คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เป็นธรรม, ดอกเบี้ย, และระยะเวลาการจ่ายเงิน
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ข้อ2ได้บัญญัติให้จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยขึ้นและให้เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีด้วยวิธีการใดๆตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษและในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ6ข้อ13ข้อ15และข้อ17บัญญัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยมีอำนาจซื้อจัดหาถือกรรมสิทธิ์ครอบครองหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยโดยมีผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจึงมีอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษโดยมีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและถือว่าผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิตพ.ศ.2534มีวัตถุประสงค์ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่และสายพญาไท-ศรีนครินทร์โดยมาตรา4แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษดังนั้นการดำเนินการเวนคืนเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างทางพิเศษจึงเป็นกิจการในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเมื่อผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวและตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530เพื่อสร้างทางพิเศษตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจึงเป็นการดำเนินการในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และในฐานะผู้แทนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยด้วยเมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนอันเป็นกิจการส่วนหนึ่งในการดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ดพ.ศ.2530เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่และสายพญาไท-ศรีนครินทร์แต่เนื่องจากการสำรวจที่ดินที่จะเวนคืนยังไม่แล้วเสร็จและพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวสิ้นอายุจึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิตพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2535เป็นต้นไปดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในเขตที่จะเวนคืนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่2 หลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้นมาตรา21วรรคหนึ่ง(1)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21ดังกล่าวให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา6ซึ่งในกรณีนี้คือในวันที่1มกราคม2535รวมทั้งต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่นๆในมาตรา21วรรคหนึ่ง(2)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเว้นคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ประกอบด้วยเมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์เท่ากับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินที่ประกาศใช้เมื่อวันที่1มกราคม2535ราคาดังกล่าวเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเพียงประการเดียวซึ่งเป็นเพียงองค์ประกอบประการหนึ่งในการกำหนดราคาค่าทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21(3)จึงยังถือไม่ได้ว่าการกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นการกำหนดราคาค่าทดแทนโดยชอบและเป็นธรรม โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่5มีนาคม2536ตามเอกสารหมายล.12นับแต่วันดังกล่าวไปอีก120วันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่3กรกฎาคม2536อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา26วรรคสามโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ8.5ต่อปีตามคำขอของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ8.5ต่อปีคงที่นับแต่วันที่11พฤษภาคม2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย และสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 2 ได้บัญญัติให้จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยขึ้น และให้เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีด้วยวิธีการใด ๆ ตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษ และในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 6 ข้อ 13 ข้อ 15 และข้อ 17 บัญญัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย มีอำนาจซื้อ จัดหา ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย โดยมีผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย และในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย จึงมีอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษโดยมีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย และถือว่าผู้ว่าการทาง-พิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่ง-ประเทศไทยจำเลยและตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิต... พ.ศ.2534 มีวัตถุประสงค์ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์ โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ ดังนั้น การดำเนินการเวนคืนเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างทางพิเศษจึงเป็นกิจการในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย เมื่อผู้ว่าการการทางพิเศษแห่ง-ประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวและตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530เพื่อสร้างทางพิเศษตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย จึงเป็นการดำเนินการในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และในฐานะผู้แทนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยด้วย เมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนอันเป็นกิจการส่วนหนึ่งในการดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้
ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่ดินที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด... พ.ศ.2530เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์แต่เนื่องจากการสำรวจที่ดินที่จะเวนคืนยังไม่แล้วเสร็จและ พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวสิ้นอายุจึงได้มีการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิต... พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไปดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในเขตที่จะเวนคืนจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนที่ดินของโจทก์ตาม พ.ร.ฎ.ฉบับที่ 2
หลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้น มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 ดังกล่าว ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ซึ่งในกรณีนี้คือในวันที่ 1 มกราคม 2535 รวมทั้งต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่น ๆ ในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) ถึง (5) แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ประกอบด้วย เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์เท่ากับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 ราคาดังกล่าวเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเพียงประการเดียว ซึ่งเป็นเพียงองค์ประกอบประการหนึ่งในการกำหนดราคาค่าทดแทนตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 (3) จึงยังถือไม่ได้ว่าการกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นการกำหนดราคาค่าทดแทนโดยชอบและเป็นธรรม
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536 ตามเอกสารหมาย ล.12 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่ 3 กรกฎาคม 2536 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 8.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 8.5 ต่อปี คงที่ นับแต่วันที่11 พฤษภาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาค่าทดแทนที่เป็นธรรม, ดอกเบี้ย, และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 2 ได้บัญญัติให้จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยขึ้น และให้เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีด้วยวิธีการใด ๆ ตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษ และในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 6 ข้อ 13 ข้อ 15และข้อ 17 บัญญัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยมีอำนาจซื้อ จัดหา ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย โดยมีผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจึงมีอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษโดยมีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย และถือว่าผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิตพ.ศ. 2534 มีวัตถุประสงค์ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่และสายพญาไท-ศรีนครินทร์โดยมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ ดังนั้น การดำเนินการเวนคืนเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างทางพิเศษจึงเป็นกิจการในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย เมื่อผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวและตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย จึงเป็นการดำเนินการในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และในฐานะผู้แทนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยด้วย เมื่อโจทก์เห็นว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนอันเป็นกิจการส่วนหนึ่งในการดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่และสายพญาไท-ศรีนครินทร์แต่เนื่องจากการสำรวจที่ดินที่จะเวนคืนยังไม่แล้วเสร็จและพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวสิ้นอายุจึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิตพ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535เป็นต้นไป ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในเขตที่จะเวนคืนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 2 หลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้น มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 ดังกล่าว ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ซึ่งในกรณีนี้คือในวันที่ 1 มกราคม 2535 รวมทั้งต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่น ๆในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเว้นคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกอบด้วยเมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์เท่ากับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535ราคาดังกล่าวเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเพียงประการเดียว ซึ่งเป็นเพียงองค์ประกอบประการหนึ่งในการกำหนดราคาค่าทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(3)จึงยังถือไม่ได้ว่าการกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นการกำหนดราคาค่าทดแทนโดยชอบและเป็นธรรม โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536 ตามเอกสารหมาย ล.12 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่ 3 กรกฎาคม 2536 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสามโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 8.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ8.5 ต่อปี คงที่ นับแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดินและอายุความฟ้องคืนการครอบครอง การฟ้องเกิน 1 ปี ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
ในคดีก่อนศาลพิพากษาให้ป. และบริวารออกจากที่ดินพิพาทซึ่งในชั้นบังคับคดีโจทก์บังคับให้จำเลยออกจากที่พิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นบริวารของป. จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่6พฤศจิกายน2536ว่าไม่ใช่บริวารของป. โดยจำเลยเข้ามาอยู่ในที่ดินพิพาทเกินกว่า1ปีแล้วระหว่างพิจารณาชั้นบังคับคดีโจทก์และจำเลยท้ากันว่าหากจำเลยกล้าสาบานต่อหน้าศาลหลักเมืองโจทก์จะยอมรับว่าจำเลยไม่ใช่บริวารของป. หากไม่กล้าสาบานจำเลยจะยอมรับว่าจำเลยเป็นบริวารของป. ปรากฏว่าจำเลยสาบานได้ตามคำท้าจึงต้องถือว่าจำเลยไม่ใช่บริวารของป. โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับคดีแก่จำเลยต้องเพิกถอนการบังคับคดีแก่จำเลยฉะนั้นการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของตนเองจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์นับแต่จำเลยครอบครองแม้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏเป็นยุติว่าจำเลยแย่งการครองครองที่ดินพิพาทมาก่อนหน้าที่จำเลยยื่นคำร้องนั้นเมื่อใดแต่อย่างน้อยก็เห็นได้ว่าวันที่6พฤษภาคม2536ที่จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งสิทธิของโจทก์นั้นจำเลยได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้วโจทก์ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยวันที่28กุมภาพันธ์2538จึงเกินกำหนด1ปีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโจทก์จะให้ถือว่าถูกแย่งการครอบครองนับแต่วันที่ศาลเพิกถอนการบังคับคดีจำเลยในคดีก่อนนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อเกิดความเสียหายต่อสินค้า โดยพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาทำสัญญา
สัญญารับขนสินค้าพิพาททำขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2534ซึ่งในวันดังกล่าว พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับแม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ในวันที่ 20 มกราคม 2536 หลังจากที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับแล้ว ในการพิจารณาถึงสิทธิเรียกร้องและความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของสินค้าที่ขนส่งทางทะเล จึงต้องนำเอากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญามาปรับใช้แก่คดี เพราะหากนำเอาพ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ซึ่งมีผลใช้บังคับในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีมาปรับใช้แก่คดีแล้วย่อมเป็นช่องทางให้คู่กรณีเลือกใช้กฎหมายที่จะปรับแก่คดีได้ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นมาปรับใช้แก่คดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสองและมาตรา 4 วรรคสอง
บริษัท บ.ผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีตัวแทนในประเทศไทยชื่อบริษัท ล. และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งมีบริษัท อ.เป็นตัวแทนในประเทศไทยขนส่งสินค้าดังกล่าวจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานครอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับสินค้าแล้วก็ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ใช้เรือชื่อ ดาร์ยา ชัน บรรทุกสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังประเทศไทยและมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีแม้ใบตราส่งดังกล่าวในช่องผู้ออกใบตราส่งจะลงนามโดยบริษัท อ.ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเป็นการลงนามในฐานะตัวแทนผู้ขนส่งเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกใบตราส่งดังกล่าว
สัญญาเช่าเรือแม้จะมีข้อความระบุว่าเรืออยู่ในอำนาจการสั่งการของผู้เช่าเรือ แต่ในสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุให้เจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2มีหน้าที่จัดเรือให้ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำเรือ กะลาสี ช่างกล ช่างไฟ ซึ่งเพียบพร้อมสำหรับเรือในขณะนั้น และเจ้าของเรือจะจัดหาและจ่ายค่าเสบียงอาหารทั้งหมด ค่าจ้างและค่าธรรมเนียมกงสุลเกี่ยวกับเรือและค่าขนถ่ายสินค้าสำหรับลูกเรือและในสัญญาเช่าเรือข้อ 8 ก็กำหนดไว้ว่าผู้เช่าเรือทำการบรรทุก จัดเรียงและทำให้เรือสมดุล การผูกรัดสินค้าและการปลดเปลื้อง การตรึงแน่น การปลดจาก การตรึง...ภายใต้การควบคุมดูแลและรับผิดชอบของนายเรือ ซึ่งตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของเรือยังมีอำนาจในการควบคุมเรือและเป็นผู้จ่ายค่าจ้างแก่ลูกเรือ นอกจากนั้นตามข้อตกลงสัญญาเช่าเรือ ข้อ 44 ที่ระบุว่านายเรือจะลงนามในใบตราส่งสำหรับสินค้าทั้งหมดที่ได้ขนภายใต้สัญญาเช่าเรือนี้ถ้าผู้เช่าเรือขอร้องหรือผู้เช่าเรือต้องการ ผู้เช่าเรือหรือผู้ตัวแทนของเขาได้รับมอบอำนาจไว้ ณที่นี้ในการลงนามใบตราส่ง ในนามของเจ้าของเรือหรือนายเรือ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าการออกใบตราส่งนายเรือเป็นผู้ลงนามในใบตราส่งตามคำขอของผู้เช่าเรือ และในกรณีที่ผู้เช่าเรือหรือตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้ออกใบตราส่ง การออกใบตราส่งนั้นต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า เห็นได้ว่าการออกใบตราส่งตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นการออกใบตราส่งในนามของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 และต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้ามิใช่ผู้เช่าเรือจะออกใบตราส่งในนามของตนเองหรือตามอำเภอใจได้ ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 ตามสัญญาเช่าเรือดังกล่าวว่ายังรับผิดชอบในการเดินเรือ การขนส่งสินค้ารวมทั้งการออกใบตราส่งเท่ากับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าในเรือนั้นด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่บริษัท อ.เป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของตนเองและต้องรับผิดตามเนื้อความในใบตราส่งโดยลำพังไม่ และการออกใบตราส่งซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งเช่นนี้หากสินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือเสียหายไป จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ออกใบตราส่งก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งตามเนื้อความในใบตราส่งนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทด้วยแล้ว แม้สินค้าพิพาทจะมิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่สินค้าพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 3 จากเรือดาร์ยา ชัน ของจำเลยที่ 2 จากเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งของทางทะเลเพื่อนำมาส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและเป็นสถานที่ส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นผู้ขนส่งด้วยทอดหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดในการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหายไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ประกอบมาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ขณะทำสัญญารับขนคดีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 ยังมิได้มีผลบังคับ จึงมิอาจนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ได้ และเมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องปรับใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยการรับขนของอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งแล้วและ ป.พ.พ.มาตรา 616 มิได้บัญญัติจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท ของน้ำหนักสุทธิดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 48 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายเต็มจำนวนแห่งความเสียหายที่แท้จริงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ
เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อบริษัท ส.และโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทที่สูญหายไปให้แก่บริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วเป็นเงิน 409,665 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส.ผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายการวางเงินค่าธรรมเนียมศาล เริ่มเมื่อจำเลยทราบคำสั่ง ไม่ใช่เมื่อศาลมีคำสั่ง
