คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า การละเมิด และการเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"กรีนด์นัทโกลด์GreenutGolf"และ"GOLDNUTโกลด์นัท"จำเลยที่ 1 คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 2 มีคำสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2534 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"กรีนแอนด์โกลด์ Green&Gold" ที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันที่14 กุมภาพันธ์ 2535 อันเป็นวันที่ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มีผลบังคับ ดังนั้น การวินิจฉัยคดีจึงอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้น หากเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำก็ต้องพิจารณาคำในเครื่องหมายการค้านั้นทั้งหมด สำเนียงเรียกขาน ตลอดจนจำพวก และชนิดของสินค้าที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นประกอบเข้าด้วยกันว่าอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ โจทก์ตั้งโรงงานผลิตถั่วลันเตากรอบถั่วลิสง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรมและกองควบคุมอาหาร กระทรวงสาธารณสุขโจทก์ผลิตสินค้าประเภทถั่วลันเตามานาน 8 ปี วางขายและจำหน่าย ทั่วประเทศ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLD" มานาน 10 ปี และจดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2512 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 ชนิดสินค้ากาแฟ กาแฟสกัด น้ำเชื้อกาแฟ ชาและชาสกัด สินค้าของโจทก์ที่ผลิตมีแต่ถั่วลันเตากรอบ ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นกาแฟสำเร็จรูปชนิดเกล็ดและกาแฟสำเร็จรูปที่สกัดแคฟเฟอีนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันหลายประการ กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีเฉพาะภาษาอังกฤษ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีสำเนียงเรียกขานว่า โกลด์นัทและกรีนนัทโกลด์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1อ่านว่า โกลด์ เครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์มี 2 พยางค์และ 3 พยางค์ ตามลำดับ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีพยางค์เดียว และสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่า เป็นถั่วลันเตากรอบกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นกาแฟเห็นได้ชัดว่าแตกต่างกันมาก แม้จะจัดอยู่ในสินค้าจำพวกเดียวกันก็ตามจำเลยที่ 1 จดทะเบียนคำว่า "GOLD" มาตั้งแต่ปี 2512 แต่จำเลยที่ 1 ไม่เคยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"GOLD" กับสินค้ากาแฟที่จำเลยที่ 1 ผลิต นอกจากนี้จำเลยที่ 1ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLDBLEND" และ"โกลด์เบลนด์" กับสินค้ากาแฟและใช้ในลักษณะเป็นรุ่นหรือชนิดของสินค้ากาแฟประกอบกับเครื่องหมายการค้าอักษรประดิษฐ์"NESCAFE" หรือ "เนสกาแฟ" เท่านั้น การเรียกขานสินค้าของโจทก์ อาจเรียกว่า "ถั่วกรีนนัทโกลด์"หรือ"ถั่วโกลด์นัท"ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 อาจเรียกว่า "เนสกาแฟโกลด์เบลนด์"เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันหลายประการเช่นนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLDNUT โกลด์นัท"และ "กรีนนัทโกลด์ GreennutGold" ของโจทก์ จึงไม่เหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD" ของจำเลยที่ 1จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "กรีนแอนด์โกลด์Green&Gold" ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า"Gold""GOLDBLEND" และ "โกลด์เบลนด์" ของจำเลยที่ 1 ไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะได้รับการจดทะเบียนภายหลัง เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มาเลียนแบบแล้วนำไปขอจดทะเบียน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "กรีนแอนด์โกลด์ Green&Gold" ของโจทก์ดีกว่าโจทก์ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "กรีนแอนด์โกลด์ Green&Gold"ของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 คำว่า "GOLD" คำว่า "โกลด์เบลนด์" และคำว่า "GOLDBLEND" ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 มาตั้งแต่ก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLDNUT""โกลด์นัท"และคำว่า"กรีนนัทโกลด์ GreennutGold" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 และเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวซึ่งมีคำว่า "GOLD" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วย และขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ดังกล่าวซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าเป็นการกระทบถึงสิทธิของตนได้ ตามที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 22 วรรคหนึ่งซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นการที่จำเลยที่ 1ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะพิจารณาคำขอของโจทก์และคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 แล้วให้คำวินิจฉัยโดยมีคำสั่งรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามมาตรา 22 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าที่จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์โดยเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและผลกระทบต่อราคาที่ดินส่วนที่เหลือ การหักกลบค่าชดเชยและหลักการความเป็นธรรม
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 คำนวณค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยการนำเอาราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงได้รับ เมื่อคำนวณหักกลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกันจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ เป็นการคำนวณโดยไม่สุจริต ผิดข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเดิมโจทก์มีที่ดินทั้งหมด 5 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา เมื่อพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืน 2 งาน 36 ตารางวา ในปี2522 และ 2526 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว คงเหลืออยู่ตามโฉนดที่ดินเดิมเพียง 2 งาน 48ตารางวา เมื่อนำจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนหักออกจากจำนวนเนื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5319ของโจทก์ในขณะที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์คงเหลือที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเพียง 12 ตารางวา ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นที่ดินจำนวนเล็กน้อยไม่อาจมีราคาสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนซึ่งสูงขึ้นนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างรวมทั้งคำขอบังคับไว้ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เพราะข้อความดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการดำเนินคดี มิใช่ข้อความที่มีสภาพเป็นข้อหาแห่งคำฟ้องคงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาทั้งสองฝ่ายนำสืบรับกันว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ ต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21วรรคสอง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามลำดับว่าให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงาน หรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้และที่ดินส่วนใดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีที่มีการออกพระราชกฤษฎีกาประเภทดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีที่มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาก็หมายถึงวันที่ออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้นการพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511 แม้ในปี 2522 และ 2526 ซึ่งเป็นปีหลังจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายที่ดินเหล่านั้นในส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการฯ จะได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์และโดยที่โจทก์ไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ว่าจะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่โจทก์จะพึงได้รับก็ตามแต่ก็ต้องถือว่าที่ดินส่วนที่โจทก์แบ่งแยกและส่วนที่ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปทุกแปลงเป็นที่ดินที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน และจะต้องนำราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนอันเนื่องมาจากการเวนคืนทั้งหมดมาหักออกจากค่าทดแทน สำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนด้วย แม้โดยข้อเท็จจริงโจทก์จะยังไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ก็ตาม แต่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้เพราะการทราบหรือไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ มิฉะนั้นแล้วย่อมเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทน และให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การหักราคาที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนออกจากค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 คำนวณค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยการนำเอาราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงได้รับ เมื่อคำนวณหักกลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกันจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ เป็นการคำนวณโดยไม่สุจริต ผิดข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเดิมโจทก์มีที่ดินทั้งหมด 5 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา เมื่อ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ.2516 ใช้บังคับที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืน 2 งาน 36 ตารางวา ในปี 2522 และ 2526 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้วคงเหลืออยู่ตามโฉนดที่ดินเดิมเพียง 2 งาน 48 ตารางวา เมื่อนำจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนหักออกจากจำนวนเนื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5319 ของโจทก์ในขณะที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์คงเหลือที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเพียง 12 ตารางวา ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นที่ดินจำนวนเล็กน้อยไม่อาจมีราคาสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนซึ่งสูงขึ้นนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างรวมทั้งคำขอบังคับไว้ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะข้อความดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการดำเนินคดี มิใช่ข้อความที่มีสภาพเป็นข้อหาแห่งคำฟ้องคงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาทั้งสองฝ่ายนำสืบรับกันว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ.2516 ใช้บังคับ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์...พ.ศ.2516 ใช้บังคับ ต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ตามลำดับว่าให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงาน หรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้และที่ดินส่วนใดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีที่มีการออก พ.ร.ฎ.ประเภทดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ.ก็หมายถึงวันที่ออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้น การพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511แม้ในปี 2522 และ 2526 ซึ่งเป็นปีหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ.2511 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายที่ดินเหล่านั้นในส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการฯ จะได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์และโดยที่โจทก์ไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ว่าจะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่โจทก์จะพึงได้รับก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าที่ดินส่วนที่โจทก์แบ่งแยกและส่วนที่ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปทุกแปลงเป็นที่ดินที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน และจะต้องนำราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนอันเนื่องมาจากการเวนคืนทั้งหมดมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนด้วย แม้โดยข้อเท็จจริงโจทก์จะยังไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ก็ตาม แต่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้เพราะการทราบหรือไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ มิฉะนั้นแล้วย่อมเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม
บทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทน และให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและผลกระทบต่อราคาที่ดินส่วนที่เหลือ คณะกรรมการฯ มีอำนาจหักกลบราคาที่สูงขึ้นได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 คำนวณค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยการนำเอาราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงได้รับ เมื่อคำนวณหักกลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกันจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ เป็นการคำนวณโดยไม่สุจริต ผิดข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเดิมโจทก์มีที่ดินทั้งหมด 5 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา เมื่อพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืน 2 งาน 36 ตารางวา ในปี2522 และ 2526 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว คงเหลืออยู่ตามโฉนดที่ดินเดิมเพียง 2 งาน 48ตารางวา เมื่อนำจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนหักออกจากจำนวนเนื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5319ของโจทก์ในขณะที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์คงเหลือที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเพียง 12 ตารางวา ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นที่ดินจำนวนเล็กน้อยไม่อาจมีราคาสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนซึ่งสูงขึ้นนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างรวมทั้งคำขอบังคับไว้ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เพราะข้อความดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการดำเนินคดี มิใช่ข้อความที่มีสภาพเป็นข้อหาแห่งคำฟ้องคงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาทั้งสองฝ่ายนำสืบรับกันว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ ต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21วรรคสอง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามลำดับว่าให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงาน หรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้และที่ดินส่วนใดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีที่มีการออกพระราชกฤษฎีกาประเภทดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีที่มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาก็หมายถึงวันที่ออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้นการพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511 แม้ในปี 2522 และ 2526 ซึ่งเป็นปีหลังจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายที่ดินเหล่านั้นในส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการฯ จะได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์และโดยที่โจทก์ไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ว่าจะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่โจทก์จะพึงได้รับก็ตามแต่ก็ต้องถือว่าที่ดินส่วนที่โจทก์แบ่งแยกและส่วนที่ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปทุกแปลงเป็นที่ดินที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน และจะต้องนำราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนอันเนื่องมาจากการเวนคืนทั้งหมดมาหักออกจากค่าทดแทน สำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนด้วย แม้โดยข้อเท็จจริงโจทก์จะยังไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ก็ตาม แต่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้เพราะการทราบหรือไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ มิฉะนั้นแล้วย่อมเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทน และให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงก่อนยื่นฟ้อง แม้หนังสือมอบอำนาจลงวันที่หลัง แต่มีผลบังคับใช้ย้อนหลังได้
