พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า ความเสียหายจากเหตุสุดวิสัย และประเด็นการกำหนดหน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง
จำเลยที่2ขับรถยนต์ลากจูงและรถพ่วงของจำเลยที่1แล่นมาตามถนนพอแล่นเข้าโค้งซึ่งอยู่เชิงเขาถนนเป็นทางโค้งลาดลงเขารถแล่นเข้ามาในช่องขวาซึ่งเป็นช่องเดินรถสวนจำเลยที่2จึงห้ามล้อครั้งแรกและหักรถเข้ามาในช่องเดินรถของตนแต่ไม่สามารถลดความเร็วของรถลงได้จึงได้ห้ามล้ออย่างแรงรถแล่นเข้ามาในช่องเดินรถของตนด้านซ้ายและเสียหลักเพราะรถยาวและมีน้ำหนักมากจึงพุ่งเข้าชนราวเหล็กกั้นขอบถนนด้านซ้ายจนพลิกคว่ำหงายท้องไปดังนี้เหตุที่รถพลิกคว่ำสินค้าที่บรรทุกมาเสียหายจึงมิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยที่1ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 จำเลยที่1ฎีกาว่าต้นทุนของสินค้าที่ราคาเพียงกล่องละ444.88บาทราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไรค่าขนส่งและค่าภาษีอากรเมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ516บาทโจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้นจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่1ปัญหาข้อนี้จำเลยที่1มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยแม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่1ฎีกาว่าตามแบบพิมพ์ยพ.6ก.เลขที่465217ลงวันที่4ธันวาคม2529ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่1ไว้ไม่เกิน100,000บาทจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่1ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่าหากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริงค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัทอ.ก็ไม่ควรเกินกว่า100,000บาทส่วนจำเลยที่2ให้การต่อสู้ว่าตามข้อตกลงของจำเลยที่1ในการรับส่งสินค้าจำเลยที่1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน300,000บาทหากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่1ทราบแต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวคือไม่แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า300,000บาทหากฟังว่าจำเลยที่2ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน300,000บาทดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกขึ้นต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งฎีกาของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลยผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อนการที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรกจึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลังไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเองศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา27วรรคสองดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า8วันนับแต่วันทราบคำสั่งศาลจึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า, ข้อจำกัดความรับผิด, และหน้าที่นำสืบของจำเลย
จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ลากจูงและรถพ่วงของจำเลยที่ 1 แล่นมาตามถนน พอแล่นเข้าโค้งซึ่งอยู่เชิงเขา ถนนเป็นทางโค้งลาดลงเขา รถแล่นเข้ามาในช่องขวาซึ่งเป็นช่องเดินรถสวน จำเลยที่ 2 จึงห้ามล้อครั้งแรกและหักรถเข้ามาในช่องเดินรถของตน แต่ไม่สามารถลดความเร็วของรถลงได้ จึงได้ห้ามล้ออย่างแรงรถแล่นเข้ามาในช่องเดินรถของตนด้านซ้ายและเสียหลักเพราะรถยาวและมีน้ำหนักมากจึงพุ่งเข้าชนราวเหล็กกั้นขอบถนนด้านซ้ายจนพลิกคว่ำหงายท้องไป ดังนี้ เหตุที่รถพลิกคว่ำสินค้าที่บรรทุกมาเสียหาย จึงมิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามป.พ.พ. มาตรา 616
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ต้นทุนของสินค้ามีราคาเพียงกล่องละ444.88 บาท ราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไร ค่าขนส่ง และค่าภาษีอากร เมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ 516 บาท โจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่ 1 ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัย แม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ตามแบบพิมพ์ ยพ.6 ก.เลขที่ 465217ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2529 ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1ไว้ไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่า หากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริง ค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัท อ.ก็ไม่ควรเกินกว่า 100,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า ตามข้อตกลงของจำเลยที่ 1 ในการรับส่งสินค้า จำเลยที่ 1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน 300,000 บาท หากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ แต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว คือไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า 300,000 บาท หากฟังว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน 300,000 บาท ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลย ผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อน การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรก จึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเอง ศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้ โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล จึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ต้นทุนของสินค้ามีราคาเพียงกล่องละ444.88 บาท ราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไร ค่าขนส่ง และค่าภาษีอากร เมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ 516 บาท โจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่ 1 ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัย แม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ตามแบบพิมพ์ ยพ.6 ก.