พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะ, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าฟื้นฟูจิตใจ จากละเมิด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1563 บัญญัติไว้ว่า บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 3 ตายถือว่าโจทก์ที่ 3 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร โจทก์ที่ 3 จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุหรือในอนาคตเด็กหญิง พ.จะได้อุปการะโจทก์ที่ 3 จริงหรือไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร
ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส.นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทนคณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตนการจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การที่เด็กหญิง ส.บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนาน จึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิง ส.ซึ่งบาดเจ็บสาหัส และต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉมถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด
ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส.นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทนคณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตนการจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การที่เด็กหญิง ส.บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนาน จึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิง ส.ซึ่งบาดเจ็บสาหัส และต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉมถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากละเมิดทางรถยนต์: ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล, ค่าขาดไร้อุปการะ, และค่าฟื้นฟูสภาพจิตใจ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 บัญญัติไว้ว่าบุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 3 ตาย ถือว่าโจทก์ที่ 3 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร โจทก์ที่ 3จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุหรือในอนาคตเด็กหญิง พ. จะได้อุปการะโจทก์ที่ 3 จริงหรือไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการฝ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส. นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทน คณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตน การจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ การที่เด็กหญิง ส. บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนานจึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิงส. ซึ่งบาดเจ็บสาหัสและต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉม ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7065/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลชั้นต้นในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลเป็นที่สุด ห้ามอุทธรณ์ฎีกา
ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุขาภิบาล (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2528 บัญญัติให้การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมและตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482มาตรา 58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลเมื่อได้รับคำร้อง คัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสีย มีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้นเมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่ง ไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุดซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรเกี่ยวกับการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และฎีกาของผู้ร้อง และที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และยกฎีกาของผู้ร้องทั้งสี่ให้บังคับคดีไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมด ให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7065/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล: คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528 บัญญัติให้การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม และตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลเมื่อได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาตาม ป.วิ.พ.โดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้นเมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุดซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรเกี่ยวกับการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และฎีกาของผู้ร้อง และที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และยกฎีกาของผู้ร้องทั้งสี่ ให้บังคับคดีไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการนั่งพิจารณาคดีนอกสถานที่และการรับคำฟ้องตามคำสั่งศาลจังหวัดบุรีรัมย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 35ที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ระบุเป็นที่มาแห่งอำนาจในการออกคำสั่งให้ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ไปนั่งพิจารณา ณ ที่ทำการศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) บัญญัติเป็นหลักการไว้ว่าการนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใดจะต้องกระทำในศาลนั้นในวันที่ศาลเปิดทำการและตามเวลาทำงานที่ศาลได้กำหนดไว้แต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็น ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี ดังนั้น คำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาณ สถานที่อื่นหรือในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ตามบทบัญญัติในมาตรา 35 จึงต้องแปลความหมายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แห่งกฎหมายดังกล่าวด้วย กล่าวคือย่อมรวมถึงการนั่งพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาคดีอันได้แก่ การยื่นคำฟ้องคำร้อง คำขอต่าง ๆ มิใช่แปลจำกัดเคร่งครัดแต่เฉพาะการนั่งพิจารณาคดีเป็นรายเรื่องไป และแม้ในขณะที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนางรองขึ้นแล้วก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้เปิดทำการ ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ก็ยังคงมีอำนาจเหนือพื้นที่ดังกล่าวและมีอำนาจกำหนดการนั่งพิจารณาโดยอาศัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 35 ได้เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องมูลคดีเกิดขึ้นที่อำเภอนางรองและจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอนางรอง โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ตามคำสั่งของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งกรณีไม่ปรากฏว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์(นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลในการกำหนดสถานที่นั่งพิจารณาคดีและการรับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 35
