คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหาย และอายุความในการฟ้องร้องค่าเสียหาย
เรือต้องคลื่นลมแรงและสภาวะอากาศที่เลวร้ายมากในระหว่างทาง เมื่อไม่ปรากฏว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวมีความร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่อาจจะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในเรือได้ คลื่นลมและสภาวะอากาศเช่นนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 อันจะทำให้ผู้ขนส่งหลุดพ้นความรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนในประเทศรับผิดแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศต่อบุคคลภายนอกก็เฉพาะแต่กรณีที่ตัวแทนผู้นั้นได้ทำสัญญากับบุคคลภายนอกแทนตัวการเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับบุคคลภายนอกแทนตัวการ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าวแต่ลำพังตนเอง
จำเลยเป็นผู้ทำหน้าที่ขนถ่ายสินค้าจากเรือไปเก็บในคลังสินค้า เป็นผู้จัดหาผู้รับเหมามาจัดการขนถ่ายสินค้า เป็นตัวแทนเรือเดินทะเลหลายบริษัทรวมทั้งบริษัทฟ. ซึ่งไม่มีตัวแทนอื่นในประเทศไทย และหากมีผู้ใดต้องการส่งสินค้าโดยเรือของบริษัท ฟ. จำเลยจะเป็นผู้รับติดต่อและเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้า และเก็บค่าระวางเรือส่งไปให้เจ้าของเรือ เมื่อเรือของบริษัทดังกล่าวมาถึงประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการขนถ่ายสินค้า แจ้งให้ลูกค้าผู้สั่งซื้อสินค้าทราบถึงกำหนดเรือเข้า ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปขอรับสินค้า และจำเลยรับเอาใบตราส่งจากลูกค้าไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ของจำเลยเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยทำหน้าที่ผู้ขนส่งทอดหลังที่สุด จำเลยจึงต้องรับผิดร่วมด้วยในกรณีสินค้าที่ขนส่งสูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการรับขนทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกร้องค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 8 เรื่องรับขน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบในชั้นบังคับคดีได้ แม้จำเลยจะโอนทรัพย์ไปแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องโดยเหตุสุดวิสัย ก็ให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ จำเลยขอปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยวิธีคืนเงินให้โจทก์ อ้างเหตุผลในคำร้องว่าจำเลยจำต้องใช้บ้านที่อยู่อาศัย จำเลยไม่มีบ้านอื่นอีก ไม่สามารถหาที่อยู่ใหม่ได้และจำเลยเอาโฉนดไปประกันหนี้เงินกู้ไว้ เหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านได้ เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้องจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านอยู่ในวิสัยที่จะโอนให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่สอบถามโจทก์ก่อนและสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งในชั้นบังคับคดีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนได้ ที่จำเลยอ้างว่าได้โอนขายที่และบ้านให้บุคคลภายนอกไปแล้วไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้โจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำขึ้นในภายหลังที่จำเลยทราบคำบังคับของศาลแล้ว ไม่เป็นเหตุที่จะไม่ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลในชั้นบังคับคดีที่ผิดหลง โจทก์มีสิทธิร้องขอเพิกถอนได้ แม้จำเลยอ้างเหตุภายหลัง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องโดยเหตุสุดวิสัย ก็ให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ จำเลยขอปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยวิธีคืนเงินให้โจทก์ อ้างเหตุผลในคำร้องว่าจำเลยจำต้องใช้บ้านที่อยู่อาศัย จำเลยไม่มีบ้านอื่นอีก ไม่สามารถหาที่อยู่ใหม่ได้และจำเลยเอาโฉนดไปประกันหนี้เงินกู้ไว้เหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านได้ เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้องจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านอยู่ในวิสัยที่จะโอนให้ได้การที่ศาลชั้นต้นไม่สอบถามโจทก์ก่อนและสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งในชั้นบังคับคดีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนได้ ที่จำเลยอ้างว่าได้โอนขายที่และบ้านให้บุคคลภายนอกไปแล้วไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้โจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำขึ้นในภายหลังที่จำเลยทราบคำบังคับของศาลแล้ว ไม่เป็นเหตุที่จะไม่ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงในชั้นบังคับคดีได้ แม้จำเลยจะโอนทรัพย์สินให้ผู้อื่นไปแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องโดยเหตุสุดวิสัย ก็ให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ จำเลยขอปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยวิธีคืนเงินให้โจทก์ อ้างเหตุผลในคำร้องว่าจำเลยจำต้องใช้บ้านที่อยู่อาศัยจำเลยไม่มีบ้านอื่นอีก ไม่สามารถหาที่อยู่ใหม่ได้และจำเลยเอาโฉนดไปประกันหนี้เงินกู้ไว้ เหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านได้ เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้องจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านอยู่ในวิสัยที่จะโอนให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่สอบถามโจทก์ก่อนและสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งในชั้นบังคับคดีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนได้ที่จำเลยอ้างว่าได้โอนขายที่และบ้านให้บุคคลภายนอกไปแล้วไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้โจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำขึ้นในภายหลังที่จำเลยทราบคำบังคับของศาลแล้ว ไม่เป็นเหตุที่จะไม่ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยและการยกเว้นความรับผิดในสัญญาเช่า กรณีความเสียหายจากภัยธรรมชาติ
โกดังเก็บสินค้าที่โจทก์เช่าจากจำเลยมีสภาพมั่นคงแข็งแรงการที่ฝนตกพายุแรงพัดกระเบื้องหลังคาเผยอออกหลุด 1 แผ่นจนกระทั่งน้ำฝนรั่วเข้าไปในโกดังเก็บสินค้าทำให้สินค้าเสียหายมิใช่เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระเบื้องหลังคาและตะปูขอเกี่ยวหลุดตามสภาพ แต่เกิดจากภัยพิบัติที่ไม่อาจจะป้องกันได้แม้จะได้ระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นแก่สินค้าของโจทก์และโกดังเก็บสินค้าก็อยู่ในความควบคุมดูแลของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบความล่าช้าในการส่งมอบสินค้าตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาขายชนวนลูกระเบิดซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท อ.ในประเทศออสเตรียให้โจทก์ กำหนดส่งมอบสินค้าให้ภายใน 180วัน นับแต่วันทำสัญญา ถ้าส่งเกินกำหนดจะถูกปรับ จำเลยส่งสินค้าแก่โจทก์เกินกำหนดสัญญาไป 308 วัน เพราะรัฐบาลออสเตรียระงับเรื่องที่บริษัทผู้ผลิตขออนุญาตส่งออกไว้เนื่องจากสถานการณ์สู้รบระหว่างจีนกับเวียตนาม และเมื่อได้รับอนุญาตให้ส่งออกแล้วต้องส่งผ่านประเทศเยอรมันตะวันตก สถานฑูตไทยกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียก็ต้องรับรองต่อรัฐบาลเยอรมันตะวันตกอีกว่าชนวนลูกระเบิดจะส่งถึงโจทก์ ทำให้เสียเวลาเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวถึง 332 วัน อันเป็นเหตุการณ์ที่จำเลยและบริษัท อ.ไม่อาจป้องกันได้และไม่อาจคาดหมายว่าจะเกิดขึ้น ทั้งจำเลยไม่อาจจะส่งมอบชนวนลูกระเบิดที่มีแหล่งผลิตจากที่อื่นที่ผิดไปจากข้อสัญญาได้ การส่งสินค้าดังกล่าวล่าช้าจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบและโจทก์ใช้สิทธิปรับจำเลยตามสัญญาไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการซื้อขายระหว่างประเทศ: การระงับส่งออกเนื่องจากสถานการณ์สู้รบ
จำเลยส่งชนวนลูกระเบิดแก่โจทก์เกินกำหนดสัญญาไป 308 วันเพราะรัฐบาลระงับการส่งออกของบริษัทผู้ผลิต เนื่องจากสถานการณ์ สู้ รบระหว่างจีนกับเวียตนาม และการส่งออกต้องผ่านประเทศเยอรมันตะวันตกทั้งต้องให้สถานทูตไทยในกรุงเวียนนารับรองอีกว่าเป็นชนวนลูกระเบิดที่จะส่งถึงโจทก์ ดังนี้ จำเลยและบริษัทผู้ผลิตไม่อาจป้องกันได้ และไม่อาจคาดหมายว่าจะเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุสุดวิสัยอันเป็นพฤติการณ์ซึ่งจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยทำให้ส่งมอบสินค้าล่าช้า ไม่ถือเป็นผิดสัญญาและไม่ต้องรับผิดปรับ
