คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย, ของมีค่า, และข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยความรับผิดของผู้ขนส่ง
ได้ความแต่เพียงว่าระหว่างขนส่ง คนขับรถบรรทุกของจำเลยขับไปใกล้ถึงปลายทางได้เกิดเพลิงไหม้ตรงกลางคันรถใต้ผ้าใบคลุมสินค้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ปรากฏว่าเหตุเพลิงไหม้นั้นไม่อาจป้องกันได้เพราะเหตุใด และคนขับรถผู้ต้องประสบเหตุนั้นได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร ยังถือไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัย ลวดเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องซักผ้าเป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วไป มิใช่ของมีค่าที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ประทวนสินค้า หรืออัญมณี ผู้ส่งสินค้าจึงไม่จำเป็นต้องบอกราคาในขณะส่งมอบแก่ผู้ขนส่ง ใบกำกับสินค้าที่จำเลยออกให้โจทก์มีข้อจำกัดความรับผิดว่าจำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่เกิน 500 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงลายมือชื่อยินยอมรับรู้ในข้อจำกัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์คันหลัง การรักษาระยะห่าง และเหตุสุดวิสัยในกรณีรถชนท้าย
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ประมาทปาดหน้ารถยนต์ของโจทก์โดยกะทันหันคนขับรถยนต์ของโจทก์ได้ระมัดระวังและหยุดรถยนต์ทันทีเพื่อป้องกันมิให้ชนกับรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ จำเลยที่ 3 ซึ่งขับรถยนต์ตามหลังรถยนต์ของโจทก์มา ถ้าระมัดระวังเช่นเดียวกับคนขับรถยนต์ของโจทก์ก็จะหยุดรถได้ทันและไม่เกิดเหตุขึ้น แต่จำเลยที่ 3 ไม่ใช้ความระมัดระวัง ทำให้หยุดรถไม่ทันและชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ เช่นนี้ต้องฟังว่าเป็นความประมาทของจำเลยที่ 3 ด้วย ทั้งนี้เพราะผู้ขับรถยนต์ตามหลังรถยนต์คันอื่นต้องระมัดระวังไม่ขับรถให้เร็วหรือกระชั้นชิดกับรถยนต์คันหน้าเกินไป การขับรถเร็วและกระชั้นชิดคันหน้าเกินไป เมื่อรถยนต์คันหน้าเกิดเหตุขึ้น ทำให้คนขับรถยนต์คันหลังหยุดรถไม่ทันและชนท้ายรถยนต์คันหน้า เช่นนี้ มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะคนขับรถยนต์คันหลังมีโอกาสระมัดระวังมิให้เกิดเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5428/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยประมาทเลินเล่อ ไม่ป้องกันไฟป่า ทำให้ไม้โจทก์เสียหาย ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยรับจ้างลากขนไม้เพื่อไปส่งมอบให้แก่โจทก์ แล้วไฟป่าไหม้ไม้โจทก์เสียหาย ปรากฏว่าเหตุไฟไหม้เกิดเดือนมกราคม 2525 เป็นช่วงที่อากาศแห้ง บริเวณที่รวมหมอนไม้มีไฟป่าเกิดขึ้นบ่อย จำเลยสามารถป้องกันได้โดยถาง ต้นหญ้าที่ขึ้นปกคลุมกองไม้ออกเสีย และจัดหาเครื่องมือดับเพลิงเตรียมไว้ แต่จำเลยหาปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้ไฟไหม้แล้วลามไปไหม้ไม้โจทก์ จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยหาใช่เป็นเหตุสุดวิสัยไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างในการควบคุมเรือ กู้เรือ และอายุความ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรือ ว. ทองทะเล 4 ที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 เป็นผู้เช่าบ้านให้จำเลยที่ 1พักรวมกับคนงานอื่น ๆ จัดรถยนต์รับส่งระหว่างบ้านพักกับสะพานที่เกิดเหตุที่ถูกเรือดังกล่าวชนเพื่อให้จำเลยที่ 1 กับคนงานอื่น ๆลงเรือดังกล่าวไปทำงานกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อับปางซึ่งเป็นกิจการของจำเลยที่ 4 ทุกวัน และเป็นผู้เปิดบัญชีธนาคารให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานดังกล่าว ทั้งภริยาจำเลยที่ 1ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้เป็นผู้ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงและจัดการเรื่องอาหารทุกมื้อให้แก่คนงานทั้งหมดของจำเลยที่ 4 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอรับเรือของจำเลยที่ 4 คืนจากเจ้าพนักงานตำรวจหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังได้ใช้เรือของจำเลยที่ 4 ที่ตนควบคุมอยู่ทำการช่วยเหลือกู้เรือชาวประมงตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างควบคุมเรือ ว. ทองทะเล 4กระทำกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 ขณะเกิดเหตุเป็นฤดูมรสุม จำเลยที่ 1 มีอาชีพกู้เรือมานาน20 ปี ย่อมรู้ดีว่าการจอดเรือ ว. ทองทะเล 4 ในบริเวณที่ไม่มีที่กำบังลมเพื่อกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อับปางอาจถูกลมพายุพัดหลุดลอยได้ง่าย การจัดการป้องกันด้วยการนำเรือไปหลบหาที่กำบังพายุก็สามารถกระทำได้ทันเพราะมีประกาศเตือนทางวิทยุให้รู้ว่าจะเกิดพายุล่วงหน้าติด ๆ กันทุกชั่วโมงตั้งแต่หัวค่ำของคืนก่อนวันเกิดเหตุ เมื่อจำเลยที่ 1 อาจป้องกันไม่ให้เรือถูกพายุได้แต่ไม่จัดการป้องกัน เป็นเหตุให้เรือ ว. ทองทะเล 4 ถูกพายุพัดหลุดลอยไปชนสะพานของโจทก์ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความคือวันที่ 23 ตุลาคม 2522 เป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2522 จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากเรือชนสะพาน: การประมาทเลินเล่อของผู้ควบคุมเรือ และอายุความ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรือ ว.