คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารออมสินเมื่อตกลงราคามิได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ คือวันที่ 24 ตุลาคม 2535อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 9 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีทางปกครองและการเทียบเคียงบทบัญญัติละเมิดเมื่อไม่มีกำหนดเวลาเฉพาะ
ในคดีปกครองหากผู้ใดถูกกระทบสิทธิจากการกระทำหรือคำสั่งทางปกครอง ผู้นั้นย่อมต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กำหนดเวลาดังกล่าวหาใช่อายุความตามหลักแห่งกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายแพ่งไม่ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2495 มาตรา 103 ประกอบ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2485 มาตรา 60 (2) และ 62 โดยเป็นการสั่งการฝ่ายเดียวในทางปกครองที่มุ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิหรือหน้าที่หรือสถานภาพทางกฎหมายของจำเลยจึงเป็นคำสั่งทางปกครองมิใช่นิติกรรมตาม ป.พ.พ. ต้องใช้กำหนดเวลาทางปกครองปรับแก่คดี แต่เมื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนดังกล่าวแล้วไม่ปรากฏกำหนดเวลาในการที่จะนำคดีมาฟ้องศาล จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ลักษณะละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง ประกอบมาตรา 448 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบสวนและมิได้สอบสวนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามกฎหมายและคำสั่งดังกล่าวกระทบสิทธิของโจทก์จนเกิดความเสียหาย โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันล่วงสิทธิ เมื่อกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2496 ซึ่งถือเป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้ที่โจทก์จะพึงใช้สิทธิฟ้องร้องแล้ว โจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง คดีโจทก์จึงพ้นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องร้อง
ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ถูกกระทำละเมิดในปี 2533 เพราะมิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพตาม พ.ร.ก.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2533 นั้น ในวันดังกล่าวมิใช่วันล่วงสิทธิ แต่เป็นผลกระทบมาจากคำสั่งที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2496

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีทางปกครอง: คำสั่งปลดออกจากราชการและการเทียบเคียงกับละเมิด
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2495 มาตรา 103 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2485 มาตรา 60(2) และ 62 เป็นคำสั่งทางปกครองมิใช่นิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องใช้กำหนดเวลาทางปกครองปรับแก่คดี เมื่อตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลาในการที่จะนำคดีมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ลักษณะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง ประกอบมาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม: การใช้ที่ดินปลูกโรงเรือนไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพที่นา
ที่ดินส่วนที่ ช.ผู้เช่านาปลูกโรงเรือนมีเนื้อที่ประมาณ 40ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินทั้งแปลงที่มีเนื้อที่ 19 ไร่ 25 ตารางวาที่ ช.เช่าทำนา แม้ ช.ถมดินในการปลูกโรงเรือนและปลูกต้นไม้บางต้น แต่ที่ดินที่ ช.ใช้ในการปลูกโรงเรือนดังกล่าวยังคงเป็นที่นาอยู่ หาได้เปลี่ยนแปลงสภาพที่นาเป็นที่อยู่อาศัยไม่ ที่นาพิพาทที่เช่าเพื่อทำนานั้นจึงถือได้ว่าเป็นที่นาทั้งแปลง ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินจะใช้เป็นที่ปลูกโรงเรือนอยู่อาศัยหรือไม่ และตามคำนิยามคำว่า "นา" ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 21ก็ให้ความหมายว่า "ที่ดินที่เช่าเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่" ซึ่งแสดงว่าที่ดินส่วนที่ไม่ได้ใช้ทำนาก็ยังคงเป็นที่นาอยู่ ดังนี้การกระทำของ ช.จึงมิใช่เป็นการใช้ที่นาพิพาทเพื่อการอย่างอื่นนอกจากการทำนาหรือทำให้สภาพของที่นาพิพาทเปลี่ยนแปลง โจทก์ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิบอกเลิกการเช่านาก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 31 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดกับการฟ้องเปิดทางจำเป็น: ผู้ร้องสอดไม่มีส่วนได้เสีย
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดให้เปิดทางจำเป็น ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทางเข้าออกพิพาทตลอดจนสถานที่ต่าง ๆ ในสิ่งปลูกสร้างและที่ดินของจำเลย อันเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง แม้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดังกล่าว แต่ผู้ร้องสอดไม่มีหน้าที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์เพราะผู้ร้องสอดไม่มีอำนาจจัดการใด ๆ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) จึงร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารชุดในการฟ้องเปิดทางพิพาท: ไม่มีหน้าที่ตามคำฟ้องจึงไม่สมควรเป็นจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการที่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ อันเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 กระทำการหรืองดเว้นการกระทำในที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์ของที่ดินของโจทก์ ส่วนผู้ร้องสอดทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทางเข้าออกพิพาท ตลอดจนสถานที่ต่าง ๆ ในสิ่งปลูกสร้างและที่ดินของจำเลยที่ 1 อันเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้ผู้ร้องสอดทั้งสี่มีสิทธิดังกล่าว แต่ผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็หาได้มีหน้าที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ เพราะผู้ร้องสอดทั้งสี่ไม่มีอำนาจจัดการใด ๆ ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522แม้ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็ไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2) กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดทั้งสี่เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของห้องชุดในคดีทางจำเป็น: ไม่มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีหากไม่มีอำนาจจัดการตามกฎหมายอาคารชุด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลกับจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้จัดการที่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะอันเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่1กระทำการหรืองดเว้นการกระทำในที่ดินของจำเลยที่1เพื่อประโยชน์ของที่ดินของโจทก์ส่วนผู้ร้องสอดทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทางเข้าออกพิพาทตลอดจนสถานที่ต่างๆในสิ่งปลูกสร้างและที่ดินของจำเลยที่1อันเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของจำเลยที่1ดังนี้แม้ผู้ร้องสอดทั้งสี่มีสิทธิดังกล่าวแต่ผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็หาได้มีหน้าที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใดๆตามคำฟ้องของโจทก์ไม่เพราะผู้ร้องสอดทั้งสี่ไม่มีอำนาจจัดการใดๆตามพระราชบัญญัติอาคารชุดพ.ศ.2522แม้ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็ไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดทั้งสี่เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของห้องชุดในคดีทางจำเป็น: ไม่มีส่วนได้เสียในผลคดีหากไม่มีอำนาจจัดการตาม พ.ร.บ.อาคารชุด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการที่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ อันเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 กระทำการหรืองดเว้นการกระทำในที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์ของที่ดินของโจทก์ ส่วนผู้ร้องสอดทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทางเข้าออกพิพาท ตลอดจนสถานที่ต่าง ๆ ในสิ่งปลูกสร้างและที่ดินของจำเลยที่ 1 อันเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้ผู้ร้องสอดทั้งสี่มีสิทธิดังกล่าว แต่ผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็หาได้มีหน้าที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ เพราะผู้ร้องสอดทั้งสี่ไม่มีอำนาจจัดการใด ๆ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แม้ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็ไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดทั้งสี่เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการลากจูงรถหุ้มเกราะ: โจทก์ควบคุมดูแลการผูกลวดสลิงเอง จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำแต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสินล้อวิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือเป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่นสะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูง โดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะนอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4 ยืนยันต่อจำเลยที่ 2ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะจะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้ จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้อง ลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตรายและเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้ การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะ ชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็กแต่ถ้าหากผูกหลายทบเจ้าด้วยกันก็เป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226,227,432 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการลากจูงรถและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำ แต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสิบล้อ วิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อ ให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือ เป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่น สะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูงโดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1และที่ 2 และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4ยืนยันต่อจำเลยที่ 2 ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะ จะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้องลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตราย และเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้
การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็ก แต่ถ้าหากผูกหลายทบเข้าด้วยกันก็กลายเป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามป.พ.พ.มาตรา 226, 227, 432 วรรคสาม
of 57