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา229 นั้น มิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ อันจะเป็นที่สุดตามป.วิ.พ.มาตรา 236 และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลย ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
การขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 จะมีผลผูกพันให้ผู้ขอต้องดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ขยายต่อเมื่อผู้ขอได้ทราบคำสั่งนั้นก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่ขยายออกไป แต่ในคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538หลังจากวันที่ 17 กรกฎาคม 2538 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยออกไปอีก 7 วัน นับแต่วันครบกำหนดเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 กรกฎาคม 2538จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวและศาลชั้นต้นก็มิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบ และตามคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยอ้างว่าได้ทราบคำสั่งในวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 อันเป็นเวลาภายหลังจากกำหนดระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายและไม่ต้องผูกพันให้ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ขยายให้ จึงต้องถือว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคือวันที่ 21กรกฎาคม 2538 ระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมจึงสิ้นสุดลงวันที่ 28 กรกฎาคม2538 เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลในวันที่ 25กรกฎาคม 2538 จึงยังไม่พ้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลและการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 นั้น มิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ อันจะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลย ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 จะมีผลผูกพันให้ผู้ขอต้องดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ขยายต่อเมื่อผู้ขอได้ทราบคำสั่งนั้นก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่ขยายออกไป แต่ในคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 หลังจากวันที่ 17 กรกฎาคม 2538 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยออกไปอีก 7 วัน นับแต่วันครบกำหนดเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 กรกฎาคม 2538 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวและศาลชั้นต้นก็มิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบ และตามคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยอ้างว่าได้ทราบคำสั่งในวันที่ 21 กรกฎาคม2538 อันเป็นเวลาภายหลังจากกำหนดระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายและไม่ต้องผูกพันให้ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ขยายให้ จึงต้องถือว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคือวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 ระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมจึงสิ้นสุดลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลในวันที่25 กรกฎาคม 2538 จึงยังไม่พ้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: ผลผูกพันเมื่อทราบคำสั่ง และการพิจารณาคำสั่งที่ไม่ชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเพราะเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229นั้นมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์อันจะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา236และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลยด้วยซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: การแจ้งคำสั่งและการนับระยะเวลาที่ถูกต้อง
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229นั้นมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์อันจะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา236และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลยซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23จะมีผลผูกพันให้ผู้ขอต้องดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ขยายต่อเมื่อผู้ขอได้ทราบคำสั่งนั้นก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่ขยายออกไปแต่ในคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยในครั้งที่2เมื่อวันที่18กรกฎาคม2538หลังจากวันที่17กรกฎาคม2538อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยออกไปอีก7วันนับแต่วันครบกำหนดเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่19กรกฎาคม2538จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวและศาลชั้นต้นก็มิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบและตามคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยอ้างว่าได้ทราบคำสั่งในวันที่21กรกฎาคม2538อันเป็นเวลาภายหลังจากกำหนดระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตไปแล้วจำเลยจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายและไม่ต้องผูกพันให้ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ขยายให้จึงต้องถือว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคือวันที่21กรกฎาคม2538ระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมจึงสิ้นสุดลงวันที่28กรกฎาคม2538เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลในวันที่25กรกฎาคม2538จึงยังไม่พ้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายืนยันสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญา และเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ข้อกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารโจทก์และตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยดังกล่าวต่อโจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ชอบ เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงไม่ถูกต้อง และที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขออุทธรณ์ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าเมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์คำร้องนี้จึงไม่ต้องสั่ง เท่ากับไม่อนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเพราะเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งไม่ถูกต้องศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับคำฟ้องอุทธรณ์ใหม่ และดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องขออุทธรณ์ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามขั้นตอนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งต่อไป
of 57