ทองทะเล 4 ที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 เป็นผู้เช่าบ้านให้จำเลยที่ 1 พักรวมกับคนงานอื่น ๆ จัดรถยนต์รับส่งระหว่างบ้านพักกับสะพานที่เกิดเหตุที่ถูกเรือดังกล่าวชนเพื่อให้จำเลยที่ 1 กับคนงานอื่น ๆ ลงเรือดังกล่าวไปทำงานกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อับปางซึ่งเป็นกิจการของจำเลยที่ 4 ทุกวัน และเป็นผู้เปิดบัญชีธนาคารให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานดังกล่าว ทั้งภริยาจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้เป็นผู้ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรง และจัดการเรื่องอาหารทุกมื้อให้แก่คนงานทั้งหมดของจำเลยที่ 4 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอรับเรือของจำเลยที่ 4 คืนจากเจ้าพนักงานตำรวจหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังได้ใช้เรือของจำเลยที่ 4 ที่ตนควบคุมอยู่ทำการช่วยเหลือกู้เรือชาวประมงตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างควบคุมเรือ ว.ทองทะเล 4 กระทำกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4
ขณะเกิดเหตุเป็นฤดูมรสุม จำเลยที่ 1 มีอาชีพกู้เรือมานาน 20 ปี ย่อมรู้ดีว่าการจอดเรือ ว.ทองทะเล 4 ในบริเวณที่ไม่มีที่กำบังลมเพื่อกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อัปปางอาจถูกลมพายุพัดหลุดลอยได้ง่าย การจัดการป้องกันด้วยการนำเรือไปหลบหาที่กำบังพายุก็สามารถกระทำได้ทันเพราะมีประกาศเตือนทางวิทยุให้รู้ว่าจะเกิดพายุล่วงหน้าติด ๆ กันทุกชั่วโมงตั้งแต่หัวค่ำของคืนก่อนวันเกิดเหตุ เมื่อจำเลยที่ 1 อาจป้องกันไม่ให้เรือถูกพายุได้แต่ไม่จัดการป้องกัน เป็นเหตุให้เรือ ว.ทองทะเล 4 ถูกพายุพัดหลุดลอยไปชนสะพานของโจทก์ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความคือวันที่ 23ตุลาคม 2522 เป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 161 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2522 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้า, การยกเว้นความรับผิด, และขอบเขตค่าเสียหายที่ต้องชดใช้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2ที่ 3 เข้าร่วมและประกอบกิจการเป็นผู้ขนส่งในนามของจำเลยที่ 1เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และบรรยายถึงวันเวลาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 ร่วมกันขนส่งกระจกของโจทก์ พฤติการณ์ของคนขับรถของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ขับรถจนทำให้กระจกของโจทก์ได้รับความเสียหายฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งถึงการกระทำของจำเลยและการร่วมกิจการของจำเลยทั้งสามแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เมื่อ ศ. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสืบไม่ได้ว่าสินค้าที่ขนส่งเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของโจทก์ผู้ส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ เอกสารที่จำเลยทำขึ้นเป็นเอกสารสั่งจ่ายรถยนต์ของจำเลยเองแม้จะมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยไว้ แต่ก็หาใช่ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นทำนองนั้น ซึ่งจำเลยออกให้โจทก์และโจทก์ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 625 ไม่ กระจกของโจทก์ที่ให้จำเลยรับขนเป็นทรัพย์สินที่แตกหักได้ง่ายมิใช่ของมีค่าอย่างอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 ประกอบกับตัวแทนของโจทก์ได้แจ้งสภาพแห่งของให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบแล้วจำเลยจึงไม่อาจอ้างประกาศอัตราค่าขนส่งของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ที่จำกัดความรับผิดในค่าเสียหายของจำเลยมาใช้กับโจทก์ได้ การที่จำเลยรับขนกระจกของโจทก์แต่จำเลยทำกระจกของโจทก์แตกเสียหายจนโจทก์ต้องไปว่าจ้างบุคคลอื่นให้ติดตั้งกระจกชั่วคราวที่ศูนย์การค้าของโจทก์ เพื่อให้เสร็จก่อนกำหนดพิธีเปิด ค่าติดตั้งกระจกดังกล่าวมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการออกของและค่าภาษีอากรขาเข้านั้น เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นและถือว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงอันจำเลยต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การไม่นำเอกสารบัญชีตามหมายเรียก และผลกระทบต่อการประเมินภาษีในอัตรา 2% ของยอดขาย
