คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุที่ป้องกันไม่ได้ การขาดความระมัดระวังในการขับขี่เครื่องบินถือเป็นประมาทเลินเล่อ
เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุผิดปกติ สุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้น หากอาจป้องกันผลพิบัติได้ด้วยการจัดการระมัดระวังตามสมควรย่อมไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
นักบินอื่นเคยนำเครื่องบินไปเติมน้ำมันที่สนามบินพาณิชย์ดอนเมืองบ่อย ๆ และประสบกับกระแสลมปั่นป่วนอยู่เป็นประจำ เพราะมีเครื่องบินลำอื่นเข้าออกอยู่เสมอ ในการบินขึ้นหรือลงในบริเวณที่มีเครื่องบินจอดอยู่ต้องระวังมากกว่าที่อื่น ฉะนั้นการที่จำเลยขับเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ไปเติมน้ำมัน ณ สถานที่ดังกล่าว แม้จะประสบกับอากาศปั่นป่วนเพราะเครื่องบินไอพ่นติดเครื่องท่อไอพ่นหันมาทางเครื่องบินที่จำเลยขับเคลื่อนลอยอยู่กับมีเครื่องบินใบพัดสี่เครื่องยนต์แท้กซี่ผ่านจนเป็นเหตุให้เครื่องบินที่จำเลยขับขี่เสียการทรงตัว เอียงกระแทกพื้นลานบินปลายใบพัดกระทบพื้นหักกระเด็นไปถูกเครื่องบินลำอื่นเสียหายจำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้ขับเครื่องบินไปลงจอดเติมน้ำมันที่หลุมเติมน้ำมันแต่ขาดความรู้ความชำนาญในการขับขี่บังคับเครื่องบินกว่าจะเข้าจอดตรงหลุมน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ต้องขยับเครื่องบินึ้นลงถึงสามครั้ง ประกอบกับบริเวณนั้นมีกระแสลมปั่นป่วนอยู่เป็นประจำ เนื่องจากมีเครื่องบินเข้าออกอยู่เสมอและจอดอยู่มาก ซึ่งในการบินขึ้นลงต้องระมัดระวังมากกว่าที่อื่น เมื่อจำเลยใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอ และก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุที่ป้องกันไม่ได้ ความประมาทจากการขาดความชำนาญในการขับขี่ถือเป็นเหตุละเมิด
เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุผิดปกติ สุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้นหากอาจป้องกันผลพิบัติได้ด้วยการจัดการระมัดระวังตามสมควรย่อมไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
นักบินอื่นเคยนำเครื่องบินไปเติมน้ำมันที่สนามบินพาณิชย์ดอนเมืองบ่อย ๆ และประสบกับกระแสลมปั่นป่วนอยู่เป็นประจำเพราะมีเครื่องบินลำอื่นเข้าออกอยู่เสมอ ในการบินขึ้นหรือลงในบริเวณที่มีเครื่องบินจอดอยู่ต้องระวังมากกว่าที่อื่น ฉะนั้นการที่จำเลยขับเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ไปเติมน้ำมัน ณ สถานที่ดังกล่าว แม้จะประสบกับอากาศปั่นป่วนเพราะเครื่องบินไอพ่นติดเครื่องท่อไอพ่นหันมาทางเครื่องบินที่จำเลยขับเคลื่อนลอยอยู่กับมีเครื่องบินใบพัดสี่เครื่องยนต์แท้กซี่ผ่านจนเป็นเหตุให้เครื่องบินที่จำเลยขับขี่เสียการทรงตัว เอียงกระแทกพื้นลานบินปลายใบพัดกระทบพื้นหักกระเด็นไปถูกเครื่องบินลำอื่นเสียหายจำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้ขับเครื่องบินไปลงจอดเติมน้ำมันที่หลุมเติมน้ำมันแต่ขาดความรู้ความชำนาญในการขับขี่บังคับเครื่องบินกว่าจะเข้าจอดตรงหลุมน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ต้องขยับเครื่องบินขึ้นลงถึงสามครั้ง ประกอบกับบริเวณนั้นมีกระแสลมปั่นป่วนอยู่เป็นประจำเนื่องจากมีเครื่องบินเข้าออกอยู่เสมอและจอดอยู่มาก ซึ่งในการบินขึ้นลงต้องระมัดระวังมากกว่าที่อื่น เมื่อจำเลยใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอ และก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบอนุญาตพิมพ์สิ้นสุดเมื่อไม่ได้ออกหนังสือพิมพ์ตามกำหนด แม้มีเหตุสุดวิสัยก็อ้างไม่ได้
จำเลยเป็นเจ้าของ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายคาบ(ราย 5 วัน) มิได้ออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นเวลาต่อเนื่องกันถึงสี่คราว การเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 45 ภายหลังจากนั้น จำเลยยังขืนออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวอยู่ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 60 แห่งกฎหมายดังกล่าวนั้น จำเลยจะอ้างว่าที่ออกไม่ได้นั้นเพราะจำเลยถูกคุมขังอยู่ตลอดเวลาเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะออกได้ มาเป็นข้อยกเว้นโดยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดใบอนุญาตผู้พิมพ์-โฆษณา-บรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายคาบ กรณีไม่ได้ออกหนังสือพิมพ์ต่อเนื่องตามกฎหมาย แม้มีเหตุสุดวิสัย
จำเลยเป็นเจ้าของ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายคาบ(ราย 5 วัน) มิได้ออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นเวลาต่อเนื่องกันถึงสี่คราว การเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 45 ภายหลังจากนั้น จำเลยยังขืนออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวอยู่ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 60 แห่งกฎหมายดังกล่าวนั้น จำเลยจะอ้างว่าที่ออกไม่ได้นั้นเพราะจำเลยถูกคุมขังอยู่ตลอดเวลาเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะออกได้ มาเป็นข้อยกเว้นโทษหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิซื้อขายรถยนต์ ผู้ขายต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่รถยนต์ถูกยึดคืน
รถยนต์พิพาทเป็นของบุคคลภายนอกซึ่งมีผู้เช่าซื้อ และผู้เช่าซื้อนั้นทำสัญญาขายให้จำเลย แล้วจำเลยทำสัญญาขายให้โจทก์และมอบรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในวันทำสัญญาโจทก์ผ่อนชำระเงินให้จำเลยแล้วบางส่วน ต่อมาผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเจ้าของที่แท้จริงมายึดรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ จำเลยต้องรับผิดจะอ้างว่าจำเลยไม่รู้เห็นยินยอมด้วยในการยึดหรือเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่
เมื่อโจทก์ถูกรอนสิทธิและฟ้องเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากจำเลยจำเลยมิได้ต่อสู้ขอหักค่าที่โจทก์ใช้รถยนต์พิพาท ศาลจะพิพากษาให้หักค่ารถจากเงินที่จำเลยคืนหาได้ไม่ เพราะไม่มีประเด็น
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนและเรียกค่าเสียหายโดยมิได้ขอดอกเบี้ยศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้ดอกเบี้ยมิได้ (เพราะเกินคำขอ)
โจทก์ถูกยึดรถยนต์ที่ซื้อคืนไป โจทก์จะเรียกค่าเสียหายที่ขาดรายได้จากการที่เคยใช้รถยนต์พิพาทออกฉายภาพยนตร์เร่มิได้ เพราะโจทก์อาจใช้รถยนต์อื่นได้ รายได้จากการฉายภาพยนตร์เร่ มิใช่ค่าเสียหายโดยตรง
โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะชำระราคารถยนต์พิพาทให้จำเลยไปแล้ว 30,000 บาท แต่ไม่ได้กรรมสิทธิ์รถยนต์ ไม่ได้ใช้รถยนต์เป็นการ ตอบแทนหนี้เงินนั้นนอกจากจะเรียกดอกเบี้ย ยังอาจพิสูจน์ค่าเสียหายอื่นได้อีกด้วย การที่โจทก์ชำระเงินให้จำเลยไปก็โดยหวังจะได้ใช้รถยนต์พิพาทเป็นการตอบแทนโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า เมื่อโจทก์ถูกรอนสิทธิก็ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายโดยคำนวณจากค่าเช่ารถยนต์ที่โจทก์เคยเช่าออกฉายภาพยนตร์เร่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับแต่วันถูกรอนสิทธิจนกว่าจำเลยจะชำระเงินคืนแก่โจทก์ แต่ฎีกาขอค่าเสียหายมาเพียง 11 วันศาลฎีกาย่อมจะพิพากษา ให้ค่าเสียหายตามจำนวนวันที่ขอมาในฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิของผู้ซื้อรถยนต์จากการถูกยึดคืนโดยเจ้าของที่แท้จริง จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
รถยนต์พิพาทเป็นของบุคคลภายนอกซึ่งมีผู้เช่าซื้อ และผู้เช่าซื้อนั้นทำสัญญาขายให้จำเลย แล้วจำเลยทำสัญญาขายให้โจทก์และมอบรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในวันทำสัญญาโจทก์ผ่อนชำระเงินให้จำเลยแล้วบางส่วน ต่อมาผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเจ้าของที่แท้จริงมายึดรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ จำเลยต้องรับผิดจะอ้างว่าจำเลยไม่รู้เห็นยินยอมด้วยในการยึดหรือเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่
เมื่อโจทก์ถูกรอนสิทธิและฟ้องเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากจำเลยจำเลยมิได้ต่อสู้ขอหักค่าที่โจทก์ใช้รถยนต์พิพาท ศาลจะพิพากษาให้หักค่ารถจากเงินที่จำเลยคืนหาได้ไม่ เพราะไม่มีประเด็น
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนและเรียกค่าเสียหายโดยมิได้ขอดอกเบี้ยศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้ดอกเบี้ยมิได้ (เพราะเกินคำขอ)
โจทก์ถูกยึดรถยนต์ที่ซื้อคืนไป โจทก์จะเรียกค่าเสียหายที่ขาดรายได้จากการที่เคยใช้รถยนต์พิพาทออกฉายภาพยนตร์เร่มิได้ เพราะโจทก์อาจใช้รถยนต์อื่นได้ รายได้จากการฉายภาพยนตร์เร่ มิใช่ค่าเสียหายโดยตรง
โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะชำระราคารถยนต์พิพาทให้จำเลยไปแล้ว 30,000 บาท แต่ไม่ได้กรรมสิทธิ์รถยนต์ ไม่ได้ใช้รถยนต์เป็นการตอบแทนหนี้เงินนั้นนอกจากจะเรียกดอกเบี้ย ยังอาจพิสูจน์ค่าเสียหายอื่นได้อีกด้วย การที่โจทก์ชำระเงินให้จำเลยไปก็โดยหวังจะได้ใช้รถยนต์พิพาทเป็นการตอบแทนโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า เมื่อโจทก์ถูกรอนสิทธิก็ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายโดยคำนวณจากค่าเช่ารถยนต์ที่โจทก์เคยเช่าออกฉายภาพยนตร์เร่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับแต่วันถูกรอนสิทธิจนกว่าจำเลยจะชำระเงินคืนแก่โจทก์ แต่ฎีกาขอค่าเสียหายมาเพียง 11 วัน ศาลฎีกาย่อมจะพิพากษาให้ค่าเสียหายตามจำนวนวันที่ขอมาในฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ศาลไม่ให้เรียกเก็บซ้ำซ้อน เหตุสุดวิสัยต้องเกิดขึ้นก่อนผิดสัญญา
เหตุสุดวิสัยที่จำเลยอ้างมานั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยผิดสัญญาส่งเหล็กให้แก่โจทก์แล้วประมาณ 7 เดือน จำเลยอ้างเหตุนี้ขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
การให้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในกรณีผิดสัญญานั้น ก็เพื่อที่จะชดใช้และให้ความพอใจแก่ฝ่ายที่ไม่ผิดสัญญาสำหรับความเสียหายที่ฝ่ายนั้นได้รับจริง ๆ กฎหมายไม่ประสงค์ให้มีการค้ากำไรในการผิดสัญญา