โจทก์ยื่นคำฟ้องเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ตลอดจนให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการแทน และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ส. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องและแต่งตั้งทนายความแทนโจทก์ได้ แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส. ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้แม้หนังสือมอบอำนาจช่วงจะลงวันที่ 4 มกราคม 2537 อันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วก็ตาม เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ได้ระบุเงื่อนเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจช่วงว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงเริ่มมีอำนาจเมื่อใด จึงเป็นที่เห็นได้ว่าในขณะยื่นฟ้อง ส. ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้หาทำให้กลับกลายเป็นการมอบอำนาจช่วงภายหลังยื่นคำฟ้อง อันจะทำให้ ว. ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงและการมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง
ในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ ตลอดจนให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการดังกล่าวตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ส.ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องและแต่งตั้งทนายความแทนโจทก์ได้ ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส.ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้ตามหนังสือมอบอำนาจและมอบอำนาจช่วงที่ได้แนบมาท้ายฟ้อง แม้วันที่ที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจช่วงจะเป็นวันที่ภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วก็ตาม เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ได้ระบุเงื่อนเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจช่วงว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงเริ่มมีอำนาจเมื่อใด จึงเป็นที่เห็นได้ว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส.ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้หาทำให้กลับกลายเป็นการมอบอำนาจช่วงภายหลังยื่นคำฟ้องอันจะทำให้ ว.ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ไม่
คดีนี้ยังมีประเด็นตามอุทธรณ์โจทก์และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่ได้วินิจฉัย และหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วคดีอาจต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดีบุกรุกป่าสงวน: ศาลฎีกาแก้ไขโทษต่ำกว่าขั้นต่ำและให้รอการลงโทษโดยพิจารณาพฤติการณ์
จำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง และแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ อันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นน้ำลำธาร เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 ประกอบด้วยมาตรา 31วรรคสอง (3) ซึ่งมาตรา 31 วรรคสอง กำหนดให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี จึงเป็นการลงโทษต่ำกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินป่าสงวนและปลูกบ้านอยู่อาศัยมานานแล้ว และปลูกต้นไม้และผลอาสินทำมาหากินซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านว่าไม่เป็นความจริง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนเห็นควรให้โอกาสจำเลยได้แก้ไขฟื้นฟูตนเองในสังคมภายนอก การรอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยน่าจะเป็นมาตรการที่เหมาะสมมากกว่า แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษแต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยไม่เหมาะสมก็ย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน - การครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่อง - การขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ
ขณะโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนั้น โรงเรียนที่จะสร้างขึ้นยังไม่มีที่ดินและอาคารเรียนเป็นของตนเอง และยังไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดยกที่ดินให้แก่จำเลยเพื่อเป็นที่สร้างโรงเรียนดังกล่าว จึงเป็นการที่โจทก์ยกให้ที่มีวัตถุประสงค์ชี้ชัดอยู่ในตัวว่าเพื่อให้จำเลยนำที่ดินพิพาทไปใช้เป็นสถานที่สำหรับสร้างโรงเรียน ได้แก่อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นประการสำคัญ กรณีมิใช่เป็นการสละสิทธิครอบครองด้วยการยกให้โดยเด็ดขาด แต่เป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ จำเลยย่อมไม่สามารถนำที่ดินพิพาทไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ตามอำเภอใจ และเมื่อโจทก์ยังครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่โดยจำเลยไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเลย แม้คณะกรรมการศึกษาโดยศึกษาธิการอำเภอเคยจ้างรถเกรดมาไถที่ดินพิพาทให้เตียน ก็ไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการอื่นใดต่อมาเป็นกิจจะลักษณะที่พอจะแสดงว่าจำเลยได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาท และตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ทางโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอก็ไม่ได้เข้าไปก่อสร้างหรือทำประโยชน์อย่างอื่นในที่ดินพิพาทเลย การที่หลังจากจำเลยได้รับงบประมาณสำหรับสร้างโรงเรียนแล้ว จำเลยไม่ได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นสถานที่สร้างโรงเรียน แต่กลับไปสร้างโรงเรียนในที่ดินแปลงอื่นที่ไกลออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งบุคคลอื่นยกให้และมีความเหมาะสมกว่า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าปลูกสร้างอาคารหรือปลูกสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวกับการสร้างโรงเรียนลงในที่ดินพิพาทดังนี้จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้รับเอาที่ดินพิพาทที่โจทก์ยกให้ไปสร้างโรงเรียนตามเงื่อนไขของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาภายหลังว่าจำเลยจะสงวนที่ดินพิพาทไว้ใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นของโรงเรียนเป็นการฝ่าฝืนต่อความประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์หาได้ไม่ ที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
นับตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยสร้างโรงเรียน จำเลยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวที่ดินพิพาทเลย มีแต่ในระยะแรก นักเรียนโรงเรียนมัธยมที่จำเลยสร้างขึ้นในที่ดินแปลงอื่นได้มาขออนุญาตโจทก์ทำแปลงสาธิตการเกษตรในที่ดินพิพาทบางส่วนแต่ปลูกพืชไม่ได้ผลเพราะขาดแคลนน้ำ จึงเลิกไปไม่ได้กลับมาปลูกอีก โจทก์ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ต่อมาเมื่อทางราชการประกาศให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานออกมารังวัดตรวจสอบที่ดิน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน หลังจากนั้นโจทก์และบุตรปลูกบ้านและห้องแถวลงในที่ดินพิพาท จำเลยก็ไม่ได้คัดค้านเช่นเดียวกันและเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินราชพัสดุ โจทก์ก็ไปขอคืนจำเลยจึงให้โจทก์หาที่ดินแปลงอื่นไปแลก แต่ตกลงราคากันไม่ได้ โจทก์ก็ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ เมื่อโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยนำที่ดินของโจทก์ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบมิใช่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมระหว่างโจทก์หรือจำเลยศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยกระทำให้ถูกต้องโดยให้จำเลยถอนคำคัดค้าน และให้เพิกถอนที่พิพาทออกจากทะเบียนได้โดยไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้สร้างโรงเรียนมีเงื่อนไข: สิทธิครอบครองยังคงอยู่กับผู้ให้ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ขณะโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนั้น โรงเรียนที่จะสร้างขึ้นยังไม่มีที่ดินและอาคารเรียนเป็นของตนเอง และยังไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดยกที่ดินให้แก่จำเลยเพื่อเป็นที่สร้างโรงเรียนดังกล่าว จึงเป็นการที่โจทก์ยกให้ที่มีวัตถุประสงค์ชี้ชัดอยู่ในตัวว่าเพื่อให้จำเลยนำที่ดินพิพาทไปใช้เป็นสถานที่สำหรับสร้างโรงเรียน ได้แก่อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นประการสำคัญ กรณีมิใช่เป็นการสละสิทธิครอบครองด้วยการยกให้โดยเด็ดขาด แต่เป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ จำเลยย่อมไม่สามารถนำที่ดินพิพาทไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ตามอำเภอใจ และเมื่อโจทก์ยังครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่โดยจำเลยไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเลย แม้คณะกรรมการศึกษาโดยศึกษาธิการอำเภอเคยจ้างรถเกรดมาไถที่ดินพิพาทให้เตียน ก็ไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการอื่นใดต่อมาเป็นกิจจะลักษณะที่พอจะแสดงว่าจำเลยได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาท และตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ทางโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอก็ไม่ได้เข้าไปก่อสร้างหรือทำประโยชน์อย่างอื่นในที่ดินพิพาทเลย การที่หลังจากจำเลยได้รับงบประมาณสำหรับสร้างโรงเรียนแล้ว จำเลยไม่ได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นสถานที่สร้างโรงเรียน แต่กลับไปสร้างโรงเรียนในที่ดินแปลงอื่นที่ไกลออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งบุคคลอื่นยกให้และมีความเหมาะสมกว่า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าปลูกสร้างอาคารหรือปลูกสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวกับการสร้างโรงเรียนลงในที่ดินพิพาทดังนี้จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้รับเอาที่ดินพิพาทที่โจทก์ยกให้ไปสร้างโรงเรียนตามเงื่อนไขของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาภายหลังว่าจำเลยจะสงวนที่ดินพิพาทไว้ใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นของโรงเรียนเป็นการฝ่าฝืนต่อความประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์หาได้ไม่ที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
นับตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยสร้างโรงเรียน จำเลยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวที่ดินพิพาทเลย มีแต่ในระยะแรก นักเรียนโรงเรียนมัธยมที่จำเลยสร้างขึ้นในที่ดินแปลงอื่นได้มาขออนุญาตโจทก์ทำแปลงสาธิตการเกษตรในที่ดินพิพาทบางส่วน แต่ปลูกพืชไม่ได้ผลเพราะขาดแคลนน้ำ จึงเลิกไปไม่ได้กลับมาปลูกอีก โจทก์ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ต่อมาเมื่อทางราชการประกาศให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานออกมารังวัดตรวจสอบที่ดิน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน หลังจากนั้น โจทก์และบุตรปลูกบ้านและห้องแถวลงในที่ดินพิพาทจำเลยก็ไม่ได้คัดค้านเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินราชพัสดุ โจทก์ก็ไปขอคืน จำเลยจึงให้โจทก์หาที่ดินแปลงอื่นไปแลก แต่ตกลงราคากันไม่ได้ โจทก์ก็ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ เมื่อโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยนำที่ดินของโจทก์ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ มิใช่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมระหว่างโจทก์หรือจำเลยศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยกระทำให้ถูกต้องโดยให้จำเลยถอนคำคัดค้าน และให้เพิกถอนที่พิพาทออกจากทะเบียนได้ โดยไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุนเมื่อผู้ขับขี่ได้รับความยินยอม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้น เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เองเมื่อ พ.ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
of 57