ป.วิ.พ.มาตรา 35 บัญญัติให้การนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใดจะต้องกระทำในศาลนั้น ในวันที่ศาลเปิดทำการและตามเวลาทำงานที่ศาลได้กำหนดไว้ แต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็น ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นหรือในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ก็ได้เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดีดังนั้น คำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นหรือในวันหยุดงาน หรือในเวลาใด ๆ ตามบทบัญญัติดังกล่าว ย่อมรวมถึงการนั่งพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาคดีอันได้แก่ การยื่นคำฟ้อง คำร้อง คำขอต่าง ๆ มิใช่แปลจำกัดเคร่งครัดแต่เฉพาะการนั่งพิจารณาคดีเป็นรายเรื่องไป
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 1 (9) จะให้คำนิยามคำว่า การนั่งพิจารณา หมายความว่า การที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดีเช่นชี้สองสถานสืบพยาน ทำการไต่สวน ฟังคำขอต่าง ๆ และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจา แต่เมื่อถ้อยคำในมาตรา 35 มีวัตถุประสงค์แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ หมายความรวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาด้วยแล้ว การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ ณ อาคารที่ว่าการ อำเภอนางรอง (หลังเก่า) จังหวัดบุรีรัมย์โดยให้มีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่อำเภอนางรองและอำเภออื่นๆ ดังกล่าวในคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 แห่ง ป.วิ.พ.จึงเป็นคำสั่งที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจออกคำสั่งซึ่งมีความหมายถึงการนั่งพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอนางรองและอำเภออื่น ๆ ที่ระบุในคำสั่ง รวมทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการนั่งพิจารณาคดีดังกล่าวด้วย
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องมูลคดีเกิดขึ้นที่อำเภอนางรองและจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอนางรอง ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)ตามคำสั่งของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ และเมื่อไม่ปรากฎว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)นั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ คำสั่งศาลจังหวัดบุรีรัมย์ที่ไม่รับคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 1 (9) จะให้คำนิยามคำว่า การนั่งพิจารณา หมายความว่า การที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดีเช่นชี้สองสถานสืบพยาน ทำการไต่สวน ฟังคำขอต่าง ๆ และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจา แต่เมื่อถ้อยคำในมาตรา 35 มีวัตถุประสงค์แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ หมายความรวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาด้วยแล้ว การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ ณ อาคารที่ว่าการ อำเภอนางรอง (หลังเก่า) จังหวัดบุรีรัมย์โดยให้มีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่อำเภอนางรองและอำเภออื่นๆ ดังกล่าวในคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 แห่ง ป.วิ.พ.จึงเป็นคำสั่งที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจออกคำสั่งซึ่งมีความหมายถึงการนั่งพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอนางรองและอำเภออื่น ๆ ที่ระบุในคำสั่ง รวมทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการนั่งพิจารณาคดีดังกล่าวด้วย
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องมูลคดีเกิดขึ้นที่อำเภอนางรองและจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอนางรอง ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)ตามคำสั่งของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ และเมื่อไม่ปรากฎว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)นั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ คำสั่งศาลจังหวัดบุรีรัมย์ที่ไม่รับคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างครอบคลุมถึงเงินทดรองค่าวัสดุ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยลอกคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาทั้งหมดชนิดคำต่อคำ และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ถูกศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเสียแล้ว โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยเป็นประเด็นแต่ละเรื่องแต่ละราวไว้ชัดแจ้งแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินทดรองจ่ายจากโจทก์แล้วเป็นเงิน 35,894,081.80 บาท และจำเลยส่งมอบวัสดุก่อสร้างให้แก่โจทก์แล้วเป็นเงิน 10,786,461 บาท ซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และนำสืบว่าจำเลยได้ส่งมอบวัสดุก่อสร้างมากกว่าจำนวนดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้องว่า ได้รับวัสดุเมื่อใด จำนวนเท่าใดมีการส่งมอบเมื่อใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 มีความประสงค์จะรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สาระสำคัญของหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงอยู่ที่ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 รับเงินล่วงหน้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินทดรองค่าวัสดุก่อสร้างบ้านและก่อสร้างงานสาธารณูปโภคแก่จำเลยที่ 1 รวมเป็นเงิน35,894,081.80 บาท และการรับเงินล่วงหน้าดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้าซึ่งหมายความถึงเงินทดรองที่จำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสาร อันจักต้องห้ามมิให้โจทก์นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง, สัญญาค้ำประกัน, การรับเงินล่วงหน้า, การส่งมอบวัสดุ, ข้อพิพาทสัญญา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยลอกคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาทั้งหมดชนิดคำต่อคำ และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ถูกศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเสียแล้ว โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยเป็นประเด็นแต่ละเรื่องแต่ละราวไว้ชัดแจ้งแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินทดรองจ่ายจากโจทก์เป็นเงิน35,894,081.80 บาท และจำเลยส่งมอบวัสดุก่อสร้างให้แก่โจทก์แล้วเป็นเงิน10,786,461 บาท ซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และนำสืบว่าจำเลยได้ส่งมอบวัสดุก่อสร้างมากกว่าจำนวนดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้องว่า ได้รับวัสดุเมื่อใด จำนวนเท่าใด มีการส่งมอบเมื่อใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 มีความประสงค์จะรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สาระสำคัญของหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงอยู่ที่ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 รับเงินล่วงหน้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินทดรองค่าวัสดุก่อสร้างบ้านและก่อสร้างงานสาธารณูปโภคแก่จำเลยที่ 1 รวมเป็นเงิน 35,894,081.80 บาท และการรับเงินล่วงหน้าดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า ซึ่งหมายความถึงเงินทดรองที่จำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสารอันจักต้องห้ามมิให้โจทก์นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินทดรองจ่ายจากโจทก์เป็นเงิน35,894,081.80 บาท และจำเลยส่งมอบวัสดุก่อสร้างให้แก่โจทก์แล้วเป็นเงิน10,786,461 บาท ซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และนำสืบว่าจำเลยได้ส่งมอบวัสดุก่อสร้างมากกว่าจำนวนดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้องว่า ได้รับวัสดุเมื่อใด จำนวนเท่าใด มีการส่งมอบเมื่อใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 มีความประสงค์จะรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สาระสำคัญของหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงอยู่ที่ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 รับเงินล่วงหน้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินทดรองค่าวัสดุก่อสร้างบ้านและก่อสร้างงานสาธารณูปโภคแก่จำเลยที่ 1 รวมเป็นเงิน 35,894,081.80 บาท และการรับเงินล่วงหน้าดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า ซึ่งหมายความถึงเงินทดรองที่จำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสารอันจักต้องห้ามมิให้โจทก์นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินต้องพิจารณาราคาที่เหมาะสมและเปิดโอกาสให้สู้ราคาใหม่ได้ หากราคาต่ำกว่าความเป็นจริง
การรับจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ ธนาคารมักจะอนุมัติให้วงเงินกู้ต่ำกว่าราคาที่ดิน จึงเชื่อได้ว่าราคาที่ดินที่ขาย ทอดตลาดนี้จะต้องสูงกว่าราคาที่ธนาคารโจทก์รับจำนองหรือสูงกว่า 2,300,000 บาท ทั้งราคาที่ว่านี้ยังเป็นราคาในปี 2534 ซึ่งในปี 2540 ที่ขายทอดตลาดน่าเชื่อว่า ราคาที่ดินนี้คงจะขึ้นไปกว่านี้มากแล้ว การที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาเพียง 2,050,000 บาท จึงเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคา ที่แท้จริงหลายแสนบาท และโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงต่างก็คัดค้านว่าราคาต่ำไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะเลื่อนการขายทอดตลาด ไปก่อนเพื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือประชาชนอื่นจะได้ มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก การอ้างว่าได้ให้โอกาสโจทก์ และจำเลยที่ 3 หาผู้เข้าสู้ราคาแล้วไม่มีเหตุผล เพียงพอ เพราะเป็นเพียงการขายทอดตลาดครั้งที่สองซึ่งห่างจากครั้งแรกไม่นาน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีด่วนอนุญาตให้ขายไป จึงเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ มาตรา 513แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบมาตรา 308แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนนาแปลงที่ขายฝ่าฝืน พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ราคาซื้อตามราคาตลาดหรือราคาซื้อเดิม
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 คชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การที่ช. ให้จำเลยที่ 2มีกรรมสิทธิ์รวมในนาพิพาทโดยมีค่าตอบแทนเป็นการชำระหนี้เงินยืมอย่างอื่นแทนเงิน ไม่เป็นการซื้อขายนาพิพาทโจทก์ได้ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดตั้งแต่วันที่21 พฤษภาคม 2535 ซึ่งตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57 วรรคหนึ่งบัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดโจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2535 แต่วันที่ 20 มิถุนายน 2535 เป็นวันเสาร์ ศาลหยุดทำการดังนั้นโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 มิถุนายน 2535ซึ่งเป็นวันจันทร์ศาลเปิดทำการวันแรกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 30 วัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ฟ้องจะระบุข้อความซึ่งหมายความว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ฟ้องคดีด้วยตนเอง แต่โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้อง เมื่ออ่านรวมกันแล้วย่อมเข้าใจได้ดีแล้วว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2อีกฐานะหนึ่งด้วย หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อความในช่องคู่ความ เฉพาะโจทก์ที่ 2เป็นว่า "พ.โดยผ. ผู้รับมอบอำนาจที่ 2"และศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วหลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องแก้ฟ้องในเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเคลือบคลุมโดยตัดข้อความว่า "แสดงเจตนาลวงโดยสมยอม ซึ่งความจริงเป็นเรื่องซื้อขายกัน" ออก แล้วเพิ่มข้อความ"ทำนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายเพราะเจตนาจริง ๆเป็นเรื่องซื้อขาย หาใช่เป็นเรื่องให้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่"แทน และตัดข้อความ "ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฎหมาย" ออก แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับสำเนาคำร้องก่อนตามมาตรา 181 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อีกทั้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็วินิจฉัยจากข้อความที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไข จำเลยที่ 1 และที่ 2ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ การแก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว คำฟ้องและข้อที่แก้ไขคำฟ้องเมื่อเข้าใจได้ว่า ฟ้องข้อ 4โจทก์ทั้งสองอ้างว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายส่วนฟ้องข้อ 5เป็นเรื่องที่ช. กับจำเลยที่ 2 แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าไม่มีการเช่านา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองเช่าอยู่ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย คำฟ้องจึงมิได้มีข้อความขัดกันฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพ แห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาแล้ว มิได้เป็นฟ้องเคลือบคลุม คชก. ประจำจังหวัดนนทบุรี จำเลยที่ 3 แม้จะไม่ใช่นิติบุคคลแต่โจทก์ทั้งสองก็ได้แก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3ประกอบด้วย ท.ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีเป็นประธานกรรมการ ส.อัยการจังหวัดนนทบุรีพ.เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี ป. แทนเกษตรจังหวัดนนทบุรีส.ประมงจังหวัดนนทบุรีพ.ปศุสัตว์ จังหวัดนนทบุรีผู้แทนผู้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สว.สจ. บก.และสม. กับผู้แทนผู้ให้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือสส.พจ.สน.และผอ.โดยมีสต.จ่าจังหวัดนนทบุรีเป็นกรรมการและเลขานุการ แม้จะมิได้ระบุรายชื่อคณะกรรมการแต่ละคนในช่องคู่ความตามฟ้องโจทก์ทั้งสองก็พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการดังกล่าว คดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีที่ไม่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล โจทก์ทั้งสองจึงต้องฟ้องคชก.จังหวัดนนทบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดนนทบุรีได้มี โอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 พยานโจทก์เบิกความว่า เอกสารหมาย จ.6เป็นการซื้อขายนาพิพาทโดยเป็นวิธีการจดทะเบียนขายที่ดิน บางส่วน ที่ตอนท้ายของข้อ 3 ในเอกสารดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายได้ที่ดินมาอย่างไรและผู้ซื้อจะนำนาพิพาทไปทำอะไรนั้น ก็ได้ความมาจากการสอบถามผู้รับมอบอำนาจของ ช. และจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะพยานโจทก์เบิกความยืนยันว่าก่อนที่จะให้บุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อในเอกสารได้สอบถามถึงการชำระเงินตามที่ระบุในเอกสารแล้วทั้งสองคนตอบว่าชำระกันเรียบร้อยแล้วจึงเห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบถึงความหมายของเอกสารหมาย จ.6ไม่ใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบได้ สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วันตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นสิทธิในการฟ้องคดีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องใช้สิทธิดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งจะมีอายุความไม่ดังนั้น สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ฟ้องว่า ช. ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2โอนขายนาพิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงช. ซึ่งเป็นผู้ขายด้วย อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่างช. กับจำเลยที่ 2 ดังนั้นนิติกรรมระหว่าง ช. กับจำเลยที่ 2 จึงยังมีผลสมบูรณ์โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับช. ตามฟ้องได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของช. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในข้อ 2 ว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมระหว่าง ช. กับจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นการขายนาพิพาท แต่เป็นเสมือนการให้โดยเสน่หาตอบแทนความดีของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อ ช. ตลอดมาและให้การในข้อ 3 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลละหารที่ให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ในราคา 1,100,000 บาทว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากโจทก์ทั้งสองจะบังคับซื้อคืนจะต้องซื้อตามราคาตลาดในขณะนั้นคือไร่ละ 1,500,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การในข้อ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสองว่า ช. มิได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ส่วนคำให้การในข้อ 3 เป็นเรื่อง ราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อนั้น ก็เป็นการปฏิเสธราคานาพิพาทที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยบังคับให้จำเลยที่ 2ขายนาพิพาทคืนให้โจทก์ทั้งสองว่าเป็นราคาที่ไม่ถูกต้องเพราะตามกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นคือ 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่ คชก.ตำบลเชื่อว่า ช. ขายให้จำเลยที่ 2ดังนั้น ราคานาพิพาทกับเรื่องที่ ช. ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันเพราะเป็นการปฏิเสธตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงยกขึ้นต่อสู้ได้โดยไม่จำต้องรับว่า ช.ได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อน คำให้การของจำเลย ที่ 1 และที่ 2 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาขัดแย้งกันไม่ พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนองจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคชก.ตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธี การชำระเงินที่ได้แจ้งไว้" และมาตรา 54 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวหมายความว่า เมื่อ ช. ผู้ให้เช่านาไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างใดก็ตาม โจทก์ทั้งสองผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาพิพาท จากจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนตามมาตรา 54 แต่จะต้องซื้อนาพิพาท คืนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือ ตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน หาใช่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้าน และไม่อาจยกมาตรา 54 ขึ้นอ้าง ดังนั้น ศาลชอบ ที่จะให้โจทก์ทั้งสองซื้อนาพิพาทคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การเกี่ยวกับราคาตลาดของ นาพิพาทว่ามีราคา 30,000,000 บาท เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54เพื่อปฏิเสธราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อคืนว่าโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อในราคาตลาดในขณะนั้น เพราะเป็นราคาที่สูงกว่าจำนวนเงิน 30,000,000 บาทนี้ มิได้ เป็นทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จำต้องฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาล