คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขนส่งสินค้าทางทะเล จำเลยต้องพิสูจน์ความร้ายแรงผิดปกติและป้องกันไม่ได้
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ในการขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่า ในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้น จำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8
ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา57 (2) จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้ จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายใน พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากพายุ และการชดใช้ค่าเสียหายโดยบริษัทประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่า ในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้น จำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายไว้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุที่ไม่มีใครอาจฟ้องได้ การไม่อนุญาตสร้างอาคารยังไม่ถึงเหตุสุดวิสัย จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทจากจำเลยหลังจากทำสัญญาเจ้าพนักงานสำนักงานเขต ยานนาวามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยก่อสร้างอาคารตามสัญญาดังกล่าวจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านและอุทธรณ์ต่อมาแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อนุญาตแต่จำเลยก็ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อีกเมื่อ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างใดกรณีจึงยังไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย: คำสั่งไม่อนุญาตก่อสร้างยังไม่ถึงเหตุสุดวิสัย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทจากจำเลยหลังจากทำสัญญาเจ้าพนักงานสำนักงานเขตยานนาวามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยก่อสร้างอาคารตามสัญญาดังกล่าว จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านและอุทธรณ์ ต่อมาแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อนุญาต แต่จำเลยก็ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อีก เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างใด กรณีจึงยังไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้ จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลต้องรับผิดชอบความเสียหายจากต้นไม้ล้มทับรถยนต์ เนื่องจากละเลยไม่ดูแลรักษา แม้สภาพอากาศปกติ
ต้นสนที่อยู่ข้างถนนซึ่งเทศบาลจำเลยที่1มีหน้าที่ดูแลมีสภาพผุกลวงแม้จะมีฝนตกและฟ้าคะนองในวันเกิดเหตุแต่ก็เป็นฝนตกเล็กน้อยและปานกลางในช่วงสั้นๆและความเร็วของลมก็เป็นความเร็วลมปกติการที่ต้นสนล้มลงทับรถยนต์โจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนแต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่1ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นจำเลยที่1จึงต้องรับผิด ค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตโดยระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เสียสมรรถภาพทางเพศและไม่สามารถเดินได้กับค่าเสียหายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินทั้งสองกรณีอันเนื่องมาจากเหตุที่ต่างกันจึงแยกจำนวนให้ชดใช้ตามเหตุที่แยกออกจากกันเป็นแต่ละเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลต้องรับผิดต่อความเสียหายจากต้นไม้ล้มทับเนื่องจากละเลยดูแล แม้ไม่มีเหตุสุดวิสัย
ต้นสนที่ล้มทับรถยนต์ของโจทก์เสียหายและโจทก์ได้รับอันตรายสาหัส มีสภาพผุกลวงอยู่ในความครอบครองดูแลของเทศบาลเมืองสงขลาจำเลยที่ 1วันเกิดเหตุมีฝนตกเล็กน้อยและปานกลางเป็นช่วงสั้น ๆ และมีฟ้าคะนอง ความเร็วลมเพียง 5 ถึง 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือเป็นความเร็วลมปกติ การที่ต้นสนดังกล่าวล้มลงทับรถของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย แต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนดังกล่าวเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิต โดยระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ เสียสมรรถภาพทางเพศ และไม่สามารถเดินได้ กับค่าเสียหายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิตนั้น ถือเป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ทั้งสองกรณี อันเนื่องมาจากเหตุที่ต่างกัน จึงแยกจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ให้ชดใช้ตามเหตุที่แยกออกจากกันเป็นแต่ละเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของผู้รับขนส่ง ตัวแทน และลูกจ้าง กรณีสินค้าตกหล่นจากเรือ
คำร้องของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 อ้างเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ร่วมกับบุคคลภายนอกคำร้องไม่ได้แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 แพ้คดีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57(3)ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของ จำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2 ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลง การที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันจากการขนส่งสินค้าและการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 อ้างเพียงว่า จำเลยที่ 1เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ร่วมกับบุคคลภายนอก คำร้องไม่ได้แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 แพ้คดีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57 (3) ป.วิ.พ. ที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี
หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3 จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลงการที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหมายเลขทะเบียนรถ และการพิสูจน์ความรับผิดจากเหตุละเมิดเนื่องจากความประมาท
การขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถเป็นกรณีแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดเพื่อให้ตรงตามความเป็นจริงไม่จำต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานเพราะเข้าข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนของรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุย่อมมีผลให้คำฟ้องของโจทก์และรายงานการชี้สองสถานในประเด็นเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนของรถคันดังกล่าวต้องเป็นไปตามที่โจทก์ขอแก้ไข แม้เหตุที่รถเกิดชนกันเป็นเพราะยางรถยนต์คันที่ น.ขับมาเกิดระเบิดขึ้นก็ตาม ก็หาเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของ น. ผู้ขับขี่จะต้องตรวจตราระมัดระวังให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและขับด้วยความปลอดภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, หมายเลขทะเบียนรถ, เหตุสุดวิสัย, ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่
การขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถเป็นกรณีแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดเพื่อให้ตรงตามความเป็นจริงไม่จำต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานเพราะเข้าข้อยกเว้นของ ป.วิ.พ.มาตรา 180
การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนของรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุย่อมมีผลให้คำฟ้องของโจทก์และรายงานการชี้สองสถานในประเด็นเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนของรถคันดังกล่าวต้องเป็นไปตามที่โจทก์ขอแก้ไข
แม้เหตุที่รถเกิดชนกันเป็นเพราะยางรถยนต์คันที่ น.ขับมาเกิดระเบิดขึ้นก็ตาม ก็หาเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของ น.ผู้ขับขี่จะต้องตรวจตราระมัดระวังให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและขับด้วยความปลอดภัย
of 24