เลขที่ 465217ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2529 ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1ไว้ไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่า หากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริง ค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัท อ.ก็ไม่ควรเกินกว่า 100,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า ตามข้อตกลงของจำเลยที่ 1 ในการรับส่งสินค้า จำเลยที่ 1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน 300,000 บาท หากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ แต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว คือไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า 300,000 บาท หากฟังว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน 300,000 บาท ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลย ผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อน การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรก จึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเอง ศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้ โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล จึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7588/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยจากการน้ำท่วมทำให้ส่งมอบงานล่าช้า ไม่ต้องเสียค่าปรับ
เงินส่วนหนึ่งของเงินค่าจ้างถมดินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์แต่จำเลยหักไว้เป็นค่าปรับตามสัญญาจ้างเหมาการปรับถมพื้นที่ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าโจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยตามกำหนดนัดได้เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ไม่ใช่ลาภมิควรได้ไม่อยู่ในบังคับอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419 แม้ฝนจะตกทุกปีในฤดูฝนแต่สำหรับปลายปี2526ฝนตกหนักและน้ำท่วมสูงกว่าปีก่อนเป็นเหตุให้น้ำท่วมบริเวณที่ดินที่จะถมดังนั้นแม้โจทก์จะหาแหล่งดินอื่นมาถมได้แต่เมื่อบริเวณที่จะถมน้ำท่วมและเส้นทางขนส่งลำเลียงดินน้ำท่วมโจทก์ก็ไม่อาจทำการถมดินให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้กรณีดังกล่าวถือได้ว่่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7588/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยกับการหักค่าปรับในสัญญาจ้างเหมา การเรียกร้องเงินค่าจ้าง
เงินส่วนหนึ่งของเงินค่าจ้างถมดินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์แต่จำเลยหักไว้เป็นค่าปรับตามสัญญาจ้างเหมาการปรับถมพื้นที่ ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้า โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยตามกำหนดนัดได้ เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ไม่ใช่ลาภมิควรได้ ไม่อยู่ในบังคับอายุความหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
แม้ฝนจะตกทุกปีในฤดูฝน แต่สำหรับปลายปี 2526 ฝนตกหนักและน้ำท่วมสูงกว่าปีก่อน เป็นเหตุให้น้ำท่วมบริเวณที่ดินที่จะถม ดังนั้นแม้โจทก์จะหาแหล่งดินอื่นมาถมได้ แต่เมื่อบริเวณที่จะถมน้ำท่วมและเส้นทางขนส่งลำเลียงดินน้ำท่วม โจทก์ก็ไม่อาจทำการถมดินให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
แม้ฝนจะตกทุกปีในฤดูฝน แต่สำหรับปลายปี 2526 ฝนตกหนักและน้ำท่วมสูงกว่าปีก่อน เป็นเหตุให้น้ำท่วมบริเวณที่ดินที่จะถม ดังนั้นแม้โจทก์จะหาแหล่งดินอื่นมาถมได้ แต่เมื่อบริเวณที่จะถมน้ำท่วมและเส้นทางขนส่งลำเลียงดินน้ำท่วม โจทก์ก็ไม่อาจทำการถมดินให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าแผงค้า-การเพิกถอนสิทธิ-การปฏิบัติตามระเบียบ-อำนาจคณะกรรมการตลาด
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธินพ.ศ.2526ข้อที่27ระบุว่าผู้ค้าต้องจำหน่ายสินค้าให้ถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้จะนำสินค้าประเภทอื่นเข้าไปจำหน่ายไม่ได้นั้นมีความหมายว่าผู้ค้าไม่ค้าสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแต่ไปค้าสินค้าประเภทอื่นอย่างชัดแจ้งเช่นได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสดแต่กลับไปจำหน่ายสินค้าประเภทต้นไม้เป็นต้นจึงจะถือได้ว่าผู้ค้าได้ฝ่าฝืนระเบียบนี้แต่หากผู้ค้าได้จำหน่ายสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแล้วและได้จำหน่ายสินค้าประเภทอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายด้วยเช่นกรณีของจำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิตก็ได้จำหน่ายสัตว์มีชีวิตคือปลาเลี้ยงปลาสวยงามต่างๆตรงตามประเภทแล้วยังได้จำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารปลาอุปกรณ์การเลี้ยงปลาด้วยย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าวนอกจากนี้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธิน(ฉบับที่3)พ.ศ.2527ข้อ2ประเภทแผงค้า(4)สัตว์มีชีวิตก็ดีตามทะเบียนผู้ค้าตลาดนัดกรุงเทพมหานครระบุว่าประเภทสินค้าสัตว์มีชีวิตก็ดีมิได้มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นสินค้าเฉพาะสัตว์มีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นและตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดได้ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตลาดนัดไว้ในข้อที่2ว่าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยรวมสินค้าหลายๆประเภทไว้ณสถานที่เดียวกันผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหลายชนิดมาจากหลายแห่งช่วยให้ประหยัดเวลาและพาหนะดังนั้นการที่จำเลยจำหน่ายสินค้าสัตว์มีชีวิตจำพวกปลาเลี้ยงปลาสวยงามและมีสินค้าจำพวกอาหารปลาและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาไว้จำหน่ายด้วยจึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์หาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ไม่ การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลาดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการค้าในตลาดนัด: การจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับประเภทที่ได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธินพ.ศ.2526 ข้อที่ 27 ระบุว่า ผู้ค้าต้องจำหน่ายสินค้าให้ถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้จะนำสินค้าประเภทอื่นเข้าไปจำหน่ายไม่ได้นั้น มีความหมายว่าผู้ค้าไม่ค้าสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาต แต่ไปค้าสินค้าประเภทอื่นอย่างชัดแจ้ง เช่น ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสด แต่กลับไปจำหน่ายสินค้าประเภทต้นไม้ เป็นต้นจึงจะถือได้ว่าผู้ค้าได้ฝ่าฝืนระเบียบนี้ แต่หากผู้ค้าได้จำหน่ายสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแล้ว และได้จำหน่ายสินค้าประเภทอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายด้วย เช่น กรณีของจำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิตก็ได้จำหน่ายสัตว์มีชีวิต คือ ปลาเลี้ยง ปลาสวยงามต่าง ๆ ตรงตามประเภทแล้วยังได้จำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารปลา อุปกรณ์การเลี้ยงปลาด้วย ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าว นอกจากนี้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2527 ข้อ 2 ประเภทแผงค้า (4) สัตว์มีชีวิตก็ดี ตามทะเบียนผู้ค้าตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ระบุว่าประเภทสินค้า สัตว์มีชีวิตก็ดี มิได้มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นสินค้าเฉพาะสัตว์มีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัด ได้ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตลาดนัดไว้ในข้อที่ 2ว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยรวมสินค้าหลาย ๆ ประเภทไว้ ณ สถานที่เดียวกัน ผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหลายชนิดมาจากหลายแห่ง ช่วยให้ประหยัดเวลาและพาหนะ ดังนั้น การที่จำเลยจำหน่ายสินค้าสัตว์มีชีวิตจำพวกปลาเลี้ยงปลาสวยงาม และมีสินค้าจำพวกอาหารปลาและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาไว้จำหน่ายด้วยจึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ หาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ไม่
การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลา ดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลา ดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุประสงค์การประกอบกิจการประกันภัยครอบคลุมประกันภัยทุกชนิด ผู้รับขนส่งมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากการขนส่ง
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า"(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำประกันภัยทางอุบัติเหตุ ประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลยจำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทย จำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของป.พ.พ.มาตรา 617 และ 618
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลยจำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทย จำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของป.พ.พ.มาตรา 617 และ 618
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันภัยทางอากาศ, ฟ้องเคลือบคลุม, และความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าหลายทอด
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า "(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิดเช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำ ประกันภัยทางอุบัติเหตุประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้ แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้น โจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลย จำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทยจำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่น ซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617 และ 618 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน 238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาท ซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงิน ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขนส่งสินค้าทางทะเล จำเลยต้องพิสูจน์ความร้ายแรงผิดปกติและป้องกันไม่ได้
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ในการขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่า ในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้น จำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8
ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา57 (2) จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้ จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายใน พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
ในการขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่า ในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้น จำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8
ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา57 (2) จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้ จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายใน พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากพายุ และประเด็นการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเลข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่าในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้นจำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายได้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา58วรรคสองเมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21กุมภาพันธ์พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย