คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าชดใช้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายและได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันไปแล้ว ซึ่งตามสัญญาระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 ก. รวม 3 ฉบับ เนื้อที่ 92 ไร่ และได้กำหนดไว้ในสัญญาว่า เนื้อที่ 92 ไร่ ถ้าทำการรังวัดแล้วน้อยกว่า 90 ไร่ ผู้ขายจะยอมชดใช้ให้ครบตามจำนวนที่แจ้งไว้โดยจ่ายเป็นค่าชดใช้ไร่ละ 43,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าที่ดินที่ขาดไป จึงเป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนตามสัญญานี้ กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 สัญญาจะซื้อจะขายทำเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2533 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2536 ยังไม่เกิน10 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าชดใช้จากสัญญาซื้อขายที่ดิน: ใช้มาตรา 193/30 วางหลักเกณฑ์ 10 ปี
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขาย และได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันไปแล้ว ซึ่งตามสัญญาระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. รวม 3 ฉบับ เนื้อที่ 92 ไร่ และได้กำหนดไว้ในสัญญาว่า เนื้อที่ 92 ไร่ ถ้าทำการรังวัดแล้วน้อยกว่า 90 ไร่ ผู้ขายจะยอมชดใช้ให้ครบตามจำนวนที่แจ้งไว้โดยจ่าย เป็นค่าชดใช้ไร่ละ 43,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องจำเลย ให้ชดใช้ค่าที่ดินที่ขาดไป จึงเป็นการฟ้องให้ปฏิบัติ ตามข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิฟ้องเรียกเงินคืน ตามสัญญานี้ กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30สัญญาจะซื้อจะขายทำเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2533โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2536 ยังไม่เกิน10 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาต้องยื่นต่อศาลอุทธรณ์ก่อน มิอาจยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง
ในคดีอาญา การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมีบทบัญญัติไว้โดยชัดเจนในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคแรก แล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิมาอนุโลมใช้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15หาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยตรงมายังศาลฎีกาจึง เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาคดีอาญาต้องยื่นต่อศาลอุทธรณ์ การยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ชอบ
ในคดีอาญา การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมีบทบัญญัติไว้โดยชัดเจนใน ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคแรกแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาอนุโลมใช้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 หาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยตรงมายังศาลฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5723/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิการได้รับค่าทดแทนที่ถูกต้อง, การฉ้อฉลเพื่อหวังค่าทดแทนเพิ่ม และการคิดดอกเบี้ย
โจทก์กับจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ในเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ทำให้จำเลยที่ 1 โดยผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ฯ จึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
การจดทะเบียนทางภาระจำยอมในที่ดินแปลงอื่นให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนกระทำขึ้นภายหลังจากที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมาแล้วหลายปี แสดงว่าทำขึ้นโดยฉ้อฉลเพียงเพื่อประสงค์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนมากขึ้นกว่าเดิม จึงต้องห้ามมิให้คิดเงินค่าทดแทนสำหรับราคาที่ดินที่สูงขึ้น ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 24 (2) จึงต้องถือว่าในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับนั้น ที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนไม่มีส่วนใดอยู่ติดทางสาธารณะหรือทางภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมจำนอง: เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงมีสิทธิเพิกถอน แม้โจทก์มิได้อ้างถึงเจตนาทุจริตของผู้รับจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยที่ 1ยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของตนให้แก่โจทก์และบุตรบุญธรรม 4 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่ของตนไปจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1ไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมายที่จะกระทำได้ นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงต้องได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนจะเป็นจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือจำเลยทั้งสองต่อสู้และกรณีจะเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไรในการรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และการจำนองที่ดินทำให้โจทก์เสียเปรียบอย่างไร ไม่ทำให้ฟ้อง ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะ นิติกรรมจำนอง เจ้าของทรัพย์สินไม่ยินยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยที่ 1 ยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของตนให้แก่โจทก์และบุตรบุญธรรม 4 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่ของตนไปจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมายที่จะกระทำได้ นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะเพราะจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงต้องได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนจะเป็นจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือจำเลยทั้งสองต่อสู้และกรณีจะเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป ดังนั้น การที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไรในการรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และการจำนองที่ดินทำให้โจทก์เสียเปรียบอย่างไร ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าเริ่มนับเมื่อมีโฉนด และเบี้ยปรับตามสัญญาบังคับใช้ได้
ที่ดินที่ตกลงจะซื้อขายกันเป็นที่ดินมือเปล่าตามสัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงว่า โจทก์จะชำระราคาค่าที่ดินส่วนที่เหลือเมื่อได้รับโฉนดแล้ว แสดงว่าคู่สัญญาจะบังคับตามสิทธิของแต่ละฝ่ายได้ต่อเมื่อมีการออกโฉนดที่ดินแล้วปรากฏว่าที่ดินพิพาทได้ออกเป็นโฉนดที่ดินเมื่อปี 2531และ 2533 อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่ปีดังกล่าวมิใช่นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อขาย ขณะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมือเปล่าเมื่อสัญญาจะซื้อขายได้ระบุที่ตั้งของที่ดิน และระบุด้วยว่าเป็นที่ดินตามหลักฐานใบนำสำรวจซึ่งได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดิน ที่จะซื้อขายกัน โดยให้ผู้ซื้อมีสิทธิเลือกเอาที่ดินที่ใด ก็ได้ตามใบนำสำรวจและยังระบุด้วยว่าจะชำระเงินค่าที่ดิน ส่วนที่เหลือเมื่อได้รับโฉนดที่ดินแล้ว ถือว่าเป็น สัญญาจะซื้อขายที่มีสาระสำคัญครบถ้วนแล้ว จึงสมบูรณ์ ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปจดทะเบียนขายตามกำหนด ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญา และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อ 200,000 บาท และ 100,000 บาท ตามลำดับค่าเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้จะขายผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 ซึ่งนอกจาก จะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้วผู้จะซื้อซึ่งเป็น เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากผู้จะขาย ได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา 380 ซึ่งเจ้าหนี้ มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทน การชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ: การรับฟังพยานหลักฐานและการยอมรับความถูกต้องของเอกสาร
โจทก์มี จ. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความยืนยันว่าโจทก์โดย ศ.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ โดยทนายโจทก์ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล ประกอบการถามพยานโจทก์ตัวผู้รับมอบอำนาจ และขอส่งสำเนาแทนต้นฉบับ จำเลยก็มิได้คัดค้านว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าว มีข้อความไม่ตรงกันกับต้นฉบับถือว่าจำเลยยอมรับความถูกต้อง ของเอกสารนี้แล้ว ศาลย่อมรับฟังประกอบถ้อยคำของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับความถูกต้องของเอกสารมอบอำนาจและการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์มี จ. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความยืนยันว่า โจทก์โดยศ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ โดยทนายโจทก์ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลประกอบการถามพยานโจทก์ตัวผู้รับมอบอำนาจ และขอส่งสำเนาแทนต้นฉบับ จำเลยก็มิได้คัดค้านว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าวมีข้อความไม่ตรงกันกับต้นฉบับถือว่าจำเลยยอมรับความถูกต้องของเอกสารนี้แล้ว ศาลย่อมรับฟังประกอบถ้อยคำของโจทก์ได้
of 57