พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อทางการแพทย์: ผู้ป่วยพลิกตัวตกเตียง โรงพยาบาลไม่ต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 2 ทำการตรวจอัลตราซาวด์ให้แก่โจทก์เป็นการให้บริการทางการแพทย์อย่างหนึ่งอันเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของคู่ความฝ่ายจำเลยทั้งสอง ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลยทั้งสองว่าจำเลยที่ 2 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ในข้อนี้จำเลยทั้งสองนำสืบโดยมีแพทย์ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาล มาเบิกความประกอบการให้ถ้อยคำในชั้นการพิจารณาเรื่องร้องเรียนจำเลยที่ 2 ต่อคณะกรรมการแพทยสภาเกี่ยวกับการแบ่งประเภทผู้ป่วยที่จะเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวช่วยเหลือตนเองได้น้อย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังระหว่างการตรวจ หน่วยอัลตราซาวด์จะใช้เตียงที่มีไม้กั้นของหอผู้ป่วยในระหว่างการตรวจ และมีนักรังสีการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยขณะทำการตรวจทุกราย กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตนเองได้ สามารถปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจตามที่รังสีแพทย์สั่งได้ เช่น การพลิกตะแคงตัว หน่วยอัลตราซาวด์จะใช้เตียงตรวจไฟฟ้าของหน่วยงานซึ่งออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถปรับความสูงต่ำของเตียงได้ (ไม่มีที่กั้นเตียง) เพื่อความสะดวกของแพทย์ในการตรวจ เห็นได้ชัดว่าการแบ่งแยกประเภทผู้ป่วยเป็นเวชปฏิบัติทั่วไปขั้นพื้นฐานเพื่อคัดแยกผู้ป่วยให้เหมาะสมแก่การตรวจและรักษา ลักษณะเป็นข้อมูลวิชาการไม่เอนเอียงเพื่อประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ล. นักรังสีการแพทย์พยานจำเลยทั้งสองอีกปากเบิกความว่า มาตรฐานการจัดวางอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องตรวจอัลตราซาวด์ของโรงพยาบาล จ. จะจัดวางเหมือนกันทุกห้องตามหลักการจัดวางอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจห้องตรวจจะมีลักษณะแยกเดี่ยว 4 ห้อง ภายในห้องตรวจมีเครื่องอัลตราซาวด์และเตียงตรวจ มีผ้าม่านกั้น เตียงตรวจมีขนาดกว้าง ประมาณ 60 เซนติเมตร มีทั้งแบบที่มีและไม่มีที่กั้นเตียง เตียงที่มีที่กั้นจะใช้แก่ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวช่วยตนเองไม่ได้ การจัดวางเตียงไม่ชิดผนังเพื่อความสะดวกของผู้ช่วยระหว่างการตรวจซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับในโรงพยาบาลเอกชนที่พยานทำงานนอกเวลา ในวันเกิดเหตุ พยานเรียกโจทก์เข้าห้องตรวจหมายเลข 2 ก่อนเข้าห้องพยานสอบถามโจทก์ว่าเดินได้หรือไม่ โจทก์ตอบว่าเดินได้นิดหน่อย พยานจึงเข็นรถโจทก์ไปใกล้เตียงตรวจเพื่อให้โจทก์ลุกเดินไปยังเตียง จากนั้นพยานและบุตรโจทก์ช่วยกันพยุงโจทก็ให้ลุกขึ้นยืนและขยับตัวไปนั่งแล้วให้นอนหงายบนเตียงนำผ้าห่มมาคลุมตัวเพื่อเตรียมทำการตรวจบริเวณช่องท้อง แล้วพยานแจ้งให้จำเลยที่ 2 มาตรวจโจทก์ ต่อมาพยานได้ยินเสียงจำเลยที่ 2 ตะโกนเรียก พบโจทก์อยู่ข้างเตียงในลักษณะกึ่งหงายกึ่งนั่ง พยานจึงไปขยับเตียงและเครื่องมือแพทย์ออก แล้วพยุงตัวโจทก์ให้นั่งพร้อมกับเรียกเจ้าหน้าที่มาช่วยกันปฐมพยาบาลเบื้องต้น ส่วนเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 เบิกความว่า เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าไปในห้องตรวจ พบโจทก์นอนอยู่บนเตียงเพื่อรอการอัลตราซาวด์ จำเลยที่ 2 ทำการตรวจวินิจฉัยในท่านอนหงาย พบว่าการถ่ายภาพไตด้านขวาของโจทก์ไม่ชัดเจนเนื่องจากมีลมในลำไส้บังและติดชายโครงด้านขวา ตามมาตรฐานท่าที่ใช้ตรวจมีทั้งท่านอนหงายและท่านอนตะแคง จำเลยที่ 2 สอบถามโจทก์ว่าสามารถนอนตะแคงด้วยตนเองได้หรือไม่ โจทก์ตอบว่าทำได้ จำเลยที่ 2 จึงให้โจทก์นอนตะแคงตัวไปทางด้านซ้ายยกทางด้านขวาขึ้น โดยจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ทางด้านขวาของโจทก์ตรงหน้าเครื่องตรวจอัลตราซาวด์ จังหวะที่โจทก์กำลังจะนอนตะแคงเกิดพลัดตกเตียง ไหล่และเข่าซ้ายกระแทกพื้น ศีรษะไม่กระแทก รู้สึกตัวดี จำเลยที่ 2 รีบเข้าไปประเมินอาการบาดเจ็บในเบื้องต้นพร้อมเรียกเจ้าหน้าที่ โจทก์มีบาดแผลถลอกหนังเปิดที่เข่าซ้าย 4 เซนติเมตร และเจ็บไหล่ซ้าย แต่สามารถขยับได้ หายใจปกติ ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ จึงทำแผลเบื้องต้นพร้อมสั่งเอกซเรย์กระดูกเชิงกราน สะโพกทั้งสองข้าง กระดูกเข่าซ้ายไหล่ซ้าย และปอด พบว่าไม่มีการแตกหักจึงส่งโจทก์ไปแผนกอุบัติเหตุเพื่อเย็บแผลและให้ยาปฏิชีวนะโดยมีจำเลยที่ 2 ไปด้วย ดังนี้ การนัดหมายโจทก์มาทำการตรวจอัลตราซาวด์ในวันเกิดเหตุ โจทก์เป็นเพียงผู้ป่วยนอก ญ. บุตรโจทก์ก็เบิกความยอมรับว่า ก่อนเกิดเหตุโจทก์สามารถช่วยเหลือตนเองและเดินได้ตามปกติไม่ต้องมีใครช่วยดูแล โจทก์จึงจัดอยู่ในผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 กล่าวคือ โจทก์รู้สึกตัวดี สามารถช่วยเหลือตนเองลุกขึ้นเดินไปนั่งและนอนรอจำเลยที่ 2 บนเตียงเพื่อรับการตรวจได้ แม้โจทก์จะต้องนั่งรถเข็นมายังห้องตรวจก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ป่วยสูงอายุและมีน้ำหนักตัวมาก เมื่อพิจารณาสภาพห้องที่เกิดเหตุตามภาพถ่าย ขนาดความกว้าง ยาวและสูงของเตียง ตลอดจนวิธีการจัดวางไม่ได้แตกต่างไปจากมาตรฐานของโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐบาลอื่น ประกอบกับเมื่อจำเลยที่ 2 เข้ามาภายในห้องตรวจ โจทก์ขึ้นไปนอนรออยู่บนเตียงแล้ว ไม่มีอาการอื่นใดบ่งชี้ในเวลานั้นที่แสดงให้จำเลยที่ 2 เห็นว่า โจทก์ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ทำการตรวจภาพถ่ายไตด้านขวาของโจทก์ไม่ชัดเจน จึงสอบถามโจทก์ว่าสามารถพลิกตะแคงตัวไปด้านซ้ายเพื่อถ่ายภาพใหม่ได้หรือไม่ โจทก์ตอบว่าได้ ดังที่ปรากฎในบันทึกคำให้การของโจทก์ต่อพนักงานสอบสวน หากโจทก์ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ก็น่าจะต้องแจ้งจำเลยที่ 2 เสียตั้งแต่ในขณะนั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากบันทึกคำให้การดังกล่าวอีกว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์และจำเลยที่ 2 อยู่ภายในห้องเพียงลำพัง ส่วนจำเลยที่ 2 เบิกความว่า ขณะนั้นจำเลยที่ 2 ถือหัวตรวจอัลตราซาวด์ไว้ในมือและต้องเพ่งมองจอภาพเครื่องดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ข้างหัวเตียงด้านขวาของโจทก์ เมื่อโจทก์พลิกตะแคงตัวตามที่จำเลยที่ 2 บอก แม้เตียงมีขนาดกว้างเพียง 60 เซนติเมตร แต่ก็เป็นขนาดมาตรฐานบุคคลทั่วไปในภาวะเช่นจำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจคาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ถึงขนาดที่โจทก์จะพลัดตกจากเตียง เพราะการนอนตะแคงตัวใช้พื้นที่ไม่มาก อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรสอบถามโจทก์ก่อนหน้านั้นแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 มิใช่การกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างขนส่งสินค้า: การผิดสัญญาจากเหตุระวางเรือไม่ตรงตามกำหนด และขอบเขตความรับผิด
ก่อนมีการตกลงว่าจ้างจำเลยขนส่งสินค้ากังหันไอน้ำความดันต่ำ โจทก์แจ้งกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าว่า ประมาณวันที่ 25 มิถุนายน 2552 ให้จำเลยทราบแล้วในหนังสือขอให้จำเลยเสนอราคาค่าจ้างบริการขนส่งสินค้าทางเรือ ดังนั้น ก่อนเสนอราคาจำเลยย่อมต้องตรวจสอบตารางการเดินเรือว่าสามารถดำเนินการรับขนสินค้าจากท่าเรือต้นทางเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ได้ทันวันดังกล่าวหรือไม่ แต่จำเลยกลับนำสืบว่าได้จองเรือที่เดินทางออกจากท่าเรือในวันที่ 23 มิถุนายน 2552 นอกจากนี้เมื่อโจทก์สนองรับราคาของจำเลย โจทก์ยังแนบสัญญาซื้อขายกังหันไอน้ำความดันต่ำซึ่งมีกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ไปพร้อมกับหนังสือจ้างขนส่งสินค้าทางเรือให้จำเลยทราบอีกด้วย จำเลยจึงย่อมต้องทราบดีว่าหากจำเลยไม่สามารถจัดหาเรือที่จะออกจากท่าเรือต้นทางเมืองโยโกฮามาอย่างช้าที่สุดวันที่ 25 มิถุนายน 2552 ได้ จำเลยยังมีทางเลือกที่จะจัดหาเรือซึ่งออกจากท่าเรือต้นทางอย่างช้าที่สุดวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ได้อีกด้วย แม้หนังสือจ้างจะไม่มีข้อตกลงให้จำเลยไปรับสินค้าในวันที่ 25 มิถุนายน 2552 โดยมีเพียงข้อกำหนดให้จำเลยส่งมอบงานภายใน 22 วัน นับจากวันที่จำเลยรับสินค้าจากผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นก็ตาม แต่จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้ว่าจำเลยทราบกำหนดวันที่ผู้ขายจะส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ หนังสือจ้างขนส่งสินค้าทางเรือจึงเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาที่จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาไว้แน่นอน การที่จำเลยจองระวางเรือซึ่งมีกำหนดการเดินทางออกจากท่าเรือเมืองโยโกฮามาวันที่ 23 มิถุนายน 2552 จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นการจองระวางเรือที่เหมาะสมกับกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าจากผู้ขาย
แม้จำเลยนำสืบว่าเรือเดินทะเลอาจเทียบท่าก่อนตารางการเดินเรือได้เนื่องจากภัยธรรมชาติตามสัญญาเลย์แคน (Laycan) และเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจควบคุมได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบว่าเหตุที่เรือที่จำเลยว่าจ้างเข้าเทียบท่าเรือและออกจากท่าเรือก่อนกำหนดเกิดจากภัยธรรมชาติอย่างไร ทั้งกรณีจะเป็นเหตุสุดวิสัยจะต้องได้ความว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 เมื่อจำเลยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรับขนสินค้าทางทะเลย่อมต้องทราบดีว่าระยะเวลาการเดินเรือและเข้าเทียบท่าอาจคลาดเคลื่อนได้ หากจำเลยใช้ความระมัดระวังตามสมควรในฐานะผู้ประกอบการก็ไม่ควรจองระวางเรือที่จะออกจากท่าเรือต้นทางก่อนถึงกำหนดส่งมอบสินค้าตามที่โจทก์แจ้งไว้ล่วงหน้า จึงหาใช่เหตุสุดวิสัยดังข้อต่อสู้ของจำเลยไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างไม่ไปรับสินค้าตามกำหนดที่ตกลงไว้กับโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย หาใช่เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในกรณีที่สินค้าสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบสินค้าชักช้า จึงไม่สามารถนำ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 52 และ 58 มาปรับใช้แก่คดีดังที่จำเลยต่อสู้ได้
เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบกำหนดรับมอบสินค้าว่าประมาณวันที่ 25 มิถุนายน 2552 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดหาเรือไปรับสินค้าให้ทันวันดังกล่าว โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์จะใช้สินค้าเมื่อใด เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง
แม้จำเลยนำสืบว่าเรือเดินทะเลอาจเทียบท่าก่อนตารางการเดินเรือได้เนื่องจากภัยธรรมชาติตามสัญญาเลย์แคน (Laycan) และเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจควบคุมได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบว่าเหตุที่เรือที่จำเลยว่าจ้างเข้าเทียบท่าเรือและออกจากท่าเรือก่อนกำหนดเกิดจากภัยธรรมชาติอย่างไร ทั้งกรณีจะเป็นเหตุสุดวิสัยจะต้องได้ความว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 เมื่อจำเลยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรับขนสินค้าทางทะเลย่อมต้องทราบดีว่าระยะเวลาการเดินเรือและเข้าเทียบท่าอาจคลาดเคลื่อนได้ หากจำเลยใช้ความระมัดระวังตามสมควรในฐานะผู้ประกอบการก็ไม่ควรจองระวางเรือที่จะออกจากท่าเรือต้นทางก่อนถึงกำหนดส่งมอบสินค้าตามที่โจทก์แจ้งไว้ล่วงหน้า จึงหาใช่เหตุสุดวิสัยดังข้อต่อสู้ของจำเลยไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างไม่ไปรับสินค้าตามกำหนดที่ตกลงไว้กับโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย หาใช่เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในกรณีที่สินค้าสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบสินค้าชักช้า จึงไม่สามารถนำ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 52 และ 58 มาปรับใช้แก่คดีดังที่จำเลยต่อสู้ได้
เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบกำหนดรับมอบสินค้าว่าประมาณวันที่ 25 มิถุนายน 2552 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดหาเรือไปรับสินค้าให้ทันวันดังกล่าว โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์จะใช้สินค้าเมื่อใด เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3533/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างแรงงาน และความรับผิดฐานประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องโดยระบุข้อหาหรือฐานความผิดหน้าฟ้องว่า ผิดสัญญาจ้างแรงงาน ผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เรียกค่าเสียหาย และในคำฟ้องข้อ 2 ถึงข้อ 4 โจทก์บรรยายความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยและระบุถึงการปฏิบัติงานของจำเลยว่า โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยเป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาขาสระบุรี มีหน้าที่ช่วยปฏิบัติและบริหารงานของผู้จัดการสาขา ช่วยดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานของสาขาทุกระบบงานโดยต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์ โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยไปดูแลการขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้โจทก์ที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดลพบุรี แต่จำเลยไปไม่ทันกำหนดเวลาขายทอดตลาด เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้โจทก์ในราคาต่ำกว่าราคาที่โจทก์กำหนดอนุมัติให้ขาย อันเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลสัญญาจ้างแรงงานเป็นหลักแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นสำคัญ ส่วนการบรรยายฟ้องถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ก็เป็นการบรรยายฟ้องถึงลำดับเหตุการณ์ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความในเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยนับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องคือวันที่จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งนับถึงวันฟ้อง ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ก่อนขายทอดตลาดประมาณ 3 ถึง 4 วัน จำเลยได้รับมอบอำนาจให้ไปดูแลการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้โจทก์ โดยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบังคับคดีของโจทก์ระบุว่าจะต้องไปก่อนเวลาขายทอดตลาด และการขายทอดตลาดครั้งก่อนมีผู้สู้ราคาและมีการคัดค้าน ซึ่งระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบังคับคดีของโจทก์ระบุว่าต้องหาผู้สู้ราคาสูงกว่าหรือมาซื้อไว้เอง การขายทอดตลาดครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่สำคัญที่จำเลยต้องไปดูแลและเตรียมความพร้อมโดยตรวจสอบสำนวนคดีและเส้นทางที่จะไปสำนักงานบังคับคดีจังหวัดลพบุรีล่วงหน้า ซึ่งจำเลยมีเวลาเพียงพอที่จะเตรียมความพร้อม การที่จำเลยไปไม่ทันกำหนดจึงเป็นความผิดของจำเลยที่ไม่เตรียมการป้องกันไว้ก่อนทั้งที่สามารถกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์
