คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ - ทำให้เสียทรัพย์ - ลดโทษรอการลงโทษ
จำเลยบุกรุกยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์และได้แผ้วถางที่ดินดังกล่าวใช้ทำไร่ ทำให้บุคคลอื่นทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์จากหนองคำปลาหลาอันเป็นสาธารณประโยชน์ในส่วนที่จำเลยบุกรุกยึดถือครอบครอง เป็นการทำให้หนองสาธารณะนั้นไร้ประโยชน์แม้เป็นเพียงบางส่วน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อ สาธารณประโยชน์แล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจริบยานพาหนะ: การพิจารณาความเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดโดยตรง
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9)แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ.มาตรา 33 (1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์ มิใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33 (1) แห่ง ป.อ.ดังกล่าว ศาลจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ของกลางในคดีวิ่งราวทรัพย์: พิจารณาการใช้ยานพาหนะในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์มิใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว ศาลจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าทดแทนเวนคืน: สิทธิเจ้าของภารจำยอม & หน้าที่จ่ายเงินเมื่อไม่มารับชดใช้
บทบัญญัติมาตรา 18(6) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ระบุไว้ชัดเจนว่า บุคคลผู้มีสิทธิ ได้รับเงินค่าทดแทนนั้น หมายถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ ทางตามมาตรา 1349 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับทางจำเป็น ส่วนกรณีทางภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 29ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ หาอาจนำมาตรา 18(6) มาใช้บังคับโดยอาศัยมาตรา 4 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ไม่ ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิหรือทางภารจำยอมตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 29จะต้องร้องขอรับชำระหนี้หรือรับชดใช้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตามมาตรา 28, หรือมาตรา 29แล้วแต่กรณี หากในระหว่างเวลา 60 วันนั้นผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่ง อสังหาริมทรัพย์นั้นได้ จึงจะมีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิดังกล่าวมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา 60 วันก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกันเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จากเจ้าหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์หาชอบที่จะนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ไว้ตามบทบัญญัติมาตรา 31 ไม่ เมื่อจำเลยมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนให้แก่โจทก์ แต่จำเลยนำไปวางทรัพย์ไว้ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการวางทรัพย์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินค่าทดแทนเวนคืนสำหรับภาระจำยอม: การพิจารณาผู้รับประโยชน์และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (6) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 คือบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางตามมาตรา 1349 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับทางจำเป็นโดยเฉพาะ ไม่รวมถึงผู้ได้สิทธิในการใช้ทางเป็นภาระจำยอมโดยประการอื่น และเมื่อมาตรา 29 บัญญัติถึงทรัพยสิทธิอย่างอื่นเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนไว้แล้วซึ่งทางภาระจำยอมในคดีนี้เป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาตรา 18 (6) มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ ดังนั้น ในกรณีที่เจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ได้สิทธิในภาระจำยอมเหนือที่ดินแปลงอื่นโดยทางอื่นนอกจากบทบัญญัติมาตรา 18 (6) จึงต้องบังคับตามมาตรา 29
มาตรา 16 และมาตรา 29 กำหนดให้ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิจะต้องมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และระหว่างเวลา 60 วันนั้น ถ้าผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นได้จึงจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา ก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกัน เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ก็จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบ มิใช่ว่าคู่กรณีจะต้องตกลงกันก่อนจึงจะมารับเงินจำนวนดังกล่าวได้ จำเลยจึงมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทน เมื่อจำเลยนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยจากการวางทรัพย์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7214/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม (ราคาตลาด, ความเสียหาย, ดอกเบี้ย)
การที่ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนนั้นเป็นกรณีที่ผู้ว่าการการทางพิเศษฯ แจ้งให้โจทก์ไปติดต่อทำสัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ตามความในมาตรา 10 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เมื่อโจทก์มิได้ไปตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กับจำเลยผู้ว่าการการทางพิเศษฯ จึงมีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนให้โจทก์ทราบ ถือได้ว่าเป็นหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนตามความ ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการวางเงินค่าทดแทนดังกล่าว ราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดตารางวาละ 70,000 บาท น่าจะเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในปี 2533 แต่เมื่อพิจารณาสภาพทำเลที่ตั้งที่ดินของโจทก์ปรากฏว่าที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับถนนรามอินทรา และอยู่ติดกับซอยเป็นสุขซึ่งสามารถออกสู่ถนนลาดพร้าวและถนนสุขาภิบาล 1 ด้วยแล้วราคาที่ดินของโจทก์ควรมีราคาสูงกว่านั้น โดยน่าจะมีราคาตารางวาละ 75,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในราคาตารางวาละ 90,000 บาทและศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยโดยให้เหตุผลอันเป็นสาระสำคัญประการหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 จ่ายเงินให้แก่โจทก์เมื่อปี 2536หลังจากที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว พ.