เบี้ยปรับนั้นก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้านั่นเองเบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย โดยเหตุนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 จึงบัญญัติไว้ว่า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงก็ได้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ว่าให้เจ้าหนี้เรียกค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เสียไป โดยให้คิดเบี้ยปรับรวมอยู่ในนั้นด้วย คือให้ถือว่าเบี้ยปรับเป็นจำนวนน้อยที่สุดของค่าเสียหาย
เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเต็มจำนวนที่โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยเสียเบี้ยปรับให้โจทก์อีกไม่ได้เพราะเป็นการเรียกร้องที่นอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งของให้โจทก์ตามกำหนด แต่ของที่บริษัท ท.เสนอราคามานั้น มีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่โจทก์กำหนดไว้ ส่วนของ ฮ.มีคุณสมบัติตรงกับที่โจทก์กำหนดไว้ ฉะนั้น การที่โจทก์รับซื้อจาก ฮ.จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบปฏิบัติของทางการรถไฟแต่อย่างใดหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับในสัญญา, ความเสียหายจากการผิดสัญญา, เหตุสุดวิสัย, และการซื้อของทดแทน
เหตุสุดวิสัยที่จำเลยอ้างมานั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยผิดสัญญาส่งเหล็กให้แก่โจทก์แล้วประมาณ 7 เดือน จำเลยอ้างเหตุนี้ขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
การให้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในกรณีผิดสัญญานั้นก็เพื่อที่จะชดใช้และให้ความพอใจแก่ฝ่ายที่ไม่ผิดสัญญาสำหรับความเสียหายที่ฝ่ายนั้นได้รับจริง ๆ กฎหมายไม่ประสงค์ให้มีการค้ากำไรในการผิดสัญญา
เบี้ยปรับนั้นก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้านั่นเองเบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย โดยเหตุนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จึงบัญญัติไว้ว่า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงก็ได้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ว่า ให้เจ้าหนี้เรียกค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เสียไป โดยให้คิดเบี้ยปรับรวมอยู่ในนั้นด้วย คือให้ถือว่าเบี้ยปรับเป็นจำนวนน้อยที่สุดของค่าเสียหาย
เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเต็มจำนวนที่โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยเสียเบี้ยปรับให้โจทก์อีกไม่ได้เพราะเป็นการเรียกร้องที่นอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งของให้โจทก์ตามกำหนด แต่ของที่บริษัท ท.เสนอราคามานั้น มีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่โจทก์กำหนดไว้ ส่วนของ ฮ.มีคุณสมบัติตรงกับที่โจทก์กำหนดไว้ ฉะนั้น การที่โจทก์รับซื้อจาก ฮ. จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบปฏิบัติของทางการรถไฟแต่อย่างใดหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งต่อความเสียหายสินค้าจากคลื่นกระทบเรือจากการบรรทุกเกินและขาดการระมัดระวัง
เหตุที่เกิดความเสียหายเนื่องจากคลื่นของเรืออื่นในลำแม่น้ำมาปะทะเรือฉลอมของจำเลยที่บรรทุกสินค้าและจอดอยู่ที่ท่าเรือ เรือฉลอมกระแทกกับท่า ทำให้สินค้าที่บรรทุกบางส่วนเคลื่อนตกลงไปในแม่น้ำนั้น เป็นผลพิบัติที่อาจป้องกันได้ ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควร ไม่ใช่เป็นเหตุที่ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ ฉะนั้น จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยบรรทุกสินค้าเกินกว่าเก๋งท้ายเรือหรือหลังคาเรืออันเป็นการผิดระเบียบของกรมเจ้าท่า ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยแล้ว และเนื่องจากจำเลยมีอาชีพรับขนส่ง ย่อมหน้าที่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษกว่าปกติสามัญชน แต่กลับละเลยการปฏิบัติหน้าที่ในอาชีพอันควรต้องพึงปฏิบัติเสีย กล่าวคือ เมื่อบรรทุกสินค้าลงเรือเสร็จแล้ว ส.ผู้ควบคุมเรือของจำเลยกับลูกเรืออีก 3 คนขึ้นไปบนท่าหมด ไม่มีคนอยู่ในเรือที่จะคอยระมัดระวังป้องกันภัยอันตรายอันอาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ ซึ่งโดยปกติต้องมีคนงานคอยระวังอยู่ เพราะอาจมีคลื่นแรงมา ซึ่งแล้วก็มีคลื่นแรงมาจริง ๆ และปะทะเรือฉลอมทำให้เรือฉลอมกระแทกกับท่าเป็นเหตุให้สินค้าที่บรรทุกอยู่ในเรือฉลอมที่บรรทุกอยู่สูงตกลงไปในแม่น้ำเสียหาย ส.กับลูกเรือไม่สามารถจะเข้าไปช่วยประคองเรือเพื่อป้องกันความเสียหายไว้ได้ เพราะเกรงว่ากระสอบสินค้าที่เคลื่อนหล่นลงมาจะทับเอาตามพฤติการณ์ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย จำเลยต้องรับผิด
เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยการขนส่งสินค้าไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญโภคภัณฑ์ได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญโภคภัณฑ์ไปแล้วโจทก์ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้รับขนชำระเงินจำนวนที่ได้จ่ายไปแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งต่อความเสียหายของสินค้าเนื่องจากความประมาทเลินเละและเหตุสุดวิสัย
เหตุที่เกิดความเสียหายเนื่องจากคลื่นของเรืออื่นในลำแม่น้ำมาปะทะเรือฉลอมของจำเลยที่บรรทุกสินค้าและจอดอยู่ที่ท่าเรือ เรือฉลอมกระแทกกับท่า ทำให้สินค้าที่บรรทุกบางส่วนเคลื่อนตกลงไปในแม่น้ำนั้น เป็นผลพิบัติที่อาจป้องกันได้ ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควร ไม่ใช่เป็นเหตุที่ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ ฉะนั้น จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยบรรทุกสินค้าเกินกว่าเก๋งท้ายเรือหรือหลังคาเรืออันเป็นการผิดระเบียบของกรมเจ้าท่า ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยแล้ว และเนื่องจากจำเลยมีอาชีพรับขนส่ง ย่อมมีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษกว่าปกติสามัญชน แต่กลับละเลยการปฏิบัติหน้าที่ในอาชีพอันควรต้องพึงปฏิบัติเสีย กล่าวคือ เมื่อบรรทุกสินค้าลงเรือเสร็จแล้ว ส. ผู้ควบคุมเรือของจำเลยกับลูกเรืออีก 3 คนขึ้นไปบนท่าหมด ไม่มีคนอยู่ในเรือที่จะคอยระมัดระวังป้องกันภัยอันตรายอันอาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ ซึ่งโดยปกติต้องมีคนงานคอยระวังอยู่ เพราะอาจมีคลื่นแรงมาซึ่งแล้วก็มีคลื่นแรงมาจริง ๆ และปะทะเรือฉลอมทำให้เรือฉลอมกระแทกกับท่าเป็นเหตุให้สินค้าที่บรรทุกอยู่ในเรือฉลอมที่บรรทุกอยู่สูงตกลงไปในแม่น้ำเสียหาย ส. กับลูกเรือไม่สามารถจะเข้าไปช่วยประคองเรือเพื่อป้องกันความเสียหายไว้ได้ เพราะเกรงว่ากระสอบสินค้าที่ เคลื่อนหล่นลงมาจะทับเอาตามพฤติการณ์ถือว่าเป็นความประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย จำเลยต้องรับผิด
เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยการขนส่งสินค้าไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญโภคภัณฑ์ได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญโภคภัณฑ์ไปแล้วโจทก์ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้รับขนชำระเงินจำนวนที่ได้จ่ายไปแก่โจทก์
of 24