คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองยังใช้บังคับได้ แม้มีข้อตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์
การที่จำเลยผู้จำนองและโจทก์ผู้รับจำนองได้ทำหนังสือมอบอำนาจ โดยจำเลยยอมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์จำนอง ให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 711 นั้น ย่อมมีผลเพียงทำให้ข้อตกลงดังกล่าวไม่สมบูรณ์โดยโจทก์จะบังคับหรือ ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้เท่านั้น หามีผลทำให้นิติกรรม การจดทะเบียนจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยในส่วนอื่น ที่กระทำโดยชอบต้องเสียไปหรือไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่า จำเลยยังมิได้ชำระหนี้และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง สัญญาจำนอง ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมีผลใช้บังคับได้ โจทก์ย่อมมี อำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม & ผลของการผิดนัดสัญญาจำนอง
จำเลยยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่จำเลยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้งอย่างไรคำให้การของจำเลยจึงแสดงเหตุโดยไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้
การที่จำเลยผู้จำนองทำหนังสือมอบอำนาจโดยจำเลยยอมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์จำนองให้แก่โจทก์ หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 711 ย่อมมีผลเพียงทำให้ข้อตกลงดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ โดยโจทก์จะบังคับหรือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้เท่านั้น แต่หามีผลทำให้นิติกรรมการจดทะเบียนจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยในส่วนอื่นที่กระทำโดยชอบต้องเสียไปไม่ สัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระหนี้และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-อำนาจฟ้อง: จำเลยต้องยกประเด็นชัดเจน ศาลยึดสัญญาจำนองเดิมแม้มีข้อตกลงโอน
จำเลยยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่จำเลยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้งอย่างไรคำให้การของจำเลยจึงแสดงเหตุโดยไม่ชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบจึงต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ การที่จำเลยผู้จำนองทำหนังสือมอบอำนาจโดยจำเลยยอมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์จำนองให้แก่โจทก์ หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 711 ย่อมมีผลเพียง ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ โดยโจทก์จะบังคับหรือ ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้เท่านั้น แต่หามีผล ทำให้นิติกรรมการจดทะเบียนจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลย ในส่วนอื่นที่กระทำโดยชอบต้องเสียไปไม่ สัญญาจำนองระหว่าง โจทก์กับจำเลยจึงยังมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยยังมิได้ ชำระหนี้และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ แม้ถอนต่อพนักงานสอบสวน/อัยการ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหาย เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิที่ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการที่จะนำความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิดย่อมเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหายต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น
เมื่อได้ความว่าพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ได้รับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้ว สิทธิในการนำคดีนี้ของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป เมื่อโจทก์แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อโจทก์แล้ว ก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีโดยไม่จำต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีก เพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นยังคงดำเนินคดีต่อไปจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างและให้จำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ แม้ถอนต่อพนักงานสอบสวนหรืออัยการ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหายเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิที่ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการที่จะนำความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิดย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหายต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น เมื่อได้ความว่าพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ได้รับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้ว สิทธิในการนำคดีนี้ของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไปเมื่อโจทก์แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อโจทก์แล้ว ก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีโดยไม่จำต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีกเพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นยังคงดำเนินคดีต่อไปจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างและให้จำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายเป็นเหตุให้ระงับสิทธิการฟ้องคดีอาญาได้ แม้จะอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี
การขอถอนคำร้องทุกข์นั้น ผู้เสียหายจะถอนต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตามเมื่อปรากฏว่า พนักงานอัยการโจทก์ได้รับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้วสิทธิในการนำคดีของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป การที่โจทก์แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ ต่อโจทก์แล้วเช่นนี้ ศาลก็ชอบที่จะสั่งจำหน่ายคดี โดยไม่จำเป็นต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีก เพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหายเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิที่ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ ที่จะนำความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิด ย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือ ต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของศาลก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหาย ต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น เมื่อได้ความว่าพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ได้รับคำร้อง ขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้ว สิทธิในการนำคดีนี้ ของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป เมื่อโจทก์ แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหาย ได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อโจทก์แล้ว ก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้โดยศาลไม่จำต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีกเพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อการฟ้องคดีอาญาเช็ค
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อความว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาท ดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 แล้ว และการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้ว มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค การสละสิทธิฟ้องอาญา และผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อความว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาท ดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แล้ว และการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้ว มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค: การสละสิทธิฟ้องอาญาจากการรับเช็คชำระหนี้ใหม่
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาทดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แล้วและการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้วมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับ จำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกันส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 57