คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 565 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5224/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล ทำให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคสอง ขอให้ศาลวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลย เสียใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ข) ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลดังกล่าวและศาลชั้นต้นได้มีหมายแจ้งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาแล้ว แต่จำเลย ไม่ยอมชำระถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลา ที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง มาตรา 174(2),246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5026/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าทดรองการซื้อหุ้น: อายุความ 10 ปี, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, ตัวแทน-ตัวการ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า บริษัท ย. ได้ออกใบหุ้นให้แก่จำเลยตามภาพถ่ายใบหุ้นเอกสารท้ายฟ้อง เป็นหุ้นจำนวน 94 หุ้นซึ่งคำนวณเป็นเงินตามสัดส่วนได้จำนวน 300,000 บาท โดยจำเลย ให้โจทก์ทดรองจ่ายให้ไปก่อน แต่เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลย ชำระเงินดังกล่าว จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงฟ้องคดี ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วส่วนรายละเอียดว่าเหตุใดราคาหุ้นที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจึงมีราคาสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่ปรากฏในใบหุ้นนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนที่ได้ออกเงินทดรองการซื้อหุ้นอันเป็นกิจการที่จำเลยมอบหมายให้โจทก์ทำ จึงเป็น เรื่องตัวแทนฟ้องตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 816 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ อายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของจำเลยหรือรับทำการงานต่าง ๆ ของจำเลย ดังนั้น คดีโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 193/34(7) โจทก์ฟ้องคดีไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่ได้ทดรองจ่ายเงินแทนจำเลยอันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5026/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าทดรองการซื้อหุ้น: อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 และข้ออ้างที่ไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า บริษัท ย.ได้ออกใบหุ้นให้แก่จำเลยตามภาพถ่ายใบหุ้นเอกสารท้ายฟ้อง เป็นหุ้นจำนวน 94 หุ้น ซึ่งคำนวณเป็นเงินตามสัดส่วนได้จำนวน 300,000 บาท โดยจำเลยให้โจทก์ทดรองจ่ายให้ไปก่อน แต่เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงฟ้องคดี ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนรายละเอียดว่าเหตุใดราคาหุ้นที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจึงมีราคาสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่ปรากฏในใบหุ้นนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนที่ได้ออกเงินทดรองการซื้อหุ้นอันเป็นกิจการที่จำเลยมอบหมายให้โจทก์ทำ จึงเป็นเรื่องตัวแทนฟ้องตัวการตามป.พ.พ.มาตรา 816 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ อายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของจำเลยหรือรับทำการงานต่าง ๆ ของจำเลยดังนั้น คดีโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 193/34 (7) โจทก์ฟ้องคดีไม่เกิน10 ปี นับแต่วันที่ได้ทดรองจ่ายเงินแทนจำเลยอันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอากรแสตมป์ ศาลไม่รับเป็นพยานหลักฐาน
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีต่อจำเลยแทนโจทก์โดยปิดอากรแสตมป์มาครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร 7 ตามประมวลรัษฎากร แต่มิได้มี การขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว ย่อมถือว่ายังไม่ปิดแสตมป์ บริบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 118 และห้ามมิให้รับฟัง ตราสารเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งจนกว่าจะได้ขีดฆ่า อากรแสตมป์แล้ว ดังนั้น จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ การที่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลแล้ว หามีผลเหมือนกับการขีดฆ่าอากรแสตมป์ เพราะไม่ต้องด้วยความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 103 กรณีมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งห้ามมิให้รับฟังตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง อีกทั้งเป็นเรื่องของการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแม้โจทก์จะมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือกรณีเกิดขึ้นเนื่องจากความพลั้งเผลอ ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุอ้างให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ และแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเรื่องการขีดฆ่าอากรแสตมป์ไว้ในคำให้การหรือคัดค้านกรณีดังกล่าวในระหว่างพิจารณา แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้เรื่องหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งศาล จะต้องอาศัยการรับฟังเอกสารใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานและในเรื่องตราสารที่มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์นี้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเป็นปัญหาว่ากฎหมายห้ามรับฟังหรือไม่ อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาขออนุญาตนำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไปขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีของโจทก์โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วกรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ หากมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ ศาลต้องปฏิเสธการรับฟังเป็นพยานหลักฐาน
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ บ.ดำเนินคดีต่อจำเลยแทนโจทก์โดยปิดอากรแสตมป์มาครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร 7ตาม ป.รัษฎากร แต่มิได้มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว ย่อมถือว่ายังไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 118 และห้ามมิให้รับฟังตราสารเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งจนกว่าจะได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์แล้ว ดังนั้น จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้ บ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
การที่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลแล้ว หามีผลเหมือนกับการขีดฆ่าอากรแสตมป์ เพราะไม่ต้องด้วยความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 103
กรณีมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งห้ามมิให้รับฟังตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง อีกทั้งเป็นเรื่องของการรับฟังพยานหลักฐานในคดี แม้โจทก์จะมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือกรณีเกิดขึ้นเนื่องจากความพลั้งเผลอ ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุอ้างให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ และแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเรื่องการขีดฆ่าอากรแสตมป์ไว้ในคำให้การหรือคัดค้านกรณีดังกล่าวในระหว่างพิจารณา แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้เรื่องหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลจะต้องอาศัยการรับฟังเอกสารใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานและในเรื่องตราสารที่มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์นี้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเป็นปัญหาว่ากฎหมายห้ามรับฟังหรือไม่ อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาขออนุญาตนำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไปขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีของโจทก์โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วกรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้เช็คสิ้นผลผูกพันจากคำพิพากษาประนีประนอม คดีอาญาจึงระงับ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นมูลหนี้เดียวกันกับที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค เมื่อโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วจึงทำให้มูลหนี้ตามเช็คสิ้นผลผูกพันก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็ค: สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งทำให้มูลหนี้สิ้นสุด สิทธิฟ้องคดีอาญาจึงระงับ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นมูลหนี้เดียวกันกับที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค เมื่อโจทก์ร่วมและ จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ในคดีแพ่ง และศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วจึงทำให้ มูลหนี้ตามเช็คสิ้นผลผูกพันก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดี ออกจากสารบบความ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4928/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ผู้มีสิทธิคัดค้านต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หากศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว สิทธิเรียกร้องคืนสิ้นสุด
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 ได้บัญญัติให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ริบเป็นทรัพย์สินของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และพิสูจน์ว่าผู้ที่ร้องเข้ามาไม่มีโอกาสทราบ หรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิด ดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามมาตรา 30, 31 ต่อมาได้มีการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางดังกล่าวซึ่งมีความประสงค์จะคัดค้านได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดไต่สวนพร้อมไปกับสืบพยานโจทก์และจะมีคำสั่งในคำพิพากษา ซึ่งในคดีดังกล่าวผู้ร้องซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 2 ได้ให้การปฏิเสธและนำสืบพยานว่ารถยนต์ของกลางเป็นของจำเลยที่ 2 (ผู้ร้อง) จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการขอให้ริบรถยนต์ของผู้ร้องตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 30, 31 และผู้ร้องได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดในมาตรา 30 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว การจะริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534 มาตรา 30 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้โดยเฉพาะ กล่าวคือ ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ก็ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง และในกรณีที่ปรากฏเจ้าของแต่เจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบ หรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อต่อมาในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า รถยนต์ของกลางของผู้ร้องเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นคดีนี้อีก ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4928/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเหตุอันควรสงสัย
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 ได้บัญญัติให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ริบเป็นทรัพย์สินของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และพิสูจน์ว่าผู้ที่ร้องเข้ามาไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิดดังนั้น เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด ตามมาตรา 30,31 ต่อมาได้มีการประกาศ ในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็น เจ้าของทรัพย์สินของกลางดังกล่าวซึ่งมีความประสงค์ จะคัดค้านได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีแล้ว และศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้นัดไต่สวนพร้อมไปกับสืบพยานโจทก์และจะมีคำสั่ง ในคำพิพากษา ซึ่งในคดีดังกล่าวผู้ร้องซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 2 ได้ให้การปฏิเสธและนำสืบพยานว่ารถยนต์ของกลาง เป็นของจำเลยที่ 2(ผู้ร้อง) จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการ ขอให้ริบรถยนต์ของผู้ร้องตาม พระราชบัญญัติมาตรการ ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31 และผู้ร้องได้เข้ามา ในกระบวนการที่กำหนดในมาตรา 30 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว การจะริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ ที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดไว้โดยเฉพาะ กล่าวคือ ถ้าเป็น ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ก็ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง และในกรณีที่ปรากฏเจ้าของแต่เจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดและจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสองดังนั้น เมื่อต่อมาในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารถยนต์ของกลางของผู้ร้องเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางของผู้ร้องแล้วผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นคดีนี้อีก ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4868/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฎีกาต้องดำเนินการก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดแล้วถือเป็นสิทธิขาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 และคดีต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาตามเงื่อนไข ในมาตรา 221 จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการใช้สิทธิ ดังกล่าวให้ถูกต้องภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแต่ปรากฎว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2541 ซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยย่อมทราบ วันครบกำหนดหนึ่งเดือนที่ต้องยื่นฎีกาหรือหากมีพฤติการณ์พิเศษ ที่จำเลยจะต้องขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไป จำเลย ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเสียก่อน ครบกำหนดดังกล่าวได้แต่จำเลยหาได้ปฏิบัติเสีย ให้ถูกต้องไม่ ทั้งการรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาว่า จะสั่งรับหรือไม่รับฎีกาของจำเลยก็มิใช่เป็นเหตุสุดวิสัย คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ต้อง ด้วยบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลายื่นฎีกาจึงไม่ชอบจำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหานี้แม้จะไม่มี คู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 57