคือง พฤติการณ์เชื่อได้ว่าเตรียมการมาล่วงหน้า
การที่จำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อนแต่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ติดตามผู้เสียหายมา แล้วขอยืมแผนที่ระวางที่ดินจากผู้เสียหายตามที่ผู้ใหญ่ ส.ใช้ไหว้วานครั้นผู้เสียหายบอกให้จำเลยตามไปเอาแผนที่ดังกล่าวที่บ้านของผู้เสียหาย จำเลยกลับใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายถึง 3 นัดทันทีในระยะใกล้ทั้งที่มิได้ทะเลาะวิวาทหรือโต้เถียงกันแต่อย่างใด พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยได้วางแผนฆ่าผู้เสียหายมาก่อนแล้ว แต่เนื่องจากผู้เสียหายรู้ตัวและหลบทันกระสุนปืนที่จำเลยยิงจึงถูกผู้เสียหายเพียง 1 นัด ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่การ เกิดบาดแผลที่บริเวณหัวไหล่ขวาไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการหลายครั้งถือเป็นความผิดหลายกระทง แม้กระทำการต่อเนื่อง
จำเลยปลอมเอกสารราชการตามฟ้องข้อ ก. ค. และ ง. คือปลอมลายมือชื่อนายทะเบียนลงในช่องย้ายเข้าและย้ายออกในทะเบียนบ้านฉบับอำเภอโดยจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อปลอมของ ฉ.และ ท.ในทะเบียนบ้านฉบับอำเภอ ในช่องย้ายเข้าและในช่องย้ายออกโดยเฉพาะในช่องย้ายออกได้ลงลายมือชื่อปลอม 2 ครั้งจำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ 3 กระทง มิใช่กระทำการต่อเนื่องเป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ-พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้ แม้จำเลยขาดนัด
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำเข้าสืบมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารก็ตาม แต่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายหากศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่เพียงพอรับฟังตามที่โจทก์ฟ้องซึ่งเป็นดุลพินิจในทางรับฟังพยานหลักฐานศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคหนึ่งปรากฏว่าข้อเท็จจริงในคดีฟังได้เพียงว่า เมื่อวันที่20 มกราคม 2529 ส.เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเขตบางกะปิเป็นผู้ลงรับหนังสือด่วนมากฉบับวันที่ 14 มกราคม 2529แทนจำเลย และอ้างว่าได้มอบหนังสือดังกล่าวให้จำเลยไปเท่านั้นประกอบกับในช่วงเกิดเหตุอยู่ระหว่างโยกย้ายที่ทำการสรรพากรเขตบางกะปิ มีงานยุ่งและเอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมากทั้งขณะมีการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งนั้น หนังสือด่วนมากฉบับดังกล่าวยังค้นหาไม่พบ และการที่มิได้เวียนหนังสือดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไปก็ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดจากการกระทำผิดหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยหรือไม่ พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังว่า จำเลยได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพิกเฉยละเลยไม่นำหนังสือและประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอต่อเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตรวจสอบหนี้ภาษีอากรของบริษัท ห. เพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวได้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายเช็ค-ใบเสร็จผูกพันนายจ้าง: ความรับผิดร่วมกันกรณีพนักงานยักยอกเงิน
จำเลยที่ 1 จัดพิมพ์ตราไปรษณียากรที่ระลึกเพื่อการสะสมออกจำหน่ายโดยมีจำเลยที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1มีหน้าที่จำหน่ายและรับสั่งจองจากผู้ซื้อ โจทก์ติดต่อสั่งจองซื้อจากจำเลยที่ 2 และมอบเช็คเงินสดให้จำเลยที่ 2แม้โจทก์สั่งจ่ายเช็คเงินสดให้แก่ผู้ถือแทนที่จะสั่งจ่ายเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จะผิดระเบียบ แต่ถ้าผู้รับสั่งจองคือจำเลยที่ 2 นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ก็จะจัดส่งตราไปรษณียากรที่ระลึกให้โจทก์ ปัญหาจึงเกิดจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงิน จึงปฎิเสธการกระทำของจำเลยที่ 2หากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินก็จะไม่ปฎิเสธโดยอ้างว่าเป็นใบเสร็จรับเงินปลอมหรือจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนืออำนาจเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ทราบระเบียบแล้วจงใจฝ่าฝืน โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการสั่งซื้อ เหตุเกิดจากจำเลยที่ 1มิได้ควบคุมดูแลการปฎิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเช็คที่รับไว้ไปเรียกเก็บเงินและนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวและจำเลยที่ 1 ก็มิได้ถือเอาการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการผิดระเบียบหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 รับสั่งจองซื้อและรับเช็คเงินสดจากโจทก์จึงเป็นการปฎิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 โดยชอบมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2รับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้รับอำนาจ และการขาดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปเรียกผู้โดยสารในท่าอากาศยานไม่ปรากฎว่ารบกวนผู้โดยสารให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด คงเป็นเพียงการเข้าไปชักชวน ผู้โดยสารให้ใช้บริการรถแท็กซี่ของจำเลยที่ 1 แม้จะทำให้ รถแท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของการท่าอากาศยานฯ ต้องขาด รายได้ไปบางส่วนก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐาน รบกวนผู้โดยสารตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2528) ข้อ 8(6) งออกตามความในพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 4(2) ต. เป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยจึงเป็นพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฎิบัติการตามพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2530 ข้อ 2.1 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ต. ได้รับทราบทางวิทยุว่าจำเลยทั้งหกเข้ามารบกวนผู้โดยสารที่บริเวณห้องผู้โดยสารขาเข้า จึงสั่งให้ อ.กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอื่นช่วยกันไล่จำเลยทั้งหกออกไปจากบริเวณดังกล่าว หากจำเลยทั้งหกไม่ยอมออกไปก็ให้ทำการจับกุม ต่อมาประมาณ 10 นาที ต. ได้รับแจ้งว่าอ. กำลังถูกรุมทำร้ายจึงรีบวิ่งไปที่เกิดเหตุ เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุพวกจำเลยกระจายกันวิ่งหลบหนี แสดงว่า ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ต.อนุญาตให้อ.ณ.และย. ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยกรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือกระทำตามหน้าที่เพราะต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลย เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฎิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้วการที่ อ.ณ.และย.เข้าจับจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะที่บุคคลทั้งสามเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานนั้นปฎิบัติ การหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138,289(3),296 แต่กลับกลายเป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางก็ถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุโดยปรากฎตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่าผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายจากการเข้าจับกุมเพียงเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขน ข้อมือ และขมับการกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางจับกุมและทำร้ายร่างกายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะในการปฎิบัติหน้าที่นี้กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฎิบัติหน้าที่แทนตน เห็นได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ดังจะเห็นได้ในคดีนี้ว่าผู้จับวินิจฉัยผิดพลาดและเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ และแม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ความชอบด้วยกฎหมายของการจับกุม
จำเลยที่ 1 เพียงแต่เข้าไปชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการรถแท็กซี่ของจำเลยที่ 1 แม้จะทำให้รถแท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยต้องขาดรายได้ไปบางส่วน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รบกวนผู้โดยสารอากาศยานให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด กรณีก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1มีความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 มาตรา 4 (2)
ต.มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยต.เป็นเจ้าพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ขณะเกิดเหตุ ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ ต.อนุญาตให้อ.และ ย.ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยทั้งหก โดย ต.ไปถึงที่เกิดเหตุหลังจากจำเลยทั้งหกหลบหนีไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ เพราะ ต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก และเมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้ว การที่ อ.และ ย.เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. แต่เป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางเป็นเหตุให้ อ.และ ย.ได้รับอันตรายเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขนข้อมือและขมับ ก็ต้องถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยเองว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตนได้
แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3 จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เมื่อเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่เนื่องจากข้อเท็จจริงสำคัญเปลี่ยนแปลง และผู้ขอประทานบัตรรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ตรงตามความเป็นจริง
การที่กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าพื้นที่ที่ได้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทให้แก่ผู้ขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง กับโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2479และปี 2480 และไม่ทราบว่าบริเวณเทือกเขาสมอคอนอันเป็นที่ตั้งของประทานบัตรของโจทก์เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและโบราณวัตถุ จึงได้มีคำสั่ง ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบร่วมกันไปตรวจหาข้อเท็จจริง และแม้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 กรมศิลปากร ที่ 3 และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมที่ 4 เคยไปตรวจสอบ ข้อเท็จจริงก่อนออกประทานบัตรแล้วแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้ออกประทานบัตรเหมืองแร่ พิพาททราบข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทของโจทก์ ซึ่งรับโอนประทานบัตรมาจากผู้ขอประทานบัตรโดยอ้างว่า ประทานบัตรของโจทก์อยู่ในบริเวณที่มีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และผู้ขอประทานบัตร เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ พื้นที่ คำขอประทานบัตรไม่ตรงต่อความจริงโดยรายงานว่าบริเวณที่ ทำเหมืองหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีสถานที่ที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณวัตถุเป็นเหตุให้มีการออกประทานบัตรโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญจึงเป็นเหตุผลที่ถูกต้องและชอบด้วยข้อเท็จจริงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 สั่งเพิกถอน ประทานบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายที่กล่าวอ้างแล้ว แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนประทานบัตร ของจำเลยที่ 1 และแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าบริเวณพื้นที่ ที่ได้รับประทานบัตรนั้นอยู่ในบริเวณซึ่งมีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณวัตถุ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่ได้ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 9 ทวิ วรรคสอง
of 57