ศ. 2533 จึงกำหนดให้ตารางวาละ 90,000 บาท นั้นไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21(1) ซึ่งให้กำหนดตามราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับ ที่ดินของโจทก์ตั้งอยู่ติดถนนรามอินทรา กิจการค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์เป็นการประกอบกิจการขนาดใหญ่พอสมควรมีอาคารใช้ในการประกอบกิจการถึง 3 คูหา และมีโกดังเก็บวัสดุก่อสร้างอีก 1 หลัง น่าเชื่อว่าโจทก์ได้รับประโยชน์เป็นกำไรจากการประกอบการพอสมควร การที่โจทก์ต้องออกจากที่ดินและหยุดการประกอบกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างและต้องเสียทำเลทางการค้าที่ดีไป รวมทั้งสูญเสียผลประโยชน์ ที่ควรจะพึงได้ในเวลาต่อมานั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้รับ ความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ ที่ถูกเวนคืน ชอบที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย ให้แก่โจทก์ ซึ่งเมื่อพิจารณากิจการ และกำไรที่โจทก์พึงได้จากการค้าขายวัสดุก่อสร้างแล้ว ที่จำเลยทั้งสองกำหนดให้เป็นเงิน 46,636 บาท นั้นยังต่ำไป ควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เพิ่มให้แก่โจทก์อีก 200,000 บาทจึงจะเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7210/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินค่าทดแทนที่ดิน, ราคาที่ดินส่วนที่เหลือ, และดอกเบี้ยค่าทดแทน
เงินค่าทดแทนของที่ดินที่จะต้องเวนคืนกับเงินค่าทดแทนของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงนั้นเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ต้องแยกพิจารณาที่ดินคนละส่วนกันซึ่งในการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์นี้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ มิได้พิจารณาถึงเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้นราคาลดลงด้วยเมื่อโจทก์อุทธรณ์แต่เรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมิได้กล่าวถึงว่าที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นราคาลดลง จะถือว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนนี้ย่อมไม่ได้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคสาม กำหนดถึงกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เพิ่มนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสิน ที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่จะให้ดอกเบี้ยเกินอัตราที่โจทก์ขอไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏทางนำสืบของโจทก์หรือจำเลยทั้งสองว่าได้มีการวางเงินค่าทดแทนเมื่อใด แต่อย่างช้าที่สุดต้องมีการวางเงินค่าทดแทนในวันที่ 13 มิถุนายน 2537ซึ่งเป็นวันที่ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์มีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนให้โจทก์ทราบจึงต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2537 ตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7162/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การกำหนดค่าทดแทนตามราคาปกติในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และความชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างในระหว่างวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นการดำเนินการที่อยู่ในระยะเวลาตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีขั้นตอนใดฝ่าฝืนต่อกฎหมายและจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายหลังจากที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ 3 ปี 8 เดือนเศษ ซึ่งยังถือได้ว่าอยู่ในเวลาอันควรและอยู่ในระหว่างวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ เมื่อได้กำหนดตามราคาปกติที่ซื้อขายกันในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แล้ว การกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารขัดกับผังเมืองรวมและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
ตามวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น รวม 4 คูหา ในที่ดินของจำเลยโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างเพราะอาคารที่จำเลยก่อสร้างอยู่ในบริเวณที่จะขยายถนน อันเป็นเขตที่ให้ใช้ผังเมืองรวมบังคับตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ.2531) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม2531 และมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ.2531) ซึ่งมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี จะสิ้นผลใช้บังคับไป แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ.2540) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ใช้บังคับอีก มีกำหนด 5 ปีโดยกำหนดไว้ในข้อ 2 ว่า ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบล อำเภอและจังหวัด ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งตามรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดบริเวณถนนที่จะก่อสร้างใหม่และถนนเดิมที่จะขยายเขตทางตรงกับที่กำหนดไว้ในรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 41(พ.ศ.2531) ตามฟ้อง ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ดังนั้น เมื่อการก่อสร้างอาคารตามฟ้องของจำเลยต้องห้ามตามกฎกระทรวงฉบับที่ 323 (พ.ศ.2540) และฝ่าฝืน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารขัดผังเมืองรวม การยกกฎกระทรวงใช้บังคับย้อนหลัง และสิทธิในการรื้อถอนอาคาร
ตามวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้ก่อสร้างอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น รวม 4 คูหา ในที่ดินของจำเลย โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างเพราะอาคารที่จำเลยก่อสร้างอยู่ในบริเวณที่จะขยายถนนอันเป็นเขตที่ให้ใช้ผังเมืองรวมบังคับตามกฎกระทรวงฉบับที่ 41(พ.ศ. 2531) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2531 และมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี แม้ในระหว่างพิจารณา ของศาลชั้นต้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2531) ซึ่งมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี จะสิ้นผลใช้บังคับไป แต่ใน ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ใช้บังคับอีก มีกำหนด 5 ปีโดยกำหนดไว้ในข้อ 2 ว่า ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบล อำเภอและจังหวัด ภายในแนวเขตตามแผนที่ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งตามรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดบริเวณถนนที่จะก่อสร้างใหม่ และถนนเดิมที่จะขยายเขตทางตรงกับที่กำหนดไว้ในรายการประกอบแผนผัง แสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 41(พ.ศ. 2531) ตามฟ้อง ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ดังนั้นเมื่อการก่อสร้างอาคารตามฟ้องของจำเลยต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ. 2540) และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้
of 57