คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับจากเหตุสุดวิสัย: การยึดทรัพย์โดยกองทหาร
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กัน ระหว่างคู่สัญญากำลังปฏิบัติตามสัญญานั้นอยู่ กองทหารญี่ปุ่นได้ยึดเอารถยนต์ที่เช่ากันนั้นไปเสียดังนี้สัญญาเช่าย่อมระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทรัพย์ทั่วไป หากผู้ขายไม่สามารถส่งมอบได้ แม้มีเหตุสุดวิสัย ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องราคา
ไนสัญญาซื้อขายทรัพย์ซึ่งมีการซื้อขายกันทั่วไป มิไช่ทรัพย์เจาะจงฉเพาะสิ่งนั้น แม้ผู้ขายไม่อาดส่งมอบทรัพย์ดั่งกล่าวแล้วได้โดยเหตุนอกอำนาดของตนก็ดี ผู้ขายจะอ้างว่าเปนเหตุสุดวิสัยตาม ป.ม.แพ่งฯ ม. 219 หาได้ไม่.
ไนสัญญาซื้อขายซึ่งตกลงกันชำระเงินสด หากผู้ขายไม่มีทรัพย์จะส่งมอบแล้ว ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องไห้ผู้ซื้อชำระราคาตอบแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทั่วไป ผู้ขายไม่มีทรัพย์ส่งมอบ ไม่อ้างเหตุสุดวิสัย และไม่มีสิทธิเรียกราคา
ในสัญญาซื้อขายทรัพย์ซึ่งมีการซื้อขายกันทั่วไป มิใช่ทรัพย์เจาะจงเฉพาะสิ่งนั้น แม้ผู้ขายไม่อาจส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวแล้วได้โดยเหตุนอกอำนาจของตนก็ดี ผู้ขายจะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 หาได้ไม่ ในสัญญาซื้อขายซึ่งตกลงกันชำระเงินสด หากผู้ขายไม่มีทรัพย์จะส่งมอบแล้ว ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ซื้อชำระราคาตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งตรัสต์ก่อนใช้ประมวลแพ่งฯ และระยะเวลาสิ้นสุดของตรัสต์ตามหลักกฎหมาย
ในคดีที่เจ้ามฤดกมรณะก่อนวันใช้ประมวลแพ่งฯ พรรพ 2 จะนำบทบัญญัติในประมวลบรรพนั้นมาใช้บังคับมิได้
ตรัสติที่ตั้งขึ้นก่อนวันใช้ประมวลแพ่งฯ บรรพ 6 ย่อมมีผลสมบูรณ์ใช้ได้ โดยกฎหมายสยามรับเอาหลักกฎหมายอังกฤษเรื่องวิธีการตั้งตรัสต์มาใช้เท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งกฎหมายสยาม
การตั้งตรัสต์โดยไม่มีกำหนดเวลานั้นไม่เป็นโมฆะเสียเปล่าไป แต่กำหนดระยะเวลามีผลแห่งตรัสต์จะสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นชีวิตผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมคนท้ายที่สุดที่มีชีวิตอยู่ในขณะผู้ทำพินัยกรรมตายและอีก 20 ปี ต่อแต่นั้นไป
โมฆะกรรมนั้นจะให้สัตยาบันมิได้, นิติกรรมที่มีกำหนดเวลาเกินกำหนดในกฎหมายนั้นไม่เป็นโมฆะเสียทีเดียว แต่ถือว่านิติกรรมฉะบับนั้นมีผลเพียงเท่าที่ระยะเวลาในกฎหมายกำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, หีบพระราชทานเพื่อประดับเกียรติยศต้องส่งคืน, เอกสารรับรองผูกพันผู้จัดการมฤดก
กรมคลังเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายย่อมมีอำาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีที่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของกรมได้ข้าราชการได้รับพระราชทาน++มาทองคำสำหรับประดับเกียรติยศและต้องส่งคืนเมื่อถึงแก่กรรม หีบหมากถูกเพลิงไหม้สูญไป แต่ข้าราชการผู้นั้นทำหนังสือรับรองจะจัดทำส่งใช้คืนให้ดังนี้ เอกสารฉะบับนั้น +++ผูกพันข้าราชการผู้นั้นรวมตลอดถึงผู้จัดการมฤดกของเขาด้วย
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม. 255+++ทุนทรัพย์ที่พิพาท+++เพียง 515 บาท++ศาลอุทธรณ์พิพากษา+++ศาลขั้นต้น คู่ความ++ในข้อเท็จจริงไม่ได้
of 24