จำเลยทำสัญญาขายชนวนลูกระเบิดซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท อ.ในประเทศออสเตรียให้โจทก์ กำหนดส่งมอบสินค้าให้ภายใน 180 วัน นับแต่วันทำสัญญา ถ้าส่งเกินกำหนดจะถูกปรับ จำเลยส่งสินค้าแก่โจทก์เกินกำหนดสัญญาไป 308 วัน เพราะรัฐบาลออสเตรียระงับเรื่องที่บริษัทผู้ผลิตขออนุญาตส่งออกไว้เนื่องจากสถานการณ์สู้รบระหว่างจีนกับ เวียตนาม และเมื่อได้รับอนุญาตให้ส่งออกแล้วต้องส่งผ่านประเทศเยอรมันตะวันตก สถานฑูตไทยกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียก็ต้องรับรองต่อรัฐบาลเยอรมันตะวันตกอีกว่าชนวนลูกระเบิดจะส่งถึงโจทก์ ทำให้เสียเวลาเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวถึง 332 วัน อันเป็นเหตุการณ์ที่จำเลยและบริษัท อ.ไม่อาจป้องกันได้และไม่อาจคาดหมายว่าจะเกิดขึ้น ทั้งจำเลยไม่อาจจะส่งมอบชนวนลูกระเบิดที่มีแหล่งผลิตจากที่อื่นที่ผิดไปจากข้อสัญญาได้ การส่งสินค้าดังกล่าวล่าช้าจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบและโจทก์ใช้สิทธิปรับจำเลยตามสัญญาไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: หนี้เดิมแปลงเป็นหนี้ใหม่ตามคำพิพากษาตามยอม แม้ทรัพย์สินถูกยึดโดยรัฐ ก็ไม่หลุดพ้นจากหนี้
การรับช่วงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 ได้แก่การเอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่งในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน การที่ทรัพย์สินของสามีจำเลยและของจำเลยตกไปเป็นของรัฐตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นไปตามกฎหมาย และนโยบายของรัฐบาลไม่ใช่เป็นการช่วงทรัพย์และไม่ใช่เหตุสุดวิสัยจำเลยจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้อง ชำระหนี้แก่โจทก์ไม่
มูลหนี้เดิมในคดีล้มละลายเกิดจากสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างบ้านพักของจำเลยอันเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์ได้ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ เพื่อโจทก์จะได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากกระทรวงการคลัง ก็เป็นสิทธิอันชอบที่จะกระทำเช่นนั้นได้ การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้แก่โจทก์ ในคดีแพ่งดังกล่าว มิใช่เกิดจากการสมยอมโดยปราศจากมูลหนี้อันต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 94 เมื่อหนี้เดิมได้แปลงมาเป็นหนี้ใหม่ตามคำพิพากษาตามยอมจึงหาทำให้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอชำระได้ไม่และแม้จำเลยจะได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วถึงร้อยละ 79.01 เมื่อปรากฏว่าจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินถึงหนึ่งล้านสามแสนบาทเศษ และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ และทรัพย์สินของจำเลยถูกยึดไปเป็นของรัฐหมดแล้วเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8, 9 จำเลยนำสืบไม่ได้ว่า อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด ทั้งไม่เป็นการแน่นอนว่าสามีจำเลยและจำเลยจะได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดคืนตามที่ร้องขอหรือไม่ คดีจึงมีเหตุสมควรให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาการยื่นภาษี, เหตุสุดวิสัย, ความรับผิดของผู้เสียภาษี, อำนาจประเมินภาษี
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาตามคำร้องของโจทก์โดยปริยายไม่ได้เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ มิได้บัญญัติบังคับให้ต้องแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบ เหมือนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65(ข)
การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ขยายเวลาโดยอ้างว่าผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่ยอมรับรองบัญชีงบดุลซึ่งจะต้องยื่นพร้อมแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เนื่องจากสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีอยู่ที่จำเลยที่ 1ผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้นั้น ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความบกพร่องของพนักงานของจำเลยที่ 1แต่อย่างใด เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์สามารถจะไปขออนุญาตตรวจสอบหรือขอถ่ายบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ ที่ทำการของจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ขยายให้ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงมีอำนาจทำการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ได้.
of 24