ก่อนขายทอดตลาดประมาณ 3 ถึง 4 วัน จำเลยได้รับมอบอำนาจให้ไปดูแลการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้โจทก์ โดยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบังคับคดีของโจทก์ระบุว่าจะต้องไปก่อนเวลาขายทอดตลาด และการขายทอดตลาดครั้งก่อนมีผู้สู้ราคาและมีการคัดค้าน ซึ่งระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบังคับคดีของโจทก์ระบุว่าต้องหาผู้สู้ราคาสูงกว่าหรือมาซื้อไว้เอง การขายทอดตลาดครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่สำคัญที่จำเลยต้องไปดูแลและเตรียมความพร้อมโดยตรวจสอบสำนวนคดีและเส้นทางที่จะไปสำนักงานบังคับคดีจังหวัดลพบุรีล่วงหน้า ซึ่งจำเลยมีเวลาเพียงพอที่จะเตรียมความพร้อม การที่จำเลยไปไม่ทันกำหนดจึงเป็นความผิดของจำเลยที่ไม่เตรียมการป้องกันไว้ก่อนทั้งที่สามารถกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งสินค้าเสียหายจากแมลง: ผู้ขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าจริง ไม่ใช่ตามสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบหมายสินค้าพิพาทไว้เพื่อขนส่งไปยังจุดหมายปลายทาง แต่ระหว่างการขนส่งสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายเพราะมีแมลงเข้าไปในสินค้าพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้าพิพาท จำเลยให้การปฏิเสธว่า การที่แมลงเข้าไปในสินค้าพิพาทมิได้เกิดจากการขนส่งของจำเลย เนื่องจากผู้ส่งเป็นผู้บรรจุและหีบห่อสินค้าพิพาท เมื่อขนส่งสินค้าพิพาทไปถึงด่านสินค้าขาเข้าของประเทศมาเลเซียมีการพบแมลงอยู่บริเวณหีบห่อส่วนที่เป็นพลาสติก การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตั้งประเด็นว่า สินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย และจำเลยต้องรับผิดชอบหรือไม่ ย่อมครอบคลุมถึงข้อเท็จจริงว่า การที่มีแมลงเข้าไปในสินค้าพิพาทมิได้เกิดจากการกระทำหน้าที่ขนส่งของจำเลย แต่ถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียที่ให้เก็บสินค้าพิพาทไว้ในโกดังสินค้าของจำเลย ห้ามเคลื่อนย้ายในระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากเหตุสุดวิสัยมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยจึงเป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างไว้ในคำให้การ มิได้เป็นการพิพากษานอกประเด็น
ความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากมีแมลงเข้าไปปะปนอยู่ในถุงสินค้าพิพาท ขณะสินค้าพิพาทถูกขนออกจากตู้คอนเทนเนอร์เก็บไว้ที่โกดังสินค้าของจำเลยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียตรวจสอบ ขณะนำไปตรวจสอบไม่ปรากฏตัวแมลงปะปนอยู่ในสินค้าพิพาท แสดงว่าแมลงได้เข้าไปปะปนในสินค้าพิพาทในช่วงเวลาที่สินค้าพิพาทถูกเก็บไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยก่อนผู้ซื้อจะได้รับมอบสินค้าพิพาทแม้การเก็บสินค้าพิพาทไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยจะถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซีย แต่จำเลยก็มีหน้าที่นำสินค้าผ่านเข้าประเทศมาเลเซียด้วย ดังนั้น การดูแลรักษาสินค้าพิพาทยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย จำเลยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการขนส่งสินค้าย่อมมีหน้าที่ดูแลสินค้าพิพาทในช่วงเวลาขนส่งมิให้เกิดความเสียหายสูญหาย การมีแมลงเข้าไปตอมสินค้าพิพาทโดยแทรกสิ่งห่อหุ้มสินค้าพิพาทเข้าไปย่อมเป็นเหตุการณ์ที่สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ พยานจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านว่า สินค้าพิพาทมีการหีบห่อเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ได้มีการคลุมสินค้าพิพาทอีกชั้นหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า การป้องกันมิให้แมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทสามารถป้องกันได้โดยใช้ผ้าใบหรือสิ่งห่อหุ้มคลุมสินค้าพิพาทไว้อีกชั้นหนึ่ง เพียงแต่จำเลยมิได้คาดคิดหรือคาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น การมีแมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทเกิดความเสียหายจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย เมื่อสินค้าพิพาทเกิดความเสียหายขณะที่สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ตามสัญญาประกันภัยมีการตกลงราคาประกันภัยโดยคิดตามราคาสินค้าบวกด้วยร้อยละ 10 แม้คู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงกันได้เพราะผู้เอาประกันภัยอาจได้รับความเสียหายมากกว่ามูลค่าสินค้าที่เอาประกันภัยโดยมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องเสียไป เช่น ค่าหีบห่อและค่าใช้จ่ายในการขนส่งด้วย ซึ่งถือเป็นความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยได้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยสินค้าได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันซึ่งต้องจ่ายตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องในความเสียหายได้เพียงที่ผู้เอาประกันภัยจะเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิด คือ จำนวนตามสัญญารับขน ซึ่งได้แก่ค่าเสียหายเท่าที่ผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายจริงเท่านั้น และต้องพิจารณาตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา มิใช่จะถือเอาว่าความเสียหายที่แท้จริงจะต้องเป็นราคาสินค้าที่เสียหายบวกร้อยละ 10 ตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาที่จะต้องผูกพันด้วยแต่อย่างใด และตามพยานหลักฐานของโจทก์ก็ปรากฏว่า ผู้ซื้อสินค้ามีหนังสือเรียกร้องความเสียหายเป็นค่าสินค้าที่เสียหายที่ยังไม่บวกร้อยละ 10 แต่ส่วนเพิ่มที่เป็นภาษีมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ของราคาสินค้าแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีเพียงจำนวนดังกล่าวเท่านั้น
ความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากมีแมลงเข้าไปปะปนอยู่ในถุงสินค้าพิพาท ขณะสินค้าพิพาทถูกขนออกจากตู้คอนเทนเนอร์เก็บไว้ที่โกดังสินค้าของจำเลยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียตรวจสอบ ขณะนำไปตรวจสอบไม่ปรากฏตัวแมลงปะปนอยู่ในสินค้าพิพาท แสดงว่าแมลงได้เข้าไปปะปนในสินค้าพิพาทในช่วงเวลาที่สินค้าพิพาทถูกเก็บไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยก่อนผู้ซื้อจะได้รับมอบสินค้าพิพาทแม้การเก็บสินค้าพิพาทไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยจะถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซีย แต่จำเลยก็มีหน้าที่นำสินค้าผ่านเข้าประเทศมาเลเซียด้วย ดังนั้น การดูแลรักษาสินค้าพิพาทยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย จำเลยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการขนส่งสินค้าย่อมมีหน้าที่ดูแลสินค้าพิพาทในช่วงเวลาขนส่งมิให้เกิดความเสียหายสูญหาย การมีแมลงเข้าไปตอมสินค้าพิพาทโดยแทรกสิ่งห่อหุ้มสินค้าพิพาทเข้าไปย่อมเป็นเหตุการณ์ที่สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ พยานจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านว่า สินค้าพิพาทมีการหีบห่อเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ได้มีการคลุมสินค้าพิพาทอีกชั้นหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า การป้องกันมิให้แมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทสามารถป้องกันได้โดยใช้ผ้าใบหรือสิ่งห่อหุ้มคลุมสินค้าพิพาทไว้อีกชั้นหนึ่ง เพียงแต่จำเลยมิได้คาดคิดหรือคาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น การมีแมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทเกิดความเสียหายจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย เมื่อสินค้าพิพาทเกิดความเสียหายขณะที่สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ตามสัญญาประกันภัยมีการตกลงราคาประกันภัยโดยคิดตามราคาสินค้าบวกด้วยร้อยละ 10 แม้คู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงกันได้เพราะผู้เอาประกันภัยอาจได้รับความเสียหายมากกว่ามูลค่าสินค้าที่เอาประกันภัยโดยมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องเสียไป เช่น ค่าหีบห่อและค่าใช้จ่ายในการขนส่งด้วย ซึ่งถือเป็นความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยได้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยสินค้าได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันซึ่งต้องจ่ายตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องในความเสียหายได้เพียงที่ผู้เอาประกันภัยจะเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิด คือ จำนวนตามสัญญารับขน ซึ่งได้แก่ค่าเสียหายเท่าที่ผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายจริงเท่านั้น และต้องพิจารณาตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา มิใช่จะถือเอาว่าความเสียหายที่แท้จริงจะต้องเป็นราคาสินค้าที่เสียหายบวกร้อยละ 10 ตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาที่จะต้องผูกพันด้วยแต่อย่างใด และตามพยานหลักฐานของโจทก์ก็ปรากฏว่า ผู้ซื้อสินค้ามีหนังสือเรียกร้องความเสียหายเป็นค่าสินค้าที่เสียหายที่ยังไม่บวกร้อยละ 10 แต่ส่วนเพิ่มที่เป็นภาษีมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ของราคาสินค้าแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีเพียงจำนวนดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-844/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้บริโภค-การบอกเลิกสัญญา-เหตุสุดวิสัย: จำเลยจัดสรรที่ดินค้างปลูกสร้าง-เหตุวิกฤตเศรษฐกิจไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
เหตุที่จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 จะต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของบุคคลผู้นั้น และต้องเป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้แม้บุคคลผู้ประสบเหตุนั้นจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว การที่จำเลยจัดสรรที่ดินและได้ประกาศขายที่ดินแปลงย่อยพร้อมบ้านพักอาศัยแก่ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้บริโภคทั้งสิบห้าโดยที่มิได้ตระเตรียมเงินลงทุนไว้ให้พร้อมเสียก่อนเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินลงทุน ซึ่งสถาบันการเงินระงับการให้กู้ในระหว่างนั้นเป็นเหตุให้การดำเนินการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยหยุดชะงักลง จึงเป็นความผิดของจำเลยที่ไม่เตรียมการป้องกันไว้ก่อนทั้งๆ ที่สามารถกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7571/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาซื้อขายเนื่องจากผู้ผลิตไม่ได้รับอนุญาตส่งออกสินค้า เหตุสุดวิสัยไม่สำเร็จ
โจทก์ทำสัญญาซื้อเครื่องส่งวิทยุแฝงในแบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่จากจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่จัดหาสินค้าดังกล่าวตามสัญญาส่งมอบให้แก่โจทก์ การที่บริษัท ด. ผู้ผลิตสินค้าไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ส่งออกสินค้า จึงเป็นความผิดของจำเลย หาใช่เหตุสุดวิสัยไม่ ทั้งมิใช่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ และทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัยจากการบำรุงรักษายานพาหนะ
จำเลยที่ 1 เคยถูกพนักงานอัยการประจำศาลแขวงสงขลาเป็นโจทก์ฟ้องในความผิดฐานขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157 ซึ่งความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ในคดีนี้จึงไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีของศาลแขวงสงขลา เมื่อโจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญาของศาลแขวงสงขลา ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาของศาลแขวงสงขลา จึงไม่ผูกพันโจทก์
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าลูกปืนล้อรถพ่วงด้านขวาแตกเป็นเหตุให้ล้อรถพ่วงหลุด รถยนต์บรรทุกจึงเสียการทรงตัวและชนถูกรถยนต์คันที่เอาประกันภัยกับโจทก์ไว้นั้น กรณียังไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเพราะผู้ใช้งานรถต้องตรวจตราอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวรถซึ่งย่อมมีทั้งอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกและภายใน อุปกรณ์บางชิ้นตรวจสอบได้ด้วยสายตา บางชิ้นเสื่อมสลายไปตามสภาพการใช้งาน ซึ่งล้วนแต่ต้องตรวจตราจากผู้ใช้งานทั้งสิ้นไม่ว่าจะตรวจสอบเองในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือโดยผู้อื่นที่มีหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าลูกปืนล้อรถเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ภายใน ไม่ใช่หน้าที่ตรวจสอบของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงผู้ขับเท่านั้นไม่ได้
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าลูกปืนล้อรถพ่วงด้านขวาแตกเป็นเหตุให้ล้อรถพ่วงหลุด รถยนต์บรรทุกจึงเสียการทรงตัวและชนถูกรถยนต์คันที่เอาประกันภัยกับโจทก์ไว้นั้น กรณียังไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเพราะผู้ใช้งานรถต้องตรวจตราอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวรถซึ่งย่อมมีทั้งอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกและภายใน อุปกรณ์บางชิ้นตรวจสอบได้ด้วยสายตา บางชิ้นเสื่อมสลายไปตามสภาพการใช้งาน ซึ่งล้วนแต่ต้องตรวจตราจากผู้ใช้งานทั้งสิ้นไม่ว่าจะตรวจสอบเองในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือโดยผู้อื่นที่มีหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าลูกปืนล้อรถเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ภายใน ไม่ใช่หน้าที่ตรวจสอบของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงผู้ขับเท่านั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนผู้บริโภค, สัญญาจัดสรร, การชำระเงิน, เหตุสุดวิสัย, ค่าทนายความ
การอ้างสำเนาแทนต้นฉบับเอกสารนั้น ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างสำเนาเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนไม่คัดค้านการอ้างเอกสารดังกล่าวเสียก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จ คู่ความฝ่ายนั้นก็ต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้น หรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์อ้างหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เอกสารหมาย จ.20 เป็นพยานโดยส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันสืบพยานแล้ว แต่จำเลยมิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับ หรือสำเนาเอกสารนั้นไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และหลังจากที่ ศ. พยานโจทก์เบิกความอ้างถึงสำเนาหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลากว่าสองปี จำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านการอ้างเอกสารดังกล่าวต่อศาล โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลอันสมควรประการใดที่ไม่อาจยกข้อคัดค้านนั้นได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามสำเนาเอกสารหมาย จ.20 ประกอบคำเบิกความของพยานบุคคลว่า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีหนังสือแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้ทำละเมิดสิทธิของผู้บริโภคต่อศาลแล้ว จำเลยจึงไม่อาจคัดค้านการรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้อีก กรณีฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยชอบ
จำเลยเป็นผู้ลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจัดสรรขายให้แก่ประชาชนโดยคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง ซึ่งก็ต้องใช้เงินลงทุนสูงด้วย จึงต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมในเรื่องการเงิน การตลาด รวมทั้งการคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถรับความเสี่ยงได้สูง แม้จะเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจและนโยบายการแก้ปัญหาของรัฐบาลจะมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทั่วไป รวมทั้งของจำเลยด้วยก็ตาม แต่ก็มิใช่ภาวะที่จำเลยไม่อาจคาดการณ์ได้ หรือไม่อาจแก้ไขได้ ดังนั้น การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านไม่เสร็จจึงไม่อาจฟังได้ว่าเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา ผู้บริโภคชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับ ส. เป็นสัญญาต่างตอบแทน โดย ส. มีหน้าที่ชำระราคาตามงวด ส่วนจำเลยมีหน้าที่ก่อสร้างบ้านให้เสร็จและส่งมอบแก่ ส. ได้ภายในกำหนดเวลาที่ประมาณการไว้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ส. ได้ชำระเงินค่างวดแก่จำเลยมาโดยตลอดถึง 17 งวด คงค้างชำระเพียง 3 งวดสุดท้าย แต่จำเลยกลับก่อสร้างบ้านเพียงบางส่วนแล้วหยุดก่อสร้างเป็นเวลานาน จึงถือว่าจำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างบ้านให้เสร็จเรียบร้อยตามที่คู่สัญญาพึงคาดหมายจากกันได้ ทำให้มีเหตุที่ ส. จะหยุดชำระค่างวด โดยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย
การที่จำเลยเป็นเจ้าของโครงการจัดสรรที่ดินและปลูกสร้างบ้านเพื่อขายแก่ผู้ซื้อ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปลูกสร้างบ้านให้เสร็จสมบูรณ์ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง และเหมาะสมแก่การอยู่อาศัย การกำจัดปลวกจึงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเพื่อให้บ้านแข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น แม้ในตอนแรกจำเลยกับผู้บริโภคจะไม่ได้กำหนดเรื่องการกำจัดปลวกไว้ในสัญญา แต่ทั้งสองฝ่ายก็สามารถตกลงเพิ่มเติมกันในภายหลังได้ โดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ และเห็นว่าเมื่อมีการตกลงกันเช่นว่านี้แล้ว การกำจัดปลวกย่อมเป็นการบริการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ก่อสร้างบ้านขายโดยตรง เพราะการฉีดยากำจัดปลวกจะต้องสัมพันธ์กับการก่อสร้าง จำเลยจึงต้องส่งมอบบ้านที่มีการกำจัดปลวกเรียบร้อยแก่ผู้บริโภค เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบบ้านให้ ก็ต้องรับผิดต่อผู้บริโภคตามข้อตกลงเพิ่มเติมนั้น และจำเลยยังอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมดูแลของคณะกรรมการคุ้มครองบริโภคตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินค่ากำจัดปลวกหรือเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้แทนผู้บริโภคได้
ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2532 มาตรา 39 บัญญัติว่า การดำเนินคดีในศาลแทนผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคนั้นให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง และข้อเท็จจริงปรากฏว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล จึงมีผลให้พนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีได้เองโดยตรงในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค หาใช่เข้ามาทำหน้าที่ในฐานะเป็นทนายแผ่นดินในคดีนี้ไม่ จึงไม่ชอบที่ศาลจะสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าทนายความแก่ฝ่ายที่ชนะคดี
จำเลยเป็นผู้ลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจัดสรรขายให้แก่ประชาชนโดยคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง ซึ่งก็ต้องใช้เงินลงทุนสูงด้วย จึงต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมในเรื่องการเงิน การตลาด รวมทั้งการคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถรับความเสี่ยงได้สูง แม้จะเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจและนโยบายการแก้ปัญหาของรัฐบาลจะมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทั่วไป รวมทั้งของจำเลยด้วยก็ตาม แต่ก็มิใช่ภาวะที่จำเลยไม่อาจคาดการณ์ได้ หรือไม่อาจแก้ไขได้ ดังนั้น การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านไม่เสร็จจึงไม่อาจฟังได้ว่าเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา ผู้บริโภคชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับ ส. เป็นสัญญาต่างตอบแทน โดย ส. มีหน้าที่ชำระราคาตามงวด ส่วนจำเลยมีหน้าที่ก่อสร้างบ้านให้เสร็จและส่งมอบแก่ ส. ได้ภายในกำหนดเวลาที่ประมาณการไว้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ส. ได้ชำระเงินค่างวดแก่จำเลยมาโดยตลอดถึง 17 งวด คงค้างชำระเพียง 3 งวดสุดท้าย แต่จำเลยกลับก่อสร้างบ้านเพียงบางส่วนแล้วหยุดก่อสร้างเป็นเวลานาน จึงถือว่าจำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างบ้านให้เสร็จเรียบร้อยตามที่คู่สัญญาพึงคาดหมายจากกันได้ ทำให้มีเหตุที่ ส. จะหยุดชำระค่างวด โดยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย
การที่จำเลยเป็นเจ้าของโครงการจัดสรรที่ดินและปลูกสร้างบ้านเพื่อขายแก่ผู้ซื้อ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปลูกสร้างบ้านให้เสร็จสมบูรณ์ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง และเหมาะสมแก่การอยู่อาศัย การกำจัดปลวกจึงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเพื่อให้บ้านแข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น แม้ในตอนแรกจำเลยกับผู้บริโภคจะไม่ได้กำหนดเรื่องการกำจัดปลวกไว้ในสัญญา แต่ทั้งสองฝ่ายก็สามารถตกลงเพิ่มเติมกันในภายหลังได้ โดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ และเห็นว่าเมื่อมีการตกลงกันเช่นว่านี้แล้ว การกำจัดปลวกย่อมเป็นการบริการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ก่อสร้างบ้านขายโดยตรง เพราะการฉีดยากำจัดปลวกจะต้องสัมพันธ์กับการก่อสร้าง จำเลยจึงต้องส่งมอบบ้านที่มีการกำจัดปลวกเรียบร้อยแก่ผู้บริโภค เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบบ้านให้ ก็ต้องรับผิดต่อผู้บริโภคตามข้อตกลงเพิ่มเติมนั้น และจำเลยยังอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมดูแลของคณะกรรมการคุ้มครองบริโภคตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินค่ากำจัดปลวกหรือเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้แทนผู้บริโภคได้
ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2532 มาตรา 39 บัญญัติว่า การดำเนินคดีในศาลแทนผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคนั้นให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง และข้อเท็จจริงปรากฏว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล จึงมีผลให้พนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีได้เองโดยตรงในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค หาใช่เข้ามาทำหน้าที่ในฐานะเป็นทนายแผ่นดินในคดีนี้ไม่ จึงไม่ชอบที่ศาลจะสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าทนายความแก่ฝ่ายที่ชนะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่คาดหมายไม่ได้
ครบกำหนดอุทธรณ์วันที่ 3 มิถุนายน 2548 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2548 ซึ่งตรงกับวันศุกร์ จำเลยมีทนายความและรูปคดีไม่มีข้อยุ่งยากสลับซับซ้อน ย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แต่จำเลยหาได้ยื่นอุทธรณ์ไม่ การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 20 มิถุนายน 2548 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปอีก 3 วัน โดยอ้างว่า ทนายจำเลยนำอุทธรณ์ไปยื่นต่อศาลชั้นต้นแต่ระหว่างทางการจราจรติดขัดเนื่องจากมีการก่อสร้างสะพานใหม่และมีรถเฉี่ยวชนกัน ทำให้ทนายจำเลยเดินทางไปถึงศาลชั้นต้นเลยเวลาทำการไปเกือบ 30 นาที และไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทันกำหนดนั้น ล้วนเป็นเหตุที่สามารถป้องกันและคาดหมายได้ล่วงหน้า กรณีมิใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 ที่จำเลยจะขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้