หลังจากที่สมุดบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์สูญหายไปแล้วโจทก์เพียงแต่แจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น หาได้แจ้งต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ประกอบกับสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำส่งล้วนแต่เป็นเอกสารสำคัญที่สมควรแก่เรื่องที่เจ้าพนักงานประเมินมีความจำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ทั้งสิ้น โจทก์จะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของกรรมการผู้จัดการของโจทก์เองที่ทำให้สมุดบัญชีและเอกสารดังกล่าวสูญหายไปซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหาได้ไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่นำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ปี 2518 ในอัตราร้อยละ 2 ของยอด รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าวแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าได้ตามมาตรา 71(1) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อเอกสารหาย - ความประมาทเลินเล่อไม่เป็นเหตุยกเว้นการส่งเอกสาร
หลังจากที่สมุดบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์สูญหายไปแล้วโจทก์เพียงแต่แจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น หาได้แจ้งต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ประกอบกับสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำส่งล้วนแต่เป็นเอกสารสำคัญที่สมควรแก่เรื่องที่เจ้าพนักงานประเมินมีความจำเป็นต้องการตรวจสอบเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ทั้งสิ้น โจทก์จะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของกรรมการผู้จัดการของโจทก์เองที่ทำให้สมุดบัญชีและเอกสารดังกล่าวสูญหายไป ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ปี 2518 ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าวแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าได้ตามมาตรา 71(1)แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายมีเงื่อนไขสำเร็จผลเมื่อได้รับอนุมัติวิ่งรถ และความผิดสัญญาจากเหตุจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อ
สัญญาจะซื้อจะขายรถยนต์พิพาทมีข้อตกลงให้มีผลบังคับต่อเมื่อได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมวิ่งกับบริษัท ข.ในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - จันทบุรี หรือกรุงเทพมหานคร - ตราด ซึ่งการจะได้รับอนุมัติหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคต ไม่แน่นอนข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข ต่อมากระทรวงคมนาคมอนุมัติให้รถยนต์พิพาทเข้าร่วมวิ่งกับบริษัท ข.ได้ เงื่อนไขตามสัญญาจึงสำเร็จลงมีผลบังคับคู่สัญญา เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อและให้ผู้เช่าซื้อยึดรถยนต์พิพาทไป การที่จำเลยถูกยึดรถยนต์พิพาทเพราะไม่ชำระค่าเช่าซื้อ เป็นเรื่องที่จำเลยไม่ขวนขวายจัดการปัญหาของจำเลยเองให้เรียบร้อย มิใช่เรื่องนอกเหนืออำนาจของจำเลยแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดของจำเลย มิใช่เหตุพ้นวิสัยหรือเหตุสุดวิสัยซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของจำเลยที่จะป้องกันได้จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีผลเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ การไม่ชำระหนี้เช่าซื้อไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ข้อตกลงที่ว่าสัญญาจะซื้อจะขายรถยนต์พิพาทจะมีผลบังคับได้ต่อเมื่อบริษัทขนส่งจำกัด อนุมัติให้เข้าร่วมวิ่งในเส้นทางกรุงเทพมหานคร-จันทบุรี หรือกรุงเทพมหานคร-ตราด ซึ่งการจะได้รับอนุมัติหรือไม่เป็น เหตุการณ์ ในอนาคตไม่แน่นอน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข ต่อมา กระทรวงคมนาคมอนุมัติให้รถยนต์พิพาทเข้าร่วมวิ่งกับบริษัทขนส่งจำกัด เงื่อนไขตามสัญญามีผลบังคับคู่สัญญาแล้วเมื่อจำเลยไม่สามารถโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ได้ เพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ เนื่องจากไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อ บริษัท ค. ผู้ให้เช่าซื้อได้ยึดรถยนต์พิพาทดังกล่าวไป ดังนี้เป็นเรื่องที่จำเลยไม่ขวนขวายจัดการปัญหาของจำเลยเองให้เรียบร้อย มิใช่ เรื่องนอกเหนืออำนาจจำเลย จึงเป็นความผิดของจำเลย มิใช่เป็นเหตุ พ้นวิสัย หรือสุดวิสัย ซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของจำเลยจะ ป้องกันได้แต่อย่างใด
of 24